SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ต้นไม้รอบอาคารบรรณสาร
มกราคม 28th, 2017 by ปัญญา วงศ์จันทร์

scan0002

          อาคารบรรณสารได้เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 24 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ได้มีต้นไม้รอบอาคารหลากหลายมากมายซึ่งช่วยสร้างสมดุลระหว่างการดักจับจุลินทรีย์ในอากาศและการกรองฝุ่นผงที่ล่องลอยอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งมากด้วยมลพิษโดยมีต้นไม้ทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์พร้อมกับผลิตออกซิเจนรวมทั้งป้องกันแสงแดดจากภายนอกซึ่งอาคารบรรณสารมีต้นไม้ที่ปลูกโดยรอบอาคารมีอะไรบ้างแต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอะไร และจัดจำแนกอยู่ในหมวดหมู่ใด

ชื่อ ปีบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis L.f.ชื่อวงศ์  Bignoniaceaeชื่อภาษาอังกฤษ Calabash tree,Gourd tree, Mexican calabash, Calabash ไม้ต้น สูง 4-10 เมตร ลำต้นสีดำเทา แตกกิ่งใกล้โคนต้น เปลือกต้นไม่เรียบ มีรูช่องอากาศเป็นรอยแตกตามยาวสั้น ๆ แผ่กิ่งสาขาบานออก ใบเดี่ยวและใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเป็นกระจุกจำนวน 3-6 ใบ ก้านใบเป็นครีบ แผ่นใบรูปหอก หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร โคนรูปลิ่ม ปลายมน ขอบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ด้านหลังใบสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ดอกเดี่ยว ออกตามต้น สีน้ำตาล ก้านดอกยาว0.8-1 เซนติเมตร เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงจำนวน 2 กลีบ รูปกลมแกมไข่ โค้งรูปท้องเรือ กว้างประมาณ 2.2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ด้านนอกสีเขียวปนสีน้ำตาล ด้านในสีเขียวอ่อนเกลี้ยง กลีบดอกสีน้ำตาล รูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กว้างและยาวประมาณ 2.5เซนติเมตร ปลายแหลม มีลายเส้นสีน้ำตาล เกลี้ยง เกสรเพศผู้ จำนวน 4 อัน ยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร ก้านสีขาว อับเรณูสีขาว/ดำ ละอองเรณูสีขาว เกสรเพศเมีย ประกอบด้วย 4 พู 1 ช่อง รังไข่เหนือวงกลีบ อยู่บนเนื้อเยื่อพิเศษที่ยื่นขึ้นมาจากฐานรองดอก ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ก้านเกสรสีขาว ยอดเกสรแผ่เป็นแผ่น 2 อันประกบกัน สีขาว พลาเซนตาทั่วผนัง ผลชนิดสด กลม สีเขียวอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร

20161112_162319

ชื่อ ปาล์มน้ำมัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeis guineensis jacq. ชื่อวงศ์ Palmae (Arecaceae) ชื่ออื่นๆ มะพร้าวลิง มะพร้าวหัวลิง หมากมัน ชื่อภาษาอังกฤษ Oil palm  หรือ African oil palm ปาล์มลำต้นเดี่ยวสูง 6-15 เมตร ต้นสีน้ำตาลห่อหุ้มด้วยกาบใบ ใบประกอบแบบขนนก ยาวประมาณ 4 เมตรออกเวียนสลับถี่ที่ปลาบยอด โคนก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มต้น ใบย่อยมีจำนวนมากแผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง3.5-5 เซนติเมตร ยาว45-120 เซนติเมตร ปลายแหลม ขอบเรียบ เนื้อใบเหนียว ด้านหลังใบและด้านท้องใบสีเขียว ดอกช่อเชิงลดแยกแขนง ขนาดใหญ่ ออกที่ซอกก้านใบช่อดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันคนละช่อดอก มีใบประดับขนาดใหญ่ 2 ใบดอกย่อยเพศผู้ขนาดเล็ก สีขาวนวล ดอกย่อยเพศเมีย กลีบดอก จำนวน 3 กลีบ สีขาวนวล รังไข่เหนือวงกลีบ รูปรี สีน้ำตาลแดง กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ยอดเกสรแยกเป็น 3 แฉก ผลแก่สีน้ำตาลดำ

20161112_162353

ชื่อ จั๋ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhapis excelsa (Thunb.) Henry ex Rehder ชื่อวงศ์ Palmae (Arecaceae) ชื่ออื่นๆ คือ เท้าสาน  หมากญี่ปุ่น จั๋งญี่ปุ่น ชื่อภาษาอังกฤษ Lady palm หรือ  Bamboo palm หรือ  Japanese peace palm ปาล์มลำต้นแตกกอ สูง 2-3 เมตร ลำต้นห่อหุ้มด้วยกาบใบสีน้ำตาลแห้งๆ ใบประกอบแบบนิ้วมือ รูปพัด กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ก้านใบยาว 15-20 เซนติเมตร โคนก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มต้นแผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร ปลายแหลม ขอบเรียบ เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ช่อดอกเชิงลดแยกแขนง ออกที่ซอกก้านใบใกล้ยอด ก้านช่อดอกสั้น ดอกย่อยขาวนวล แยกเพศอยู่คนละช่อ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน

 

20161112_162426

ชื่อ พลับพลึงตีนเป็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenocallis littoralis Salisb ชื่อวงศ์ Amaryllidaceae ชื่อภาษาอังกฤษ Spider lily เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดิน สูง 0.5-0.75 เมตร แตกใบเป็นกระจุกแน่น ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ ก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มซ้อนกันคล้ายเป็นต้น แผ่นใบรูปขอบขนานยาว กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร โคนแผ่เป็นกาบ ปลายแหลม ขอบเรียบ เนื้อใบหนา ด้านหลังใบสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ ผิวเกลี้ยง กลางใบเป็นร่อง ดอกช่อซี่ร่ม สีขาวออกที่ซอกก้านใบ ก้านช่อดอกหนาอวบน้ำ ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีใบประดับ 2 ใบห่อหุ้มช่อดอกและติดทนถึงดอกโรย ดอกย่อยสีขาวเมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงไม่มี กลีบดอกสีขาวจำนวน 6 กลีบยาว 16-22 เซนติเมตร โคนเชื่อมเป็นหลอดแคบ ยาว 7-10 เซนติเมตร สีเขียว ปลายแยกเป็นแฉกลึกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 0.5-0.7 เซนติเมตร ยาว 9-10 เซนติเมตร สีขาว เนื้อกลีบหนา เกสรเพศผู้ จำนวน 6 อัน ยาว 6-9 เซนติเมตร โดนก้านเกสรแผ่เป็นแผ่นเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยสีขาว ปลายเป็นก้านสีเขียว ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร อับเรณูสีเหลืองเข้มติดตรงกลาง เกสรเพศเมียประกอบด้วย 3 พู 3 ช่อง รังไข่ใต้วงกลีบ เป็นสันสามเหลี่ยม สีเขียวเป็นมันเกลี้ยง ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ก้านเกสรแทงขึ้นเหนือหลอดกลีบดอก ยาว 14.5-22 เซนติเมตร ยอดเกสรพองหนาเป็นตุ่ม สีเขียว มีน้ำเหนียว พลาเซนตาติดที่ฐาน

 20161112_162536

ชื่อ มะขาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica L. ชื่อวงศ์ Leguminosae-Caesalpinioideae ชื่ออื่น ๆ เช่น  ตะลูบ ม่องโคล้ง มอดเล  ส่ามอเกล  หมากแกง และ อำเปียล ชื่อภาษาอังกฤษ Tamarind, Indian dateไม้ต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลดำ มีรอยแตกตามต้น แตกกิ่งเหนือโคนต้น 2-3 เมตร แผ่กางกิ่งออกที่เรือนยอด ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ยาว 7-10 เซนติเมตร ออกเวียนสลับ ก้านใบยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ใบย่อย แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ยาว 0.7-1.6 เซนติเมตร โคนเฉียง ปลายมนหรือเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ด้านหลับใบสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ ดอกช่อจะออกที่ซอกก้านใบ สีเหลืองเขียวปนน้ำตาล ก้านช่อดอกยาว 0.8-1.5เซนติเมตร ดอกย่อย เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3 เซนติเมตร ดอกอ่อนมีใบประดับสีน้ำตาลอ่อนห่อหุ้ม ไม่ติดทน กลีบเลี้ยงสีเขียวเหลือง จำนวน 4 กลีบ กลีบดอกสีเหลืองมีเส้นลายสีแดง จำนวน 5 กลีบ รูปรี กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 1-1.2 เซนติเมตร โคนแหลมมีขนสีขาว ปลายแหลมขอบเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ จำนวน 4 อัน โคนก้านเชื่อมติดกัน มีขนสีขาว อับเรณูสีเหลือง เกสรเพศเมีย ประกอบด้วย 1 พู 1 ช่อง รังไข่เหนือวงกลีบ สีเขียวอ่อน มีขนสีขาวที่โคน ยอดเกสรเรียวแหลมมีรูเปิด พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ ผลชนิดแห้ง เป็นฝักแบนหนาถึงกลม มีรอยคอดตามตำแหน่งของเมล็ด กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร

20161112_162636

20161112_162726

ชื่อ ไทรย้อยใบทู้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus retusa L. var. retusa ชื่อวงศ์ Moraceae ชื่ออื่นๆ  ได้แก่ ไทรเขา  ไทรระโยง ไทรย้อย ไทรหิน  ไฮฮี ไทรยอดทอง  ไทรย้อยใบแหลม  ไทรขี้นก ชื่อภาษาอังกฤษ Laural fig, Golden fig หรือ  Indian laurel fig ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร มีรากอากาศออกจากกิ่งห้อยลง แตกกิ่งใกล้โคนต้น ทรงพุ่มกลม ใบเดี่ยว ออกสลับ ก้านใบยาว 0.5-0.7 เซนติเมตร รูปกลมแกมรูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง3-5 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร ปลายทู่ โคนสอบ ขอบเรียบ เนื้อใบหนา ด้านหลังใบเข้มกว่าด้านท้องใบ ผิวใบเป็นมัน ดอกช่อแบบไฮแพนโทเดียม ดอกย่อยขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปร่างกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่จากซอกก้านใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ผลรวม ออกเป็นคู่ ไม่มีก้านผล กลมแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร สีเขียว

20161112_162856

ชื่อ กระท้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. ชื่อพ้อง S. indicum Cav.; S. nervosum Blume; Melia koetjape Burm.f. ชื่อวงศ์ Meliaceae ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ เตียน  ล่อน  สะท้อน  มะต้อง  มะติ๋น  สตียา  สะตู สะโต ชื่อภาษาอังกฤษ เช่น Santol, Sentul, Red sentol, Yellow sentol ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู แตกกิ่งเหนือโคนต้น 1-2 เมตร เป็นทรงพุ่มกลมแน่นที่เรือนยอด ค่อนข้างเรียบและแตกล่อนเป็นสะเก็ดใหญ่ๆ เป็นปุ่มปม ใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อย 3 ใบออกเวียนสลับ ก้านใบยาว 6-16 เซนติเมตร ใบย่อยคู่ข้างมีก้านยาว 2-8 เซนติเมตร ใบย่อยใบกลางมีก้านยาว 4-6 เซนติเมตร แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่ค่อนข้างกว้างหรือเกือบกลม กว้าง 5-11 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร โคนมน ปลายแหลม ขอบเรียบเป็นคลื่นน้อยๆ เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบอ่อนมีขนสีเหลืองอ่อนทั้ง 2 ด้าน ขนจะร่วงไปบ้างเมื่อใบแก่ ใบแก่สีเขียวเข้ม เมื่อจะทิ้งใบเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ ดอกช่อแยกแขนง ยาว 4-16 เซนติเมตร ออกที่ซอกก้านใบใกล้ปลายกิ่ง มีขนสีเหลืองทั่วไป ดอกย่อยสีเขียวอมเหลือง ขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยง รูประฆัง โคนเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก จำนวน 5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 0.4-0.5 เซนติเมตร แยกกันเป็นอิสระ เกสรเพศผู้ จำนวน 10 อัน ยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตรก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นหลอด อับเรณูติดอยู่ภายในหลอด เกสรเพศเมีย ประกอบด้วย 5 พู 5 ช่องรังไข่เหนือวงกลีบ พลาเซนตารอบแกนร่วม ผลชนิดสด ขนาดใหญ่ กลมแป้น ฉ่ำน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร เปลือกมีขนนุ่ม เนื้อหนานุ่ม มียาวสีขาว ผลสุกผิวสีเหลืองนวล กลิ่นหอมเมล็ดจำนวน 5 เมล็ด มีเนื้อหนาเป็นปุยสีขาวหุ้ม

จากต้นไม้ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเราจะได้ประโยชน์จากต้นไม้ที่สร้างร่มเงาในฤดูร้อนและปล่อยแสงแดดผ่านเข้าห้องในฤดูหนาว การบำรุงรักษาต้นไม้จะใช้ระบบไหลเวียนของน้ำโดยนำระบบพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาช่วยเพื่อลดการใช้พลังงานในอาคารบรรณสาร และต้นไม้ยังให้ออกซิเจนที่สะอาดและความร่มเย็นของต้นไม้ช่วยคลายความร้อนทำให้เกิดความร่มรื่นร่มเย็นทำให้อาคารบรรณสารน่ามานั่งบริเวณรอบอาคาร

รายการอ้างอิง

ลาวัลย์ ชัยวิรัตน์นุกูล, ชุมศรี ชัยอนันต์. (2544). การศึกษาอนุกรมวิธานของพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa