SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยถึง 6 เล่ม ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ประกอบด้วย

1. ที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537
2. Huachiew Chalermprakiet University Commemorative Edition on the occasion of the University’s Inauguration graciously presided over by Their Majesties the King and Queen of Thailand on March 24, 1994
3. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ฉบับภาษาจีน)
4. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วันทำพิธีเปิด (มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยและภาษาจีน)
5. สูจิบัตรพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
6. พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากหนังสือเหล่านี้ได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ และหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทั้งข้อมูลและภาพพระองค์ท่านที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย

ยุคใหม่ของห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต.ค. 16th, 2016 by supaporn

เป็นที่ตื่นตา ตื่นใจ และตื่นเต้น เมื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้บริการที่มีการปรับโฉมใหม่ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 และในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2558 เวลา 13.00 น.

ลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนไป

eng1

eng2

eng3

Read the rest of this entry »

ประเพณีรับบัว
ต.ค. 12th, 2016 by namfon

วันประเพณีรับบัวประจำปี 2559 ครั้งที่ 81 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของชาวบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 12-15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยกำหนดวันรับบัวในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เริ่มเวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอบางพลี วัดบางพลีใหญ่ใน และวัดบางพลีใหญ่กลาง จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อโตจำลอง ลงเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลองอำเภอบางพลีและอำเภอใกล้เคียง และผู้คนจากต่างพื้นที่  ต่างหลั่งไหลเดินทางมา โดยมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน ได้ร่วมสักการะบูชา  โดยการโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า หากสามารถโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่แล้ว อธิษฐานสิ่งใดไว้ก็จะประสบความสำเร็จดั่งหวัง

14370321_1319753014703774_1487991096113084043_n ประเพณีรับบัว

ภาพจากแฟนเพจ : Zaleang Foto  www.facebook.com/thongbai.pho

ประเพณีรับบัวเป็นงานที่แสดงถึงความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนต่างถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวอำเภอบางพลีที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสายน้ำสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  จากความเป็นมาเล่าขานกันว่าเป็นประเพณีที่ชาวบางพลีจัดขึ้นเพื่อต้อนรับคนมอญพระประแดงที่ทำนาอยู่ที่ตำบลบางแก้ว เมื่อถึงเวลาออกพรรษาคนมอญจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง จึงร่วมกันเก็บดอกบัวเพื่อให้คนมอญนำกลับไปถวายพระที่วัดเพื่อนำไปบูชาหลวงพ่อโต และนำน้ำมนต์ของหลวงพ่อกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล  ส่วนดอกบัวที่เหลือชาวมอญก็นำกลับไปบูชาพระคาถาพันที่วัดของตน ระหว่างการเดินทางทางน้ำที่ยาวนานก็ต่าง พากันร้องรำทำเพลงบนเรือ คนไทยได้เตรียมอาหารคาวหวานไปเลี้ยงรับรอง จึงเป็นที่มาของประเพณีรับบัวมาจนถึงทุกวันนี้

ภายในงานมีกิจกรรมสร้างความสุขมากมาย เช่น กิจกรรมสืบสานประเพณีตักบาตรทางน้ำ ล่องเรือชมความสวยงามริมสองฝั่งคลองสำโรง ภายใต้แนวคิด “ดอกบัวแห่งศรัทธา ธาราแห่งไมตรี ประเพณีรังสรรค์ มหัศจรรย์แห่งสายน้ำ” เลือกซื้อสินค้ามากมาย ทั้งขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และสินค้า OTOP  ชมการแสดง แสง สี เสียง บนเวทีเรือลอยน้ำ สุดยิ่งใหญ่ตระการตา ประกวดหนุ่ม–สาวรับบัว และประกวดร้องเพลงไทยลุกทุ่ง ชมศิลปวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของชาวท้องถิ่น นมัสการขบวนหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน และรื่นเริงไปกับมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังและกิจกรรมที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย

14484580_1153082224731265_4825747917539542219_n ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตลาดโบราณบางพลี

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีรับบัว มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ให้ความร่วมมือกับอำเภอบางพลีอย่างต่อเนื่อง  เป็นประจำทุกปี และในปีนี้คณะต่างๆ ได้จัดกิจกรรมไปออกบูธคลินิกตรวจสุขภาพ ภายในบูธมีการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และอื่นๆ  ณ บริเวณวัดบางพลีบางพลีใหญ่ใน  เช่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตรวจพยาธิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ตรวจวัดสมรรถภาพร่างกาย และคณะกายภาพบำบัด ตรวจวินิจฉัยให้คำปรึกษาฟื้นฟูร่างกายและวิธีกายภาพบำบัด

นอกจากนี้ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นำโดยทีมนักแสดงจาก อาจารย์สุกฤตาวัฒน์ บำรุงพานิช ซึ่งได้จัดแถลงข่าวประเพณีรับบัวผ่านไปแล้ว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงแรมแกรน์อินคำ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ  อาจารย์สุกฤตาวัฒน์ ยังให้ข้อมูลดังกล่าวว่า การจัดแสดงหุ่นคน จะเริ่มการแสดงในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. พิธีเปิดงานประเพณีรับบัว ลานวัฒนธรรม ณ เวทีหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ การแสดงทั้งหมดจำนวน 5 ชุด ดังนี้

  1. ชุดที่ 1 ชื่อหุ่นคน ชุด “สัตตบงกช”
  2. ชุดที่ 2 ชื่อหุ่นคน ชุด “มหาเทวีศรีปทุม”
  3. ชุดที่ 3 ชื่อหุ่นคน ชุด “รื่นเริงประเพณีรับบัว”
  4. ชุดที่ 4 ชื่อหุ่นคน ชุด “เทวนครรัตนโกสินทร์”
  5. ชุดที่ 5 ชื่อหุ่นคน ชุด “มหาเทวีศรีล้านนา”

ผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนทุกท่าน มาร่วมกันเที่ยวชมงาน  ร่วมรักษาและอนุรักษ์ประเพณีรับบัวหรือประเพณีโยนบัวเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีคุณค่า ควรสืบสานอนุรักษ์ในความเป็นไทยให้คงอยู่ไปตราบนานเท่านาน และเพื่อให้อนุชนรุ่นต่อไปๆ ได้ศึกษารากเหง้าแห่งวัฒนธรรมไทยสืบต่อไป

รายการอ้างอิง

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตลาดโบราณบางพลี สืบค้นจาก https://www.facebook.com/Bangplee.TourismServiceCenter/

https://th.wikipedia.org/wiki

Open Science Taxonomy
ต.ค. 9th, 2016 by supaporn

ลองดูภาพนี้ ชัดเจนทีเดียวสำหรับ Open Science

Open Science Taxonomy

Open Science Taxonomy

รายการอ้างอิง

FOSTER. Open Science Taxonomy. Retrieved from https://www.fosteropenscience.eu/foster-taxonomy/open-science

รัฐบาล ตั้งสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ต.ค. 7th, 2016 by supaporn

ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 62/2559 เรื่อง การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ กำหนดให้มีสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดทิศทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมทั้งปรับปรุงระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศตลอดจนกํากับและติดตามการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ และประเมินผลการดําเนินการให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีเอกภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาการวิจัยของประเทศและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน อ่านเพิ่มเติม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/225/8.PDF

ปลาสลิดบางบ่อ
ต.ค. 3rd, 2016 by supaporn

disk10.9.tif

ภาพจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ

จากการลงพื้นที่ของ อ. อัญชลี สุภาวุฒิ นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อหาข้อมูลการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ ทำให้พวกเราทราบว่า

“หากจะกล่าวถึงปลาสลิดรสชาติดี จะต้องนึกถึงปลาสลิดบางบ่อ โดยแหล่งผลิตปลาสลิดใหญ่ที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ คือ ตำบลคลองด่าน อำเภอคลองด่าน ลุงผัน หรือ ผัน ตู้เจริญ เริ่มเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อเป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2500 และประสบผลสำเร็จ ทำรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดีและยั่งยืน จนถึงปัจจุบัน แต่ก่อนลุงผันมีอาชีพทำนาข้าว หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วน้ำแห้งมาก จึงเริ่มคิดหาวิธีกักน้ำไว้เลี้ยงปลา โดยในบ่อของลุงผัน มีปลาดุกสีทอง ปลาช่อนสีทอง และปลาสลิด ซึ่งปลาสลิดเยอะที่สุด จึงเป็นเหตุให้เลิกทำนาข้าวและหันมาเลี้ยงปลาสลิดแทน เลี้ยงได้ประมาณ 3-4 ปี จึงได้นำปลาสลิดทูลเกล้าถวายฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในปี 2506 ถึงสองครั้ง จนได้รับพระราชทานปลาสลิดทอง

ปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ มีพื้นที่ประมาณ 5,000 กว่าไร่ บริเวณ หมู่ 1, 2 ,3, 4 และ หมู่ 11, 12 เป็นการเลี้ยงจากบ่อธรรมชาติ คือ บ่อดิน โดยจะขุดดินล้อมพื้นที่ทำคันให้สูงใช้ที่นาเดิมที่มีอยู่ ฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอน เพื่อเป็นอาหารปลา กักน้ำเก็บไว้ เริ่มปล่อยปลาลงบ่อ มีการคัดเลือกสายพันธุ์ตัวปลาที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีแผล ครีบและหางไม่แตก เพศผู้ เพศเมีย ลักษณะตัวมีขนาดใหญ่ สีดำ เน้นการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ ตัวปลาที่สมบูรณ์ สามารถวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขึ้นไป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อปลาสมบูรณ์เต็มที่ ก็จับปลามาจำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป”

รายการอ้างอิง

อัญชุลี สุภาวุฒิ. (2557). ภูมิปัญญา สร้างอาชีพ ปลาสลิดจากบ่อธรรมชาติ. สารศิลป์, 4 (2), 3-4.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ. ของฝากจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นจาก http://samutprakan.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=1

พื้นที่สีเขียวและมุมบริการหนังสือด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ก.ย. 29th, 2016 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดทำพื้นที่สีเขียวขึ้น บริเวณชั้น 1 ใกล้กับเคานเตอร์ยืม-คืน หนังสือ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศ และภูมิทัศน์ที่ดีในการพื้นที่ให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นในศูนย์บรรณสารสนเทศอีกด้วย นอกเหนือจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ยังได้จัดให้มีเก้าอี้เพื่อสำหรับให้ผู้ใช้บริการได้นั่งในบริเวณดังกล่าว ในระยะแรกเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมทั้งเน้นในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ในระยะต่อมา ได้มีการจัดเป็นมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่พื้นที่สีเขียวดังกล่าว

หนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่นำจัดให้บริการที่มุมดังกล่าว นั้น เป็นหนังสือส่วนหนึ่ง ที่มีการหมุนเวียนจากชั้นหนังสือทั่วไป มาจัดไว้ให้บริการ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและเป็นการสร้างเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ในด้านการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้ใช้บริการอีกช่องทางหนึ่ง

บริเวณพื้นที่สีเขียวและมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม

บริเวณพื้นที่สีเขียวและมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม

อีกมุมนึ่งของพื้นที่สีเขียวและมุมหน้งสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม

อีกมุมนึ่งของพื้นที่สีเขียวและมุมหน้งสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์ เป็นหัวข้อหนึ่งในหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน บรรยายโดย อาจารย์ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยอาจารย์ได้นำความรู้มาบรรยาย ในประเด็นต่อไปนี้

  1. ทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  2. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  3. กระบวนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  4. ตัวอย่างหอจดหมายเหตุดิจิทัลและพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล
  5. การพัฒนา “คลังสารสนเทศดิจิทัล” เริ่มต้นอย่างไร?

เริ่มต้น วิทยากรให้ความหมาย คำว่า “ทรัพยากรสารสนเทศ” ใน 2 มุมมอง คือ ความหมายในแง่ขององค์กร และของบุคคล กล่าวคือ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ในมุมมองขององค์กร หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ที่ได้มีการรวบรวม กลั่นกรอง เรียบเรียง หรือประมวลผลไว้ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส แล้วนำมาบันทึกด้วยวิธีการต่างๆ ลงวัสดุชนิดต่างๆ เพื่อจัดเก็บ หรือเผยแพร่ให้ผู้รับได้ทราบ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ หรือความบันเทิง ขณะที่ ทรัพยากรสารสนเทศในมุมมองของบุคคล เน้นในเรื่องของความทรงจำของบุคคลนั้น เป็นความทรงจำที่มีความหมาย มีความสำคัญ หรือถูกด้วยปัจจัยต่างๆ โดยผู้เป็นเจ้าของของความทรงจำ เช่น ภาพถ่ายที่ถูกบันทึกลงในกระดาษ ภาพถ่ายในรูปแบบฟิล์ม ม้วนเทปวิดีโอ เทปบันทึกเสียง ภาพวาด สมุดบันทึก Sketchbook ฯลฯ ดังนั้น ทรัพยากรสารสนเทศ จึงแบ่งได้เป็น Read the rest of this entry »

หลังบ้าน หน้าบ้านของการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน แต่ต้องพิจารณาก่อนว่าจะเก็บอะไรให้เป็นดิจิทัล จัดเก็บอย่างไร เข้าถึงและเผยแพร่ได้ทางไหน อย่างไร

3 ขั้นตอน ได้แก่ การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) การบริหารจัดการข้อมูล (Information Management) และ การจัดแสดงการเผยแพร่การให้บริการ (Information Access)

กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/files/2016/seminar-2016Sep15-16/20160916-DigitalPreservation-Rachabadin.pdf

รายการอ้างอิง

ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ. (2559). การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล : ตัวช่วยในการอนุรักษ์. เอกสารประกอบการบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน วันที่ 16 กันยายน 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

จะเลือกวารสารตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยอย่างไร
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

นักวิจัยหลายๆ ท่านอาจจะเคยได้รับจดหมายเชิญขวนให้ส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ เราจะมีหลักการพิจารณาได้อย่างไร ว่าวารสารเหล่านั้นไม่ใช่วารสารประเภท predatory journal

1. ตรวจสอบวารสารที่จะตีพิมพ์ผลงานวิจัย อยู่ใน Master Journal List ของบริษัท Thomson Reuters หรือไม่ ได้ที่ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/ โดยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะวารสารที่มีอยู่ใน Science Citations Index และ Science Citations Index Expanded เท่านั้นที่จะมีค่า impact factor และวารสารในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะต้องอยู่ใน Social Science Citation Index และ Arts and Humanities Citation Index เท่านั้น โดยสามารถดาวน์โหลดรายชื่อวารสารทั้งหมดในฐาน Science Citations Index, Science Citations Index Expanded และ Arts and Humanities Citation Index ได้จากเมนูขวามือ

การตรวจสอบรายชื่อวารสาร

การตรวจสอบรายชื่อวารสาร

2. ตรวจสอบค่าดัชนีอ้างอิงวารสาร impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports หรือ InCites Journal Citation Reports

รายการอ้างอิง

วสุ ปฐมอารีย์. (2559). การคัดเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย. Re-Form. vol.4 (ก.ค.-ส.ค.)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa