SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การลงข้อมูล (Metadata) ในเอกสารงานวิทยานิพธ์และงานวิจัย มฉก.
ก.ค. 31st, 2019 by Dr.sanampol

เมทาดาทา (Metadata)คือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของข้อมูลต่างๆ เช่นถ้าเป็นหนังสือ เมทาดาทาของหนังสือก็คือ ข้อมูลที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อเจ้าของผลงาน ผู้รับผิดชอบ สิทธิของหน่วยงาน  ปีที่เขียน เป็นต้น  ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย ซึ่งมีการลงเมทาดาทาในไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย มีขั้นตอนการลงในเมทาดาทา ดังนี้

1.เปิดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ขึ้นมา (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1

2.ให้คลิกที่เมนู  File (ภาพที่ 2) จะเห็นเมนูต่างๆ ปรากฏขึ้นมา Read the rest of this entry »

การใส่ metadata ให้ไฟล์ PDF
ม.ค. 12th, 2018 by Suvanrat Kraibutda

ในปัจจุบันเรามักจะใช้โปรแกรม Microsoft Office Word ในการจัดทำเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของการให้ข้อมูล และเมื่อเราต้องการทำเอกสารนั้นให้อยู่ในรูปแบบเดิม หรือรักษาคุณสมบัติของเอกสารนั้นไว้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ การจัดหน้ากระดาษ และฟอนต์ จะต้องทำการ Export ไฟล์เอกสารให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF ซึ่งเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก และสามารถเปิดได้กับทุกอุปกรณ์

หากเราต้องนำไฟล์เอกสารในรูปแบบ PDF ไปเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต หรือต้องการแชร์ให้ผู้อื่น เราสามารถกำหนดขอบเขตการใช้เอกสารได้โดยการใส่ metadata ให้ไฟล์ PDF เพื่อป้องกับการคัดลอกข้อความ หรือรูปภาพได้โดยง่าย ทำให้ผู้อ่านสามารถเปิดอ่านได้เพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ เอกสารที่ใส่ Metadata และถูกใช้เผยแพร่ลงอินเตอร์เน็ต จะสามารถถูกค้นด้วย Google หรือ Web Search Engine ได้  Search Engine จะหาไฟล์เอกสารเจอได้ จากการใส่ Keywords โดยระบุเป็นคำๆ และคั่นด้วยเครื่องหมาย comma ( , ) ประโยชน์ของ Search Engine คือ เอกสารของเราจะถูกค้นหามากขึ้นจากผู้ใช้ทั่วโลก ที่ค้นหาคำสำคัญ หรือ Keywords ตรงกันกับ Keywords ที่เราใส่ไว้ใน metadata ค่ะ

Read the rest of this entry »

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์ เป็นหัวข้อหนึ่งในหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน บรรยายโดย อาจารย์ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยอาจารย์ได้นำความรู้มาบรรยาย ในประเด็นต่อไปนี้

  1. ทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  2. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  3. กระบวนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  4. ตัวอย่างหอจดหมายเหตุดิจิทัลและพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล
  5. การพัฒนา “คลังสารสนเทศดิจิทัล” เริ่มต้นอย่างไร?

เริ่มต้น วิทยากรให้ความหมาย คำว่า “ทรัพยากรสารสนเทศ” ใน 2 มุมมอง คือ ความหมายในแง่ขององค์กร และของบุคคล กล่าวคือ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ในมุมมองขององค์กร หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ที่ได้มีการรวบรวม กลั่นกรอง เรียบเรียง หรือประมวลผลไว้ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส แล้วนำมาบันทึกด้วยวิธีการต่างๆ ลงวัสดุชนิดต่างๆ เพื่อจัดเก็บ หรือเผยแพร่ให้ผู้รับได้ทราบ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ หรือความบันเทิง ขณะที่ ทรัพยากรสารสนเทศในมุมมองของบุคคล เน้นในเรื่องของความทรงจำของบุคคลนั้น เป็นความทรงจำที่มีความหมาย มีความสำคัญ หรือถูกด้วยปัจจัยต่างๆ โดยผู้เป็นเจ้าของของความทรงจำ เช่น ภาพถ่ายที่ถูกบันทึกลงในกระดาษ ภาพถ่ายในรูปแบบฟิล์ม ม้วนเทปวิดีโอ เทปบันทึกเสียง ภาพวาด สมุดบันทึก Sketchbook ฯลฯ ดังนั้น ทรัพยากรสารสนเทศ จึงแบ่งได้เป็น Read the rest of this entry »

จาก Cataloging librarians สู่ Metadata Librarians
มี.ค. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 29 มีนาคม 2559 เวลา 13.30-16.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรม Knowledge Sharing เรื่อง จาก Cataloging librarians สู่ Metadata Librarians โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทราบถึงบทบาทที่แตกต่างของการเป็น Cataloging Librarians และ Metadata Librarians ซึ่งมีการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยี ผนวกเข้ากับความรู้ทางด้านการลงรายการ รวมทั้งทักษะอื่นๆ อีกหลายประการ Read the rest of this entry »

ศึกษาดูงานศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ และภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาตร์ จฬ.
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) มีภารกิจในด้านการบริหารจัดการ และดำเนินการงานหอจดหมายเหตุ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย อธิการบดีในสมัยนั้น เห็นความสำคัญของการมีหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่มโครงการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 และทำพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และดำเนินการรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย จัดเก็บรักษา และให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หอจดหมายเหตุ มฉก. จึงมีแผนการในการจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล และเพื่อให้สามารถจัดเก็บและเข้าถึงได้มากขึ้นและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้เริ่มศึกษาแนวทางในการปฏิบัติงานและระบบต่างๆ เพื่อจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย และมีการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานสากล โดยการศึกษาดูงานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นยอมรับ และมีความเชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับความรู้ ประสบกรณ์ และบทเรียนในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อขอศึกษาดูงานในเรื่องการใช้มาตรฐานการลงรายการเอกสารจดหมายเหตุ ISAD (G) รวมทั้งประสบการณ์การใช้โปรแกรม ICA-Atom ในการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ และ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอศึกษาดูงานการใช้โปรแกรม Omeka ในการจัดการฐานข้อมูลคลังภาพ อักษรศาสตรบรมราชกุมารี คลังดิจิทัล Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa