หอจดหมายเหตุมีโครงการจัดทำหอเกียรติยศ (Hall of Fame) สำหรับผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ เช่น ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยทุกท่าน ปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ท่าน เผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุ https://lib-km.hcu.ac.th/hcu-archives/index.php/hall-of-fame ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล
Read the rest of this entry »
เมื่อปีการศึกษา 2547 รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในขณะนั้นได้ริเริ่มให้มีการจัดกิจกรรมรำมวยจีน (ไท้เก๊ก) โดยร่วมมือกับสมาคมรำมวยเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีนายแพทย์วิลาส ศรีประจิตติชัย เป็นนายกสมาคมได้ส่งวิทยากรของสมาคมท่านแรก คือ อาจารย์ทวีศักดิ์ ศิลาพร มาช่วยแนะนำและฝึกให้บุคลากร นักศึกษาที่สนใจการรำมวยจีน กิจกรรมนี้ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฯ เรื่อยมา ต่อมาในปีการศึกษา 2549 เปิดสอนไท้เก๊กให้กับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนจีน และในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสอนไท้เก๊กเป็นวิชาบังคับของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกหลักสูตร ปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการเรียนไท้เก๊กมากที่สุดในประเทศไทยนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนยังมีการจัดตั้งชมรมไท้เก๊กโดยนักศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมแนะนำการรำมวยจีนเพื่อสุขภาพ
ศาสตราจารย์พิเศษ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้ริเริ่มกิจกรรมไทเก๊กในมหาวิทยาลัย
เสวนาความรู้เรื่องอยู่อย่างไรในยุค Digital ดิจิทัลกับผู้คร่ำหวอด แวดวง IT ในรูปแบบ Technology Talk โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี และ อาจารย์สรวลสรรค์ พจนอารี (ผู้ดำเนินรายการ) วันที่ 8 มีนาคม 2561 เวลา 13.30 -16.00 น. ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ท่านอธิการบดี ได้กล่าวต่อผู้รับฟังการเสวนาว่าไม่ได้เรียนมาทางด้าน Information technology แต่เป็นคนที่สนใจ เมื่อตอนที่เป็นเด็กชอบอ่านหนังสือ ซึ่งบ้านอยู่ใกล้ร้านขายหนังสือ ชอบอ่านจนหมดร้าน ต่อมาได้ศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ได้สืบค้นเรื่องทางการแพทย์ ผ่าน Medline เช่น ไข้หวัดนก เรื่องที่เกี่ยวข้องจะขึ้นมาหมด ทำให้เห็นว่ามีใครเป็นผู้เขียนบ้าง
ต่อมามีความสนใจคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์สมัยนี้มีความเร็วกว่าแต่ก่อนเป็นพัน ๆ เท่า เมื่อมาเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จึงมีความฝันจะทำฐานข้อมูล ซึ่งห้องสมุดเดิมใช้โปรแกรม CDS /ISIS โดยการใช้ CU MARC เป็นการรวบรวมข้อมูลให้ถูกต้องได้มาตรฐาน ในการนำห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย
ก่อนหน้าที่จะมีการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ ได้มีการเริ่มนำ Internet มาใช้ เริ่มต้นจาก ศาสตราจารย์นพ.จรัส สุวรรณเวลา (อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยนั้น) ต้องการมี Electronic mail ซึ่งตอนนั้นมี Bitnet และ Internet การเข้าใช้ Internet นั้นแต่ก่อนของไทยมีศูนย์อยู่ที่จังหวัดสงขลา Login ไปประเทศออสเตรเลียวันละ 1 ชั่วโมง เมื่อได้ไปประชุมในปี 2534 เกี่ยวกับ Internet ครั้งแรกที่เกียวโต และได้พบกับ ริค อดัมส์ ยินดีให้ฟรี 1 ปี แต่จุฬาฯไม่มี Sever เป็น Mini Computer ไม่มีงบประมาณซื้อเครื่องมือ ริค อดัมส์ ให้เครื่องราคา 200,000-300,000 บาท และมี อ. ดร ยรรยง เต็งอำนวย เข้ามาช่วย จากนั้นจึงมีระบบ INNOPAC ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้สามารถใช้ FTP ข้อมูลผ่านระบบ Internet เมื่อทำ INNOPAC สำเร็จ หมดวาระ จึงไปช่วยงานที่ทบวงมหาวิทยาลัย ในส่วนของ IT Campus วางรูปแบบ ThaiLinet และโครงการ ThaiLIS
จากการฟังบรรยายในครั้งนี้ มีความเห็นว่า การเป็นผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ทันต่อเทคโนโลยี ทราบว่าควรจะนำเทคโนโลยีใดเข้ามาใช้ ที่เป็นประโยชน์และคุ้มค่า รู้จักใช้ Social Media ให้เกิดประโยชน์ ระมัดระวังในการใช้ เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตราย หรือมีโทษต่อตนเอง และสังคมตามมา ทั้งนี้ ท่านอธิการบดี ได้มอบแนวคิดให้ผู้มาฟังให้พยายามสร้างบัณฑิตเป็นคนพันธุ์หัวเฉียว ที่มีคุณธรรม 6 ประการ และเป็นคุณลักษณะเฉพาะของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ตอนนี้ ขอเปลี่ยนชื่อ จากทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS มาเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องในแต่ละกระบวนการ นะคะ เพราะเลยช่วงการตัดสินใจเลือกมาแล้ว
บทความนี้ เป็นเรื่องของการทำสัญญา (Agreement) ห้องสมุดจะคุ้นเคยกับการอ่าน agreement เหล่านี้ เป็นอย่างดี จากการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นเรื่องของการมีสิทธิ์ ไม่มีสิทธิ์ ในการทำอะไรกับฐานข้อมูล การหมดอายุการบอกรับ เป็นต้น สัญญาของการซื้อระบบ WMS ก็เช่นเดียวกัน โดยรวมจะคล้ายอยู่บ้าง แต่ก็จะมีส่วนที่นอกเหนือจากสัญญาของฐานข้อมูลออนไลน์ อยู่มากหลายข้อ
ในเรื่องของสัญญา โดยส่วนตัวผู้เขียน มักจะเสนอหรือกล่าวกับห้องสมุดหลายๆ แห่งว่า ในส่วนของการทำสัญญานั้น ควรจะมีนักกฎหมายเข้ามาช่วยพิจารณาด้วย เพราะในสัญญา จะมีข้อความที่เป็นในเรื่องทางกฎหมาย บรรณารักษ์อย่างพวกเรา อ่านแล้วอาจจะไม่เข้าใจ หรือพอจะเข้าใจบ้างตามการแปล แต่ในบริบทของตัวบทกฎหมายนั้น เราอาจจะไม่ทราบถึงเหตุและผลที่จะตามก็ได้ค่ะ
ดังนั้น การจะลงนามในสัญญา ทางมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการในลักษณะนี้ ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยสรุปก่อนจะเสนอผู้บริหารระดับสูง ลงนาม (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละแห่ง) ผู้เขียน ต้องสรุปโดยรวม ว่ามีประเด็นหรือไม่มีประเด็นใด ที่ต้องพิจาณาเป็นพิเศษ เพื่อเป็นข้อมูลในเบื้องต้นให้ผู้บริหารระดับสูง รับทราบและพิจารณาก่อนลงนาม
กระบวนการนี้ ใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากต้องศึกษากันอย่างละเอียด นิติกร ก็จะเสนอประเด็นมาทางห้องสมุด ให้ประสานทำความเข้าใจ กับข้อความที่สัญญาระบุ กับทาง OCLC ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ ก็จะมีประเด็นในการสอบถาม เช่นกัน และจะมีการระบุการชำระเงินด้วย สามารถเจรจาแบ่งจ่ายเงินเป็นงวดๆ ได้ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS
วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
อนาคตเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่วันพรุ่งนี้
มาถึงตอน ต่อรองราคา นับเป็นโชคดีของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ท่านอธิการบดี คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติดี (ท่านเป็นผู้นำเอาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ คือ INNOPAC เข้ามาใช้เป็นแห่งแรกที่สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซึ่งปัจจุบันคือ สำนักวิทยทรัพยากร) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ) เมื่อท่านพิจารณาจากข้อมูลที่นำเสนอ และตัดสินใจเลือกระบบ WMS เป็นระบบที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าเหมาะสมที่สุด ท่านจึงเข้ามาเจรจาเรื่องราคาให้ด้วย
ในเรื่องการเจรจา ทางมหาวิทยาลัยใช้เวลาในการเจรจาเรื่องราคา 2 คร้้งหลักๆ ครั้งแรกเป็นราคาที่บริษัท AMS เสนอมาตามที่ OCLC แจ้งมา ได้มีการเรียนปรึกษาท่านอธิการบดี โดยได้รับคำแนะนำในการปรับราคา ไปทาง OCLC ซึ่งแน่นอนว่า ราคาที่เสนอไปนั้นลดลงจากเดิม จึงยังไม่ลงตัวกันทั้งสองฝ่าย การตกลงเรื่องราคา จึงทิ้งระยะเวลามาช่วงหนึ่ง การเจรจาครั้งที่ 2 นับว่า เป็นความโชคดี เช่นกัน ที่ตัวแทนของ OCLC ในแถบเอเชีย – แปซิฟิก เดินทางมาประเทศไทย ได้เข้ามาเจรจาโดยตรงแบบเผชิญหน้า ซึ่งน่าจะเป็นการส่งผลดี แต่ทั้งนี้ สิ่งที่ควรจะได้ดำเนินการ ก็คือ Read the rest of this entry »
เมื่อผู้บริหาร ตัดสินใจเลือก ระบบ WMS เพราะพิจารณาคุณลักษณะหลายๆ อย่างแล้ว รวมทั้งราคา สิ่งที่ควรจะทำเป็นขั้นตอนต่อไป ก็คือ ราคาที่จะซื้อนั้น จะลดลงจากเดิมได้หรือไม่ เหมือนกับการซื้อขายสินค้าทั่วๆ ไป เพราะคนซื้อก็อยากได้ของดี ราคาถูก แต่เป็นสัจธรรม คุณภาพตามราคา
คุณลักษณะ คุณสมบัติตรงกับที่ต้องการ (หรือมากกว่าที่คาดหวังไว้) ประโยชน์ในการใช้งาน (คุ้มแน่) มีข้อได้เปรียบมากกว่าเสียเปรียบ หรือมีข้อด้อยที่ยอมรับได้ หรือ น้อย หรือ ไม่มี แต่ทุกอย่างไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ หรือ Nothing is perfect คงต้องมีบางอย่างที่อาจจะพบที่อาจจะไม่ได้ดังใจของเราทุกอย่าง แต่ที่เห็นว่า ระบบ WMS เป็นระบบที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ Read the rest of this entry »
เมื่อครั้งเริ่มเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูงในการพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ เพื่อมาทดแทนระบบเดิม ซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม และมีการหยุดชะงักของระบบเป็นหลายช่วง และผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ คนก่อนได้ศึกษาไปบ้างแล้ว แต่ข้อมูลหลายอย่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะตัดสินใจ จึงได้มีการมอบหมายให้ศึกษาใหม่อีกครั้ง
การพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ จึงเริ่มต้นด้วยการศึกษาวรรณกรรมที่กล่าวถึงพัฒนาการหรือเทคโนโลยีที่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ควรจะเป็นแบบใด และนำมารวมกับประสบการณ์ที่เคยทำงานเป็นบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศมานานถึง 18 ปี และคุ้นเคยกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรกที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทย ประสบการณ์ในการเริ่มต้นตั้งแต่การรับทราบปัจจัยในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติของผู้บริหาร เมื่อครั้งที่ทำงานอยู่ที่สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำได้ว่า ผู้อำนวยการในขณะนั้น คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ (และเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในขณะนี้) ได้เริ่มต้นศึกษา และมีการไปศึกษาดูงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติในหลายประเทศ พร้อมกับให้บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางไปห้องสมุดต่างประเทศ เพื่อศึกษาการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ สรุปสุดท้าย เมื่อพิจารณาระบบที่มีความเหมาะสมในขณะนั้นแล้ว การเป็นผู้บุกเบิกระบบใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ หรือสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในห้องสมุด ล้วนต้องประสบกับการไม่รู้ เพราะไม่มีใครในประเทศไทยรู้เรื่องเหล่านี้ มาก่อน บรรณารักษ์รุ่นเด็กอย่างผู้เขียน ยังไม่หนักมากเท่าบรรณารักษ์รุ่นพี่ ที่ต้องพยายามผลักดันให้เกิดระบบและใช้งานจนได้ Read the rest of this entry »
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี อาจารย์ ฉลอง แขวงอินทร์ และผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ รับมอบหนังสือภาษาจีน จาก คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ และ นสพ. กิจ สุนทร เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำหนังสือไปใช้ประโยชน์แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยทำพิธีรับมอบ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ เวลา 09.00-12.00 น. โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหารือในเรื่องต่างๆ ก่อนทำพิธีรับมอบ
บริจาคหนังสือ
คนแรก คือ คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ และ ถัดมาคือ นสพ.กิจ สุนทร
ทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ มอบหนังสือ
นสพ. กิจ สุนทร มอบหนังสือ
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 สำนักหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้อำนวยการ ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล และทีมงาน พร้อมทั้งบรรณารักษ์ห้องสมุดคณะต่างๆ จำนวน 30 คน เข้าศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ในหัวข้อ การบริหารมหาวิทยาลัยแบบเศรษฐกิจพอเพียง การประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรม กิจกรรม 7 ส
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ในฐานะผู้ประสานงานการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้นำผู้บริหารและคณะผู้เยี่ยมชม เข้าพบผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ท่านอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี อาจารย์ ฉลอง แขวงอินทร์ และ อาจารย์สุวรรณี มงคลรุ่งเรือง ผู้อำนวยกองแผนและพัฒนา ร่วมให้การต้อนรับ โดยอธิการบดี ได้กล่าวสรุปในภาพรวมของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ประวัติการก่อตั้ง การบริหารมหาวิทยาลัยโดยการน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 “ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดี” การบริหารมหาวิทยาลัยด้วยคุณธรรม 6 ประการ ได้แก่ ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู พร้อมด้วยปณิธาน “เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม” เป็นแนวทาง
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ
ถ่ายภาพร่วมกันทั้งสองฝ่าย
วันที่ 1 มีนาคม 2560 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับบริษัท Advanced Media Services (AMS) จัดเสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยมีอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ให้แนวคิดการคัดเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Andrew H. Wang, Vice President OCLC Asia Pacific และ Ms. Shu-En Tsai, Executive Director OCLC Asia Pacific มาบรรยายแบ่งปันประสบการณ์การ Implement ระบบห้องสมุด WMS ให้กับประเทศฟิลิปปินส์ รวมทั้ง อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บรรยายในเรื่อง Trends in Integrated Library System : A User’s Perspective
เสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ติดตามภาพประกอบและเอกสารการประกอบสัมมนา