พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง. (2561). การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bang Sao Thong District, Samutprakan Province). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
รายงานการวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านริมคลองในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของคลองที่เปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นศึกษาจากการลงภาคสนามและเอกสารเป็นสำคัญ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุในท้องถิ่น นักวิชาการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พระภิกษุ รวมทั้งศึกษาจากเอกสารราชการ งานเขียนกึ่งวิชาการ บันทึกท้องถิ่น หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ แผนที่คลองในอดีตและปัจจุบัน และลงภาคสนามสังเกตลักษณะทางกายภาพของคลองและสถานที่ ๆ เกี่ยวข้อง โดยมีการตรวสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า(Triangulation) ผลจากการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อส่วนใหญ่คนในท้องถิ่นตั้งกันเองตามชื่อบุคคลที่อยู่ในคลองหรือลักษณะโดดเด่นของคลอง เช่น ชื่อพืชพันธุ์ไม้ ขนาดหรือทิศทางของคลอง ภูมิประเทศ สัตว์ สิ่งก่อสร้าง กริยาการกระทำ เครื่องใช้ไม้สอย และความเชื่อหรือตำนาน ตามลำดับ เพื่อจดจำได้ง่ายและสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน
บทบาทและความสำคัญของคลองจากอดีตสู่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลัง คลองในอดีตที่เคยมีความสำคัญเป็นต้นกำเนิดของชุมชน แหล่งเศรษฐกิจทำกินและเส้นทางคมนาคมหลัก เปลี่ยนไปเมื่อถนนตัดผ่าน ก็ก่อเกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรมและหมู่บ้านแห่งใหม่ของคนต่างถิ่นอยู่ตามแนวถนนและมีรูปแบบสังคมเมือง ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ติดคลองเปลี่ยนเป็นรูปแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท Read the rest of this entry »
บังอร ฉางทรัพย์ สุภาภรณ์ วรรณภิญโญชีพ ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์ เกษม พลายแก้ว ภาสินี สงวนสิทธิ์ และ ระพีพันธุ์ ศิริเดช (2561). ความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย (Prevalence of Enterobius vermicularis among preschool and lower primary school children in Bangbor district, Samutprakarn province, Thailand). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และ 2) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาโดยการตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดด้วยวิธีสกอตเทป ในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษา ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 9 แห่ง และโรงเรียนประถมศึกษา 20 แห่งในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2559 เด็กที่รับการตรวจจำนวน 2,013 คน เป็นเพศชาย จำนวน 1,013 คน เพศหญิง จำนวน 1,000 คน ผลการสำรวจพบความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็ก ร้อยละ 5.17 (104/2,013) พบเด็กขายมีความชุกพยาธิเข็มหมุด ร้อยละ 5.23 (53/1,013) เพศหญิง ร้อยละ 5.10 (51/1,000) เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กกับปัจจัยที่ศึกษา ประกอบด้วย 1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับเด็ก ได้แก่ เพศ อาการแสดงของโรค และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด 2) ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ปกครองเด็ก ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย ระดับการศึกษา อาชีพ พื้นเพดั้งเดิม และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคพยาธิลำไส้ และ 3) พื้นที่ศึกษา พบว่าเกือบทุกปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์กับความชุกของยาธิเข็มหมุดในเด็ก (p>0.05) ยกเว้น ปัจจัยด้านการกัดเล็บเล่นของเด็ก ความเพียงพอค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเด็ก และระดับการศึกษาของผู้ปกครองเด็ก ที่มีความสัมพันธ์กับความชุกพยาธิเข็มหมุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กวัยประถมศึกษายังคงมีการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดค่อนข้างสูง ดังนั้นควรมีการอบรมครูและผู้ปกครองเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีเพื่อลดการแพร่ระบาดของพยาธิเข็มหมุดในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป
Read the rest of this entry »
วันนี้ (20 มีนาคม 2560) ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เป็นตัวแทนมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ ซึ่งรับมอบโดย นายเกริกชัย นรสิงห์ นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ และ นายเทอดศักดิ์ วิชะยะวงศ์ เจ้าพนักงงานราชทัณฑ์ปฎิบัติการ เรือนจำกลางสมุทรปราการ สำหรับหนังสือที่มอบให้ในครั้งนี้ มีจำนวน 691 รายการ เพื่อประโยชน์ต่อการเรียน การสอน และการศึกษาค้นคว้าของเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังต่อไป และจัดเป็นกิจกรรมในทุกปีที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ
ส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ
ส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ รับมอบโดยนายเกริกชัย นรสิงห์ นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ และ นายเทอดศักดิ์ วิชะยะวงศ์ เจ้าพนักงงานราชทัณฑ์ปฎิบัติการ เรือนจำกลางสมุทรปราการ
ภาพจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ
จากการลงพื้นที่ของ อ. อัญชลี สุภาวุฒิ นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อหาข้อมูลการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ ทำให้พวกเราทราบว่า
“หากจะกล่าวถึงปลาสลิดรสชาติดี จะต้องนึกถึงปลาสลิดบางบ่อ โดยแหล่งผลิตปลาสลิดใหญ่ที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ คือ ตำบลคลองด่าน อำเภอคลองด่าน ลุงผัน หรือ ผัน ตู้เจริญ เริ่มเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อเป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2500 และประสบผลสำเร็จ ทำรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดีและยั่งยืน จนถึงปัจจุบัน แต่ก่อนลุงผันมีอาชีพทำนาข้าว หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วน้ำแห้งมาก จึงเริ่มคิดหาวิธีกักน้ำไว้เลี้ยงปลา โดยในบ่อของลุงผัน มีปลาดุกสีทอง ปลาช่อนสีทอง และปลาสลิด ซึ่งปลาสลิดเยอะที่สุด จึงเป็นเหตุให้เลิกทำนาข้าวและหันมาเลี้ยงปลาสลิดแทน เลี้ยงได้ประมาณ 3-4 ปี จึงได้นำปลาสลิดทูลเกล้าถวายฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในปี 2506 ถึงสองครั้ง จนได้รับพระราชทานปลาสลิดทอง
ปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ มีพื้นที่ประมาณ 5,000 กว่าไร่ บริเวณ หมู่ 1, 2 ,3, 4 และ หมู่ 11, 12 เป็นการเลี้ยงจากบ่อธรรมชาติ คือ บ่อดิน โดยจะขุดดินล้อมพื้นที่ทำคันให้สูงใช้ที่นาเดิมที่มีอยู่ ฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอน เพื่อเป็นอาหารปลา กักน้ำเก็บไว้ เริ่มปล่อยปลาลงบ่อ มีการคัดเลือกสายพันธุ์ตัวปลาที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีแผล ครีบและหางไม่แตก เพศผู้ เพศเมีย ลักษณะตัวมีขนาดใหญ่ สีดำ เน้นการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ ตัวปลาที่สมบูรณ์ สามารถวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขึ้นไป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อปลาสมบูรณ์เต็มที่ ก็จับปลามาจำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป”
รายการอ้างอิง
อัญชุลี สุภาวุฒิ. (2557). ภูมิปัญญา สร้างอาชีพ ปลาสลิดจากบ่อธรรมชาติ. สารศิลป์, 4 (2), 3-4.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ. ของฝากจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นจาก http://samutprakan.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=1
ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
Relationship among pain, stiffness, function of knee joint and balance in community-dwelling elderly people with knee osteoarthritis at Bangsaothong Municipal District, Bangsaothong District Samutprakarn Province
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อ การทรงตัวและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมใน จำนวน 128 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความสามารถในการทรงตัว (Berg balance test) และแบบประเมิน Thai modified WOMAC (Western Ontario and McMaster University) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation) Read the rest of this entry »
การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำ เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bangplee District, Samutprakarn
พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และกชพร ขวัญทอง. (2558). การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำ เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 10 (19), 14-24.
อ่านบทความฉบับเต็ม
การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ (Management of Rabies Control Program in Samutprakarn Province)
บทคัดย่อ:
การวิจัยเชิงพรรณนาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนกันยายน 2547-กรกฎาคม 2548 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและของสำนังานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 4 คน ผู้เลี้ยงสุนัขที่เป็นเจ้าของสุนัข 44 คน และผู้เลี้ยงสุนัขที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสุนัขจำนวน 16 คนที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ทำการเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์ด้วยแบบบันทึกและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่และร้อยละ ผลการิจัยพบว่าการบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลางโดยมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดยาคุมกำเนิด ทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย และฉีดวัคซีน/อิมมูโนโกลบูลิน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้สัมผัสโรค แต่กิจกรรมดังกล่าวยังต่ำกว่าเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า การประชาสัมพันธ์และประสานงานการควบคุมโรคกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด แต่ขาดการตรวจสอบจากหน่วยงานส่วนกลาง มีการอบรมอาสาสมัครปศุสัตว์จำนวน 510 ราย (เกินเป้าหมาย) ปัญหาการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า คือ การฉีดวัคซีน การฉีดยาคุมกำเนิด และการทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย ในกลุ่มสุนัขที่ไม่มีเจ้าของต่ำกว่าเป้าหมาย กลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขที่เป็นเจ้าของมีความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและการควบคุมโรค การปฏิบัติเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ยาคุมกำเนิดและทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย สูงกว่ากลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ
กิตติภณ คล้ายเจ๊ก เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล และ วาชรัตน์ นันทเสน. (2549). การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (18), 52-65.
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสมุทรปราการ
A Study of the Relationship between Ethics in Working and the Efficient Administration of the Sub-District Administration Organization (S.D.A.O) in Samutprakarn Province.
การวิจัยเชิงปริมาณเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานกับประสิทธิภาพการบริหารงานของ อบต. 2) น้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานแต่ละด้านส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของ อบต. 3) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานกับประสิทธิภาพการบริหารงานของ อบต. และ 4) เปรียบเทียบน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานแต่ละด้านที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของ อบต. ที่วิเคราะห์จากผู้บริหาร อบต. และพนักงานส่วนตำบล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร อบต. 316 คน และพนักงานส่วนตำบล 165 คน จาก อบต. 16 แห่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด เพื่อวัดประสิทธิภาพ และวัดองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ด้วยคอมพิวเตอร์ Read the rest of this entry »
ความเป็นพิษเฉียบพลันและการกลายพันธุ์ จากสารมลพิษรวมในน้ำและตะกอนดิน กรณีศึกษา คลองชวดหมัน จังหวัดสมุทรปราการ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันที่เกิดจากสารมลพิษรวมในน้ำ จากคลองชวดหมันโดยใช้เมล็ดข้าวโดยเปรียบเทียบระดับความเป็นพิษเฉียบพลันจากค่ายับยั้งการงอกที่ 50% (Inhibition Concentration at 50% : IC50) ของการงอกและความยาวราก ร่วมกับการทดสอบ การกลายพันธุ์ด้วยวิธีเอมส์ (Ames test) นอกจากนี้ยังศึกษาคุณภาพน้ำและตะกอนดินเบื้องต้นทาง กายภาพ เคมี และชีวภาพรวมทั้งปริมาณโลหะชนิดต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำทาง กายภาพของคลองชวดหมัน มีค่าพีเอช (pH) อยู่ในช่วง 6.40 – 8.03 และค่าสภาพนำไฟฟ้า (Conductivity) อยู่ในช่วง 1076 – 3660 µµS/cm คุณภาพน้ำทางเคมีพบว่ามีความเข้มข้นของไนเตรต (Nitrate) อยู่ในช่วง 23.23 – 45.88 mg/l Chemical Oxygen Demand (COD) อยู่ในช่วง 166.4- 873.6 mg/l และแอมโมเนีย (Ammonia) อยู่ในช่วง 0.49-7.12 mg/l สำหรับคุณภาพน้ำทางชีวภาพ ในน้ำพบว่ามีปริมาณแบคทีเรียอยู่ในระดับที่ไม่สามารถนำมาอุปโภค บริโภคได้ นอกจากนี้ปริมาณโลหะ ในน้ำคลองชวดหมันพบโลหะที่เกินเกณฑ์มาตรฐานน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ของประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) คือ ตะกั่ว (Lead) และ สารหนู (Arsenic) ซึ่งมีความเข้มข้นที่ 0.11 และ 0.01 mg/l ตามลำดับ สำหรับคุณภาพตะกอนดินทางกายภาพและเคมีของคลองชวดหมันพบว่า มีค่าพีเอช (pH) อยู่ในช่วง 7.42 – 8.05 ความเข้มข้นของไนเตรต (Nitrate) และแอมโมเนีย (Ammonia) อยู่ในช่วง 42.22 – 51.72 และ 32.76 – 103.45 mg – Nkg dry sediment ตามลำดับ สำหรับปริมาณโลหะหนักในตะกอนดิน พบว่า ปรอทมีค่ามากที่สุด คือ 0.5846 µg/kg Read the rest of this entry »
การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
Development and Problem Solving of a Community by Community Based Tourism Management : A case study of Bangnamphung Floating Market, Phrapadaeng District, Samut Prakan Province
การศึกษาการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนกรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์การเข้าร่วมกิจกรรมการสำรวจพื้นที่ และการใช้แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้จำหน่ายสินค้าและนักท่องเที่ยว
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง สามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชนเรื่องผลผลิตทางการเกษตรได้เพราะเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยภายนอกซึ่งได้แก่ กระแสการส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ ของภาครัฐ ที่สร้างความต้องการในการท่องเที่ยวของภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น โดยมีปัจจัยภายในคือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนเกษตรดั้งเดิมแบบยกท้องร่อง ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของภาครัฐมาตั้งแต่ปี 2520 และตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้การมีผู้นำอย่างเป็นทางการที่ดำรงตำแหน่งนายก อบต. ทำให้ สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถขยายผลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การพัฒนาด้านคมนาคม สาธารณูปโภคต่างๆ การรื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณีเป็นต้น ในส่วนของกระบวนการจัดการเพื่อบรรลุตามองค์ประกอบ 4 ด้านของการเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านพื้นที่ท่องเที่ยว (2) องค์ประกอบด้านการจัดการ (3) องค์ประกอบ ด้านกิจกรรมกระบวนการ และ (4) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมรวมถึงการประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งในและนอกพื้นที่ พบว่าทำได้ดีในองค์ประกอบที่ 1-3 หากแต่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมในองค์ประกอบที่ 4 ด้านการมีส่วนร่วม และควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกับพื้นที่ตำบลใกล้เคียงให้มากขึ้น Development and Problem Solving of a Community by Community Based Tourism Management : A case study of Bangnamphung Floating Market, Phrapadaeng District, Samut Prakan Province was a qualitative research combined with a quantitative survey. An observation of participants, interviews, activity participation, and local area survey were conducted simultaneously. Also a questionnaire was used to collect the basic data of both vendors and tourists at Bangnamphung Floating Market.The study revealed that the establishment and management of Bangnamphung Floating Market by The Administrative Organization of Tambon Bangnamphung (AOTB) assisted local people in selling their agricultural products, launching careers, and increasing their income. Such development success had been derived from an external factor which supports trends launched by the government in various types of tourism to steadily motivate people’s needs in travelling while simultaneously supporting local tourist attractions. Bangnamphung Floating Market is a natural tourist attraction with local distinctions. This Bangnamphung Floating Market was formed in an elevated agricultural area near Bangkok which has been conserved by the government since 1977. Apart from the advantages of its suitable location, its efficient leader also plays a vital role in the community. The Chairman of the Administrative Organization of Tambon Bangnamphung is the key person who mainly allocated the budget for developing the tourist attractions continuously and also widely extended the results of tourism development to link with development in other aspects such as transportation, infrastructure, and culture and custom restoration.
For the 4 components of Ecotourism (ecological tourism) namely, (1) Tourist’s allocated area, (2) Management, (3) Activity process, and (4) Participation including public relations and network making for developing tourist attractions both inside and outside the area, the first three components were very well performed. For the fourth component, some improvements are needed, especially in terms of increasing participation and network-making in developing tourist attractions within the districts nearby.
จริยาวัฒน์ โลหะพูนตระกูล. (2553). การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 1-19.