SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความแตกต่างระหว่าง “Co-Working Space และ Learning Space” ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
กรกฎาคม 7th, 2021 by Natchaya

ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศก็เป็นเรื่องง่าย แค่มี สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ผ่านอินเตอร์เน็ต ก็สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลาแล้ว ผู้ใช้บริการจึงไม่จำเป็นต้องเข้าห้องสมุดเพื่อมาค้นหาข้อมูล จำนวนผู้เข้าใช้บริการห้องสมุดก็ลดน้อยลง ฉะนั้นห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตในยุคปัจจุบัน ด้วยการเพิ่มพื้นที่นั่ง พื้นที่ทำกิจกรรม ให้มากขึ้น และศูนย์บรรณสารสนเทศก็ได้จัดสรรพื้นที่ Learning Space และ Co-Working Space ให้กับผู้ใช้บริการได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

และระหว่าง “Co-Working Space และ Learning Space” ในศูนย์บรรณสารสนเทศ ต่างกันอย่างไร?

Co-Working Space 

ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการทำงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ มีอุปกรณ์ไว้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น Smart TV  พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง และ Glass Board ที่เขียนสะดวก ลบได้ง่าย เหมาะสำหรับการประชุมงานกลุ่ม ติวหนังสือ หรือใช้สำหรับการเรียนการสอนในกลุ่มเล็กๆ  หรือหากต้องการความเป็นส่วนตัว ก็มีโต๊ะเดี่ยวตามมุมต่าง ๆ พร้อมปลั๊กไฟ และช่อง USB ไว้ให้บริการทุกที่นั่ง รวมทั้งมีบริการคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นข้อมูล เครื่องสแกนเอกสาร ไว้ให้บริการกับผู้ใช้ทุกคนด้วย

นอกจากจะใช้ประโยชน์ในเรื่องการเป็นพื้นที่ทำงานแล้ว Co-Working Space ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังมีวิวโดยรอบที่สวยงาม มีโซนหญ้าเทียม เบาะนั่งสำหรับผ่อนคลาย และมี WiFi ให้บริการครอบคลุมทั้งพื้นที่ 

 

Learning Space 

ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารบรรณสาร เป็นพื้นที่เอนกประสงค์แบ่งการใช้งานเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ห้องใหญ่ เหมาะกับการนั่งทำงานแบบรวมกลุ่ม ติวหนังสือ หรือประชุมเป็นกลุ่มใหญ่  ส่วนที่ 2 ห้องเล็ก เป็นโต๊ะยาวมีฉากกั้น แบ่งสัดส่วนให้เป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับทำงาน ทำการบ้าน แบบส่วนตัว และส่วนที่ 3 เป็น Quiet Zone เป็นโซนที่งดใช้เสียง โต๊ะมีฉากกั้นแบบส่วนตัว เหมาะสำหรับการทำงานหรืออ่านหนังสือแบบสงบเงียบไม่ต้องการเสียงรบกวน

ซึ่งในพื้นที่ Learning Space ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จะมีปลั๊กไฟ ไว้ให้บริการทุกจุด แต่หากต้องการอุปกรณ์อย่างอื่น เช่น ไวท์บอร์ด ปลั๊กพ่วง ต้องไปขอใช้บริการที่เคาน์เตอร์ยืมคืนชั้น 1 

ความแตกต่างของ Co-Working Space และ Learning Space อาจจะเป็นแค่เรื่องของพื้นที่นั่งและสิ่งอำนวยความสะดวก นอกนั้นจะเห็นว่าเป็นพื้นที่เอนกประสงค์ที่ปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน การทำงานหรือประชุมกลุ่ม ก็สามารถใช้บริการพื้นที่ทั้งสองนี้ได้อย่างครอบคลุมความต้องการ


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa