SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การให้บริการห้อง Study Room ยุด New Normal
ก.ค. 30th, 2020 by somsri

เนื่องจากเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ต้องปรับตัว เข้ากับสถานการณ์ในยุค New Normal ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ในการใช้บริการห้อง Study Room โดยยึดหลัก Social Distancing ดังนี้

  1. จัดโต๊ะในห้อง Study Room ใหม่ จากเดิมที่มีเก้าอี้ 10 ตัว ลดเหลือ 2 ตัวและจัดระยะห่าง
  2. ผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่ใช้ห้อง Study Room
  3. มีการสแกนอุณหภูมิก่อนการเข้าใช้บริการ (โดยสแกนที่ชั้น 1 ก่อนเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ)
  4. ทำความสะอาดอุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ ด้วยแอลกอฮอล์ หลังการใช้งานเสร็จในแต่ละครั้ง
  5. จัดเจลแอลกอฮอล์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการทำความสะอาดมือได้ตลอดเวลา

มีการวางเจลแอลกอฮอล์หน้าห้อง

 

การจัดเก้าอี้ เว้นระยะห่าง

การบันทึกข้อมูลการตอบคำถาม ผ่าน Google docs
ก.ค. 30th, 2020 by kityaphat

ในปัจจุบัน ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้บริการตอบคำถาม และรับข้อมูลคำถามจากผู้ใช้บริการผ่านหลายช่องทางด้วยกัน เช่น บริการตอบคำถามผ่านทาง Line @, Facebook, E-mail และทางโทรศัพท์  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้สร้างแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลการตอบคำถามผ่านทาง Google docs เพื่อเป็นคลังข้อมูลของคำถามและคำตอบของผู้ให้บริการ ซึ่งวิธีการบันทึกข้อมูลการตอบคำถามมีขั้นตอน ดังนี้

1. กรอกข้อมูล ชื่อ-สกุล เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการตอบคำถาม ซึ่งถ้ามีเครื่องหมาย ดอกจัน(*) หมายถึง จำเป็นต้องกรอกข้อมูล

2. กรอกข้อมูล ชื่อ-สกุล ของผู้ขอใช้บริการตอบคำถาม (เพื่อเป็นข้อมูลในการติดต่อภายหลังได้ แต่ถ้าผู้ใช้บริการไม่สะดวกให้ข้อมูลในส่วนนี้ ไม่ต้องใส่ข้อมูล)

Read the rest of this entry »

10 อันดับ BOARD GAME ยอดนิยม ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ก.ค. 28th, 2020 by kityaphat

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ให้บริการบอร์ดเกมเพิ่มจากทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือหรือสื่ออื่นๆ เนื่องจากบอร์ดเกมเป็นสื่อที่จะเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ได้ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการเล่นเกมคือ พัฒนาสมองและไหวพริบ ทั้งการฝึกคิด และการวิเคราะห์ ช่วยเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ ทั้งยังเป็นการฝึกภาษาอังกฤษ

ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงได้นำบอร์ดเกมมาให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 โดยให้บริการยืมบอร์ดเกม ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 มีจำนวนบอร์ดเกมที่นำมาให้บริการทั้งหมด 36 เกม   จึงขอจัดอันดับบอร์ดเกมที่ถูกยืมมากที่สุด 10 อันดับ ในปีการศึกษา 2562 ดังนี้

 

การจัดเก็บสถิติการยืม บอร์ดเกมที่มีจำนวนการยืมมาก 3 อันดับแรก คือ UNO  เกมเศรษฐี Time machine และ Exploding Kitten คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงจะได้มีโอกาสเล่น 3 เกมเหล่านี้ กันบ้างแล้ว

การให้บริการสอนออนไลน์ที่ห้อง Study Room
ก.ค. 24th, 2020 by somsri

ผู้เขียน มีหน้าที่ดูแลและอำนวยความสะดวกในการใช้ห้อง Study Room ซึ่งมีจำนวน 10 ห้อง ให้บริการที่ชั้น 4 ศูนย์บรรณสารสนเทศ  มีผู้ขอใช้บริการแน่นตลอดทั้งปี  ที่ผ่านมามักจะขอใช้เพื่อประชุม ติวหนังสือ ใช้เป็นที่สอบนักศึกษา ในปีนี้ เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้มหาวิทยาลัยปิดทำการชั่วคราว และปรับเป็นการสอนออนไลน์แทนที่

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงขอความร่วมมือจากศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษาในการเดินสายเน็ตเวิร์คห้อง Study room ให้ แม้ว่าจะมี WiFi ให้บริการแล้วก็ตาม แต่เพื่อความมั่นใจในการสอนออนไลน์  จึงได้เพิ่มสาย LAN เพื่อให้อาจารย์มีความมั่นใจในการสอนออนไลน์แบบไม่สะดุดเพราะสัญญาณอินเทอร์เน็ต และเริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา มีจำนวนการใช้ห้องเพื่อสอนออนไลน์สูงเป็นอันดับแรก  (59 กลุ่ม / 66 คน) เนื่องจากอาจารย์ต้องการความเงียบกว่าห้องพักอาจารย์ที่คณะ และมีความเป็นสัดส่วน เสียงไม่รบกวนกัน  ศูนย์บรรณสารสนเทศได้รับเสียงตอบรับในการขอใช้ห้องเพื่อสอนออนไลน์มากขึ้น ทั้งนี้ จะได้พิจารณาการเดินสายเน็ตเวิร์คเพิ่มเติม และอาจจะพิจารณาหาสถานที่เพิ่มเติม

จะเห็นได้ว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ ต้องมีการปรับตัว ปรับสถานที่ เพื่อให้เอื้อต่อการใช้ประโยชน์มากขึ้น

ให้บริการจองห้อง Study Room เพื่อสอนออนไลน์

Study room ชั้น 4 อาคารบรรณสาร ☎️ 1432
Learning Space ชั้น 1 อาคารบรรณสาร ☎️ 1332
ศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา อาคารอำนวยการ ☎️ 1114/1149

ถอดบทสัมภาษณ์ “รองศาสตราจารย์ประจักษ์ พุ่มวิเศษ” อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 23rd, 2020 by matupode


หอจดหมายเหตุมีโครงการจัดทำหอเกียรติยศ (Hall of Fame) สำหรับผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ  เช่น  ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยทุกท่าน ปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ท่าน เผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุ https://lib-km.hcu.ac.th/hcu-archives/index.php/hall-of-fame  ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล

Read the rest of this entry »

การแนะนำหนังสือใหม่
ก.ค. 21st, 2020 by sirinun

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ปรับกระบวนการแนะนำหนังสือใหม่ ซึ่งแต่เดิม จะแนะนำหนังสือใหม่ หลังจากที่ลงรายการทางบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกว่าจะผ่านกระบวนดังกล่าว จะใช้เวลาพอสมควรกว่าหนังสือใหม่จะออกให้บริการ จึงได้มีการปรับกระบวนแนะนำหนังสือใหม่ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. เมื่อแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศคัดเลือกและจัดหาหนังสือใหม่ เข้ามาในห้องสมุดแล้ว จะแนะนำให้แก่ผู้อ่านทันทีผ่าน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศ (https://www.facebook.com/libhcufanpage) โดยมีการโปรยคำเพื่อเป็นการแนะนำหนังสือ เช่น อาหาร (สมอง) เมนูใหม่ รอบวันที่ …..  และติดแฮชแทค  #หนังสือจัดซื้อเข้ามาใหม่ #หนังสือเข้ามาใหม่
#HCULIB #HCULibrary www.lib.hcu.ac.th   และให้ผู้ที่สนใจทักจองเข้ามา เพื่อที่ว่าจะได้รีบดำเนินการลงรายการในระบบห้องสมุดและนำส่งให้ผู้ใช้อย่างเร็วที่สุด

 

ภาพที่ 1 แนะนำหนังสือใหม่ขึ้น FB

Read the rest of this entry »

งานติดบัตรกำหนดส่ง
ก.ค. 21st, 2020 by pisit

บัตรกำหนดส่ง ในหลายห้องสมุดยังคงใช้บัตรกำหนดส่งติดที่ข้างหลังตัวเล่มด้านในของหนังสือ แต่บางแห่งอาจจะไม่ใช้บัตรกำหนดส่งแล้ว เนื่องจากมีระบบห้องสมุดที่มีการบันทึกการยืมและคืนในระบบได้ทันที แต่การที่ยังต้องมีการใช้บัตรกำหนดส่งอยู่ในห้องสมุดบางแห่ง เพื่อ

1. ประทับวันกำหนดส่ง เพื่อจะได้เป็นการเตือนถึงวันกำหนดส่งให้ผู้ใช้ห้องสมุด

2. ใช้เป็นหลักฐานในการติดตามการทำงาน โดยการลงชื่อผู้ให้บริการไว้ที่ตราประทับวันที่กำหนดส่ง เนื่องจากปัญหาในการยืม คืน เข้าระบบ จะได้ติดตามได้ว่าเจ้าหน้าที่คนใดเป็นคนให้ยืมหรือคืน Read the rest of this entry »

งานติดบาร์โคด
ก.ค. 21st, 2020 by pisit

ห้องสมุดใช้บาร์โคด เป็นเหมือนทะเบียนของหนังสือ เนื่องจากมีการลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือในระบบห้องสมุดแล้ว และติดบาร์โคดเพื่อเป็นเลขทะเบียนของตัวเล่ม  ไม่ต้องมาลงข้อมูลของหนังสือในสมุดทะเบียนเหมือนสมัยก่อนอีกต่อไป และใช้บาร์โคดเป็นตัวที่ให้เจ้าหน้าที่ใช้สำหรับการยืมออก หนังสือทะเบียนนี้ ออกไป และใช้ยืงบบาร์โคดของหนังสือกลับเข้ามาในระบบ เมื่อมีการคืนหนังสือ (ห้องสมุดส่วนใหญ่ จะใช้ RFID มาติดแทนบาร์โคดและเพื่อการยืม-คืนหนังสือ)

ผู้เขียน มีหน้าที่ในการติดบาร์โคดที่ตัวเล่ม ในกรณีที่เป็นหนังสือซ่อม จึงขอแบ่งปันวิธีการดังนี้

อุปกรณ์

1.บาร์โคดที่พิมพ์จากสติกเกอร์

2. สก๊อตเทปใส สำหรับติดทับบาร์โคด เพื่อกันไม่ให้บารโคดไม่หลุด หรือ ถูกแกะ หรือถูกเอาสีป้ายเล่น

ภาพที่ 1 บาร์โคดที่พิมพ์ออกมา

Read the rest of this entry »

การจัดการ หนังสือ oversize
ก.ค. 20th, 2020 by chonticha

ห้องสมุดแต่ละแห่ง มักจะมีหนังสือที่มีหลาย ๆ ขนาด และมักจะมีหนังสือขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าปรกติ ทั้งนี้ การจัดหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าหนังสือทั่วไป รวมกับหนังสือทั่วไป ก็ย่อมทำได้ และห้องสมุดส่วนใหญ่ก็มักจะจัดรวมกัน แต่การแยกหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าปรกติ ออกจากชั้นหนังสือทั่วไป แยกออกมาเป็นมุมหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือ Oversize ก็จะทำให้การจัดชั้นหนังสือทั่วไปมีขนาดเท่า ๆ กัน ความกว้างของชั้นหนังสือ หรือความสูงของชั้นหนังสือเท่ากัน แลดูเป็นระเบียบ และเจ้าหน้าที่ ผู้จัดชั้นหนังสือก็ไม่ต้องขยับหรือขยายความกว้างของหนังสือบ่อย ๆ ถ้าต้องพบกับหนังสือที่มีความใหญ่หรือสูงหรือกว้างกว่าความสูงของชั้นหนังสือโดยทั่วไป

ตัวอย่างภาพหนังสือที่มีหลากหลายขนาดจัดรวมอยู่ด้วยกัน

ภาพที่ 1 หนังสือทุกขนาดจัดรวอยู่ในชั้นหนังสือเดียวกัน

การเปรียบเทียบกับหนังสือที่มีขนาดปกติให้เห็นความแตกต่างด้านความสูงของหนังสือ ดังภาพที่ 2 Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการเปลี่ยน Location หนังสือ เป็น On display
ก.ค. 19th, 2020 by piyanuch

ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ศึกษา ระบบ WorldShare Management Services (WMS)  โมดูล Circulation เพื่อหา location หรือ status ที่กำหนดสถานภาพหนังสือเพื่อจัดแสดง / แนะนำหนังสือใหม่ ว่ามี location หรือ status หนังสือที่เป็น On display หรือไม่ ผู้เขียนได้ศึกษา พบว่า โมดูล Circulation มี shelving location หรือ status หนังสือที่เป็น On display ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS

      1.1 เลือกที่  HUACHIEW CHALERMPRAKIET UNIVERSITY LDAP

ภาพที่ 1  เข้าระบบห้องสมุด WMS

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa