SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Service – WMS ตอนที่ 1
ต.ค. 6th, 2017 by supaporn

เมื่อครั้งเริ่มเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูงในการพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ เพื่อมาทดแทนระบบเดิม ซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม และมีการหยุดชะงักของระบบเป็นหลายช่วง และผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ คนก่อนได้ศึกษาไปบ้างแล้ว แต่ข้อมูลหลายอย่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะตัดสินใจ จึงได้มีการมอบหมายให้ศึกษาใหม่อีกครั้ง

การพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ จึงเริ่มต้นด้วยการศึกษาวรรณกรรมที่กล่าวถึงพัฒนาการหรือเทคโนโลยีที่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ควรจะเป็นแบบใด และนำมารวมกับประสบการณ์ที่เคยทำงานเป็นบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศมานานถึง 18 ปี และคุ้นเคยกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรกที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทย ประสบการณ์ในการเริ่มต้นตั้งแต่การรับทราบปัจจัยในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติของผู้บริหาร เมื่อครั้งที่ทำงานอยู่ที่สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำได้ว่า ผู้อำนวยการในขณะนั้น คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ (และเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในขณะนี้) ได้เริ่มต้นศึกษา และมีการไปศึกษาดูงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติในหลายประเทศ พร้อมกับให้บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางไปห้องสมุดต่างประเทศ เพื่อศึกษาการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ สรุปสุดท้าย เมื่อพิจารณาระบบที่มีความเหมาะสมในขณะนั้นแล้ว การเป็นผู้บุกเบิกระบบใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ หรือสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในห้องสมุด ล้วนต้องประสบกับการไม่รู้ เพราะไม่มีใครในประเทศไทยรู้เรื่องเหล่านี้ มาก่อน บรรณารักษ์รุ่นเด็กอย่างผู้เขียน ยังไม่หนักมากเท่าบรรณารักษ์รุ่นพี่ ที่ต้องพยายามผลักดันให้เกิดระบบและใช้งานจนได้ Read the rest of this entry »

มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ก้าวสำคัญของห้องสมุดไทย
มิ.ย. 10th, 2017 by supaporn

จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ได้เสนอข้อมูลห้องสมุดสีเขียว หรือ Green Library ที่ผ่านจาก สัมภาษณ์ ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ให้กำเนิดห้องสมุดสีเขียวในประเทศไทย และมีความร่วมมือกับเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว มีเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินห้องสมุดที่ขอรับการตรวจประเมิน และมีการสัมภาษณ์ห้องสมุดที่เข้าโครงการนำร่องในการตรวจประเมิน 10 แห่ง โดย ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ติดตามอ่านรายละเอียด

รายการอ้างอิง

วรธาร. มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ก้าวสำคัญของห้องสมุดไทย. ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน 2560 ปีที่ 15 ฉบับที่ 5236 หน้า M1

การเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน
พ.ค. 21st, 2017 by supaporn

New-Service

เครือข่ายความร่วมมือการใช้บริการและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน

จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) มีความร่วมมือทางวิชาการกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายประกันคุณภาพ และความร่วมมือทางวิชาการในการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ทำให้ประชาคม มฉก. ทั้งนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร สามารถใช้บริการของห้องสมุดในเครือข่ายดังกล่าว โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่

  1. สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  3. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  4. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  5. สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  6. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมห้องสมุดสาขาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8 แห่ง แบ่งเป็นห้องสมุดสาขาท่าพระจันทร์ มีทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ (คณะนิติศาสตร์) ห้องสมุดศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย (คณะพาณิชยศาสตร์ฯ) ห้องสมุดศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม (คณะรัฐศาสตร์) ห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ (คณะเศรษฐศาสตร์) และห้องสมุดคณะวารสารศาสตร์ฯ ห้องสมุดสาขา ณ ศูนย์รังสิต 2 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี (ห้องสมุดกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ) และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์

โดยมีข้อปฏิบัติในการเข้าใช้บริการห้องสมุดร่วมกัน คือ

  1. นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของแต่ละแห่งต้องแสดงบัตรประจำตัวก่อนการเข้าใช้บริการทุกครั้ง
  2. นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของแต่ละแห่งต้องปฏิบัติตามระเบียบการใช้บริการของห้องสมุดที่เข้าใช้บริการ

ระยะเวลาของข้อตกลงความร่วมมือฯ มีกำหนด 2 ปี คือ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 27 กันยายน 2561 (สำหรับการเข้าใช้ห้องสมุดในลำดับที่ 2-6)  ส่วนสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น (ไม่รวมห้องสมุดคณะ) มีกำหนด 3 ปี ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 25 เมษายน 2563

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ลงนามความร่วมมือวิชาการให้บริการสารสนเทศกับ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ค. 19th, 2017 by supaporn

สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามทางวิชาการการให้บริการสารสนเทศระหว่างห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามทางวิชาการการให้บริการสารสนเทศระหว่างห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามทางวิชาการการให้บริการสารสนเทศระหว่างห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร เพื่อให้บริการวิชาการแก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา และแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน โดยสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารสนเทศได้โดยตรงผ่าน website ของสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ เมื่อได้ข้อมูลทรัพยากรที่ต้องการแล้วจึงดำเนินการยืมระหว่างห้องสมุดต่อไป การแบ่งปันและร่วมกันใช้ทรัพยากรต่างๆ ของห้องสมุดในครั้งนี้ สำนักงานวิทยทรัพยากรจะบริหารจัดการด้วยมาตรฐานเดียวกันกับที่ดำเนินการกับห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ของรัฐ โดยไม่คำนึงถึงขนาดหรือสถานที่ตั้งของห้องสมุดแต่ละแห่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการแบ่งปันทรัพยากรห้องสมุด ลดความซ้ำซ้อน และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการดูแลบำรุงรักษาห้องสมุด

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเข้าร่วมลงนามทางวิชการการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเข้าร่วมลงนามทางวิชการการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็น 1 ใน 14 แห่งของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน การลงนามความร่วมมือทางวิชาการเป็นปฐมฤกษ์ในครั้งนี้

ภาพประกอบ

รายละเอียดของข่าว

มาสัมผัส New TCDC Resource Center
พ.ค. 13th, 2017 by supaporn

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2560 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ได้เปิด New TCDC Resource Center ณ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง หลังจากที่ย้ายจากสถานที่เดิม ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับบัตรเชิญเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดนี้ รีบตอบรับ เพราะอยากจะเห็นโฉมหน้าใหม่ การจัดพื้นที่การให้บริการ เคยประทับใจจากที่เดิม คิดว่าแห่งใหม่ก็ไม่แพ้กัน

บัตรเชิญ

บัตรเชิญ

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้พาสถาปนิกจากกองอาคารและสถานที่ ของมหาวิทยาลัยไปด้วย เพราะมีโครงการจัดขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดทำเป็น Learning Space ให้กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา เพื่อฟังแนวความคิดในการจัดพื้นที่การใช้งาน

ตั้งแต่หน้าประตูทางเข้าตกแต่งด้วยดอกไม้ เก๋ๆ อย่างมีสไตล์ เมื่อลงทะเบียนและรับของที่ระลึกซึ่งเป็นหนังสือหลายเล่มน่าสนใจทีเดียวค่ะ แล้วก็ขึ้นไปชั้น 5 บริเวณครีเอทีฟ สเปซ ก่อนเข้าพิธีมีการรับประทานอาหารว่างกันไปพลางๆ แต่ส่วนใหญ่ ตื่นตาตื่นใจไปกับบรรยากาศ โดยรอบ และพูดคุยกับแขกท่านอื่นๆ มากกว่า ล้วนเป็นคนในวงการ กันเองทั้งนั้นค่ะ

ดอกไม้หน้าทางเข้า

ดอกไม้หน้าทางเข้า

Read the rest of this entry »

บิดาของเว็บกับรางวัลทัวริง 2016
เม.ย. 21st, 2017 by supaporn

วันนี้ 21 เมษายนเป็นวันความคิดสร้างสรรค์โลก ขอแนะนำผู้ได้รับรางวัลทัวริงปีล่าสุด ซึ่งเป็นรางวัลที่มีเกียรติสูงสุด ของนักคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลของวงการคอมพิวเตอร์

ผู้ได้รับรางวัลทัวริงปีล่าสุด 2016 เป็นเงิน 1 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งประกาศไม่กี่วันก่อนคือ ผู้คิดค้นเว็บซึ่งเป็นนวัตกรรมสำคัญของโลกยุคนี้ ชื่อ เซอร์ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี

เซอร์ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี

เซอร์ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี

ทิมเป็นนักคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ เขาได้ไอเดียการสร้างเว็บระหว่างทำงานที่เซิร์น CERN องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป อยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อต้องการแก้ปัญหาเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลของนักฟิสิกส์
ทิมจึงคิดค้นเว็บ และสร้างเว็บบราวเซอร์ตัวแรกของโลก จากนั้นเผยแพร่เว็บ จนแพร่หลายทั่วอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้

ทิมได้รับรางวัลมากมายจากการคิดค้นเว็บ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวิน และได้รับรางวัลทัวริง 1 ล้านดอลล่าร์ในที่สุด

ติดตามผู้ที่เคยได้รับรางวัลทัวริง หรือ Turing Award ได้ที่

ตามลำดับอักษร http://amturing.acm.org/alphabetical.cfm

ตามลำดับปี http://amturing.acm.org/byyear.cfm

 

รายการอ้างอิง

ธงชัย โรจน์กังสดาล. บิดาของเว็บกับรางวัลทัวริง 2016. เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560 ฉบับที่ 24662 หน้า 23.

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย
เม.ย. 16th, 2017 by supaporn

จากการบรรยายของ ศาสตราจารย์ ดร. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์ หัวหน้าคณะผู้จัดทำจรรยาวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติให้กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 ณ ห้องบรรยาย 3 อาคารอำนวยการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอสรุปส่วนหนึ่งของการบรรยาย ที่เกี่ยวกับการจัดทำผลงาน การเผยแพร่ผลงานวิจัย ขอนำมาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้อยู่ในกรอบของการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย จากเอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการ ของสำนักพัฒนาวิชาการ ดังนี้

การเผยแพร่ผลงานวิจัย

  • หากไม่จำเป็นไม่ควรเสนอผลงานที่ยังไม่สมบูรณ์ (Premature) หรือยังไม่ได้รับการประเมินออกสู่สังคม
  • ต้องให้เกียรติและอ้างถึงนักวิชาการ/แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้
  • ระบุและลำดับชื่อผู้นิพนธ์อย่างถูกต้องเป็นธรรม
  • ขอบคุณบุคคล คณะบุคคล และองค์กรที่สนับสนุนงานวิจัยในกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
  • นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรม
  • แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณะ
  • ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อนหรือมากกว่า 1 แห่ง (Dual or duplicate publication)
  • ตีพิมพ์ผลงานมากกว่าหนึ่งภาษาได้ หากวารสารที่จะตีพิมพ์มีนโยบายรองรับ แต่ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบล่วงหน้าด้วย
  • ส่งเรื่องเต็มของบทคัดย่อ (Abstract) ที่ตีพิมพ์ใน Proceedings ไปให้วารสารวิชาการพิจารณาได้ แต่ควรให้บรรณาธิการวารสารนั้นทราบและยินยอมก่อน
  • ไม่แบ่งย่อยผลงานวิจัยเป็นหลายเรื่องเกินความเหมาะสม เพื่อเพิ่มจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ (Salami publication or Balogna) เพราะอาจลดคุณค่าของงานได้ (แต่อาจจกระทำได้ หากบทความเหล่านั้น มีเนื้อหาเหมือนกันไม่เกินร้อยละสิบ และต้องไม่ใช้ตารางหรือภาพประกอบเดียวกัน และให้บรรณาธิการวารสารที่ส่งเรื่องไปตีพิมพ์ทราบและยินยอมด้วย)
  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยแก่ผู้สนใจและร้องขอ ควรเป็นไปตามเงื่อนไขหรือได้รับความเห็นชอบตากต้นสังกัดว่าด้วยจริยธรรมที่ครอบคลุมข้อมูล วัสดุและทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

Read the rest of this entry »

คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เม.ย. 14th, 2017 by supaporn

คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ค้นคว้าและเรียบเรียง คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้น เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเบื้องต้น เกี่่ยวกับโบราณราชประเพณีดังกล่าว และเพื่อนำความรู้ดังกล่าวไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

หนังสือคำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประกอบด้วยคำอธิบายของคำศัพท์ ดังต่อไปนี้ Read the rest of this entry »

Growroom ประหยัดพื้นที่ ช่วยเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก
เม.ย. 14th, 2017 by supaporn

Growroom จากไอเดียของสถาปนิก Mads-Ulrik Husum และ Sine Lindholm จาก Space10 ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นเหมือนสวน ปลูกพืช ผัก สมุนไพร ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่จำกัด หรือปลูกในเมืองได้ Growroom เปิดตัวเมื่อปลายปี ค.ศ. 2016 โครงสร้างเป็นกระบะปลูกพืชที่โค้งต่อจนกันเป็นวงกลม ออกแบบให้กระบะรับแสงแดดได้อย่างทั่วถึง แถมมีที่นั่งภายในอีกด้วย

Growroom

The Growroom by Ikea’s Space10, Mads-Ulrik Husum, and Sine Lindholm.R Hjortshoj

น่าจะนำมาใช้เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับหน่วยงานได้ เป็นทั้งเฟอร์นิเจอร์ พื้นที่ปลูกพืช ผัก สมุนไพร หรือลองหาพืชที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมภายในอาคาร  มีเว็บไซต์อธิบายวิธีการประกอบในแต่ละขั้นตอนด้วยค่ะ เช่นที่ http://www.designboom.com/design/ikea-space10-the-growroom-flat-pack-spherical-garden-02-20-2017/ และ https://medium.com/space10-the-farm/space10-open-sources-the-growroom-aa7ca6621715  ลองค้นดูค่ะ มีข้อมูลเยอะทีเดียว

อ้างอิง

Garfield, Leanna (2017). Ikea just launched a DIY flat-pack indoor garden that can feed a whole lot of people at once. Retrived from http://www.businessinsider.com/ikeas-growroom-photos-2017-2

ภารกิจ เลือก ซื้อ (หนังสือ) เข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ
เม.ย. 8th, 2017 by supaporn

ภารกิจของปิดมหาวิทยาลัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ ภารกิจจัดซื้อหนังสือจากศูน (45th National Book Fair and 15th Bangkok International Book Fair 2017) ซึ่งกำหนดจัดให้มีระหว่างวันพุธที่ 29 มีนาคม – วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2560 รวม 12 วัน ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด ในการนี้ พระราชทานพระราชดำรัส เปิดงาน ความว่า “ขอแสดงความชื่นชมในความมุ่งมั่นของคณะผู้จัดงาน ที่ร่วมมือกันอย่างแข็งขันจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและสัปดาห์หนังสือนานาชาติต่อเนื่องทุกปีมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังวัฒนธรรมการอ่านให้แพร่หลายในสังคมไทย ด้วยจิตเจตนาที่จะสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งปัญญาที่เกิดจากการอ่านหนังสือ งานทุกครั้งมีผู้เข้าชมจำนวนมาก ที่ตั้งใจมาเลือกซื้อตามความสนใจ แสดงให้เห็นว่า แม้การอ่านจะมีวิวัฒนาการมาจนถึงขั้นอ่านได้จากอุปกรณ์สื่อสาร เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ยังมีคนอีกมากที่นิยมอ่านหนังสือเล่มที่ให้รสชาติและความรู้สึกของการอ่านอย่างแท้จริง ในปัจจุบันหนังสือดีมีให้เลือกอย่างหลากหลาย ทั้งที่ให้ความรู้ ที่ช่วยเสริมสร้างความคิด และแรงบันดาลใจ ที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจ หรือที่ให้ความรื่นรมย์ใจ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาศาสตร์ต่างๆ อย่างละเอียดลุ่มลึก ก็มีหนังสือที่เป็นตำรับชตำราให้เลือกสรรสืบค้น หนังสือจึงยังเป็นของมีค่า เป็นที่ต้องใจนักอ่านมาตลอด ตั้งแต่เริ่มแรกที่มีหนังสือเกิดขึ้น”

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa