SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
มาฆบูชา วันสำคัญทางพุทธศาสนา
กุมภาพันธ์ 17th, 2016 by uthairath

1940

วันมาฆบูชาใกล้เข้ามาแล้ว  ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมจิตทำบุญและเวียนเทียน  ขอนำประวัติสั้นๆ วันสำคัญของชาวไทยพุทธอีกหนึ่งวัน ที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน จนถือเป็นประเพณีและวัฒนาธรรมจนถึงปัจจุบัน และเพื่อเป็นการปลูกฝังให้แก่ลูกหลาน ได้รับรู้และเข้าใจในศาสนาพุทธรวมทั้งหลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป

วันมาฆบูชา หรือ จาตุรงคสันนิบาต วันอัศจรรย์  วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์

การถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย
พิธีวันมาฆบูชานี้ เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมี พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการ ประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบ การสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสการประกอบพิธีมาฆบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อน

1987

หลักปฏิบัติของชาวพุทธ

ในวันมาฆบูชา ตอนเช้าพุทศาสนิกชนจะไปทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ที่วัด ตอนค่ำจะมีการนำดอกไม้ธูปเทียนไปเวียนเทียนที่วัด ในการเดินเวียนเทียนจะกระทำ 3 รอบ โดย “เวียนแบบทักขิณาวัฏ” คือการเวียนไปทางขวา

ในรอบที่ 1 ให้รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาคาถา บทอิติปิโส ภควาฯ ไปจนจบ เพื่อให้จิตมีสมาธิ
ในรอบที่ 2 ให้รำลึกถึงคุณพระธรรม โดยภาวนาคาถา บทสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมฯ ไปจนจบ
ในรอบที่ 3 ให้รำลึกถึงคุณพระสงฆ์ โดยภาวนาคาถา บทสุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ

รายการอ้างอิง

มาฆบูชา ตำนานวันสำคัญเมื่อครั้งพุทธกาล.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559. จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/35193

บทความที่เกี่ยวข้อง


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa