การวิเคราะห์การแปลภาพพจน์ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในรายวิชาหลักการแปล 1 และหลักการแปล 2
An Analysis of Translating Figurative Language by English Major Students of Huachiew Chalermprakiet University in Principles of Translation I and II Classes
อารัมภ์ เอี่ยมละออ. (2556). การวิเคราะห์การแปลภาพพจน์ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในรายวิชาหลักการแปล 1 และหลักการแปล 2. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 8 (16), 97-108.
อ่านบทความฉบับเต็ม
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก
A Comparison of Learning Achievement Between Huachiew Chalermprakiet University Students Who Gained Admission Through the Ministry of University Affairs and Those Who Were Admitted by the University Directly
บทคัดย่อ:
การวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก ซึ่งใช้วิธีการจับคู่ (Matching) ของนักศึกษาทั้งสองประเภท โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ศึกษาในชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544-2545 ทั้งหมดรวม 6 คณะ คือ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะกายภาพบำบัด และคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ้น 558 คน จำแนกเป็นนักศึกษาชาย 20 คน และนักศึกษาหญิง 538 คน การสุ่มตัวอย่างจากประชากรดังกล่าวคำนึงถึงสถานภาพส่วนตัว คือ เพศ อายุ แผนกวิชา ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คณะหรือสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ และสถานภาพทางครอบครัว คือ ภูมิลำเนา อาชีพบิดา (มารดา) การเลือกตัวอย่างแบบจับคู่โดยให้แต่ละคู่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อเพิ่มความเที่ยง (precision) ในการเปรียบเทียบค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาทั้งสองประเภท
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีสมมติฐานว่า ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือกไม่แตกต่างกัน โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความแปรปรวน ในกรณีข้อมูลมีการจำแนกสองทางโดยมีความเกี่ยวพัน (ANOVA- Two Ways Classification with Interaction) ผลการวิจัยพบว่า
นักศึกษาที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือกมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนไม่แตกต่างกัน เมื่อทดสอบอิทธิพลของคณะ ปรากฏว่า มีผลต่อค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 แต่ไม่พบว่าอิทธิพลร่วมของคณะกับประเภทการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีผลต่อค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียน
ชัยรถ หมอเมือง. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 32-44.
การสร้างแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Creating Pattern Practice for Thai ก Clusters for Huachiew Chalermprakiet University Students
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพูดเพื่อการสื่อสาร ภาคการศึกษา 1/2547 จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยโดยให้กลุ่มตัวอย่างเข้าโปรแกรมการอ่านออกเสียงตามแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำที่สร้างขึ้นจำนวน 25 แบบฝึก โดยทำการฝึกในเวลาเรียน 1 ชั่วโมง/ครั้ง/สัปดาห์ และฝึกนอกเวลาเรียน 1 ชั่วโมง/คร้้ง/สัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 13 สัปดาห์ แล้วทำการวัดผลด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียงควบกล้ำที่ได้ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยและ dependent t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการฝึกการอ่านออกเสียงควบกล้ำมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนการฝึก 72.7 เป็น 95.2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 บ่งชี้ว่าโปรแกรมการฝึกและฝึกการอ่านออกเสียงควบกล้ำนี้มีประสิทธิภาพที่จำนำไปใช้กับนักศึกษาได้ต่อไป
ปราโมทย์ ชูเดช. (2548). การสร้างแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 36-45.
ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Factors Affecting Learning Achievement of the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยข้อมูลการศึกษาระดับมัธยมปลายปีที่ 6 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ใน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสถานภาพทางสังคม แต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมปลาย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจำนวนตัวอย่าง 207 คน เก็บรวบรวมข้ออมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง เท่ากับ 0.58 Read the rest of this entry »
คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Health Leadership Characteristics of the Graduates of the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในด้านความรู้ ความสามารถ ด้านบุคลิกภาพ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรับผิดชอบ และด้านคุณธรรม รวมทั้งเปรียบเทียบคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุข ตามเพศ สาขาวิชา ลักษณะงาน ประสบการณ์การทำงาน และการเป็นแกนนำกิจกรรมขณะเรียน กลุ่มตัวอย่างคือบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจำนวน 120 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบที่การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีทดสอบของเชฟเฟ
ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้านพบว่าด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความรู้ ความสามารถ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ และด้านคุณธรรมอยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบความแตกต่างคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม พบว่าสาขาวิชา ลักษณะงาน ระยะเวลาการทำงาน ทำให้คุณลักษณะภาวะผู้นำสาธารณสุขของบัณฑิตแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนเพศและการเป็นแกนนำกิจกรรมระหว่างเรียน ไม่ส่งผลต่อความแตกต่างด้านคุณลักษณะภาวะผู้นำสาธารณสุขของบัณฑิต
ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการสร้างเสริมคุณลักษณะผู้นำสาธารณสุขแก่นักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยสอดแทรกในการเรียนการสอนในวิชาชีพของแต่ละสาขาวิชาและสร้างเสริมด้านความรู้ ความสามารถ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ และด้านคุณธรรม โดยสอดแทรกไปกับการเรียนการสอน การจัดโครงการคุณธรรม การอบรม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ
The purposes of this research were to study health leadership characteristics including knowledge, personality, emotional quotient, human relations, responsibility, and moral principles of the graduates of the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University , and also compare health leadership characteristics according to gender, major subjects, job characteristics, work experience, and leadership of the students activities. One hundred and twenty graduates of the academic year 2006 from the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University were randomly selected through stratified random sampling technique, according to their major subjects and gender. Data were collected from questionnaires developed by the researcher. The reliability coefficient of the questionnaire was 0.88. Statistical methods used for data analysis were t-test, one way analysis of variance, and Scheffe’s test.
The results of this research were as follows :
1. The overall health leadership characteristics among Public and Environmental Health graduates were at the high level. It was found that personality, human relations and responsibility were at a high level, whereas knowledge, emotional quotient, moral principles were at a medium level. 2. The comparison of health leadership characteristics on major subjects, job characteristics and work experience were significantly different at 0.05 level, but the comparison of health leadership characteristics on gender and leadership of the students activities were not significant.
The results from this research suggested that the promotion of health leadership characteristics of the students in Faculty of Public and Environmental Health was necessary. It could be accomplished by intervening in the study class of students in each major subject and the knowledge, emotional quotient, and moral principles could also be promoted in classes , moral projects, training and workshops.
ตวงพร กตัญุตานนท. (2551). คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (23), 41-53.
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกเสียง พยัญชนะ สระ และ วรรณยุกต์ในภาษาจีนกลาง ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนและนักศึกษาคณะแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Factors Affecting the HCU Chinese Major and Traditional Chinese Medicine Students’ Productions of the Chinese Consonant sounds, Vowel, and Tones
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ของนักศึกษา เพื่อให้ผู้สอนได้เข้าใจถึงปัจจัยและสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้นักศึกษาออกเสียงผิดและเพื่อเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Read the rest of this entry »
ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Nutritional Status and 3E’s Behavior of the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาวะโภชนาการและศึกษาพฤติกรรม 3 อ. ประกอบด้วยการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรม 3 อ. กับภาวะโภชนาการของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 350 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วัดค่าดัชนีมวลกาย และวัดเส้นรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไค-สแควร์ Read the rest of this entry »
ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมการสรางเสริมสุขภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Selected Factors Affecting Health Promoting Behaviors of Undergraduate Students in Huacheiw Chalermprakiet University
ทวีศักดิ์ กสิผล ภัทรา เล็กวิจิตรธาดา และอัจฉรา จินายน. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมการสรางเสริมสุขภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (30), 31-46.
รูปแบบการสรางความตระหนักรู้สมรรถนะแหงตนเพื่อการสรางเสริมสุขภาพของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
The Self-efficacy Model for Health Promoting Behavior of Student in Private University
วนิดา ดุรงคฤทธิชัย หทัยชนก บัวเจริญ ชนิกา เจริญจิตตกุล ทวีศักดิ์ กสิผล ภัทรียา พันธุทอง และ กมลทิพย ขลังธรรมเนียม. (2556). รูปแบบการสรางความตระหนักรู้สมรรถนะแหงตนเพื่อการสรางเสริมสุขภาพของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสาร มฉก.วิชาการ 16 (32), 32 -39.
การศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Hematological Studies in the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University)
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2) หาอัตราการตรวจพบความผิดปกติของค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของผลความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3) ให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพและความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปี ผู้วิจัยได้ศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2554 และ 2555 จำนวน 3,849 ราย เป็นเพศชาย 733 ราย และเพศหญิง 3,116 ราย ด้วยเครื่องวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดอัตโนมัติเพื่อเก็บข้อมูลทางโลหิตวิทยา ผลการศึกษา พบว่า 2,182 ราย (ร้อยละ 56.7) มีผลตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อนำข้อมูลทางโลหิตวิทยามาแยกตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีค่า hemoglobin ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 791 ราย (ร้อยละ 20.5) โดยแยกเป็นผู้ที่มีค่าต่ำกว่าช่วงอ้างอิงจำนวน 787 ราย (ร้อยละ 20.4) และพบผู้ที่มีค่าสูงกว่าช่วงอ้างอิงจำนวน 4 ราย (ร้อยละ 0.1) พบค่า hematocrit ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 710 ราย (ร้อยละ 18.4) โดยผู้ที่มีค่าต่ำกว่าช่วงอ้างอิง มีจำนวน 702 ราย (ร้อยละ 18.2) และผู้ที่มีค่าสูงกว่าช่วงอ้างอิงจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 0.2) มีค่า PLT count ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 44 ราย (ร้อยละ 1.1) ผลการตรวจ white blood cell count พบค่า ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 195 ราย (ร้อยละ 5.1) จากผลการตรวจการนับแยกชนิดเม็ดเลือดขาว พบว่ามีค่า neutrophil ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 737 ราย (ร้อยละ 19.1) มีค่า lymphocyte ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 399 ราย (ร้อยละ 10.4) และมีค่า eosinophil ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 120 ราย (ร้อยละ 3.1) โดยไม่พบค่า monocyte และค่า basophil ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิง โดยสรุป จากการพบนักศึกษาซึ่งมีผลการตรวจ CBC บางพารามิเตอร์อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงโดยรวมสูงถึงร้อยละ 43.3 ดังนั้น การตรวจสุขภาพเบื้องต้นก่อนเข้าการศึกษาจึงมีประโยชน์ ช่วยให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าการศึกษาอีกด้วย
The purposes of this research were 1) to study hematological parameters in complete blood count results among the first year students at Huachiew Chalermprakiet University 2) to study the prevalence of abnormalities in hematological parameters among the first year students at Huachiew Chalermprakiet University 3) to raise health awareness among students and emphasize the necessity of yearly check up. The researchers studied hematological values among first year students in Huachiew Chalermprakiet University during academic year 2011 and 2012 using an automated analyzer. Samples were three thousand eight hundred and forty-nine subjects who attended the orientation week. It was found that 2,182 (56.7%) subjects had normal CBC. There were 791 (20.5%) subjects having hemoglobin outside normal range; 787 subjects (20.4%) had results lower than reference range and 4 subjects (0.1%) had results higher than reference range. Sevenhundred and ten (20.5%) subjects were found to have hematocrit outside normal range; 702 subjects (18.2%) had results lower than reference range and 8 subjects (0.2%) had results higher than reference range. Moreover, it was also found that 44 subjects (1.1%) had abnormal platelet values while 195 subjects (5.1%) had abnormal white blood cell values. Evaluation of blood smear showed that 737 subjects (19.1%) showed abnormal neutrophil values, 399 subjects (10.4%) had lymphocyte value out of reference range, 120 subjects (3.1%) had abnormal eosinophil value, but no monocyte or basophil were found abnormal. Interestingly, 1,667 subjects (43.3%) had one or more parameters outside normal ranges. In sum, this study showed that a basic check up is essential and it emphasized the importance of student health awareness.
นนทยา ทางเรือ และสุชา จุลสำลี. (2558). การศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 15-24.