Zotero Connector คือ extension ที่ติดตั้งบน browser ไว้ใช้ทำงานร่วมกับโปรแกรม Zotero เพื่ออำนวยความสะดวกในการดาวน์โหลดและจัดเก็บไฟล์บทความพร้อมข้อมูลรายการอ้างอิง ในขณะที่ผู้ใช้กำลังสืบค้นข้อมูลและบันทึกไฟล์บทความจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้ ก่อนจะติดตั้งส่วนขยาย Zotero Connector นี้ ท่านควรมีโปรแกรม Zotero ในเครื่องก่อน สามารถย้อนดูวิธีการติดตั้งโปรแกรม Zotero และ Add-In Zotero ใน Microsoft Word ได้ คลิกที่นี่
1. ไปที่ URL www.zotero.org/download คลิก Install Chrome Connector
แต่ถ้าจะติดตั้งบน browser รุ่นอื่น ให้คลิกที่ Zotero Connectors for other browsers
แล้วกดเลือก browser ที่ต้องการใช้งาน
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความร่วมมือในหลาย ๆ ด้านกับหอสมุดแห่งชาติ เริ่มจากความร่วมมือเพื่อการดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย มีการจัดเก็บในระยะยาวและเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีพัฒนาการความร่วมมือในด้านต่างๆ กับหอสมุดแห่งชาติ ดังนี้
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ในโครงการจัดทำสำเนาหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย
การลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ณ ห้องรับรอง ชั้น 4 อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
การลงนามความร่วมมือการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย ระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
สาระสำคัญของบันทึดข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย ระหว่าง กรมศิลปากร กับ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Read the rest of this entry »
การลงรายการทางบรรณานุกรมในระบบฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัตินั้น การลงรายละเอียดของสารบัญหนังสือก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้ได้ทราบข้อมูลเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น ๆ และสามารถใช้เป็นคำค้นในการสืบค้นได้อีกด้วย โดยกำหนดการลงข้อมูลในเขตข้อมูลที่เรียกว่า Tag 505 (Formatted Contents Note) : ข้อมูลจากหน้าสารบัญ
ลักษณะการลงข้อมูล สามารถลงข้อมูลที่เป็นแบบสมบูรณ์ หรือแบบย่อ หรือลงเป็นบางส่วนก็ได้ ซึ่งบรรณารักษ์จะเป็นผู้พิจารณาในการลงข้อมูล เช่น หนังสือมีเนื้อหาสารบัญที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างมาก ก็จะลงข้อมูลที่เป็นแบบสมบูรณ์ หรือ หนังสือบางเล่มเนื้อหาสารบัญมีข้อมูลที่แยกย่อยมากจนเกินไป และสามารถตัดข้อความออกได้ บรรณารักษ์ก็สามารถพิจารณาลงข้อมูลแบบลงบางส่วนได้ เป็นต้น
การลงข้อมูลในเขตนี้ ตามหลักเกณฑ์การลงรายการ MARC21 กำหนดตัวบ่งชี้เพื่อเป็นการบอกลักษณะของสารบัญที่นำมาลง ดังนี้
Fist indicator
0 สารบัญสมบูรณ์ (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)
1 สารบัญไม่สมบูรณ์
2 สารบัญบางส่วน (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)
Second indicator
– (เว้นว่าง) Basic (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)
0 Enhance
ผู้เขียนได้ฟังการเสวนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ เนื่องในวันจดหมายเหตุสากล 2563 และวันแห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เรื่องความปกติใหม่ (New Normal) ที่ท้าทายงานจดหมายเหตุ : บททดสอบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14.00-15.30 น. จัดโดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วิทยากร มีดังนี้
วิทยากร Cr. ภาพ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
1. คุณจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุแห่งชาติ 2. นายแพทย์ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 3. ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) Thai PBS 4. ดร.ฐิติมา ธรรมบำรุง ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 5. นางจิราภรณ์ ศิริธร รองผู้อำนวยการส่วนบริหารงานเอกสาร บริหารงานจดหมายเหตุ และวัตถุพิพิธภัณฑ์ ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 6. นางสาวชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) วิทยากรและผู้ดำเนินรายการ
สรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ปัจจุบันมีคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และบุคคลภายนอก เข้ามาใช้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งบางครั้งผู้ใช้บริการ ที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์บรรณสารสนเทศ บางครั้งลืมสิ่งของไว้ภายในศูนย์บรรณสารสนเทศ เมื่อมีผู้พบเห็นสิ่งของเหล่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นผู้ใช้บริการ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จะนำมาให้เจ้าหน้าที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ติดตามหาเจ้าของ เพื่อมารับสิ่งของที่ลืมทิ้งไว้ต่อไป
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการจัดตั้งตู้ LOST & FOUND เพื่อรวบรวมสิ่งของที่ลืมไว้ หากผู้ใช้บริการท่านใดตามหาสิ่งของที่ลืมไว้ สามารถมาดูได้ที่ตู้นี้ และขอรับคืนได้ โดยกรอกเอกสารของที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดเตรียมไว้ตามแบบฟอร์มในรูป
แบบฟอร์มการรับแจ้งทรัพย์สินหายภายในศูนย์บรรณสารสนเทศ
หากสิ่งของใดไม่มีผู้มาขอรับภายใน 1 เดือน ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะจัดส่งให้กับสำนักพัฒนานักศึกษาต่อไป โดยมีแนวทางปฎิบัติดังนี้ Read the rest of this entry »
จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรมจัดซื้อหนังสือสัญจร ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ณ ชานเลนเจอร์ 2 อิมแพ็คเมืองทองธานี ได้มีคณาอาจารย์หลายท่านให้ความสนใจร่วมกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมเลือกซื้อหนังสือให้ตรงกับสาขาที่เปิดสอน ทางศูนย์บรรรณสารสนเทศ ได้จัดบุคลากรเพื่อไปช่วยดูแลและค้นหาหนังสือที่ อาจารย์ได้คัดเลือกเพื่อเป็นการไม่ให้เกิดการซ้ำของหนังสือนั้นๆ
ภาพกิจกรรมโครงการจัดซื้อหนังสือสัญจร
ในกิจกรรมนี้ทางฝ่ายจัดซื้อก็จะ Search หรือค้นหาหนังสือจากฐานข้อมูลของห้องสมุด (ผ่านมือถือ) ว่าหนังสือเล่มนั้นมีแล้วหรือไม่ ซึ่งทำได้ง่ายและสะดวกมากๆ โดย เริ่มจากการเข้าไปที่ เว็บไซต์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ตามขั้นตอนดังนี้ https://lib-km.hcu.ac.th/ Read the rest of this entry »
แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ มีการปรับนโยบายในการจัดซื้อหนังสือผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ตั้งแต่ช่วงการระบาดของโควิด-19 เดือน เมษายน-พฤษภาคม 2563 ซึ่งศูนย์บรรณสารสนเทศ ปิดทำการ และช่วงเวลาดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมจัดซื้อหนังสือสัญจรของแผนกจัดหาฯ ในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ที่เมืองทองธานี ซึ่งต้องงดการจัดงานอย่างกะทันหัน บรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องปรับตัว และปรับเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อมาเป็นแบบออนไลน์ วิธีการสั่งซื้อ ไม่ยุ่งยากค่ะ เหมือนกับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ทั่วไป
ขั้นตอนการจัดซื้อหนังสือออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (website) ร้านค้า ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. สมัครสมาชิกก่อนการสั่งซื้อออนไลน์
เมื่อสมัครสมาชิกแล้วสามารถสั่งซื้อรายการหนังสือตามที่ต้องการได้ทุกเล่มผ่าน เว็บไซต์ของร้านหนังสือ
2. เลือกรายการหนังสือที่ต้องการสั่งซื้อใส่ตะกร้า
ความในใจในการวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหนังสือชุด “รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》
หนังสือชุด “รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》ทั้งชุดมีทั้งหมด 365 เล่ม มีมากกว่า 30,000,000 ตัวอักษร มีสารบัญ 50,000 เรื่อง แบ่งเป็น 12 หมวด ใหญ่ ๆ ได้แก่
ห้องสมุดทำหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (ซึ่งก็เป็นหนังสือที่มีสัดส่วนมากกว่าสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ) จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ ระเบียบ และมีเครื่องมือสืบค้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดให้บริการ เริ่มเปลี่ยนเป็นดิจิทัลมากขึ้น ความสนใจในการอ่านตัวเล่มหนังสือเริ่มลดน้อยลง บทบาทของห้องสมุดในแง่ของการเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อการอ่านหนังสือลดลง ห้องสมุดต้องปรับการจัดหาหนังสือเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ปรับบทบาทการให้บริการผ่านออนไลน์มากกว่าเดิม ปรับบทบาทจากการใช้พื้นที่เพื่อการนั่งอ่านหนังสือ และในยุคการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 ห้องสมุดต้องปรับพื้นที่นั่งอ่าน ให้เป็นพื้นที่ที่รองรับการใช้งานของผู้เรียนในยุคนี้มากขึ้น เพราะการเรียนการสอนต้องพัฒนาทักษะของนักศึกษา คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) คือ 4 ทักษะที่จำเป็น หรือ 4Csได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น มีวิจารณญาณ (Critical Thinking and Problem Solving) คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้ การสื่อสาร (Communication) สื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสม และ การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)
การปรับพื้นที่ในห้องสมุด ในขณะที่ยังมีหนังสืออยู่เต็มชั้นหนังสือ ห้องสมุดแต่ละแห่งคงจะมีนโยบายในการจัดการตามบริบทของตนเอง เช่น บางแห่งมีพื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือแยกต่างหากจากชั้นหนังสือที่ให้บริการทั่วไป เป็นอาคารหรือสถานที่ ที่สามารถใช้เป็นคลังเก็บหนังสือ บางแห่งอาจจะไม่มีพื้นที่จัดเก็บเลย เพราะไม่มีอาคารที่นอกเหนือจากอาคารที่ให้บริการ แต่ไม่ว่าจะเข้าข่ายลักษณะใดก็ตาม การจะดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือที่ให้บริการ ห้องสมุดแต่ละแห่งต้องวางนโยบายในการดึงหนังสือออก
ปัจจัยใดบ้างที่ต้องนำมาพิจารณาในการดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือ Read the rest of this entry »
การจัดเรียง Item ในส่วนของ LHRs ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ด้วยการปรับแต่ละ Item ที่สลับ ฉบับ (ฉ.), สลับเล่ม (ล.) หรือปี พ.ศ. อยู่ ให้เรียงตามลำดับตำแหน่งให้ถูกต้องตามความต้องการ ด้วยการใส่ ตัวเลขตามลำดับที่ต้องการให้เรียงใน Item ลำดับไหน โดยใส่ในส่วนของ Copy Number ดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง รายการ Item ที่ยังไม่เรียงตามปี พ.ศ.