SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การทำวิจัย
พ.ค. 11th, 2020 by supaporn

จากการฟังสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร. ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำสาขาบริหารการปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกหลายฉบับ เรื่องการทำงานวิจัย   โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์  ผ่าน YouTube https://youtu.be/mLu5iing7Tk น่าสนใจทีเดียว ขอสรุปสั้น ๆ ดังนี้

ในแง่ของนักศึกษาระดับปริญญเอก

อาจารย์ ศากุน แชร์ให้ฟังว่า การสอนในระดับปริญญาเอก จะเริ่มต้นด้วยการให้อ่านมาก ๆ ให้ตึกผลึกก่อน แล้วค่อยหาหัวข้อ วิจัย หลังการเรียน course work ควรเป็นเรื่องของการอ่าน ไม่อย่างนั้นจะไม่เป็น high abstract thinking

การทำวิจัย การเรียนปริญญาเอก การตีพิมพ์ คล้าย ๆ กัน คือ เป็นการเดินทาง (journey) ดังนั้น ต้องไม่ท้อใจ ต้องเรียนรู้ว่าเป็น journey พอเป็น journey ก็ต้องพบอะไรต่อมิอะไร แต่อย่าเพิ่งท้อใจ และเลิกไป จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ไปทำงาน ไปสอน ก็ไม่จบ ต้องไปทางหลักจึงจะถึงจุดหมาย

ในแง่ของอาจารย์

การเป็นอาจารย์มีหน้าหลัก ๆ 3 อย่าง คือ สอน ทำวิจัย และบริการวิชาการ ซึ่ง 3 อย่างนี้เลือกไม่ได้ ต้องทำทุกอย่าง ครู กับ อาจารย์ นักวิชาการ ความหมายต่างกัน ครู หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่สอน แต่พอเป็นอาจารย์และนักวิชาการ หน้าที่หลักมี 3 อย่าง ตามที่บอก วิจัย คือ 1 ในนั้น ดังนั้น อาชีพอาจารย์ การทำวิจัยไม่ใช่ทางเลือก แต่ต้องทำ ถึงต้องมีเกณฑ์ว่า เท่านั้น ปี ต้องตีพิมพ์ แล้วถึงต่อสัญญา ซึ่ง จริง ๆ ก็ถูก เพราะเป็นพันธกิจของอาจารย์ที่ต้องทำ ถ้าวิจัยในอาชีพอาจารย์ เป็น A Must ก็ต้องแบ่งเวลามาทำ ถ้าทำวิจัยวันละ 2 ชม. มี paper ออกมาแน่นอน ปัญหาหลัก คือ ไม่ทำมากกว่า เพราะมีทางเลือก จึงไม่ทำ ต้องเริ่มที่ mindset ว่า วิจัย เป็น A Must ที่ต้องทำ ไม่ใช่ทางเลือก เหมือนกับเป็นอาจารย์ ก็ต้องไปสอน

การทำวิจัยให้คิด 3 เรื่อง

1. โจทย์วิจัยมีความสำคัญหรือไม่ สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ

2. กระบวนการทำวิจัย เข้มข้น เข้มแข็งพอหรือไม่ มีความชัดเจน หรือไม่

3. ผลที่ได้น่าเชื่อถือ กับโจทย์ที่ตั้งมาหรือต้องการวัดหรือไม่

อ้างอิง

ศากุน บุญอิต. (2563, พฤษภาคม 10) การทำวิจัย. [Video file). สืบค้นจาก https://youtu.be/mLu5iing7Tk

การลงข้อมูล (Metadata) ในเอกสารงานวิทยานิพธ์และงานวิจัย มฉก.
ก.ค. 31st, 2019 by Dr.sanampol

เมทาดาทา (Metadata)คือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของข้อมูลต่างๆ เช่นถ้าเป็นหนังสือ เมทาดาทาของหนังสือก็คือ ข้อมูลที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อเจ้าของผลงาน ผู้รับผิดชอบ สิทธิของหน่วยงาน  ปีที่เขียน เป็นต้น  ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย ซึ่งมีการลงเมทาดาทาในไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย มีขั้นตอนการลงในเมทาดาทา ดังนี้

1.เปิดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ขึ้นมา (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1

2.ให้คลิกที่เมนู  File (ภาพที่ 2) จะเห็นเมนูต่างๆ ปรากฏขึ้นมา Read the rest of this entry »

การสร้าง Bookmark สำหรับงานวิทยานิพนธ์และงานวิจัย มฉก.
ก.ค. 31st, 2019 by Dr.sanampol

ผู้เขียน รับผิดชอบการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยจัดเตรียมไฟล์และตรวจสอบความถูกต้องและใส่รายละเอียดของข้อมูลใน properties

ในการจัดการไฟล์นั้น ได้มีการทำ Bookmark  ซึ่งเสมือนเป็นสารบัญ และเป็นตัวช่วยในการคลิกดูเนื้อหา ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้

  1. เปิดเอกสาร PDF ของวิทยานิพนธ์หรืองานวจัยที่ต้องการทำ Bookmark ขึ้น จะปรากฏภาพหน้าเอกสารดังกล่าวขึ้น (ภาพ 1) เมื่อนำเม้าท์ไปคลิ๊กจากภาพที่ลูกศรชี้ จะมีข้อความจะปรากฏขึ้นแสดงให้เห็นรายละเอียดของหน้าเอกสารทั้งหมดที่เมนู Page Thumbnails ให้นำเม้าท์ไปชี้ จะปรากฏข้อความขึ้น Page Thumbnails : Go to specific pages using thumbnail

Read the rest of this entry »

การสืบค้นข้อมูลเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) จากระบบ ThaiLIS
ก.ค. 28th, 2019 by kalyaraksa

ตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ    มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมโครงการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551  เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายมีความสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่าย   ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์    การวิจัย   หนังสือหายาก   และบทความ  ทั้งที่เป็นของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ    ที่เข้าร่วมโครงการ  จึงขอแนะนำวิธีการค้นข้อมูล เบื้องต้น (Basic search)  ตามขั้นตอนดังนี้

เริ่มต้นจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ (https://lib-km.hcu.ac.th) Read the rest of this entry »

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย
เม.ย. 16th, 2017 by supaporn

จากการบรรยายของ ศาสตราจารย์ ดร. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์ หัวหน้าคณะผู้จัดทำจรรยาวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติให้กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 ณ ห้องบรรยาย 3 อาคารอำนวยการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอสรุปส่วนหนึ่งของการบรรยาย ที่เกี่ยวกับการจัดทำผลงาน การเผยแพร่ผลงานวิจัย ขอนำมาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้อยู่ในกรอบของการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย จากเอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการ ของสำนักพัฒนาวิชาการ ดังนี้

การเผยแพร่ผลงานวิจัย

  • หากไม่จำเป็นไม่ควรเสนอผลงานที่ยังไม่สมบูรณ์ (Premature) หรือยังไม่ได้รับการประเมินออกสู่สังคม
  • ต้องให้เกียรติและอ้างถึงนักวิชาการ/แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้
  • ระบุและลำดับชื่อผู้นิพนธ์อย่างถูกต้องเป็นธรรม
  • ขอบคุณบุคคล คณะบุคคล และองค์กรที่สนับสนุนงานวิจัยในกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
  • นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรม
  • แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณะ
  • ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อนหรือมากกว่า 1 แห่ง (Dual or duplicate publication)
  • ตีพิมพ์ผลงานมากกว่าหนึ่งภาษาได้ หากวารสารที่จะตีพิมพ์มีนโยบายรองรับ แต่ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบล่วงหน้าด้วย
  • ส่งเรื่องเต็มของบทคัดย่อ (Abstract) ที่ตีพิมพ์ใน Proceedings ไปให้วารสารวิชาการพิจารณาได้ แต่ควรให้บรรณาธิการวารสารนั้นทราบและยินยอมก่อน
  • ไม่แบ่งย่อยผลงานวิจัยเป็นหลายเรื่องเกินความเหมาะสม เพื่อเพิ่มจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ (Salami publication or Balogna) เพราะอาจลดคุณค่าของงานได้ (แต่อาจจกระทำได้ หากบทความเหล่านั้น มีเนื้อหาเหมือนกันไม่เกินร้อยละสิบ และต้องไม่ใช้ตารางหรือภาพประกอบเดียวกัน และให้บรรณาธิการวารสารที่ส่งเรื่องไปตีพิมพ์ทราบและยินยอมด้วย)
  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยแก่ผู้สนใจและร้องขอ ควรเป็นไปตามเงื่อนไขหรือได้รับความเห็นชอบตากต้นสังกัดว่าด้วยจริยธรรมที่ครอบคลุมข้อมูล วัสดุและทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

Read the rest of this entry »

Knowledge Sharing “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.”
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย

1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน

2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS

3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A

4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS

ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง

ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง

RefME powerful citation tool
มี.ค. 25th, 2016 by pailin

RefME  แอปพลิเคชันที่จะทำให้การเขียนอ้างอิง เป็นเรื่อง ง่ า ย

RefME  เป็น citation tool  แบบ web based  ที่ไว้ช่วยเก็บข้อมูลแหล่งอ้างอิง และจัดรูปแบบได้หลากหลายมาตรฐาน  เช่น  APA,  Vancouver  etc.

โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากในการติดตั้งโปรแกรม เพียงแค่ต่ออินเตอร์เน็ต  เปิด Browser เข้าที่

https://www.refme.com  หรือ  https://app.refme.com  แล้วดำเนินการ

  1. สมัครสมาชิก
  2. กรอกแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิง เข้าระบบ
  3. Export ข้อมูลอ้างอิงที่สร้างไว้ เพื่อนำไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ

การใช้งานในเบื้องต้น สาธิตวิธีการตามรูปภาพ ดังนี้

Read the rest of this entry »

การลักลอกทางวิชาการในบริบทของการวิจัย
ก.พ. 9th, 2016 by supaporn

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การลักลอกทางวิชาการในบริบทของการวิจัย (Plagirism in Academic Research) ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผอ. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน

ผอ. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน

โดย อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ขณะบรรยาย

อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ขณะบรรยาย

สรุปประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้ Read the rest of this entry »

A Research Guide for Students
ธ.ค. 25th, 2015 by supaporn

ขอแนะนำเว็บไซต์ http://www.aresearchguide.com/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่นักวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางการเขียนงานวิจัยได้  เพราะในเว็บนี้ ประกอบด้วย Writing  guides ซึ่งมีหัวข้อต่างๆ มากมาย อาทิเช่น

  • How to Write a Research Paper
  • Research, writing and Style guides
  • Using search engines
  • Plagiarism: How to Avoid It
  • Footnotes and Endnotes

นอกจากนี้ยังมี Literature Guides ให้อีกด้วย รวมทั้งยังมีแหล่งสารสนเทศอื่นๆ อีกเพียบ และข้อมูลการจัดหมวดหมู่แบบ Dewey Decimal Classification

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa