เดิมศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีกระบวนส่งหนังสือซ่อมจากแผนกบริการสารสนเทศ โดยการลงบันทึกลงในกระดาษ และส่งตัวเล่มที่มีความชำรุดมายังงานซ่อมทรัพยากรสารสนเทศ แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อดำเนินการซ่อมเสร็จแล้ว มีการส่งกลับมายังแผนกบริการฯ พร้อมเปลี่ยนสถานภาพของหนังสือเพื่อให้บริการต่อไป แม้ว่าจะเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนไม่มากก็ตาม แต่เกิดปัญหา มีหนังสือค้างการซ่อมเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการวิเคราะห์เพื่อหาทางแก้ไข
Pain Point: หนังสือที่ส่งมาซ่อม ค้างอยู่ที่ห้องซ่อมจำนวนมาก
การวิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนวทางการแก้ปัญหา
การปรับกระบวนการใหม่นี้ จะเริ่มในเดือนตุลาคม 2564 โดยจะให้มีการดำเนินการแล้วจึงมีการติดตามผลการดำเนินงาน และนำผลการดำเนินงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงต่อไป เพื่อให้มีกระบวนการที่ดียิ่งขึ้นต่อไป
ขงจื่อหรือขงจื๊อ (ตามที่คนไทยเรียก) ที่คนจีนให้ความเคารพนับถือในคำสั่งสอนของท่าน แม้เวลาจะผ่านไปนับพันปีแล้วก็ตาม ขงจื๊อมีชาติกำเนิดเป็นถึงเชื้อสายของผู้ครองแคว้นในสมัยจีนโบราณ ว่ากันว่า ท่านมีรูปร่างสูงใหญ่ถึงสองเมตร เป็นชายที่ขี่ม้าเก่งและยิงธนูเป็นเลิศเหมือนพ่อของท่านที่เป็นนักรบ ทว่าเมื่อบิดาของขงจื๊อเสียชีวิตลงเมื่อตอนที่ท่านอายุ 3 ขวบ แม่ของท่านที่เป็นภรรยาคนที่ 3 ของพ่อ ทนถูกเมียหลวงกดขี่ข่มเหงไม่ไหวจึงพาขงจื๊อออกมาจากบ้านและทำงานเลี้ยงดูลูกชายด้วยตัวเองจนเติบใหญ่ ขงจื๊อได้รับการอบรมสั่งสอนจากแม่ให้รู้จักอ่านเขียนหนังสือจนแตกฉาน รวมไปถึงกริยามารยาทและความรู้ต่างๆ จนอายุ 17 ปี แม่ของท่านได้ป่วยตายจากไป เวลานั้นขงจื๊อได้เข้ารับราชการเป็นขุนนางเล็กๆ แล้วค่อยๆ ไต่เต้าขึ้นไปมีบทบาทสำคัญทางการเมืองจนเมื่ออายุได้ 30 ปี ท่านจึงตั้งโรงเรียนเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่เด็กรุ่นหลัง โดยไม่แบ่งชนชั้นว่ารวยหรือจน และโรงเรียนของท่าน ไม่มีการสอนแบบท่องจำ แต่เน้นที่ความเข้าใจซึ่งท่านจะปรับวิธีการสอนให้เข้ากับนักเรียนแต่ละคน จนขงจื๊ออายุได้ 51 ปี บ้านเมืองกำลังขาดคนช่วยบริหาร ราชสำนักจึงมาเชื้อเชิญท่านให้ไปทำงานรับราชการอีกครั้ง ซึ่งขงจื๊อก็ได้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาจนเสร็จสิ้นแล้วก็ออกมาเป็นครูเหมือนเก่า ซ้ำยังออกเดินทางไปเปิดโรงเรียนเพิ่มเติมในที่ต่างๆ เพื่อกระจายความรู้ออกไปให้ทั่วถึง เรียกได้ว่าท่านเป็นสุดยอดครูแดนมังกรเลยทีเดียว
หากผู้ที่สนใจอยากรู้ประวัติและผลงานของท่านเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จากรายชื่อหนังสือต่อไปนี้ (บางส่วน) ขงจื่อ : จอมปราชญ์แห่งแผ่นดิน : call number B128 ช618ข 2553 ขงจื่อ มหาปราชญ์แห่งแผ่นดิน : ชีวประวัติและคำสอนบัณฑิต 60 ข้อ : call number B128.C8 ข119 2556 ขงจื่อ : ผู้พลิกพื้นโลกโบราณ : call number B127.C65 ย229ข 2532 ผลึกภูมิปัญญา พุทธ เต๋า ขงจื่อ : ปรัชญาการดำเนินชีวิต : call number B123 ว571ผ 2543 ขงจื้อ : ประวัติจากภาพจารึกอายุ 600 ปี : call number B127.C65 ข119 2538 孔子 : call number B128.C8 J61K 1965 孔子的故事 : call number B128.C8 B221K 1997 孔子画传 = Confucius : call number B128.C8 G821K 2014 v.1 孔子外传 : call number B128.C8 G364K 1993 孔子答客问 : call number B128.C8 W246K 1997
ที่มาภาพ : http://ren.bytravel.cn/history/kongzi.html
เมื่อสมาชิกยืมหนังสือออกจากห้องสมุดแล้วเกิดการสูญหาย แล้วมาติดต่อขอแจ้งหายกับเจ้าหน้าที่/บรรณารักษ์ ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 นั้น จะต้องชำระค่าดำเนินการแจ้งหาย และค่าปรับเกินกำหนด (ถ้ามีค่าปรับเกินหนด) ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ได้มีฟังก์ชั่น Create Bill เพื่อ Create ค่าปรับเข้าไปในระบบ โดยผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องเขียนใบเสร็จรับเงิน สามารถเคลียร์ค่าปรับในระบบ และส่งบิลการชำระค่าปรับให้กับสมาชิกผ่านช่องทาง E-mail ของสมาชิกได้โดยสะดวก ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. Scan Barcode หรือพิมพ์รหัสสมาชิก ช่อง Enter Barcode
Read the rest of this entry »
พิธีเปิดหอจดหมายเหตุ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ได้ประกอบพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉิลมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 3 หลังจากที่ท่านได้เริ่มโครงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งเป็นปีแรกของการดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ให้ความสำคัญกับงานจดหมายเหตุเป็นอย่างมากทั้งในตอนดำรงตำแหน่งและสิ้นสุดวาระตำแหน่งอธิการบดี ท่านได้มอบเอกสารหลักฐานการบริหารงานในช่วงระยะเวลา 4 ปี ประกอบด้วย เอกสารการประชุม นโยบายและแผน รายงาน โครงการอันเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานของทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่มหาวิทยาลัยจัดทำหรือได้รับเพื่อการพัฒนาทางวิชาการหรือเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ และอีกส่วนหนึ่งเป็นแฟ้มประวัติและผลงานส่วนตัวสมัยดำรงตำแหน่งรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย และปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2535-2539 ให้กับหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ Read the rest of this entry »
ก่อนอื่นมาทำการรู้จัก แคช (Cache) ก่อนว่าคืออะไร แคช คือหน่วยความจำเล็กๆ ในคอมพิวเตอร์ของเราที่เก็บข้อมูลการท่องเว็บของเรา ที่เข้าบ่อยๆเอาไว้ เพื่อให้เข้าเว็บไซด์ที่เข้าบ่อยๆ ได้รวดเร็วขึ้นนั้นเอง
แล้วทำไมต้อง เคลียร์แคช (Clear Cache)
เนื่องจาก แคช จะทำการเก็บข้อมูลเดิมที่เคยบันทึกไว้ในการเข้าเว็บไซด์ครั้งก่อนๆ และหากข้อมูลในเว็บไซด์เดิม ที่เราเคยทำการเก็บค่าไว้มีการอัพเดทใหม่ ทำให้เมื่อเราต้องการเรียกค่าเว็บไซต์นั้นอีก ก็จะทำให้การแสดงผลคลาดเคลื่อน แสดงผลไม่ได้ Error นั้นเอง
แนะนำการเคลียร์แคชใน Chrome เพราะส่วนใหญ่นิยมใช้ Browser นี้กันค่ะ
ขั้นตอนการเคลียร์แคชใน Chrome มี 6 ขั้นตอนง่ายๆ
1.เปิด Chrome ในคอมพิวเตอร์
2.คลิกสัญลักษณ์ จุดสามจุด ที่ด้านขวาบน แล้วคลิกเพิ่มเติม
ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศก็เป็นเรื่องง่าย แค่มี สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ผ่านอินเตอร์เน็ต ก็สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลาแล้ว ผู้ใช้บริการจึงไม่จำเป็นต้องเข้าห้องสมุดเพื่อมาค้นหาข้อมูล จำนวนผู้เข้าใช้บริการห้องสมุดก็ลดน้อยลง ฉะนั้นห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตในยุคปัจจุบัน ด้วยการเพิ่มพื้นที่นั่ง พื้นที่ทำกิจกรรม ให้มากขึ้น และศูนย์บรรณสารสนเทศก็ได้จัดสรรพื้นที่ Learning Space และ Co-Working Space ให้กับผู้ใช้บริการได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ Read the rest of this entry »
ในแต่ละปีการศึกษาแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับหนังสือบริจาคเข้ามาเป็นจำนวนมาก บางส่วนบรรณารักษ์งานจัดหาฯ ที่ดูแลรับผิดชอบได้พิจารณาคัดเลือกเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ ตามที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเนื้อหาอื่นๆ ที่พิจารณาแล้วมีประโยชน์และเสริมการเรียนรู้ กรณีที่ได้รับหนังสือบริจาคที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้อง จะพิจารณาบริจาคต่อให้กับกรมการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. โรงเรียนต่างๆ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่ติดต่อขอบริจาคเข้ามา รวมทั้งสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมบริการชุมชน ของแผนกบริการสารสนเทศ กรณีที่มีเนื้อหาที่สอดคล้อง แต่ได้รับจำนวนมากเกินไปในการนำขึ้นชั้นให้บริการ จะพิจารณาเก็บไว้เป็น Stock เพื่อประโยชน์ในการทดแทนหนังสือที่เคยมีอยู่ หากมีการสูญหาย หรือชำรุดจนไม่สามารถจะซ่อมได้ และไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ซึ่งจะได้ช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อเข้ามาใหม่
ในการบริหารจัดการหนังสือ Stock นี้ เมื่อตรวจสอบกับระบบห้องสมุดแล้ว และพิจารณาว่าควรจะเก็บจะบันทึกไว้ใน Google docs โดยมีรายละเอียด ประกอบด้วย ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง/ผุ้รับผิดชอบ ครั้งที่พิมพ์/ปีที่พิมพ์ จำนวนฉบับ เลขISBN, OCLC Number, ภาษาที่ตีพิมพ์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ลำดับและเลขตู้หนังสือ
การที่มีข้อมูลเลขตู้หนังสือ เพื่อจะได้ทราบว่า หนังสือเล่มที่จัดเก็บนั้น อยู่ที่ตู้ไหน ลำดับที่เท่าไรของตู้ เพื่อสะดวกในการหยิบหนังสือเล่มนั้นๆ กรณีที่ต้องการนำหนังสือเล่มนั้นนำเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ ต่อไป โดยที่ตัวเล่มจะใส่ slip และระบุลำดับที่เอาไว้ ซึ่งตู้เก็บหนังสือเหล่านี้จะจัดเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ
การที่ใช้โปรแกรม Google docs เพื่อจะได้สามารถใช้งานร่วมกันได้หลายๆ คน เช่น ผู้อำนวยการ หรือ หัวหน้าแผนกฯ ในการเข้ามาดูรายชื่อหนังสือ และเพื่อสามารถบริหารจัดการหรือวางนโยบายต่อไปได้
การดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติ กับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีน ตั้งแต่ฉบับปี 2464 เป็นต้นมา และปัจจุบัน ดิจิไทซ์จนถึง ปี พ.ศ. 2530 และมีการให้บริการฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ผู้สนใจ นักวิจัยต้องการใช้ฐานข้อมูลฯ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ข้อมูลเกี่ยวกับความร่วมมือดังกล่าว และฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน มีการเขียนไว้ในหลายๆ บทความ ใน KM Blog ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แก่
1. ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ 2. สื่อดิจิทัล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ 3. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน 4. 中文报纸数据库 (ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน) 5. ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเอกสารไฟล์ดิจิทัลหนังสือพิมพ์จีน 6. หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
ผู้เขียนมีหน้าที่ในการดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีน หลังการที่ทำการถ่ายภาพสำเนาหนังสือพิมพ์จีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือการตกแต่งไฟล์รูปภาพให้สวยงาม โดยการตกแต่งไฟล์จะใช้โปรแกรม Advtiffeditor โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ Read the rest of this entry »
การจัดกิจกรรมบริการชุมชนในแต่ละครั้งที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ออกแบบป้ายกิจกรรมการจัดงาน เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรได้มาร่วมกิจกรรมกับทางห้องสมุด ซึ่งผู้เขียนจะใช้แอป PicsArt เป็นหลักในการออกแบบผ่านหน้าจอมือถือ
ตัวอย่างป้ายกิจกรรมที่ใช้แอปพลิเคชั่น PicsArt ในการออกแบบ
ในการซ่อมหนังสือ จะมีกรณีที่ต้องฉีกปกเดิมออก เนื่องจากมีการชำรุด หรือเสียหายมาก จนต้องพิจารณาดึงหน้าปกหนังสือเดิม ออก เมื่อมีการซ่อมโดยทำหน้าปกใหม่ ถ้าภาพของหน้าปกเดิมยังมีสภาพดี ผู้มีหน้าที่ซ่อม ก็จะนำภาพหน้าปกเดิมมาติดไว้ตามเดิม กรณีที่หน้าปกเดิมมีความชำรุด เสียหาย ไม่สามารถนำมาติดไว้ตามเดิมหลังจากซ่อมได้ การที่จะให้ผู้ใช้ทราบว่า หนังสือเล่มที่หน้าปกนี้หายไป มีชื่อเรื่องว่าอะไร ผู้ซ่อมจะใช้ปากกาไฟฟ้า เขียนไว้ที่หน้าปกบนผ้าแรกซีนหุ้มปก
วิธีการทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
อุปกรณ์
1.ปากกาไฟฟ้า. 2.เทปสำหรับเขียนสัน