SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์
ธ.ค. 2nd, 2015 by supaporn

การค้นหาวิทยานิพนธ์สามารถสืบค้นได้จากหลายแหล่งสารสนเทศ บางแหล่งฟรี บางแหล่งต้องเป็นสมาชิก

เริ่มต้นง่ายๆ สืบค้นจากฐานข้อมูลในห้องสมุด (Library catalogue) ของมหาวิทยาลัยก่อนขยับมาควรค้นจาก IR (Institutional repositories) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ดำเนินการกันอยู่ แหล่งนี้เป็นวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น

Read the rest of this entry »

พลังของการคิดเชิงนวัตกรรม (Power of Innovation Thinking)
พ.ย. 12th, 2015 by supaporn

จากการเข้าร่วมฟังบรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง พลังของการคิดเชิงนวัตกรรม (Power of Innovation Thinking) โดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุม 1 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬางกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น เป็นการเน้นการฝึกทักษะของการคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวของ The Innovator’s DNA : Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators โดย Hal B. Gregersen ซึ่งประกอบด้วย

  • การเชื่อมโยง
  • การตั้งคำถาม
  • การสังเกต
  • การสร้างเครือข่าย
  • การทดลอง

ทักษะในการตั้งคำถามและการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรม คนที่เป็นนวัตกร จะถามเก่ง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จะต้องรู้จักการตั้งคำถาม โดยมีเทคนิคในการตั้งคำถาม คือ

  • อะไรจะเกิดขึ้นถ้า …. (What if) ตัวอย่างการตั้งคำถาม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นถ้ามีแว่นตา X-Ray ราคาถูก เป็นต้น
  • มองหาปัญหา Read the rest of this entry »
หนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู”
พ.ย. 6th, 2015 by supaporn

ซื่อคู่ฉวนซู

ซื่อคู่ฉวนซู

หนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นหนังสือสำคัญยิ่งของจีนชุดหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหนังสือที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวถึงหนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” ไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง  “ไอรัก คืออะไร” [1] หน้า 14 ในหัวข้อ “ดูพิพิธภัณฑ์ของห้องสมุด” ดังนี้

หนังสือ ซื่อคู่ฉวนซู เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้สี่ประเภทของจีน ได้แก่

  1. คัมภีร์ศาสนา หน้าปกสีเขียว เปรียบกับฤดูชุนเทียน (ฤดูใบไม้ผลิ)
  2. คัมภีร์ปรัชญา หน้าปกสีเหลือง เปรียบกับฤดูชิวเทียน (ฤดูใบไม้ร่วง)
  3. คัมภีร์เบ็ดเตล็ด หน้าปกสีเทา เปรียบกับฤดูตงเทียน (ฤดูหนาว)
  4. คัมภีร์ประวัติศาสตร์ หน้าปกสีแดง เปรียบกับฤดูเซี่ยเทียน (ฤดูร้อน)

และหน้า 18 ในหัวข้อ “ดูหนังสือโบราณ”

หนังสือนี้รวมทั้งหมดเป็นพันๆ เล่ม จักรพรรดิ์เฉียนหลงมีพระราชโองการให้รวบรวมเขียนด้วยลายมือทั้งหมด (ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นมีการพิมพ์แล้ว) สร้างไว้ 7 ชุด ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 ชุด เก็บรักษาไว้ที่ปักกิ่ง ไต้หวัน และหลานโจว ตอนกบฏไท้เผ็ง ถูกทำลายไป 3 ชุด เมื่อตอนที่กองทัพผสม 8 ชาติเข้าเผาวังหยวนหมิงหยวน ถูกทำลายไปอีกชุดหนึ่ง เขาบอกว่าธรรมดาไม่ให้คนอื่นดูคัมภีร์นี้ตัวจริง ผู้ที่ต้องการศึกษาต้องอ่านจากไมโครฟิล์ม คนที่จับหนังสือต้องใส่ถุงมือ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa