SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การสั่งซื้อหนังสือออนไลน์
ต.ค. 28th, 2020 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ มีการปรับนโยบายในการจัดซื้อหนังสือผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ตั้งแต่ช่วงการระบาดของโควิด-19 เดือน เมษายน-พฤษภาคม 2563 ซึ่งศูนย์บรรณสารสนเทศ ปิดทำการ และช่วงเวลาดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมจัดซื้อหนังสือสัญจรของแผนกจัดหาฯ ในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ที่เมืองทองธานี ซึ่งต้องงดการจัดงานอย่างกะทันหัน บรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องปรับตัว และปรับเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อมาเป็นแบบออนไลน์ วิธีการสั่งซื้อ ไม่ยุ่งยากค่ะ เหมือนกับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ทั่วไป

ขั้นตอนการจัดซื้อหนังสือออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (website) ร้านค้า ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. สมัครสมาชิกก่อนการสั่งซื้อออนไลน์

 

เมื่อสมัครสมาชิกแล้วสามารถสั่งซื้อรายการหนังสือตามที่ต้องการได้ทุกเล่มผ่าน เว็บไซต์ของร้านหนังสือ

2. เลือกรายการหนังสือที่ต้องการสั่งซื้อใส่ตะกร้า

 

Read the rest of this entry »

10 อันดับ BOARD GAME ยอดนิยม ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ก.ค. 28th, 2020 by kityaphat

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ให้บริการบอร์ดเกมเพิ่มจากทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือหรือสื่ออื่นๆ เนื่องจากบอร์ดเกมเป็นสื่อที่จะเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ได้ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการเล่นเกมคือ พัฒนาสมองและไหวพริบ ทั้งการฝึกคิด และการวิเคราะห์ ช่วยเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ ทั้งยังเป็นการฝึกภาษาอังกฤษ

ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงได้นำบอร์ดเกมมาให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 โดยให้บริการยืมบอร์ดเกม ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 มีจำนวนบอร์ดเกมที่นำมาให้บริการทั้งหมด 36 เกม   จึงขอจัดอันดับบอร์ดเกมที่ถูกยืมมากที่สุด 10 อันดับ ในปีการศึกษา 2562 ดังนี้

 

การจัดเก็บสถิติการยืม บอร์ดเกมที่มีจำนวนการยืมมาก 3 อันดับแรก คือ UNO  เกมเศรษฐี Time machine และ Exploding Kitten คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงจะได้มีโอกาสเล่น 3 เกมเหล่านี้ กันบ้างแล้ว

แนะนำหนังสือน่าสนใจใน WMS ผ่าน #SubjectGuideไกด์หนังสือให้คุณ
ก.ค. 13th, 2020 by Natchaya

ปัจจุบัน Facebook เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ และก็ถูกใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งของหน่วยงานนั้นๆ อย่างห้องสมุดก็ใช้ Facebook ในการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วย ไม่ว่าจะเป็น การแจ้งประกาศ ข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ การแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ และสามารถคลิกไปหาหนังสือที่ต้องการเพิ่มเติมก็เป็นสิ่งที่ห้องสมุดทำช่องทางให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แนะนำหนังสือด้วยการสร้าง URL Link และ แฮชแท็ก (Hashtag) #SubjectGuideไกด์หนังสือให้คุณ ในโพสหน้าเพจ Facebook เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงระบบห้องสมุด เพื่อดูหนังสือที่แนะนำ หรือค้นหาหนังสืออื่นๆ ในระบบได้ทันทีเพียงคลิกเดียว! แต่ทั้งนี้ ต้องมีการสืบค้นหัวข้อที่จะแนะนำหนังสือนั้น ๆ ก่อน นะคะ

ตัวอย่างที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แนะนำหนังสือด้วยการใช้ Subject Guide เพื่อการประชาสัมพันธ์หรือแนะนำหนังสือผ่าน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศค่ะ

Read the rest of this entry »

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
พ.ค. 24th, 2018 by somsri

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและจีนศึกษา ศูนย์บรรณสารสนเศ ซึ่งเป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย จึงมีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีการให้บริการหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ ชั้น 4

ดังนั้น เพื่อให้หนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงาน จึงได้จัดมุมหนังสือใหม่ (New Books) ขึ้น ที่บริเวณประตูทางเข้าชั้น 4 ดังปรากฏดังภาพ

24.1

โดยการจัดมุมหนังสือแนะนำนั้น จะเลือกหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีการจัดทำบรรณนิทัศน์ประกอบหนังสือแต่ละเล่มไว้ด้วย เพื่อเป็นการนำเสนอให้ผู้ใช้บริการอ่านเนื้อหาโดยสรุปและพิจารณาที่จะอ่านต่อหรือยืมกลับไปอ่านต่อไป

 

24.4

 

24.2

 

24.3
หนังสือแนะนำดังกล่าว จะมีการประชาสัมพันธ์ขึ้น เฟซบุ๊ค ของศูนย์บรรณสารสนเทศและทางเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศในแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน

หากผู้ใช้สนใจต้องการยืม สามารถหยิบไปยืมได้ที่ชั้น 1 ค่ะ

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS จุดเด่น/ความแตกต่าง (ตอนที่ 1)
พ.ค. 18th, 2018 by supaporn

ถ้าจะกล่าวถึง ความแตกต่างของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติอื่นๆ อย่างไรบ้าง นั้น ข้อแรก คงต้องพูดถึง การเป็น Library Services Platform (LSP) ที่มีการพัฒนาไปจาก Library Integrated System (LIS)

ลักษณะขอ LIS เราน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่การเป็น LSP นั้นมีลักษณะ

 

ลักษณะของ LSP

ลักษณะของ LSP

กล่าวคือ LSP ทำให้ห้องสมุดสามารถบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สามารถขยายเนื้อหาที่มีรูปแบบหลากหลายทั้งฉบับพิมพ์ และฉบับอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนกระบวนการจัดซื้อที่หลากหลาย การจัดซื้อสำหรับการเป็นเจ้าของอย่างถาวร ผ่านการจ่ายค่าอนุญาตหรือการเป็นสมาชิก เอื้อต่อการจัดการเมทาดาทาที่มีหลายเกณฑ์และเหมาะสมกับสื่อที่มีความแตกต่างกัน อย่างน้อย ตระกูล MARC หรือ Dublin Core รวมถึงการสนับสนุนการให้บริการที่บูรณาการกันโดยมีการใช้ API และโปรโตคอลอื่นๆ ที่สามารถใช้งานข้ามกันได้ (Interoperability) นอกจากนี้ LSP สนับสนุนการทำงานแบบ Multi-tenant กล่าวคือ ระบบซอฟต์แวร์ชุดเดียวแต่ให้บริการคนหลาย ๆ คนในขณะเดียวกันได้ โดยผู้ใช้ต่างห้องสมุดและมีข้อกำหนดของคุณสมบัติของระบบซอฟต์แวร์บางอย่างแตกต่างกันได้

หาอ่านโดยละเอียด ลึกๆ ได้จากหลายแหล่งค่ะ เช่น

https://journals.ala.org/index.php/ltr/article/view/5686/7063

https://www.niso.org/sites/default/files/stories/2017-09/FE_Grant_Future_Library_Systems_%20isqv24no4.pdf

http://helibtech.com/file/view/Rethinking_the_LSP_Jan2016a.pdf

 

 

แนะนำมุมหนังสือพลังงาน
พ.ค. 16th, 2018 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการมุมหนังสือพลังงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวพลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยจะนำหนังสือและสื่อความรู้ต่าง ๆ ซึ่ง ประกอบด้วย หนังสือ จุลสาร เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา และพลังงาน นำมาจัดเป็น “มุมหนังสือพลังงาน” ที่บริเวณ ชั้น 4 อาคารบรรณสาร ผู้ใช้บริการสามารถยืมทรัพยากรได้ โดยตัวเล่มจะมีสัญลักษณ์ ติดแถบสติกเกอร์สีเขียวเข้มไว้มุมบนซ้ายมือ มุมหนังสือพลังงานดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561

 

มุมหนังสือพลังงาน ชั้น 4 Read the rest of this entry »

Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด)
ธ.ค. 25th, 2017 by supaporn

Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด) โดย Ms. Liang Shuang  จาก  ISEAS Library, Singapore  ในการเสวนาเรื่อง Information Services for Research in the Age of No Boundaries : บริการสารสนเทศเพื่อการวิจัยในยุคไร้พรมแดน วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 8.30-16.30 น. ห้องประชุม 601 ชั้น 6 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  เป็นการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการ Collection ทางด้านรัฐศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์ การเมืองในภูมิภาคนี้ทั้งหมด แต่ที่น่าสนใจ คือ Private Collection ที่มีนักวิจัยบริจาค เป็น collection ที่มีหลากหลายภาษามาก อังกฤษ ไทย เวียดนาม และภาษาอื่นๆ ใน Southeast Asia และยังมีภาษาย่อยๆ ลงไปอีก ซึ่งเป็นการยากในการจัดการ Collection เดิมปิด Collection แต่ต่อมาเปิดโดยเก็บค่ามัดจำ  ยืมได้ และเปิดหมด ยืมได้ ไม่มีค่ามัดจำ แต่ต้องเป็นประชากรของสิงคโปร์ และขยายการยืมเป็นจำนวน 100 เล่ม เป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นการพยายามส่งเสริมให้มีการคนมาใช้มากขึ้น  มีการจัดการในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  1. การจัดการเรื่องพื้นที่ โดย
    1.1 ทำแกลอรี่ ของ Collection เด่น
    1.2 ทำ Research Lounge มีสถานที่ศึกษา เฟอร์นิเจอร์นั่งสบาย มุมกาแฟ เพื่อใช้ในการปรึกษา อภิปรายงานวิจัย
    1.3 ทำพื้นที่ให้เป็นสถานที่ถ่ายทำ หรือให้สัมภาษณ์ (Media Interview)
    1.4 ทำ Borrowed space โดยการนำหนังสือไปให้ยืมในสถานที่มีการจัดงาน เช่น สัมมนา
  1. การจัดการ Collection โดยให้นักวิจัยเสนอซื้อทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหา Private Collection โดยการจัดเก็บงานวิจัยประเภทต่างๆ หลากหลายรูปแบบของนักวิจัย
  2. การเข้าถึง โดยการปฐมนิเทศนักวิจัย/ผู้ใช้ ที่สามารถทำได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องจากนักวิจัยไม่มากนัก สามารถทำได้แบบตัวต่อตัว ในการปฐมนิเทศ มีจุดเด่น คือ มีการทำ check list เรื่องที่นักวิจัยควรจะทราบและบรรณารักษ์มีแนวทางในการให้ความรู้อย่างครบถ้วน การจัดทำฐานข้อมูล การจัดทำ info alert ทั้งที่เป็น article alert, news alert เป็นต้น
  3. การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

จากการฟังประสบการณ์ของ Ms. Liang Shuang เห็นว่า ใน ISEAS Library มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักวิจัย ตั้งแต่การให้ความรู้ หรือการปฐมนิเทศ การใช้บริการ การให้บริการระหว่างการวิจัย และการขอผลงานนักวิจัย ในการมาจัดทำเป็น Private Collection ซึ่งได้มีการสอบถามถึง การดำเนินการ Private Collection ที่มีการดำเนินการถึงการวิเคราะห์เนื้อหาของผลงาน และเพื่อจะนำไปสู่ state of the art ของงานวิจัยในเรื่องนั้นๆ ได้ แต่ปรากฏว่า เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องภาษาของงานวิจัย จึงทำได้แต่เพียงจัดหมวดหมู่ การจัดเอกสาร เป็นต้น ยังไม่ได้สามารถทำได้ถึงขนาดการวิเคราะห์เนื้อหาของงานวิจัย และเพื่อนำการวิเคราะห์นั้นไปใช้ประโยชน์ต่อยอดต่อไป

รายชื่อหนังสือแยกตามหลักสูตรและสาขาวิชา
มิ.ย. 20th, 2017 by uthairath

ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่อง “รายชื่อหนังสือแยกตามหลักสูตรและสาขาวิชา” เพราะว่าเราเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน “รายชื่อและจำนวนของหนังสือ” จึงมีความสำคัญมาก จุดประสงค์หลักก็คือ

  1. จัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อขอเปิดหลักสูตรใหม่ (ตารางหมายเลข 10)
  2. จัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อรับรองมาตรฐาน (ตารางหมายเลข 9)
  3. จัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา (QA)
  4. จัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อรับรองมาตรฐานตามสภาวิชาชีพของหลักสูตรนั้นๆ ที่ต้องผ่านมาตรฐานสภาวิชาชีพ

ดังนั้นทางศูนย์บรรณสารฯ จึงได้รวบรวมรายชื่อหนังสือที่แยกตามสาขาวิชาที่มีการเปิดสอน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตร ที่มหาวิทยาลัยได้ทำการเปิดสอน เพื่อให้เป็นประโยชน์ด้านการศึกษาและให้ความรู้ด้านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือสาขาวิชาเหล่านั้น เมื่อกล่าวถึงหนังสือแยกตามหลักสูตรหรือสาขาวิชาที่เปิดสอน เนื้อหาในหนังสือก็ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรและสาขาวิชานั้นๆ ดังนั้นทางศูนย์บรรณสารจึงได้จัดทำรายชื่อหนังสือต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยที่ได้มีการเปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ดังนี้ Read the rest of this entry »

Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ
เม.ย. 22nd, 2017 by navapat

จบลงไปอย่างสวยงามสำหรับโครงการ Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ซึ่งแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 – 23 มีนาคม 2560  ณ โถงชั้น 1  อาคารบรรณสาร  เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้ ความเข้าใจในทรัพยากรสารสนเทศ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ สามารถใช้บริการต่างๆ และก่อให้เกิดแนวความคิดในการเรียนการศึกษา ค้นคว้า ที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21  และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ สรุปง่ายๆ ก็เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง

กิจกรรมที่จัดขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที มีการเสวนาเรื่อง “อ่าน/เขียน อย่างไร …เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ” โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรชื่อดัง จากสำนักพิมพ์สถาพร บุ๊คส์   การออกร้านจำหน่ายหนังสือจากสำนักพิมพ์ชื่อดังจำนวน 5  ร้าน  บูธกิจกรรมบริการต่างๆ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ   ได้แก่  บูธบริการต่างๆของศูนย์บรรณสารสนเทศ  บูธบริการสารสนเทศออนไลน์  บูธรักษ์โลก และบูธ DIY สุดชิค Read the rest of this entry »

แนะนำศูนย์บรรณสารสนเทศจากกิจกรรม Be My Guest
เม.ย. 15th, 2017 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรม Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ขึ้นเมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม 2560 เป็นเวลา 3 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานบริการต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศมีให้บริการ
  2. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรเข้าใช้บริการศูนย์บรรณสารสนเทศตรงตามความต้องการ
  3. เพื่อสร้างความสัมพันธฺ์ที่ดีระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการของศูนยฺ์บรรณสารสนเทศ

คำว่า Be My Guest หมายถึง คุณ คือ แขกของเรา แต่ในความหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ คุณ คือ คนพิเศษของศูนย์บรรณสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร คือ ผู้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศต้องให้บริการด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยบริการ พร้อมที่จะให้ข้อมูล ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้สารสนเทศที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดการอ่านและการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa