SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC
ก.พ. 7th, 2017 by wanna

ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรภาษาจีน ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์ ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และ ก่อนหน้านั้นได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาหลายแห่งของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ ของ สำนักหอสมุด แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่ง ในระยะแรก ๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน โดย ใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และ เขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนเช่น คำว่า ภาษาจีน (汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ สำนักหอสมุด และ รับผิดชอบงานการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดย รวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่า การลงรายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yu โดยเขียนแยกกัน และ ใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักของการเชียนภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และ ชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และ เขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน (中国)จะสะกดและเขียนเป็น Zhongguo ปักกิ่ง (北京)สะกดและเขียนเป็น Beijing เป็นต้น หลังจากผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC Romanization แล้ว จึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ดังนี้  การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC

ความสัมพันธ์จีน–อาเซียนภายใต้นโยบาย 1 แถบ 1 เส้นทาง” (Sino-ASEAN Relations under One Belt One Road Policy 一带一路背景 下 中国与 东盟关系)
ก.พ. 7th, 2017 by wanna

เมื่อวันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2560 ผู้เขียน ได้มีโอกาส เข้าร่วมสัมมนาวิชาการจีนศีกษา ครั้งที่ 7 เรื่อง “ความสัมพันธ์จีน–อาเซียนภายใต้นโยบาย 1 แถบ 1 เส้นทาง” (Sino-ASEAN Relations under One Belt One Road Policy 一带一路背景 下 中国与 东盟关系) ซึ่ง จัดโดย วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยากร คือ รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ไทยจีน ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Prof.Dr. Zhu Zhenming ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ไทยจีน สถาบันวิจัยสังคมศาสตร์แห่งมณฑลยูนนาน ผู้เขียน เห็นว่า เรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงอยากจะแบ่งปันความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนามาให้ผู้สนใจได้ทราบ ดังนี้

รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น กล่าวถึง ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนภายใต้นโยบาย 1 แถบ 1 เส้นทาง ว่าปัจจุบันเรียกว่า BRI (Belt and Road Initiative) ซึ่งเดิมเรียกว่า One Belt One Road ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศของจีน เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีทุนสำรองเป็นอันดับหนึ่ง เงินหยวนถูกใช้มาก นักท่องเที่ยวจีนบุกโลก กล่าวถึงความสัมพันธ์จีน-อาเซียนครบรอบ 25 ปี การค้าจีน-อาเซียนในยุค New Normal ขยายตัวลดลง (New Low) การส่งออกของจีนในตลาดโลกลดลง
Read the rest of this entry »

การศึกษาดูงาน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ม.ค. 30th, 2017 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทัศนศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2559 นำโดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และทีมงานจำนวน 17 คน โดยมีการกำหนดหัวข้อในการขอเข้าฟัง ดังนี้

  1. การบริหารจัดการในภาพรวมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. การพัฒนาฐานข้อมูลการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ตรวจสอบเอง และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การนำระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ WorldCat
  3. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
  4. การพัฒนานวัตกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. การบริการเชิงรุก
  6. การให้บริการ WorldShareILL
  7. การจัดการความรู้
  8. การประกันคุณภาพ
  9. การอนุรักษ์พลังงาน
บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผอ. วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์) และบุคลากรที่มาต้อนรับ ทุกท่าน (ประกอบด้วย คุณคัทลียา  ปรีชานิ คุณปราชญ์ สงวนศักดิ์  คุณหวานใจ อรุณ คุณศุภวรรณ อาจกล้า  คุณสุรินทรา  หล้าสกูล คุณสดศรี  กันทะอินทร์  คุณศิริมนัส  อินต๊ะแก้ว และคุณจิราภรณ์  หาบุญ) ที่เร่งทำเวลาในการบรรรยายให้ความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความเห็น และตอบคำถาม จึงขอสรุปข้อความรู้ในประเด็นหลักๆ ดังนี้ Read the rest of this entry »

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
ม.ค. 28th, 2017 by yuphin

เมื่อคราวที่ผู้เขียน มาทัศนศึกษา ดูงาน ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเสร็จสิ้นการดูงานในทางวิชาการแล้ว ทีมงานได้เดินทางมาทัศนศึกษาสถานที่อื่นๆ อีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ แห่งหนึ่ง ก็คือ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พวกเราเดินทางขึ้นไปถึงตอนเช้า อากาศเย็นๆ กำลังดี ทำให้สามารถเดินชมบริเวณโดยรอบพระตำหนักฯ ได้อย่างสบายๆ แต่ด้วยจิตใจที่รำลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณในหลวง ร.9  และด้วยความประทับใจขอนำเรื่องพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ มาเล่าสู่กันฟังนะคะ จากแผ่นพับที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ด้านหน้า (เป็นฉบับภาษาไทย-ภาษาจีน) และเว็บไซต์พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ให้ข้อมูลไว้ดังนี้ค่ะ

20161218_101722

20161218_102318

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่  ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล  1,373.198 เมตร เนื้อที่โดยรอบพระตำหนักประมาณ 400 ไร่ นั้น แบ่งเป็นบริเวณที่ เปิดให้นักท่องเที่ยว ได้ชื่นชมประมาณ 200 ไร่ คำว่า “ดอยบวกห้า” เป็นชื่อเรียก ตามคำพื้นเมือง ดอยหมายถึงภูเขา บวกหมายถึง หนองน้ำ ห้าหมายถึงต้นหว้า หมายความว่า ที่ยอดดอยแห่งนี้มี หนองน้ำอุดมไปด้วยต้นหว้าขึ้นปกคลุมทั่วบริเวณหนองน้ำนั้น เป็นพระตำหนักที่ประทับในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะที่เสด็จฯ เยือนประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมจะประท้บรับรองแต่ในพระนครหลวงเท่านั้น โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2504 และพระราชทานนาม พระตำหนักองค์นี้ว่า ภูพิงคราชนิเวศน์ โดยทรงเลือกจาก หนึ่งใน 2 ชื่อ ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งเป็นที่ พระศาสนโสภณ เป็นผู้คิดชื่อถวาย คือ “พิงคัมพร” กับ “ภูพิงคราชนิเวศน์”  ในครั้งแรกได้ก่อสร้างเฉพาะองค์พระตำหนักที่ประทับ และเรือนรับรองเท่านั้น ส่วนอาคารอื่นๆ ได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมต่อมาในภายหลัง

โดยรอบพระตำหนักฯ จะได้ชื่นชมกับดอกกุหลาบ และพันธุ์ไม้ต่างๆ มากมาย จัดตกแต่งด้วยความสวยงาม นักท่องเที่ยวต้องหยุดเพื่อเก็บภาพเป็นที่ระลึกตลอดเส้นทาง พวเราเดินจนไปถึง อ่างเก็บน้ำ/น้ำพุ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในบริเวณพระตำหนัก ริมอ่างเก็บน้ำด้านข้าง มีพลับพลาที่ประทับ สร้างด้วยไม้สักทอง รอบๆ อ่างเก็บน้ำจะเป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว ในเว็บไซต์พระตำหนักฯ (http://www.bhubingpalace.org/index2.php) จะมีข้อมูลดอกกุหลาบและพันธุ์ไม้ต่างๆ  รวมทั้งผีเสื้อพันธุ์ต่างๆ ให้ศึกษาและชมภาพอันงดงามไว้ด้วยค่ะ

ในช่วงที่ผู้เขียนไปในอยู่ในเดือนธันวาคม พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ได้เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวและประชาชนที่เดินทางเข้ามายังพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ได้ร่วมลงนามถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ เรือนรับรอง ภายในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ทั้งนี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้ร่วมลงนามถวายความอาลัยอย่างทั่วถึงโดยแต่งกายไว้ทุกข์

รายการอ้างอิง
ภูพิงคราชนิเวศน์. แผ่นพับ.
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์. http://www.bhubingpalace.org/index2.php

 

พูดจีนเก่งมาก! (Speaking Chinese fluently)
ม.ค. 28th, 2017 by rungtiwa

     พูดจีนเก่งมาก! (Speaking Chinese fluently)

9789744143709-247x350

ในหลายๆ เดือนก่อน บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้ารับการพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้ภาษาจีนได้ ในระดับเบื้องต้น คือ พอจะสื่อสารได้บ้าง เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มียุทธศาสตร์เน้นในเรื่องจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ บุคลากรสายสนับสนุนของศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงยกทีมกันเข้าคอร์สเรียน ภาษาจีนกันเป็นกลุ่มใหญ่ แบ่งได้ 2 กลุ่ม

ผู้เขียน พอจะพูดได้อยู่บ้างแต่นิดหน่อย ดีใจที่ได้เข้ารับการฝึกฝนอย่างเป็นทางการและจริงจัง จาก เหล่าซือ ที่เดินทางมาจากประเทศจีน แม้ว่าจะเป็นหลักสูตรสั้นๆ แต่ก็พอจะได้อยู่บ้าง และต้องอยู่ที่พวกเรากลับมาฝึกต่อเองอีกด้วย เลยหาหนังสือมาเพื่อฝึกฝนด้วยตนเอง ในศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหลายเล่มค่ะ แต่ขอเลือก  “พูดจีนเก่งมาก!” (Speaking Chinese fluently) มานำเสนอค่ะ ผู้เขียน อ่านแล้วชอบมาก ขอแนะนำต่อนะคะ

“พูดจีนเก่งมาก!” (Speaking Chinese fluently) เป็นหนังสือที่รวบรวมประโยคภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งสำนวนที่ใช้บ่อยในสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจองห้องพักโรงแรม การถามทาง การซื้อของ การสังสรรค์ ไปจนถึงการติดต่อธุรกิจ นำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแสนน่ารัก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปเรียน ท่องเที่ยว หรือทำงานในประเทศจีน เช่น เข้าพักในโรงแรม  ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  ถามทาง งานสังสรรค์  การยืมและคืน เช่ารถ  ชาวต่างชาติในประเทศจีนและซื้อของเป็นต้น

ท่านใดสนใจ หนังสือเล่มนี้ อยู่ที่หมวดหมู่ PL1121.T5 ห353พ 2558 หนังสือทั่วไปชั้น 3 

รายการอ้างอิง

หวงเหล่าซือ และอารีย์วัลย์ บุญอากาศ. (2558). “พูดจีนเก่งมาก!” (Speaking Chinese fluently).  กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ต้นไม้รอบอาคารบรรณสาร
ม.ค. 28th, 2017 by ปัญญา วงศ์จันทร์

scan0002

          อาคารบรรณสารได้เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 24 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ได้มีต้นไม้รอบอาคารหลากหลายมากมายซึ่งช่วยสร้างสมดุลระหว่างการดักจับจุลินทรีย์ในอากาศและการกรองฝุ่นผงที่ล่องลอยอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งมากด้วยมลพิษโดยมีต้นไม้ทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์พร้อมกับผลิตออกซิเจนรวมทั้งป้องกันแสงแดดจากภายนอกซึ่งอาคารบรรณสารมีต้นไม้ที่ปลูกโดยรอบอาคารมีอะไรบ้างแต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอะไร และจัดจำแนกอยู่ในหมวดหมู่ใด Read the rest of this entry »

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R)
ธ.ค. 13th, 2016 by suwanna

R2R  ย่อมาจากคำว่า Routine to Research  คือ การศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานประจำทุกวัน แล้วนำปัญหานั้นมาทำเป็นงานวิจัย จากนั้นก็นำผลที่ได้จากการวิจัยย้อนกลับมาใช้กับงานประจำอีกที เพื่อแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานให้มีความเจริญขึ้น และพัฒนากำลังคนให้เกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงาน

หลักเกณฑ์ในการทำ R2R

  1. มีการศึกษาปัญหา คัดเลือกหัวข้อที่จะทำ R2R
  2. ดำเนินการทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาโดยใช้ R2R
  3. ทำแผนพัฒนาเพื่อปรับปรุงการทำงานจากผลการทำ R2R
  4. ดำเนินการตามแผนพัฒนาการปรับปรุงการทำงาน
  5. นำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงงานให้ดีขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน

การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

  1. ขนาดของปัญหา (Size of problem) ควรศึกษาจากน้ำหนักของปัญหาโดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน
    ของปัญหา อาจกำหนดเป็นคะแนน แล้วนำปัญหาที่มีน้ำหนักคะแนนมากนั้น มาเป็นหัวข้อปัญหาของการวิจัยได้
  2. ความรุนแรงเร่งด่วนของปัญหา (Severity of problem) ควรเป็นปัญหาซึ่งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว ถ้าไม่แก้ไขด่วนก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้
  3. ความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา (Feasibility or ease) ปัญหานั้นจะต้องมีการแก้ไขกระทำได้ง่าย โดยไม่ต้องอาศัยหน่วยงานอื่น หรือมีปัจจัยสนับสนุนในการดำเนินการแก้ไข
  4. ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา (Community concern) การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ร่วมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
  5. ผลกระทบต่อหน่วยงาน (Impact) ต้องคำนึงถึงผลกระทบของปัญหาที่มีต่อบุคลากรและหน่วยงานมากน้อยแค่ไหน

Read the rest of this entry »

การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
พ.ย. 19th, 2016 by dussa

โครงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำระดับต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรระดับหัวหน้า จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 และ 25-26 ตุลาคม 2559 เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างเข้มแข็ง และเพื่อให้เป็นการบริหารสถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรู้และทักษะความชำนาญด้านการบริหารจัดการสามารถปรับตัวได้ตามสภาวะแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องมีคุณธรรมจริยธรรมและทัศนคติที่ดี มีสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ เพื่อจะสามารถปฏิบัติพันธกิจให้บรรจุเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นใจ ดังนั้น ความรู้ในการเป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่ได้รับจากอบรมครั้งนี้ ในส่วนของความหมายของภาวะผู้นำ ผู้นำ ความสำคัญของการเป็นผู้นำ การมีภาวะผู้นำ ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จนั้น สามารถสรุปได้ ดังนี้

ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถในการนำจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ และได้รับการยอมรับและยกย่องจากบุคคลอื่นให้เป็นผู้นำในกลุ่ม สามารถกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมายผู้นำ Read the rest of this entry »

กฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๙
พ.ย. 19th, 2016 by namfon

การทอดกฐินเป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนไทย ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๒,๕๐๐ ปี โดยการถวายผ้าพระกฐินของมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีสำคัญประจำปี ช่วงเวลาที่กำหนดระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะทำก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้  ในปีนี้อยู่ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙

จากเว็บไซต์ของกรมการศาสนา ได้กล่าวถึง ประวัติการทอดกฐิน ไว้ดังนี้

กฐิน ตามอรรถกถาฎีกาต่างๆ กล่าวไว้มี ๒ ลักษณะ คือ

๑. จุลกฐิน เป็นกิจกรรมสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนด วันหนึ่ง นับตั้งแต่การเก็บฝ้าย ปั่นฝ้าย กรอ ทอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันฑ์ ได้ ขนาดตามวินัย แล้วทอดถวายให้แล้วเสร็จในวันนั้น

๒. มหากฐิน เป็นการจัดหาผ้ามาเป็นองค์กฐิน พร้อมทั้งเครื่องไทยธรรม บริวารเครื่องกฐิน จำนวนมาก ไม่ต้องทำโดยรีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหาทุนในการบำรุงวัด เช่น การบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานภายในวัด

การทอดกฐินในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน

๑. พระกฐินหลวง เป็น พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น พุทธมามกะและเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ รวมทั้ง พระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์  ราชสกุล องคมนตรี หรือผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้เสด็จฯ แทน พระองค์นำไปถวายยังพระอารามหลวงสำคัญ ๑๖ พระอาราม ที่สงวนไว้ไม่ให้มีการขอพระราชทาน คือ Read the rest of this entry »

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกในประเทศไทย
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

 

wichien

ดร. วิเชียร เตชะไพบูลย์ กดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย

สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน สถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านการแพทย์แผนจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดตั้งสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย และนับว่าเป็นสถาบันขงจื่อแห่งที่ 15 ของประเทศ

泰国华侨崇圣大学中医孔子学院,由泰国华侨崇圣大学与中国天津中医药大学合作成立,是泰国第十五家孔子学院,同时也是泰国首家中医孔子学院。

ท่านเจ้าคุณธงชัย เจิมป้าย

ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหารเจิมป้ายสถาบันขงจื่อการแพย์แผนจีน

ท่านเจ้าคุณธงชัย พรมน้ำมนต์

ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

สถาบันของจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจะทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมภูมิปัญญาตะวันออก และศาสตร์การแพทย์แผนจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการเรียนการสอนแพทย์แผนจีน ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์แผนจีน อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อผู้ประกอบวิชาชีพ และองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีนของประชาชนชาวไทย และประชาชนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้านภาษาจีน และศิลปวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีน อีกทั้งยังมีบทบาทหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์แผนจีน การจัดนิทรรศการและโครงการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนให้กับประชาชนทั่วไป

泰国华侨崇圣大学中医孔子学院是以在东南亚地区传播东方智慧和传统文化、促进中医学术交流、为泰国和东南亚地区人民普及中国传统医药的专业知识以及促进中国语言文化的学习,从而为学习中医建立基础为目标。中医孔子学院在泰国的主要任务是组织各种汉语及中医学的相关活动,如举办中医研讨会,有利于提高泰国中医界人士的学术水平,并有利于向泰国民众推广和普及汉语及中医学知识。

ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด

ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด

พิธีเปิดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และพิธีเปิดผ้าแพรคลุมป้ายจัดขึ้น ณ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ชั้น 5 อาคารบรรณสาร โดย ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ให้เกียรติเป็นประธาน และดร.โจว เกาหยู่ เลขานุการเอก ฝ่ายการศึกษา สถานเอคอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์และเจิมป้ายสถาบัน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจ และประชาชนทั่วไป ตั้งอยู่ที่ อาคารบรรณสาร ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โทร 0-2312-6300 ต่อ 1420

2016年10月20日,华侨崇圣大学中医孔子学院于学校图书馆5楼正式揭牌成立,并在学校大礼堂举行了盛大的开幕典礼,特邀请华侨报德善堂董事长郑伟昌博士为典礼主席,并邀请中华人民共和国驻泰王国大使馆教育组一等秘书周高宇阁下出席典礼并致贺词,岱密金佛寺主持助理昭坤通猜大师莅临典礼并为中医孔子学院洒圣水、点粉赐福。
         华侨崇圣大学校长叶尧生携全体师生诚挚欢迎泰国各界人士前来位于学校图书馆5楼的中医孔子学院参观指导。
         联系电话:0-2312-6300 转 1420

สัญลักษณ์ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ติดตามกิจกรรม ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ได้ที่

เว็บของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ http://cihcu.hcu.ac.th/

และที่ FB

FB สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ https://www.facebook.com/tcihcu/

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa