SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS
มี.ค. 26th, 2018 by Tossapol Silasart

เมื่อศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้นั้น จะมีบางช่วงที่ต้องยังต้องใช้ระบบ Offline คู่ขนาน หรือสำรอง เนื่องจาก

  • ระบบ Offline Circulation WMS จะใช้งานก็ต่อเมื่อ ระบบ WorldShare Circulation ปิดระบบชั่วคราว หรือระบบไม่พร้อมใช้งาน

โดยระบบ Offline Circulation WMS ได้ทำการติดตั้งโปรแกรมอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม – คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ Read the rest of this entry »

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
ธ.ค. 13th, 2017 by navapat

ภาพ 1

ระบบห้องสมุด  WorldShare  Management Services (WMS) ซึ่งพัฒนาโดย Online Computer Library Center (OCLC) เป็นระบบที่ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดประมาณ 7,200 แห่ง จาก 149 ประเทศทั่วโลก ซึ่งศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำมาใช้ในการบริหารทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ตั้งแต่การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ  การจัดเก็บด้วยการลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ การสืบค้นผ่านระบบการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก  และด้วยความที่เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เปิดให้บริการแก่ห้องสมุดที่เป็นสมาชิกขอใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ ผ่านบริการ WorldShareILL หรือ WorldShare Interlibrary Loan เพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับอาจารย์ นักศึกษาและบุคลากร ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอน การศึกษา การทำวิจัย และการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ซึ่งมีขั้นตอนในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศและแจ้งการขอใช้บริการ ดังนี้

วิธีการเข้าใช้ระบบการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare ILL)

1. สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ https://hcu.on.worldcat.org/discovery

หน้าจอการสืบค้น

หน้าจอการสืบค้น

2.  พิมพ์คำค้นที่กล่องคำค้น กด enter หรือคลิก  ภาพ 3

ตัวอย่าง พิมพ์คำค้น “ค้ามนุษย์”  ผลการสืบค้น พบว่ามีหนังสือตามคำค้น จำนวน 3 รายการ ดังนี้

 

ผลการสืบค้น

ผลการสืบค้น

3. พิจารณารายการหนังสือที่ต้องการใช้ เช่น  ต้องการอ่านหนังสือรายการที่ 1 ให้คลิกที่ชื่อหนังสือ จะเห็นว่าเป็นรายการหนังสือของห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ILL-3

คลิกเลือกรายการที่ 1

4. ขอใช้บริการโดยการส่งคำขอ (Request)  มายังศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อดำเนินการยืมระหว่างห้องสมุด  โดยคลิกที่  Request Item through InterLibrary Loan หน้าจอจะปรากฏแบบฟอร์ม ให้กรอกข้อมูลในกล่องที่มีเครื่องหมาย  *  ให้ครบ ได้แก่

1.   ประเภทของเอกสารที่ต้องการ (Service Type)
2.   เวลาที่ต้องการรับเอกสาร
3.   ชื่อ นามสกุล อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้
4.   กด Submit

หน้าจอการกรอกแบบฟอร์มเพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด

หน้าจอการกรอกแบบฟอร์มเพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด

 

หลังกด Submit แล้ว Request นี้ จะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อดำเนินการต่อไป

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกบริการสารสนเทศ หมายเลขโทรศัพท์ภายใน  1472, 1473

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
พ.ย. 5th, 2017 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services หรือ WMS มาใช้ และเริ่มใช้ระบบยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560

การให้บริการยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เหมือนกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วๆ ไป ที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการยืม และคืนให้ในระบบ เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังมิได้นำเครื่องยืม คืน ด้วยตนเองมาใช้ เมื่อมีการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศแล้ว โอกาสที่จะเกิดขึ้นก็คือ ผู้ใช้อาจจะใช้ทรัพยากรสารสนเทศนั้น ไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่ให้ยืม ตามสิทธิ์  กรณีนี้ ผู้ใช้สามารถมาต่ออายุการยืม ด้วยตนเองที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือผู้ใช้สามารถต่ออายุการยืม ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ ห้องสมุดหรือศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่  lib.hcu.ac.th จะเห็นรูปหน้าจอการค้น คือ WorldCat Discovery (WCD) หรือ OPAC ที่เราคุ้นเค้ย

Capture1
2. คลิกที่ลูกศร จากไอคอน Read the rest of this entry »

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ต.ค. 29th, 2017 by supaporn

ตอนนี้ ขอเปลี่ยนชื่อ จากทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS มาเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องในแต่ละกระบวนการ นะคะ เพราะเลยช่วงการตัดสินใจเลือกมาแล้ว

บทความนี้ เป็นเรื่องของการทำสัญญา (Agreement) ห้องสมุดจะคุ้นเคยกับการอ่าน agreement เหล่านี้ เป็นอย่างดี จากการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นเรื่องของการมีสิทธิ์ ไม่มีสิทธิ์ ในการทำอะไรกับฐานข้อมูล การหมดอายุการบอกรับ เป็นต้น สัญญาของการซื้อระบบ WMS ก็เช่นเดียวกัน โดยรวมจะคล้ายอยู่บ้าง แต่ก็จะมีส่วนที่นอกเหนือจากสัญญาของฐานข้อมูลออนไลน์ อยู่มากหลายข้อ

ในเรื่องของสัญญา โดยส่วนตัวผู้เขียน มักจะเสนอหรือกล่าวกับห้องสมุดหลายๆ แห่งว่า ในส่วนของการทำสัญญานั้น ควรจะมีนักกฎหมายเข้ามาช่วยพิจารณาด้วย เพราะในสัญญา จะมีข้อความที่เป็นในเรื่องทางกฎหมาย บรรณารักษ์อย่างพวกเรา อ่านแล้วอาจจะไม่เข้าใจ หรือพอจะเข้าใจบ้างตามการแปล แต่ในบริบทของตัวบทกฎหมายนั้น เราอาจจะไม่ทราบถึงเหตุและผลที่จะตามก็ได้ค่ะ

ดังนั้น การจะลงนามในสัญญา ทางมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการในลักษณะนี้ ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. งานกฎหมายและผลประโยชน์ ของมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่พิจารณาโดยรวมของสัญญา
  2. กองพัสดุ ทำหน้าที่พิจารณาสัญญา ในส่วนหน้าที่ของการจัดซื้อ จัดจ้าง (มีการแปลสัญญาโดยคณะศิลปศาสตร์ เพื่อช่วยให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง)
  3. ศูนย์บรรณสารสนเทศ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ต้องใช้ระบบ จำเป็นต้องศึกษาสัญญาอย่างละเอียด สอบถามกลับไปทางบริษัท AMS และ OCLC ถ้ามีข้อสงสัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจก่อน ไม่ควรปล่อยผ่านค่ะ เพราะเป็นผลประโยชน์ของเราเอง มีหลายประเด็นที่ต้องสอบถามบุคคลจากหลายกลุ่ม เช่น ทางไอที เนื่องจาก มีการระบุถึงระบบล่ม จะสามาถกู้คืนระบบมาได้ภายใน … และกู้คืนได้ 99.98 % เป็นต้น เราก็ควรจะฉุกใจคิดว่า ทำไม่ไม่สามารถกู้คืนมาได้ 100% ก็ต้องมีการปรึกษาผู้รู้ จนเข้าใจ ดั่งนี้ เป็นต้น การนำข้อมูลของห้องสมุดคืนกลับมาหรือออกมา เมื่อเกิดกรณีเลิกใช้ระบบ เหล่านี้ จะถูกระบุอยู่ในสัญญาทั้งสิ้น

โดยสรุปก่อนจะเสนอผู้บริหารระดับสูง ลงนาม (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละแห่ง) ผู้เขียน ต้องสรุปโดยรวม ว่ามีประเด็นหรือไม่มีประเด็นใด ที่ต้องพิจาณาเป็นพิเศษ เพื่อเป็นข้อมูลในเบื้องต้นให้ผู้บริหารระดับสูง รับทราบและพิจารณาก่อนลงนาม

กระบวนการนี้ ใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากต้องศึกษากันอย่างละเอียด นิติกร ก็จะเสนอประเด็นมาทางห้องสมุด ให้ประสานทำความเข้าใจ กับข้อความที่สัญญาระบุ กับทาง OCLC ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ ก็จะมีประเด็นในการสอบถาม เช่นกัน และจะมีการระบุการชำระเงินด้วย สามารถเจรจาแบ่งจ่ายเงินเป็นงวดๆ ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ต.ค. 29th, 2017 by supaporn

อนาคตเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่วันพรุ่งนี้

อนาคตเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่วันพรุ่งนี้

มาถึงตอน ต่อรองราคา นับเป็นโชคดีของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ท่านอธิการบดี คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติดี (ท่านเป็นผู้นำเอาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ คือ INNOPAC เข้ามาใช้เป็นแห่งแรกที่สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซึ่งปัจจุบันคือ สำนักวิทยทรัพยากร) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ) เมื่อท่านพิจารณาจากข้อมูลที่นำเสนอ และตัดสินใจเลือกระบบ WMS เป็นระบบที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าเหมาะสมที่สุด ท่านจึงเข้ามาเจรจาเรื่องราคาให้ด้วย

ในเรื่องการเจรจา ทางมหาวิทยาลัยใช้เวลาในการเจรจาเรื่องราคา 2 คร้้งหลักๆ ครั้งแรกเป็นราคาที่บริษัท AMS เสนอมาตามที่ OCLC แจ้งมา ได้มีการเรียนปรึกษาท่านอธิการบดี โดยได้รับคำแนะนำในการปรับราคา ไปทาง OCLC ซึ่งแน่นอนว่า ราคาที่เสนอไปนั้นลดลงจากเดิม จึงยังไม่ลงตัวกันทั้งสองฝ่าย การตกลงเรื่องราคา จึงทิ้งระยะเวลามาช่วงหนึ่ง การเจรจาครั้งที่ 2 นับว่า เป็นความโชคดี เช่นกัน ที่ตัวแทนของ OCLC ในแถบเอเชีย – แปซิฟิก เดินทางมาประเทศไทย ได้เข้ามาเจรจาโดยตรงแบบเผชิญหน้า ซึ่งน่าจะเป็นการส่งผลดี แต่ทั้งนี้ สิ่งที่ควรจะได้ดำเนินการ ก็คือ Read the rest of this entry »

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ต.ค. 28th, 2017 by supaporn

เมื่อผู้บริหาร ตัดสินใจเลือก ระบบ WMS เพราะพิจารณาคุณลักษณะหลายๆ อย่างแล้ว รวมทั้งราคา สิ่งที่ควรจะทำเป็นขั้นตอนต่อไป ก็คือ ราคาที่จะซื้อนั้น จะลดลงจากเดิมได้หรือไม่ เหมือนกับการซื้อขายสินค้าทั่วๆ ไป เพราะคนซื้อก็อยากได้ของดี ราคาถูก แต่เป็นสัจธรรม คุณภาพตามราคา

คุณลักษณะ คุณสมบัติตรงกับที่ต้องการ (หรือมากกว่าที่คาดหวังไว้) ประโยชน์ในการใช้งาน (คุ้มแน่) มีข้อได้เปรียบมากกว่าเสียเปรียบ หรือมีข้อด้อยที่ยอมรับได้ หรือ น้อย หรือ ไม่มี แต่ทุกอย่างไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ หรือ Nothing is perfect คงต้องมีบางอย่างที่อาจจะพบที่อาจจะไม่ได้ดังใจของเราทุกอย่าง แต่ที่เห็นว่า ระบบ WMS เป็นระบบที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ Read the rest of this entry »

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ต.ค. 7th, 2017 by supaporn

บทความตอนที่แล้ว ได้เขียนนำความถึงแนวทางในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ของ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ผู้พิจารณาเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาในประเทศไทย ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลายเป็นผู้บุกเบิกและมีผู้เห็นด้วยในการเลือกซื้อระบบเดียวกันนี้ อีกหลายแห่ง แนวทางนี้ไม่ล้าสมัยเลย ผู้เขียนได้ยึดแนวทางนี้มาเป็นตัวตั้งต้น เช่นเดียวกัน

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

บวกกับต้องพิจารณาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาอีก 24 ปี นับจากปี พ.ศ. 2536 เพราะมีเทคโนโลยีที่ก้าวผ่านเข้ามาเกี่ยวข้องกับห้องสมุดเป็นอย่างมาก เช่น Web 2.0, Mobile Technology และ Cloud Computing เป็นจุดเปลี่ยนจากเดิมที่ห้องสมุด ทำหน้าที่เป็น pull model คือ acquire / store / lend / find กลายเป็น push model คือ acquire / store / broadcast / converse และยิ่งมาถึงยุค mobile technology ด้วยแล้ว การเข้าถึงสารสนเทศเข้าได้ง่าย เหมือนกับมีถนนทางเข้า มีถนนให้รถวิ่ง แต่รถวิ่งเข้ามาแล้ว พบอะไร ในห้องสมุดหรือไม่ เมื่อ Cloud technology เริ่มเข้ามามีบทบาทในการให้บริการมากขึ้น ก็ยิ่งเป็นประเด็นที่ทำให้เริ่มจับตามองบริการผ่าน cloud มากขึ้น Read the rest of this entry »

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Service – WMS ตอนที่ 1
ต.ค. 6th, 2017 by supaporn

เมื่อครั้งเริ่มเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูงในการพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ เพื่อมาทดแทนระบบเดิม ซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม และมีการหยุดชะงักของระบบเป็นหลายช่วง และผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ คนก่อนได้ศึกษาไปบ้างแล้ว แต่ข้อมูลหลายอย่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะตัดสินใจ จึงได้มีการมอบหมายให้ศึกษาใหม่อีกครั้ง

การพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ จึงเริ่มต้นด้วยการศึกษาวรรณกรรมที่กล่าวถึงพัฒนาการหรือเทคโนโลยีที่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ควรจะเป็นแบบใด และนำมารวมกับประสบการณ์ที่เคยทำงานเป็นบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศมานานถึง 18 ปี และคุ้นเคยกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรกที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทย ประสบการณ์ในการเริ่มต้นตั้งแต่การรับทราบปัจจัยในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติของผู้บริหาร เมื่อครั้งที่ทำงานอยู่ที่สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำได้ว่า ผู้อำนวยการในขณะนั้น คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ (และเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในขณะนี้) ได้เริ่มต้นศึกษา และมีการไปศึกษาดูงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติในหลายประเทศ พร้อมกับให้บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางไปห้องสมุดต่างประเทศ เพื่อศึกษาการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ สรุปสุดท้าย เมื่อพิจารณาระบบที่มีความเหมาะสมในขณะนั้นแล้ว การเป็นผู้บุกเบิกระบบใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ หรือสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในห้องสมุด ล้วนต้องประสบกับการไม่รู้ เพราะไม่มีใครในประเทศไทยรู้เรื่องเหล่านี้ มาก่อน บรรณารักษ์รุ่นเด็กอย่างผู้เขียน ยังไม่หนักมากเท่าบรรณารักษ์รุ่นพี่ ที่ต้องพยายามผลักดันให้เกิดระบบและใช้งานจนได้ Read the rest of this entry »

เสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
มี.ค. 2nd, 2017 by supaporn

วันที่ 1 มีนาคม 2560 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับบริษัท Advanced Media Services (AMS) จัดเสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยมีอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ  ให้แนวคิดการคัดเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Andrew H. Wang, Vice President OCLC Asia Pacific และ Ms. Shu-En Tsai, Executive Director OCLC Asia Pacific มาบรรยายแบ่งปันประสบการณ์การ Implement ระบบห้องสมุด WMS ให้กับประเทศฟิลิปปินส์ รวมทั้ง อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บรรยายในเรื่อง Trends in Integrated Library System : A User’s Perspective

เสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

เสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ติดตามภาพประกอบและเอกสารการประกอบสัมมนา

การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC
ก.พ. 7th, 2017 by wanna

ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรภาษาจีน ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์ ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และ ก่อนหน้านั้นได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาหลายแห่งของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ ของ สำนักหอสมุด แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่ง ในระยะแรก ๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน โดย ใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และ เขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนเช่น คำว่า ภาษาจีน (汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ สำนักหอสมุด และ รับผิดชอบงานการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดย รวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่า การลงรายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yu โดยเขียนแยกกัน และ ใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักของการเชียนภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และ ชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และ เขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน (中国)จะสะกดและเขียนเป็น Zhongguo ปักกิ่ง (北京)สะกดและเขียนเป็น Beijing เป็นต้น หลังจากผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC Romanization แล้ว จึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ดังนี้  การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa