ตอนนี้ผู้ใช้ห้องสมุด (ศูนย์บรรณสารสนเทศ) อาจจะกำลังเห็นการเปลี่ยนแปลงในห้องสัมมนากลุ่ม ชั้น 4 ศูนย์บรรณสารสนเทศ พี่ๆ กำลัง ซ่อมเก้าอี้ด้วยลวดลายของผ้าขาวม้า ออกมาได้กิ๊บเก๋ ทีเดียว ประหยัดงบประมาณ และเป็นการนำสิ่งของที่เหลือใช้มาใช้ประโยชน์ให้สมกับการเข้าสู่ Green Office หรือห้องสมุดสีเขียว
สภาพเก้าอี้ที่ต้องส่งซ่อม
Read the rest of this entry »
โปรแกรม Doku-wiki เป็นโอเพนซอร์สโปรแกรมหนึ่ง ที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปสร้างเนื้อหา เพิ่มเติม ปรับปรุง และแก้ไขเนื้อหา เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่สร้างองค์ความรู้ต่างๆ ขึ้นมากมาย จากการที่เริ่มต้นด้วยการเขียนจากบุคคลหนึ่ง และผู้เป็นสมาชิกอื่นๆ สามารถที่จะเข้าไปเพิ่มเติมเนื้อหา หรือปรับปรุงเนื้อหาได้ พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ทำให้บทความหรือข้อมูลที่บันทึกไว้นั้น มีความสมบูรณ์ และติดตามอ่านได้ในแพลตฟอร์มเดียว
ด้วยจุดเด่นของ วิกิ ที่ให้มีการทำงานร่วมกันได้ อนุญาตให้สมาชิกอื่นๆ แก้ไขบทความเดิมได้ และด้วยรูปแบบคำสั่งที่ใช้งานง่าย ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงได้นำเอาโปรแกรม Doku-wiki มาใช้ในการบริหารจัดการเอกสาร การจัดเก็บเอกสาร เพื่อการทำงานร่วมกันของศูนย์ฯ https://lib-km.hcu.ac.th/intranet/management
อินทราเน็ตของศูนย์บรรณสารสนเทศ
การนำโปรแกรม Doku-wiki มาใช้กับการทำงานหลักของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คือ การบันทึกการประชุมของผู้บริหารกับหัวหน้าแผนก เพื่อการดำเนินงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ เกิดเป็น e-Meeting มีการบันทึกวาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมต่างๆ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถแนบไฟล์หรือเชื่อมโยงลิงก์ ทำให้การทำงานของผู้บริหารและหัวหน้าแผนก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเป็นการเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน องค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งเพียงแต่บันทึกและแจ้งลิงก์ ก็สามารถปฏิบัติงานและหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ เพียงแต่ต้องมีการบริหารจัดการหมวดหมู่ในการใช้งานและให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจอย่างหนึ่งในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า วิจัย ของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ นั้น จะหมายรวมถึง การจัดซื้อ และการได้รับหนังสือเป็นอภินันทนาการ หรือได้รับบริจาค หรือจากการขอรับหนังสือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างห้องสมุด หรือหน่วยงานอื่นๆ สำหรับในส่วนการจัดซื้อหนังสือนั้น มีวิธีการจัดซื้อ 3 วิธี คือ
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.30 น. อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว จำนวน 5 คน เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ห้องสมุดการแพทย์แผนจีน ห้องทรงอักษร หอเอกสาร ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ในการนี้ บรรณารักษ์ภาษาจีนให้การต้อนรับร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร
ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร
ระหว่างฟังการบรรยาย
ลงนามในสมุดเยี่ยม
自2008年9月29号始,华侨崇圣大学图书馆与泰国国家图书馆合作协办泰国百年中文报纸电子版制作项目。把自1917年起在泰国出版发行的所有中文日刊、两日刊、星期刊等中文报纸制作成为电子文档并上传至数据库,以维护和保存这些珍贵文献,并使得这些珍藏得以展现在世人面前, 供人们研究学习。
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีความร่วมมือกับหอสมุดแห่งชาติ ในการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล Thailand Digital Chinese Newspaper (TDCN) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง
若有兴趣使用中文报纸数据库,请联系华侨崇圣大学图书馆。
ท่านที่สนใจใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
中文报纸数据库
วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 9.00-11.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดการอบรมการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect ให้แก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 149 คน ณ ห้อง 4-207 อาคารโภชนาการ
ก่อนนำเข้าการอบรมฐานข้อมูล ScienceDirect วิทยากรจากศูนย์บรรณสารฯ ได้อธิบายสารสนเทศต่างๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์ใหม่ของศูนย์บรรณสารฯ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th เพื่อเป็นการแนะนำแหล่งสารสนเทศต่างๆ เครื่องมือ และช่องทางการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย รวมทั้งฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับเป็นสมาชิก เช่น ScienceDirect ซึ่งได้อธิบายการใช้งานอย่างละเอียด และการนำภาพ สมการ จากฐานข้อมูลไปใช้ประกอบในการทำรายงานต่อไป รวมทั้งการอ้างอิงอย่างถูกต้อง เนื่องจากนักศึกษาพยาบาล เป็นผู้ใช้ ScienceDirect ในการเรียนอยู่เสมอ การเข้าใช้ฐานข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่คุ้นเคย ทีมงานวิทยากร จึงได้เตรียมการฝึกปฏิบัติการ “Search Talk” เพื่อให้นัักศึกษาพยาบาล ได้ฝึกฝนการคิดคำค้น กลวิธีในการสืบค้น จากโจทย์ที่เตรียมไว้ให้จำนวน 8 ข้อ และเพื่อจะได้นำคำค้น กลวิธีในการสืบค้น มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์ในการสืบค้น ประกอบการทำรายงาน การค้นคว้าต่อไป Read the rest of this entry »
วันที่ 27 มกราคม 2559 เวลา เวลา 9.30-11.30 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมสิ่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาโลจิสติกส์ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาดและสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ รวม 90 คน และเวลา 13.30-15.30 น. ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจจีน สาขาการเงิน และสาขาการตลาด รวม 54 คน โดยแนะนำการสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับจากต่างประเทศ การใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ การใช้ฐานข้อมูลวิชาการ รวมทั้งแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารฯ นำมาเผยแพร่ไว้ที่หน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารฯ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th
บรรยากาศการอบรม
ในการอบรมครั้งนี้ มีการเน้นในเรื่องการเขียนรายการอ้างอิงอย่างถูกต้อง เนื่องจากจะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ และถือว่าไม่จริยธรรมในทางวิชาการ และในปัจจุบันสามารถใช้โปรแกรม Plagiarism Checker ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน การเขียนรายการอ้างอิง ให้มีการสอบถามอาจารย์ที่มอบหมายว่าจะให้ใช้หลักเกณฑ์หรือรูปแบบใด ซึ่งที่หน้าเว็บของศูนย์บรรณสารฯ ได้นำข้อมูล การอ้างอิงตามหลักการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระของมหาวิทยาลัย ข้อมูลการเขียนการอ้างอิงรูปแบบต่างๆ เช่น Citation Styles (http://www.plagiarism.org/citing-sources/citation-styles) A Research Guide for Students (http://www.aresearchguide.com/) และ การอ้างอิงและการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ตามแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 (แปลและเรียบเรียง โดย นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์ สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)
วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 9.30-11.30 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ จำนวน 28 คน และเวลา 13.30-15.30 น. นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชั้นปีที่3 จำนวน 52 คน และคณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาด จำนวน 87 คน ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร
วิทยากรบรรยาย การส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ
กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดผ่านระบบฐานข้อมูลห้องสมุด ตามสาขาวิชาของนักศึกษาแล้ว ยังได้มีการเน้นเรื่องการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect โดยแนะนำวิธีการสืบค้น การจำกัดการสืบค้น การดูผลการสืบค้น การดาวน์โหลดข้อมูล รวมทั้งการดึงข้อมูลในบทความมาใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น รูปภาพ สูตรสมการ เป็นต้น และการแนะนำการใช้เครื่องมือในการดึงข้อมูลทางรายการบรรณานุกรมของการอ้างอิงออกมาจากฐานข้อมูลด้วย ทั้งนี้ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลวิชาการเป็นอีก 2 ฐานข้อมูลที่นักศึกษาให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้มีการสาธิตการสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS และฐานข้อมูลงานวิจัย TNRR และได้มีการเน้นในการค้นหาวิทยานิพนธ์ของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจากรายการวิทยานิพนธ์ทั้งหมดที่ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการที่หน้าเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th (1) โดยรวบรวมไว้ในรูปแบบของเอ็กเซล (2) และศูนย์บรรณสารฯ ได้อำนวยความสะดวกให้คลิกรายการวิทยานิพนธ์ที่้ต้องการและเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS ได้ทันที (3) ก็จะสามารถคลิกดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มมาดูได้ทันที
ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์ มฉก. อย่างง่ายๆ
วันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ให้กับนักศึกษา 3 สาขาวิชา ของคณะบริหารธุรกิจ ได้แก่ สาขาโลจิติกส์ สาขาการจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ โดยแนะนำฐานข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ศูนย์บรรณสารฯ เพื่อสืบค้นข้อมูลประกอบการเรียน การสอน การค้นคว้า การทำสหกิจศึกษา การให้บริการต่างๆ ของศูนย์บรรณสารฯ รวมทั้งการแนะนำฐานข้อมูลออนไลน์ที่มีการบอกรับจากต่างประเทศ เช่น ScienceDirect และการติดตั้ง VPN เพื่อการเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์เมื่ออยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย การแนะนำฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ฐานข้อมูลวิชาการ เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัย จากหลายๆ แหล่ง โดยใช้คำค้นที่เกี่ยวข้องในแต่ละสาขาเป็นคำค้น กลวิธีต่างๆ ในการสืบค้น ทั้งในการสืบค้นแบบพื้นฐาน และการสืบค้นแบบขั้นสูง
ระหว่างการบรรยาย
สภาพบรรยากาศของนักศึกษาให้ความสนใจในการเรียนรู้
นอกจากนี้ ได้เน้นให้นักศึกษาตระหนักถึงการคัดลอกผลงานของคนอื่น การอ้างอิงอย่างถูกต้อง ในลักษณะการเขียนรายการอ้างอิงด้วยตนเอง ตามรูปแบบต่างๆ ของแต่ละสาขาวิชา หรือการใช้เครื่องมือต่างๆ เป็นตัวช่วย การใช้ฟังก์ชั่นของฐานข้อมูลที่มีให้บริการในการดึงข้อมูลรายการอ้างอิงในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้แหล่งทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ การสืบค้นได้อย่างถูกวิธี การนำไปใช้อย่างมีจริยธรรม
ศูนย์บรรณสารสนเทศฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศให้แก่นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหการ ชั้นปีที่ 3 จำนวน จำนวน 38 คนวันพุธที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 13.30 -15.30 น. ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร
ทีมวิทยากรจากศูนย์บรรณสารฯ ได้แนะนำเว็บไซต์ เพื่อให้ทราบถึงช่องทางในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่จัดหาไว้ให้ เช่น การสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ แหล่งสารสนเทศแบบเปิด ฐานข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่น วิทยานิพนธ์ ทั้งที่เป็นฐานข้อมูลในประเทศไทย และต่างประเทศ ฐานข้อมูลวิชาการ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยบอกรับเป็นสมาชิก รวมทั้งการติดตั้ง VPN เพื่อให้สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลที่บอกรับได้จากทางบ้าน
นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอการทำ Pathfinder เพื่อให้นักศึกษาทราบวิธีการสืบค้นสารสนเทศในหลายๆ ประเภท เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการหาสารสนเทศต่อไป และนำไปสู่สารสนเทศ นักศึกษาได้นำสารสนเทศเหล่านี้มาอ่าน และศึกษาจนเกิดการตกผลึก และสามารถเรียบเรียงเป็นสำนวนการเขียนของตนเอง และสามารถเขียนการอ้างอิงสารสนเทศต่างๆ ที่นำมาใช้ประกอบการเขียนรายงานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งได้แนะนำวิธีการสืบค้นฐานข้อมูลที่มีเครื่องมือในการดึงรายการอ้างอิง และคู่มือการเขียนรายการอ้างอิงในรูปแบบต่างๆ และได้มีการสร้างความตระหนักในเรื่องของการลักลอกผลงานทางวิชาการให้แก่นักศึกษาอีกด้วย ซึ่งอาจารย์และนักศึกษาที่ร่วมการอบรมให้ความสนใจหัวข้อต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง
กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหการ คณะวิทยาศาสตร์
บรรยากาศระหว่างการอบรม