SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งาน ข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
กันยายน 12th, 2016 by rungtiwa

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

Relationship among pain, stiffness, function of knee joint and balance in community-dwelling elderly people with knee osteoarthritis at Bangsaothong Municipal District, Bangsaothong District Samutprakarn Province

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อ การทรงตัวและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมใน จำนวน 128 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความสามารถในการทรงตัว (Berg balance test) และแบบประเมิน Thai modified WOMAC (Western Ontario and McMaster University) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation)

ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มีอาการปวดเข่าระดับน้อย (ร้อยละ 63.37) มีข้อฝืดระดับน้อย (ร้อยละ 54.95) มีปัญหาการใช้งานข้อในระดับน้อย (ร้อยละ 67.70) ความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อม พบว่า ร้อยละ 67.20 ด้านการทรงตัว พบว่า ร้อยละ 76.60 มีการทรงตัวดี โอกาสเกิดการพลัดตกหกล้มน้อย อย่างไรก็ตาม พบว่า ร้อยละ 7.80 มีการทรงตัวไม่ดี เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มระดับการใช้งานข้อมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการทรงตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .582) และระดับความปวดมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับการทรงตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .261) ส่วนอาการข้อฝืดไม่มีความสัมพันธ์กับการทรงตัว

The purposes of this study were to investigate pain, stiffness, joint function, and balance; and to identify the relationships between pain, stiffness, joint function and balance in elderly people with knee osteoarthritis at Bangsaothong Municipal District, Bangsaothong District, Samut Prakarn Province. 128 elderly people with knee osteoarthritis were selected by accidental sampling. Berg balance test and Thai modified WOMAC were used as research instruments. Data were analyzed for mean, percentile, standard deviation, Pearson Product moment correlation coefficient. It was found that : the majority of the elderly people with knee osteoarthritis had
mild knee pain (63.37%), mild stiffness of knee joint (54.95%), and few problems of joint function (67.70%). The severity of knee osteoarthritis was mostly in mild level (67.20%). Most of them (76.60%) had good balance that led them less opportunity to fall. However, 7.8% of the elderly had bad balance that led them at risk of falls. Joint function was moderately correlated with balance at the level of statistical significance of .05 (r = .582). Pain was mildly correlated with balance at a statistical significant level of .05 (r = .261).But stiffness was not related to balance.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน นพนัฐ จำปาเทศ รัชนี นามจันทรา นิภาพร เหล่าชา และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการ ใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก. วิชาการ, 19(38), 1-12.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa