Acquisition module เป็นหนึ่งในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module โดยมีขั้นตอนการทำงานประกอบด้วยส่วนของ Budgets โดยสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ เป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ Books 2017 (การจัดซื้อหนังสือ), Database (ฐานข้อมูล), Journal (วารสาร) ดังรูป
รูปภาพที่ 1. แสดงส่วนของงบประมาณ
บทความนี้จะขออธิบายในส่วนของ Books 2017 ที่จัดสรรงบประมาณให้กับคณะต่างๆ ที่มีอยู่ 14 คณะแยกเป็นหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ ดังรูป
Read the rest of this entry »
ถ้าจะกล่าวถึง ความแตกต่างของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติอื่นๆ อย่างไรบ้าง นั้น ข้อแรก คงต้องพูดถึง การเป็น Library Services Platform (LSP) ที่มีการพัฒนาไปจาก Library Integrated System (LIS)
ลักษณะขอ LIS เราน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่การเป็น LSP นั้นมีลักษณะ
ลักษณะของ LSP
กล่าวคือ LSP ทำให้ห้องสมุดสามารถบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สามารถขยายเนื้อหาที่มีรูปแบบหลากหลายทั้งฉบับพิมพ์ และฉบับอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนกระบวนการจัดซื้อที่หลากหลาย การจัดซื้อสำหรับการเป็นเจ้าของอย่างถาวร ผ่านการจ่ายค่าอนุญาตหรือการเป็นสมาชิก เอื้อต่อการจัดการเมทาดาทาที่มีหลายเกณฑ์และเหมาะสมกับสื่อที่มีความแตกต่างกัน อย่างน้อย ตระกูล MARC หรือ Dublin Core รวมถึงการสนับสนุนการให้บริการที่บูรณาการกันโดยมีการใช้ API และโปรโตคอลอื่นๆ ที่สามารถใช้งานข้ามกันได้ (Interoperability) นอกจากนี้ LSP สนับสนุนการทำงานแบบ Multi-tenant กล่าวคือ ระบบซอฟต์แวร์ชุดเดียวแต่ให้บริการคนหลาย ๆ คนในขณะเดียวกันได้ โดยผู้ใช้ต่างห้องสมุดและมีข้อกำหนดของคุณสมบัติของระบบซอฟต์แวร์บางอย่างแตกต่างกันได้
หาอ่านโดยละเอียด ลึกๆ ได้จากหลายแหล่งค่ะ เช่น
https://journals.ala.org/index.php/ltr/article/view/5686/7063
https://www.niso.org/sites/default/files/stories/2017-09/FE_Grant_Future_Library_Systems_%20isqv24no4.pdf
http://helibtech.com/file/view/Rethinking_the_LSP_Jan2016a.pdf
Acquisition module เป็น 1 ในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module โดยมีขั้นตอนการทำงานประกอบด้วยส่วนของ Budgets โดยสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศให้กับคณะต่างๆ ที่มีอยู่ 14 คณะแยกเป็นหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษดังรูป
รูปที่ 1. แสดงตัวอย่างบางส่วนของงบประมาณคณะ
คู่มือนักศึกษา เป็นสิ่งที่นักศึกษาควรทราบ ภายในเล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยฯ และรายละเอียดต่างๆ เช่น
1. สารสนเทศทั่วไป ได้แก่ สัญลักษณ์ ต้นไม้ และสี ประจำมหาวิทยาลัย ปณิธาน วัตถุประสงค์ ประวัติของมหาวิทยาลัยและรายละเอียดต่างๆ เป็นต้น
2. ระเบียบและประกาศ
3.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาโท และหมวดวิชาเลือกเสรี
4.หลักสูตรปริญญาตรี เพื่อที่นักศึกษาจะได้ทำความเข้าใจตลอดระยะเวลา 4 ปีนี้
รหัสวิชาและรายวิชานั้นมีความสำคัญและสอดคล้องกับหลักสูตรที่ทำการเปิดสอนในแต่ละสาขาวิชานั้นๆ และยังใช้เป็นแนวทางในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ เช่น หนังสือชื่อ Peripheral nerve entrapments : clinical diagnosis and management ใช้ประกอบวิชา PT3433 กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 1 เป็นต้น ผู้เขียน ปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหา และมีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในแต่ละสาขาวิชา จึงจำเป็นต้องค้นหารหัสวิชาเหล่านี้เพื่อประกอบการปฏิบัติงาน จึงขอนำเสนอวิธีการค้นหารหัสวิชาและรายวิชาในคู่มือการศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Read the rest of this entry »
Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด) โดย Ms. Liang Shuang จาก ISEAS Library, Singapore ในการเสวนาเรื่อง Information Services for Research in the Age of No Boundaries : บริการสารสนเทศเพื่อการวิจัยในยุคไร้พรมแดน วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 8.30-16.30 น. ห้องประชุม 601 ชั้น 6 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการ Collection ทางด้านรัฐศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์ การเมืองในภูมิภาคนี้ทั้งหมด แต่ที่น่าสนใจ คือ Private Collection ที่มีนักวิจัยบริจาค เป็น collection ที่มีหลากหลายภาษามาก อังกฤษ ไทย เวียดนาม และภาษาอื่นๆ ใน Southeast Asia และยังมีภาษาย่อยๆ ลงไปอีก ซึ่งเป็นการยากในการจัดการ Collection เดิมปิด Collection แต่ต่อมาเปิดโดยเก็บค่ามัดจำ ยืมได้ และเปิดหมด ยืมได้ ไม่มีค่ามัดจำ แต่ต้องเป็นประชากรของสิงคโปร์ และขยายการยืมเป็นจำนวน 100 เล่ม เป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นการพยายามส่งเสริมให้มีการคนมาใช้มากขึ้น มีการจัดการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
จากการฟังประสบการณ์ของ Ms. Liang Shuang เห็นว่า ใน ISEAS Library มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักวิจัย ตั้งแต่การให้ความรู้ หรือการปฐมนิเทศ การใช้บริการ การให้บริการระหว่างการวิจัย และการขอผลงานนักวิจัย ในการมาจัดทำเป็น Private Collection ซึ่งได้มีการสอบถามถึง การดำเนินการ Private Collection ที่มีการดำเนินการถึงการวิเคราะห์เนื้อหาของผลงาน และเพื่อจะนำไปสู่ state of the art ของงานวิจัยในเรื่องนั้นๆ ได้ แต่ปรากฏว่า เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องภาษาของงานวิจัย จึงทำได้แต่เพียงจัดหมวดหมู่ การจัดเอกสาร เป็นต้น ยังไม่ได้สามารถทำได้ถึงขนาดการวิเคราะห์เนื้อหาของงานวิจัย และเพื่อนำการวิเคราะห์นั้นไปใช้ประโยชน์ต่อยอดต่อไป
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งพัฒนาโดย Online Computer Library Center (OCLC) เป็นระบบที่ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดประมาณ 7,200 แห่ง จาก 149 ประเทศทั่วโลก ซึ่งศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำมาใช้ในการบริหารทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ตั้งแต่การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ การจัดเก็บด้วยการลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ การสืบค้นผ่านระบบการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก และด้วยความที่เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เปิดให้บริการแก่ห้องสมุดที่เป็นสมาชิกขอใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ ผ่านบริการ WorldShareILL หรือ WorldShare Interlibrary Loan เพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับอาจารย์ นักศึกษาและบุคลากร ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอน การศึกษา การทำวิจัย และการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ซึ่งมีขั้นตอนในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศและแจ้งการขอใช้บริการ ดังนี้
วิธีการเข้าใช้ระบบการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare ILL)
1. สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ https://hcu.on.worldcat.org/discovery
หน้าจอการสืบค้น
2. พิมพ์คำค้นที่กล่องคำค้น กด enter หรือคลิก
ตัวอย่าง พิมพ์คำค้น “ค้ามนุษย์” ผลการสืบค้น พบว่ามีหนังสือตามคำค้น จำนวน 3 รายการ ดังนี้
ผลการสืบค้น
3. พิจารณารายการหนังสือที่ต้องการใช้ เช่น ต้องการอ่านหนังสือรายการที่ 1 ให้คลิกที่ชื่อหนังสือ จะเห็นว่าเป็นรายการหนังสือของห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คลิกเลือกรายการที่ 1
4. ขอใช้บริการโดยการส่งคำขอ (Request) มายังศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อดำเนินการยืมระหว่างห้องสมุด โดยคลิกที่ Request Item through InterLibrary Loan หน้าจอจะปรากฏแบบฟอร์ม ให้กรอกข้อมูลในกล่องที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบ ได้แก่
1. ประเภทของเอกสารที่ต้องการ (Service Type) 2. เวลาที่ต้องการรับเอกสาร 3. ชื่อ นามสกุล อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ 4. กด Submit
หน้าจอการกรอกแบบฟอร์มเพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด
หลังกด Submit แล้ว Request นี้ จะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อดำเนินการต่อไป
*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกบริการสารสนเทศ หมายเลขโทรศัพท์ภายใน 1472, 1473
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS
วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services หรือ WMS มาใช้ และเริ่มใช้ระบบยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560
การให้บริการยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เหมือนกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วๆ ไป ที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการยืม และคืนให้ในระบบ เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังมิได้นำเครื่องยืม คืน ด้วยตนเองมาใช้ เมื่อมีการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศแล้ว โอกาสที่จะเกิดขึ้นก็คือ ผู้ใช้อาจจะใช้ทรัพยากรสารสนเทศนั้น ไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่ให้ยืม ตามสิทธิ์ กรณีนี้ ผู้ใช้สามารถมาต่ออายุการยืม ด้วยตนเองที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือผู้ใช้สามารถต่ออายุการยืม ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้้นตอนง่ายๆ ดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์ ห้องสมุดหรือศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ lib.hcu.ac.th จะเห็นรูปหน้าจอการค้น คือ WorldCat Discovery (WCD) หรือ OPAC ที่เราคุ้นเค้ย
2. คลิกที่ลูกศร จากไอคอน Read the rest of this entry »
ตอนนี้ ขอเปลี่ยนชื่อ จากทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS มาเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องในแต่ละกระบวนการ นะคะ เพราะเลยช่วงการตัดสินใจเลือกมาแล้ว
บทความนี้ เป็นเรื่องของการทำสัญญา (Agreement) ห้องสมุดจะคุ้นเคยกับการอ่าน agreement เหล่านี้ เป็นอย่างดี จากการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นเรื่องของการมีสิทธิ์ ไม่มีสิทธิ์ ในการทำอะไรกับฐานข้อมูล การหมดอายุการบอกรับ เป็นต้น สัญญาของการซื้อระบบ WMS ก็เช่นเดียวกัน โดยรวมจะคล้ายอยู่บ้าง แต่ก็จะมีส่วนที่นอกเหนือจากสัญญาของฐานข้อมูลออนไลน์ อยู่มากหลายข้อ
ในเรื่องของสัญญา โดยส่วนตัวผู้เขียน มักจะเสนอหรือกล่าวกับห้องสมุดหลายๆ แห่งว่า ในส่วนของการทำสัญญานั้น ควรจะมีนักกฎหมายเข้ามาช่วยพิจารณาด้วย เพราะในสัญญา จะมีข้อความที่เป็นในเรื่องทางกฎหมาย บรรณารักษ์อย่างพวกเรา อ่านแล้วอาจจะไม่เข้าใจ หรือพอจะเข้าใจบ้างตามการแปล แต่ในบริบทของตัวบทกฎหมายนั้น เราอาจจะไม่ทราบถึงเหตุและผลที่จะตามก็ได้ค่ะ
ดังนั้น การจะลงนามในสัญญา ทางมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการในลักษณะนี้ ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยสรุปก่อนจะเสนอผู้บริหารระดับสูง ลงนาม (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละแห่ง) ผู้เขียน ต้องสรุปโดยรวม ว่ามีประเด็นหรือไม่มีประเด็นใด ที่ต้องพิจาณาเป็นพิเศษ เพื่อเป็นข้อมูลในเบื้องต้นให้ผู้บริหารระดับสูง รับทราบและพิจารณาก่อนลงนาม
กระบวนการนี้ ใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากต้องศึกษากันอย่างละเอียด นิติกร ก็จะเสนอประเด็นมาทางห้องสมุด ให้ประสานทำความเข้าใจ กับข้อความที่สัญญาระบุ กับทาง OCLC ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ ก็จะมีประเด็นในการสอบถาม เช่นกัน และจะมีการระบุการชำระเงินด้วย สามารถเจรจาแบ่งจ่ายเงินเป็นงวดๆ ได้ค่ะ
คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4
อนาคตเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่วันพรุ่งนี้
มาถึงตอน ต่อรองราคา นับเป็นโชคดีของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ท่านอธิการบดี คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติดี (ท่านเป็นผู้นำเอาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ คือ INNOPAC เข้ามาใช้เป็นแห่งแรกที่สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซึ่งปัจจุบันคือ สำนักวิทยทรัพยากร) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ) เมื่อท่านพิจารณาจากข้อมูลที่นำเสนอ และตัดสินใจเลือกระบบ WMS เป็นระบบที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าเหมาะสมที่สุด ท่านจึงเข้ามาเจรจาเรื่องราคาให้ด้วย
ในเรื่องการเจรจา ทางมหาวิทยาลัยใช้เวลาในการเจรจาเรื่องราคา 2 คร้้งหลักๆ ครั้งแรกเป็นราคาที่บริษัท AMS เสนอมาตามที่ OCLC แจ้งมา ได้มีการเรียนปรึกษาท่านอธิการบดี โดยได้รับคำแนะนำในการปรับราคา ไปทาง OCLC ซึ่งแน่นอนว่า ราคาที่เสนอไปนั้นลดลงจากเดิม จึงยังไม่ลงตัวกันทั้งสองฝ่าย การตกลงเรื่องราคา จึงทิ้งระยะเวลามาช่วงหนึ่ง การเจรจาครั้งที่ 2 นับว่า เป็นความโชคดี เช่นกัน ที่ตัวแทนของ OCLC ในแถบเอเชีย – แปซิฟิก เดินทางมาประเทศไทย ได้เข้ามาเจรจาโดยตรงแบบเผชิญหน้า ซึ่งน่าจะเป็นการส่งผลดี แต่ทั้งนี้ สิ่งที่ควรจะได้ดำเนินการ ก็คือ Read the rest of this entry »
เมื่อผู้บริหาร ตัดสินใจเลือก ระบบ WMS เพราะพิจารณาคุณลักษณะหลายๆ อย่างแล้ว รวมทั้งราคา สิ่งที่ควรจะทำเป็นขั้นตอนต่อไป ก็คือ ราคาที่จะซื้อนั้น จะลดลงจากเดิมได้หรือไม่ เหมือนกับการซื้อขายสินค้าทั่วๆ ไป เพราะคนซื้อก็อยากได้ของดี ราคาถูก แต่เป็นสัจธรรม คุณภาพตามราคา
คุณลักษณะ คุณสมบัติตรงกับที่ต้องการ (หรือมากกว่าที่คาดหวังไว้) ประโยชน์ในการใช้งาน (คุ้มแน่) มีข้อได้เปรียบมากกว่าเสียเปรียบ หรือมีข้อด้อยที่ยอมรับได้ หรือ น้อย หรือ ไม่มี แต่ทุกอย่างไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ หรือ Nothing is perfect คงต้องมีบางอย่างที่อาจจะพบที่อาจจะไม่ได้ดังใจของเราทุกอย่าง แต่ที่เห็นว่า ระบบ WMS เป็นระบบที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ Read the rest of this entry »