คิดถึงบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระน้ำ” มักถูกเรียกขานกันว่า “สระมรกต” ณ บริเวณภายในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
สระน้ำ หรือ “สระมรกต” ถ่ายปี พ.ศ. 2552
หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับบรรยากาศเหล่านี้มาก่อน หรือหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นมาก่อนด้วยซ้ำไป มาทำความรู้จักกันเลยดีกว่า ว่าอยู่ตรงส่วนไหนกัน จากความทรงจำบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระมรกต” ก่อนได้มีการปรับพื้นที่เป็นอาคารโภชนาการ 2 บริเวณด้านข้างสนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในปัจจุบันนี้
บริเวณโดยรอบ “สระมรกต” มักเป็นจุดรวมการนัดพบ รวมตัวกันของคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา เนื่องจาก “สระมรกต” อยู่ติดกับสนามกีฬา ดังนั้น บริเวณนี้เป็นศูนย์รวมของการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เช่น เป็นจุดพบปะสังสรรค์ระหว่างกลุ่มนักศึกษา เพื่อนๆ รุ่นพี่ รุ่นน้อง และกิจกรรมที่มักจะจัดอยู่บ่อยครั้ง แต่ที่จัดเป็นประจำทุกปี คือ ประเพณีลอยกระทง จัดประกวดกระทง ประเภทต่างๆ ประกวดสาวงาม นางนพมาศ ฯลฯ โดยมีการจัดทำสะพานไม้เล็กๆ ยื่นลงไปบริเวณสระน้ำ “สระมรกต” ลงไปลอยกระทงได้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานตามประเพณี เป็นสระน้ำขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีบัวสีสันสวยงาม น้ำใส บรรยากาศร่มรื่น ลมพัดโชยอ่อน อากาศเย็นสบาย และต่อมาภายหลังได้ทำสะพานสีแดง ข้ามผ่าน และเดินไปมาได้ นักศึกษามักจะมาถ่ายภาพ ทำกิจกรรมกันเป็นจำนวนมาก ภายหลังเมื่อ “สระมรกต” ได้มีการปรับพื้นที่เป็นอาคารโภชนาการ 2 จึงย้ายไปจัดประเพณีลอยกระทง ที่สระน้ำ บริเวณภายในสวนสุขภาพ หน้าอาคารชิน โสภณพนิช แทน “สระมรกต”
นักศึกษาถ่ายภาพบนสะพาน ภาพปี พ.ศ. 2554
บริเวณรอบ “สระมรกต” ยังมีสวนไผ่ประดับ โต๊ะม้าหินสำหรับพักผ่อน ด้านทิศใต้ ติดกับทางเดิน Cover Way ส่วนด้านทิศเหนือ ตรงหัวมุมทางเดินมีห้องน้ำ ชาย-หญิง และถัดไปมีซุ้มอ่านหนังสือ มักจะมีนักศึกษาแวะเวียนมานั่งเป็นกลุ่มๆ อย่างต่อเนื่อง กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่บ้างแล้วแต่จำนวนสมาชิก เพื่อทำกิจกรรม อ่านหนังสือ ติวหนังสือ และพักผ่อนกันตามอัธยาศัย
ซุ้มอ่านหนังสือ
วันเวลาที่ผ่านไป สถานที่เหล่านั้นไม่อาจหวนคืนกลับมาดังเดิมได้ แต่ละแห่งมักมีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ความเหมาะสม และความคุ้มค่าประโยชน์การใช้สอย แต่ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านอาจยังระลึก นึกถึงและอยู่ในความทรงจำสถานที่เหล่านี้เช่นเดียวกัน ที่ยังพอจำได้ ยังไม่ได้ลืมเลือนหายไป
รายการอ้างอิง
ภาพ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา
ภาพ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
จากการบรรยายของ ศาสตราจารย์ ดร. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์ หัวหน้าคณะผู้จัดทำจรรยาวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติให้กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 ณ ห้องบรรยาย 3 อาคารอำนวยการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอสรุปส่วนหนึ่งของการบรรยาย ที่เกี่ยวกับการจัดทำผลงาน การเผยแพร่ผลงานวิจัย ขอนำมาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้อยู่ในกรอบของการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย จากเอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการ ของสำนักพัฒนาวิชาการ ดังนี้
การเผยแพร่ผลงานวิจัย
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรม Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ขึ้นเมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม 2560 เป็นเวลา 3 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
คำว่า Be My Guest หมายถึง คุณ คือ แขกของเรา แต่ในความหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ คุณ คือ คนพิเศษของศูนย์บรรณสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร คือ ผู้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศต้องให้บริการด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยบริการ พร้อมที่จะให้ข้อมูล ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้สารสนเทศที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดการอ่านและการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดอบรมการใช้ VPN และการใช้ Dropbox ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการจัดการความรู้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ โดยจัดการอบรมออกเป็น 3 รุ่น ได้แก่ วันที่ 2, 16 และ 30 มีนาคม 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับเป็นสมาชิก และเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถใช้ฐานข้อมูลจากภายนอกมหาวิทยาลัยได้โดยผ่าน VPN โดยที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการติดตั้ง VPN สรุปออกมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถอธิบายให้กับผู้ใช้บริการได้
การอบรมการใช้ VPN และ Dropbox
นอกจากนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ในเรื่อง Dropbox ที่สามารถให้บุคลากรใช้ไฟล์ร่วมกันได้ โดยมีการจัดเก็บไฟล์ไว้ใน Dropbox ทำให้บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทราบวิธีการใช้ วิธีการดึงไฟล์และการส่งไฟล์เมื่อมีการอัพเดทเกิดขึ้น
วันนี้ (20 มีนาคม 2560) ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เป็นตัวแทนมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ ซึ่งรับมอบโดย นายเกริกชัย นรสิงห์ นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ และ นายเทอดศักดิ์ วิชะยะวงศ์ เจ้าพนักงงานราชทัณฑ์ปฎิบัติการ เรือนจำกลางสมุทรปราการ สำหรับหนังสือที่มอบให้ในครั้งนี้ มีจำนวน 691 รายการ เพื่อประโยชน์ต่อการเรียน การสอน และการศึกษาค้นคว้าของเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังต่อไป และจัดเป็นกิจกรรมในทุกปีที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ
ส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ
ส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ รับมอบโดยนายเกริกชัย นรสิงห์ นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ และ นายเทอดศักดิ์ วิชะยะวงศ์ เจ้าพนักงงานราชทัณฑ์ปฎิบัติการ เรือนจำกลางสมุทรปราการ
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 สำนักหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้อำนวยการ ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล และทีมงาน พร้อมทั้งบรรณารักษ์ห้องสมุดคณะต่างๆ จำนวน 30 คน เข้าศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ในหัวข้อ การบริหารมหาวิทยาลัยแบบเศรษฐกิจพอเพียง การประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรม กิจกรรม 7 ส
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ในฐานะผู้ประสานงานการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้นำผู้บริหารและคณะผู้เยี่ยมชม เข้าพบผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ท่านอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี อาจารย์ ฉลอง แขวงอินทร์ และ อาจารย์สุวรรณี มงคลรุ่งเรือง ผู้อำนวยกองแผนและพัฒนา ร่วมให้การต้อนรับ โดยอธิการบดี ได้กล่าวสรุปในภาพรวมของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ประวัติการก่อตั้ง การบริหารมหาวิทยาลัยโดยการน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 “ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดี” การบริหารมหาวิทยาลัยด้วยคุณธรรม 6 ประการ ได้แก่ ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู พร้อมด้วยปณิธาน “เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม” เป็นแนวทาง
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ
ถ่ายภาพร่วมกันทั้งสองฝ่าย
อาคารบรรณสารได้เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 24 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ได้มีต้นไม้รอบอาคารหลากหลายมากมายซึ่งช่วยสร้างสมดุลระหว่างการดักจับจุลินทรีย์ในอากาศและการกรองฝุ่นผงที่ล่องลอยอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งมากด้วยมลพิษโดยมีต้นไม้ทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์พร้อมกับผลิตออกซิเจนรวมทั้งป้องกันแสงแดดจากภายนอกซึ่งอาคารบรรณสารมีต้นไม้ที่ปลูกโดยรอบอาคารมีอะไรบ้างแต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอะไร และจัดจำแนกอยู่ในหมวดหมู่ใด Read the rest of this entry »
R2R ย่อมาจากคำว่า Routine to Research คือ การศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานประจำทุกวัน แล้วนำปัญหานั้นมาทำเป็นงานวิจัย จากนั้นก็นำผลที่ได้จากการวิจัยย้อนกลับมาใช้กับงานประจำอีกที เพื่อแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานให้มีความเจริญขึ้น และพัฒนากำลังคนให้เกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงาน
หลักเกณฑ์ในการทำ R2R
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
โครงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำระดับต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรระดับหัวหน้า จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 และ 25-26 ตุลาคม 2559 เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างเข้มแข็ง และเพื่อให้เป็นการบริหารสถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรู้และทักษะความชำนาญด้านการบริหารจัดการสามารถปรับตัวได้ตามสภาวะแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องมีคุณธรรมจริยธรรมและทัศนคติที่ดี มีสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ เพื่อจะสามารถปฏิบัติพันธกิจให้บรรจุเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นใจ ดังนั้น ความรู้ในการเป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่ได้รับจากอบรมครั้งนี้ ในส่วนของความหมายของภาวะผู้นำ ผู้นำ ความสำคัญของการเป็นผู้นำ การมีภาวะผู้นำ ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จนั้น สามารถสรุปได้ ดังนี้
ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถในการนำจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ และได้รับการยอมรับและยกย่องจากบุคคลอื่นให้เป็นผู้นำในกลุ่ม สามารถกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมายผู้นำ Read the rest of this entry »
การทอดกฐินเป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนไทย ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๒,๕๐๐ ปี โดยการถวายผ้าพระกฐินของมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีสำคัญประจำปี ช่วงเวลาที่กำหนดระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะทำก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้ ในปีนี้อยู่ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
จากเว็บไซต์ของกรมการศาสนา ได้กล่าวถึง ประวัติการทอดกฐิน ไว้ดังนี้
กฐิน ตามอรรถกถาฎีกาต่างๆ กล่าวไว้มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. จุลกฐิน เป็นกิจกรรมสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนด วันหนึ่ง นับตั้งแต่การเก็บฝ้าย ปั่นฝ้าย กรอ ทอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันฑ์ ได้ ขนาดตามวินัย แล้วทอดถวายให้แล้วเสร็จในวันนั้น
๒. มหากฐิน เป็นการจัดหาผ้ามาเป็นองค์กฐิน พร้อมทั้งเครื่องไทยธรรม บริวารเครื่องกฐิน จำนวนมาก ไม่ต้องทำโดยรีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหาทุนในการบำรุงวัด เช่น การบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานภายในวัด
การทอดกฐินในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน
๑. พระกฐินหลวง เป็น พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น พุทธมามกะและเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ รวมทั้ง พระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ราชสกุล องคมนตรี หรือผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้เสด็จฯ แทน พระองค์นำไปถวายยังพระอารามหลวงสำคัญ ๑๖ พระอาราม ที่สงวนไว้ไม่ให้มีการขอพระราชทาน คือ Read the rest of this entry »