บรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ต้องศึกษาพัฒนาการในการลงรายการทางบรรณานุกรม เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ลงรายการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด การลงรายการทางบรรณานุกรม ก็เพื่อต้องการสร้างช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ การแสดงผลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้มีการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อผู้ใช้ข้อมูล
ปัจจุบัน คำว่า RDA หรือ Resource Description and Access เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในกลุ่มบรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ว่าจะมาแทนที่ AACR II ผู้เขียน จึงได้ศึกษาและสรุป RDA จากผู้รู้ ไว้ดังนี้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA Read the rest of this entry »
ปัญหาที่พบบ่อยในห้องสมุดอีกข้อหนึ่งก็คือ ก็คือ หนังสือชำรุด อาจมีสาเหตุมาจาก
วิธีการดูแลหนังสืออย่างถูกวิธี
1. หยิบด้วยมือที่แห้ง
2.เปิดหนังสือให้ถูกวิธี โดย
Read the rest of this entry »
Classification and Library of Congress Subject Headings คือ เว็บไซต์สำหรับการจัดหมวดหมู่และหัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันแบบออนไลน์ ซึ่งสามารถเข้าใช้งานโดยต้องบอกรับเป็นสมาชิกของแต่ละห้องสมุดหรือหน่วยงานนั้น โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ https://classificationweb.net/ ซึ่งปรากฏดังภาพประกอบที่ 1
ภาพประกอบที่ 1 Classification Web
รายละเอียดเบื้องต้นในการสั่งซื้อและราคา
โดยมีรายละเอียดดังปรากฏดังภาพประกอบที่ 2 Read the rest of this entry »
แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ตระหนักและเห็นความสำคัญของสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่ห้องสมุดได้รับไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อหรือจัดหา (ทรัพยากรที่ได้เปล่า) ตลอดจนทรัพยากรที่ผลิตจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัย
ปัจจุบันมีสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัย จากหลายแหล่ง เช่น ศูนย์สหกิจศึกษา และรายงานระดับปริญญาตรีจากคณะต่าง ๆ มีเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการสารสนเทศ เนื่องจากทรัพยากรออกให้บริการล่าช้าไม่ทันกับความต้องการของผู้ใช้ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่เนื้อหาดังกล่าว แผนกจัดหาฯ จึงมีมติจากที่ประชุมของแผนกให้มีการปรับปรุงวิธีการและขั้นตอนการกำหนดหมวดหมู่ Call number ใหม่เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและทำให้บรรณารักษ์ปฏิบัติงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นแผนกจัดหาฯ จึงมีการทบทวนและปรับปรุงวิธีการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทของทรัพยากรที่เป็นรายงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ การวิจัย และการฝึกงานของนักศึกษา รวมทั้งงานวิจัยสถาบัน วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ สาระนิพนธ์ และการศึกษาอิสระ จะมีการปรับปรุงเลขหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ดังกล่าวโดยกำหนดขึ้นใช้เองเพื่อให้มีการทำงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้นโดย มีเป้าหมายดังนี้ Read the rest of this entry »
กระเป๋า ” Health Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี”
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดบริการมุมหนังสือน่าอ่านของห้องสมุด (ชั้น4) เป็นเสมือนมุมสุขภาพ ผ่าน กระเป๋า” Healthy books : อ่านเพื่อสุขภาพดี” ของ สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) จากโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ “เครือข่ายสร้างปัญญา”
สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้ผลิตสื่อองค์ความรู้สุขภาวะหลากรูปแบบ อาทิ หนังสือ นิตยสาร วีซีดี มุ่งให้นำความรู้จากสื่อมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีสุขภาวะ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ จึงจัดกิจกรรม “เครือข่ายสร้างปัญญา” ผลิตสื่อบรรจุหนังสือดีในกระเป๋าเดินทาง ทำหน้าที่เสมือนห้องสมุดเคลื่อนที่ เรียกว่า Healthy Book มอบให้กับห้องเครือข่ายห้องสมุด จำนวน 30 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดสถานศึกษา โรงพยาบาล และแหล่งเรียนรู้สุขภาวะ สุขภาพดีหาซื้อไม่ได้ การป้องกันดีกว่าการรักษา เชิญมาหาความรู้ได้จาก หนังสือดีๆ เพื่อสุขภาพและหนังสืออื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีหนังสือการสร้างสุขภาพ เพิ่มเข้ามาให้บริการเป็นอย่างมากมายทำให้ผู้อ่านมาใช้บริการและยืมหนังสือเหล่านี้กลับไปอ่านกัน หรือไม่ก็จะนั่งอ่านในห้องสมุด ได้ทั้งความเพลิดเพลิน และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันระหว่างผู้ใช้บริการกันเอง Read the rest of this entry »
ผู้เขียนได้เคยเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง การซ่อมและการสงวนรักษาหนังสือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ได้รับความรู้เรื่องวิธีการสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็งทั้งนี้เพื่อให้บรรณารักษ์หรือบุคลากรห้องสมุดนำความรู้ไปดำเนินการแก้ไขวิธีการซ่อมทำปกที่ถูกวิธีสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้เขียน ขอนำบางส่วนจากการอบรม คือ วิธีการสงวนรักษาหนังสือแบบวิธีการเสริมปกแข็ง
วิธีการเสริมปกแข็ง (Stiffening)
วัสดุและอุปกรณ์
การวางบิล เป็นเอกสารที่ทางมหาวิทยาลัยออกเพื่อให้กับทางร้านค้าในการจัดซื้อหนังสือ และทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ร้านค้าทราบถึงจำนวนเงินที่จะได้รับ และใช้เป็นเอกสารสำหรับการชำระเงิน
ปัญหาที่มักพบบ่อยในการแยกเอกสารวางบิล คือ ความผิดพลาดของการออกเอกสารของทางร้านค้า เช่น การกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามใบเสนอราคา ไม่มีสำเนาของใบเสนอราคาและใบส่งของเพียงพอสำหรับใช้เก็บเป็นหลักฐาน ทำให้ทางศูนย์บรรณสารสนเทศต้องสูญเสียเงินในการถ่ายเอกสาร รวมไปถึงปัญหาการลืมส่งเอกสาร ส่งผลให้ร้านค้าได้รับเงินล่าช้า Read the rest of this entry »
การแสดงผลด้วยกราฟ มักได้รับความนิยมมากกว่าการแสดงผลด้วยตาราง เพราะว่าการแสดงผลด้วยกราฟนั้น สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ดังนั้นกราฟจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการนำเสนองานเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยประหยัดเวลาในการอธิบาย และทำให้การนำเสนอน่าสนใจ และเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น
ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดทำสรุปค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ แยกตามคณะ แผนก โดยรวบรวมค่าใช้จ่ายทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ และนำมาบันทึกในตาราง เพื่อทำรายงานสรุปให้กับผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในภายหลังได้ปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นแบบกราฟ เมื่อให้ผู้บริหารเห็นภาพได้ง่ายมากขึ้นกว่าการนำเสนอแบบตาราง
ขั้นตอนของการทำกราฟ มีดังนี้
1.คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ เช่น ผู้เขียนจัดทำกราฟประเภทนี้เพื่อบอกสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศของแต่ละคณะ แผนก
2.เลือกประเภทของกราฟที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น กราฟแทง กราฟเส้น และกราฟวงกลม ซึ่งกราฟแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอต่างกัน กล่าวคือ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความตระหนักและคำนึงถึงผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก พยายามจัดบริการเชิงรุกเพื่อให้ผู้ใช้บริการรู้จักศูนย์บรรณสารสนเทศ รู้จักบริการต่างๆ และใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ที่จัดหาเข้ามาเพื่อตอบสนองการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย อย่างคุ้มค่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดบริการเชิงรุกหลายบริการ เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักและมาใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เริ่มจัดทำในปีการศึกษา 2559
บริการเชิงรุกอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ คือ การบริการความรู้สู่ชุมชน (เล่มที่ใช่ หนังสือที่ชอบ) เพื่อต้องการนำข้อมูลบริการต่างๆ และหนังสือที่เกินความต้องการ/หนังสือที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ออกสู่สายตาชุมชนของมหาวิทยาลัย เนื่องจาก ผู้ใช้บริการอาจจะยังไม่ทราบบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ และผู้ใช้อาจจะไม่มีกำลังในการซื้อหนังสือเหล่านี้ได้ และอาจจะมีความต้องการเป็นเจ้าของ
ทีมงานบริการสารสนเทศ เมื่อได้รับนโยบายจากผู้บริหารศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการวางแผนกิจกรรม ดังนี้ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นหน่วยงานสนับสนุนของมหาวิทยาลัยในด้านการเรียน การสอน การค้นคว้า วิจัย โดยเฉพาะทางด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเมื่อวันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมาสภาเทคนิคการแพทย์ได้มาทำการตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรวิทยาศาตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และรับรองสถาบันการศึกษา รวมทั้งได้ตรวจเยี่ยมชมศูนย์บรรณสารสนเทศ เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น. เนื่องจากเกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับศูนย์บรรณสารสนเทศ ในฐานะเป็นห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเรียน การสอนในหลักสูตรต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ก็คือ
ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดเตรียมหนังสือของคณะเทคนิคการแพทย์ไว้เพื่อตรวจประเมิน 8 สาขาวิชา ส่วนหนึ่ง ไว้ที่ชั้น 4 ซึ่งเป็นชั้นหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย
ชั้นจัดแสดงหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่วนหนึ่ง
พร้อมจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์บริการต่างๆ ที่สนับสนุนเกณฑ์ในข้อ 1 และ ข้อ 2
บอร์ดข้อมูล นโยบายของศูนย์บรรณสารสนเทศ การเปิดให้บริการ
บอร์ดข้อมูลบริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการสืบค้นข้อมูล การให้บริการสนับสนุนการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย