SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความในใจในการวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหนังสือชุด “รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》
ต.ค. 22nd, 2020 by wanna

ความในใจในการวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหนังสือชุด รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน《星云大师全集

หนังสือชุด “รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》ทั้งชุดมีทั้งหมด 365 เล่ม มีมากกว่า 30,000,000 ตัวอักษร มีสารบัญ 50,000 เรื่อง แบ่งเป็น 12 หมวด ใหญ่ ๆ ได้แก่

  • พระคัมภีร์ (經义) (24 เล่ม)
  • ข้อคิดต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาในโลกมนุษย์ (人间佛教论丛) (17 เล่ม)
  • ตำราเรียน(教科书) (62 เล่ม)
  • รวมคำปาฐกถา (讲演集) (31 เล่ม)
  • รวมวรรณกรรม (文丛) (71 เล่ม)
  • บันทึกชีวประวัติ (传记) (34 เล่ม)
  • จดหมาย(书信) (12 เล่ม)
  • บันทึกประจำวัน(日记) (32 เล่ม)
  • หนังสือชุดฝอกวงซาน (佛光山系列) (13 เล่ม)
  • ภาพบันทึกกิจกรรมของฝอกวงซาน (佛光山行事图影) (10 เล่ม)
  • การประดิษฐ์อักษร (书法) (30 เล่ม)
  • ภาคผนวก (附录) (29 เล่ม 2 เล่มสุดท้าย คือ รวมสารบัญ และ รวมดรรชนี)

Read the rest of this entry »

การจัดการชั้นหนังสือ (Shelf Management)
ต.ค. 17th, 2020 by supaporn

ห้องสมุดทำหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (ซึ่งก็เป็นหนังสือที่มีสัดส่วนมากกว่าสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ) จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ ระเบียบ และมีเครื่องมือสืบค้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดให้บริการ เริ่มเปลี่ยนเป็นดิจิทัลมากขึ้น ความสนใจในการอ่านตัวเล่มหนังสือเริ่มลดน้อยลง บทบาทของห้องสมุดในแง่ของการเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อการอ่านหนังสือลดลง ห้องสมุดต้องปรับการจัดหาหนังสือเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ปรับบทบาทการให้บริการผ่านออนไลน์มากกว่าเดิม ปรับบทบาทจากการใช้พื้นที่เพื่อการนั่งอ่านหนังสือ  และในยุคการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 ห้องสมุดต้องปรับพื้นที่นั่งอ่าน ให้เป็นพื้นที่ที่รองรับการใช้งานของผู้เรียนในยุคนี้มากขึ้น  เพราะการเรียนการสอนต้องพัฒนาทักษะของนักศึกษา คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) คือ 4 ทักษะที่จำเป็น หรือ 4Csได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น มีวิจารณญาณ (Critical Thinking and Problem Solving) คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้ การสื่อสาร (Communication) สื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสม และ การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)

การปรับพื้นที่ในห้องสมุด ในขณะที่ยังมีหนังสืออยู่เต็มชั้นหนังสือ ห้องสมุดแต่ละแห่งคงจะมีนโยบายในการจัดการตามบริบทของตนเอง เช่น บางแห่งมีพื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือแยกต่างหากจากชั้นหนังสือที่ให้บริการทั่วไป เป็นอาคารหรือสถานที่ ที่สามารถใช้เป็นคลังเก็บหนังสือ บางแห่งอาจจะไม่มีพื้นที่จัดเก็บเลย เพราะไม่มีอาคารที่นอกเหนือจากอาคารที่ให้บริการ แต่ไม่ว่าจะเข้าข่ายลักษณะใดก็ตาม การจะดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือที่ให้บริการ ห้องสมุดแต่ละแห่งต้องวางนโยบายในการดึงหนังสือออก

ปัจจัยใดบ้างที่ต้องนำมาพิจารณาในการดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือ Read the rest of this entry »

การจัดเรียง Item ในส่วนของ LHRs
ต.ค. 12th, 2020 by ladda

การจัดเรียง Item ในส่วนของ LHRs ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ด้วยการปรับแต่ละ Item ที่สลับ ฉบับ (ฉ.), สลับเล่ม (ล.) หรือปี พ.ศ. อยู่ ให้เรียงตามลำดับตำแหน่งให้ถูกต้องตามความต้องการ ด้วยการใส่ ตัวเลขตามลำดับที่ต้องการให้เรียงใน Item ลำดับไหน โดยใส่ในส่วนของ Copy Number ดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง รายการ Item ที่ยังไม่เรียงตามปี พ.ศ.

Read the rest of this entry »

Renew no limit ยืมต่อไม่รอแล้วนะ!!
ต.ค. 6th, 2020 by ปัญญา วงศ์จันทร์

 

ศูนย์บรรณสารสนเทศได้จัดทำบริการเชิงรุกให้กับผู้ใช้บริการโดยสามารถยืมหนังสือได้ไม่จำกัดระยะเวลาการยืม โดยการเข้าไป Renew หรือยืมหนังสือต่อด้วยตนเองง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุด www.lib.hcu.ac.th หรือ เข้าสู่ระบบสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ https://hcu.on.worldcat.org/  เพื่อขยายเวลาการยืมออกไปได้ตามสถานะของสมาชิก (เดิมยืมต่อด้วยตนเองผ่านเว็บได้สุงสุด 2 ครั้ง) จนกว่าจะมีผู้ต้องการใช้หนังสือและทำการจองหนังสือเล่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถอ่านหนังสือที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยลดเรื่องค่าปรับหากยังใช้หนังสือไม่เสร็จเมื่อถึงกำหนดคืนและไม่มีเวลามาคืนหนังสือที่ห้องสมุด

ขั้นตอนการยืมต่อด้วยตนเองง่าย ๆ มี ดังนี้

ขั้นตอนยืมต่อด้วยตนเอง

การตรวจสอบการยืม การยืมต่อ การจองและรายการค้างค่าปรับด้วยตนเอง
ส.ค. 22nd, 2020 by ปัญญา วงศ์จันทร์

ผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารสนเทศ สามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้ระบบห้องสมุด เช่น การยืม การยืมต่อ การจองและรายการค้างค่าปรับด้วยตนเอง  ผ่านเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ www.lib.hcu.ac.th หรือ เข้าสู่ระบบสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ https://hcu.on.worldcat.org/  เพื่อตรวจสอบรายการยืมหนังสือ วันกำหนดส่ง ข้อมูลส่วนตัว และต่ออายุการยืมหนังสือ (ยืมต่อด้วยตนเองผ่านเว็บได้สูงสุด 2 ครั้ง)

ผู้ใช้บริการสามารถใช้ช่องทางนี้ในการตรวจสอบพันธะทางห้องสมุดได้ด้วย ในกรณี ที่นักศึกษาแจ้งจบสามารถตรวจสอบพันธะทางห้องสมุดผ่านเว็บไซต์ก่อนถ้ามีติดค้างให้มาเคลียร์พันธะก่อนยื่นเอกสารแจ้งจบการศึกษาเพื่อความสะดวกของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

วิธีการตรวจสอบ ง่าย ๆ ทำตามรูปนี้ ได้เลย

วิธีการตรวจสอบการยืม การยืมต่อ การจองและรายการค้างค่าปรับด้วยตนเอง

การให้บริการห้อง Study Room ยุด New Normal
ก.ค. 30th, 2020 by somsri

เนื่องจากเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ต้องปรับตัว เข้ากับสถานการณ์ในยุค New Normal ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ในการใช้บริการห้อง Study Room โดยยึดหลัก Social Distancing ดังนี้

  1. จัดโต๊ะในห้อง Study Room ใหม่ จากเดิมที่มีเก้าอี้ 10 ตัว ลดเหลือ 2 ตัวและจัดระยะห่าง
  2. ผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่ใช้ห้อง Study Room
  3. มีการสแกนอุณหภูมิก่อนการเข้าใช้บริการ (โดยสแกนที่ชั้น 1 ก่อนเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ)
  4. ทำความสะอาดอุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ ด้วยแอลกอฮอล์ หลังการใช้งานเสร็จในแต่ละครั้ง
  5. จัดเจลแอลกอฮอล์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการทำความสะอาดมือได้ตลอดเวลา

มีการวางเจลแอลกอฮอล์หน้าห้อง

 

การจัดเก้าอี้ เว้นระยะห่าง

การบันทึกข้อมูลการตอบคำถาม ผ่าน Google docs
ก.ค. 30th, 2020 by kityaphat

ในปัจจุบัน ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้บริการตอบคำถาม และรับข้อมูลคำถามจากผู้ใช้บริการผ่านหลายช่องทางด้วยกัน เช่น บริการตอบคำถามผ่านทาง Line @, Facebook, E-mail และทางโทรศัพท์  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้สร้างแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลการตอบคำถามผ่านทาง Google docs เพื่อเป็นคลังข้อมูลของคำถามและคำตอบของผู้ให้บริการ ซึ่งวิธีการบันทึกข้อมูลการตอบคำถามมีขั้นตอน ดังนี้

1. กรอกข้อมูล ชื่อ-สกุล เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการตอบคำถาม ซึ่งถ้ามีเครื่องหมาย ดอกจัน(*) หมายถึง จำเป็นต้องกรอกข้อมูล

2. กรอกข้อมูล ชื่อ-สกุล ของผู้ขอใช้บริการตอบคำถาม (เพื่อเป็นข้อมูลในการติดต่อภายหลังได้ แต่ถ้าผู้ใช้บริการไม่สะดวกให้ข้อมูลในส่วนนี้ ไม่ต้องใส่ข้อมูล)

Read the rest of this entry »

10 อันดับ BOARD GAME ยอดนิยม ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ก.ค. 28th, 2020 by kityaphat

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ให้บริการบอร์ดเกมเพิ่มจากทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือหรือสื่ออื่นๆ เนื่องจากบอร์ดเกมเป็นสื่อที่จะเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ได้ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการเล่นเกมคือ พัฒนาสมองและไหวพริบ ทั้งการฝึกคิด และการวิเคราะห์ ช่วยเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ ทั้งยังเป็นการฝึกภาษาอังกฤษ

ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงได้นำบอร์ดเกมมาให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 โดยให้บริการยืมบอร์ดเกม ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 มีจำนวนบอร์ดเกมที่นำมาให้บริการทั้งหมด 36 เกม   จึงขอจัดอันดับบอร์ดเกมที่ถูกยืมมากที่สุด 10 อันดับ ในปีการศึกษา 2562 ดังนี้

 

การจัดเก็บสถิติการยืม บอร์ดเกมที่มีจำนวนการยืมมาก 3 อันดับแรก คือ UNO  เกมเศรษฐี Time machine และ Exploding Kitten คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงจะได้มีโอกาสเล่น 3 เกมเหล่านี้ กันบ้างแล้ว

เรื่องเล่าชาว มฉก. “หุ่นคน” สู่ผลงานสร้างสรรค์ชุด “หุ่นคนตะลุงโนรา”
ก.ค. 23rd, 2020 by matupode

 

ผู้เขียนจำได้ว่า “หุ่นคน” เริ่มเข้ามามีบทบาทในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2546 ตอนนั้นนับว่าเป็นการแสดงที่แปลกใหม่ ผู้เขียนเคยสงสัยตอนได้ดูการแสดงในครั้งแรกว่า คนที่แสดงใช่หุ่นหรือว่าคนจริงๆ กันแน่ อาจเพราะการแต่งหน้า การแสดงที่สมจริงก็อาจเป็นได้ Read the rest of this entry »

ถอดบทสัมภาษณ์ “รองศาสตราจารย์ประจักษ์ พุ่มวิเศษ” อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 23rd, 2020 by matupode


หอจดหมายเหตุมีโครงการจัดทำหอเกียรติยศ (Hall of Fame) สำหรับผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ  เช่น  ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยทุกท่าน ปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ท่าน เผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุ https://lib-km.hcu.ac.th/hcu-archives/index.php/hall-of-fame  ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa