ศูนย์บรรณสารสนเทศมีนโยบายในการจัดพื้นที่ของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ เนื่องจากต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในแง่ของการเพิ่มพื้นที่นั่งอ่าน ซึ่งมหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายในการขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงต้องพิจารณาแนวทางในการจัดการพื้นที่ โดยเริ่มพิจารณาจากทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้
1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภททีไม่มีจำเป็นในการให้บริการในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์ เนื่องจากมีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น วิทยานิพนธ์ 2. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมากเกินความต้องการหรือการให้บริการ 3. ทรัพยากรสารสนเทศที่มียอดจำนวนการยืมน้อย 4. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเก่า ล้าสมัย เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ เป็นต้น Read the rest of this entry »
การใช้งาน VPN ผ่านมือถือ ระบบปฏิบัติการ iOS เช่น iPhone หรือ iPad จำเป็นต้องมีแอพพลิเคชั่นช่วยในการเชื่อมต่อเครือข่าย
แอพพลิเคชั่นนั้น คือ FortiClient สามารถเข้าดาวน์โหลดได้ที่ App Store
ขั้นตอนการตั้งค่าและเปิดใช้งาน
1. เข้าแอพ FortiClient เลือก VPN > Connections
Read the rest of this entry »
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้มีการจัดพิมพ์โครงการตำรามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตำราที่อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เขียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตำราประกอบการเรียนการสอนประจำวิชา หรือเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ที่สนใจ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับตำราที่จัดพิมพ์นี้ รวบรวมเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษาที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าซึ่งแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะดำเนินการลงรายการในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) เพื่อให้สามารถสืบค้นได้ต่อไป
หลักเกณฑ์ในการลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือประเภทตำรา นี้ งานวิเคราะห์ทรัพยากรฯ จะลงรายละเอียดขอบเขตของหนังสือไปตามขั้นตอนและกำหนดการลงรายการทางบรรณานุกรม แต่จะมีการกำหนดคำค้น เพื่อให้สืบค้นได้จากหลักเกณฑ์ทั่ว ๆไป เช่น จากชื่อผู้เขียน ชื่อเรื่อง หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา แล้วยังมีการกำหนดหัวเรื่อง ว่า ตำรา (มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) ไว้ใน Tag 690 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นได้ และเป็นการควบคุมข้อมูลที่เกี่ยวกับตำรา ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทั้งหมด Read the rest of this entry »
ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 10.00 -12.00 น. โดยมี น.ส. ฉัตรรัตน์ แสงคง เป็นผู้บรรยาย และนำชมห้องสมุด
คุณฉัตรรัตน์ แสงคง (วิทยากร)
แบบประเมินความพึงพอใจเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อวัดหรือเพื่อต้องการทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จัดกิจกรรม เพื่อจะได้ทราบว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นนั้น มีประโยชน์ในการจัดหรือไม่ ผู้ร่วมกิจกรรมมีความคิดเห็นแต่ละด้านที่ผู้จัดต้องการทราบผลการจัดในแต่ละประเด็นอย่างไร ผู้ร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในแต่ละด้าน หรือในภาพรวมอย่างไร หรือไม่ เพื่อจะได้ทราบผลการประเมิน ซึ่งเสมือนเป็นผลของการดำเนินกิจกรรมว่าออกมาในรูปแบบที่ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมพอใจ หรือต้องปรับปรุงในด้านใดบ้าง เพื่อจะได้สร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นในครั้งต่อไป
การสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ จึงต้องสร้างเพื่อให้ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการทราบในแต่ละด้าน และมีการกำหนดเกณฑ์ความพึงพอใจ เช่น มากที่สุด (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) น้อยที่สุด (1) เมื่อผู้ร่วมกิจกรรมตอบแบบประเมินความพึงพอใจมาแล้ว จะต้องนำผลการกรอกคะแนนความพึงพอใจในแต่ละข้อมาคำนวณเพื่อสรุปคะแนนและวิเคราะห์คะแนนในแต่ละข้อ Read the rest of this entry »
ตอนที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ ตัดสินใจเลือกซื้อระบบ WorldShare Management Services หรือ WMS ซึ่งพัฒนาโดย OCLC เพราะว่า OCLC เป็นผู้พัฒนา WorldCat ซึ่งเป็นเหมือนสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog ของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีสมาชิกอยู่ในเครือข่ายนำระเบียนบรรณานุกรมเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถที่จะขยายผลและต่อยอดของระเบียนบรรณานุกรมที่มีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ข้อมูล
OCLC ได้ขยายผลในเรื่องของ Linked data โดยใช้ฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมเดียวกันนี้ในระบบ WMS แต่การพัฒนาโมดูล WCD หรือ WorldCat Discovery ซึ่งเป็นโมดูลการสืบค้น หรือ OPAC ของ WMS อาจจะยังไม่เท่ากับ WorldCat (ซึ่งตอนนี้ เรียกกันว่า WorldCat Local) คาดว่าประมาณกลางเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2562 WorldCat Local จะปิดลงและ WCD ก็จะได้รับการพัฒนาและมีศักยภาพเช่นเดียวกับ WorldCat Local
OCLC พัฒนาเรื่อง Linked data อย่างไรบ้าง (Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)
Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)
จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) นี้มาเป็นเวลา 1 ปี ได้เห็นถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงานนี้มาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนการทำงานในโมดูลนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด เนื่องจากระบบ WMS มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนการทำงาน Acquisitions ซึ่งได้เคยเขียนขั้นตอนการทำงานนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ดังนั้นจึงขอแสดงขั้นตอนงานตัดงบประมาณ Invoice อีกครั้ง เพื่อให้เห็นงานที่มีการเปลี่ยนแปลง ความละเอียด ชัดเจน กระชับ มากยิ่งขึ้น อีกครั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้ รายละเอียด
หัวข้อดังกล่าว เป็นการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการเปิดตัวระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) อย่างเป็นทางการของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561 โดยบริษัท แอดวานซ์ มีเดีย เซอร์วิส (Advance Media Service-AMS) ได้จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่อง OCLC’s integrated management platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร เพื่อให้ห้องสมุดที่สนใจ เข้าร่วมฟัง
OCLC’s Integrated Management Platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร
ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และทีมงาน AMS ได้มาอัพเดท feutures ใหม่ ๆ ของ WMS ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของห้องสมุด สุดท้ายเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ในการนำระบบ WMS มาใช้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พร้อมสาธิตระบบให้แก่ผู้สนใจเข้าฟัง ณ ห้องสื่อประสม (ห้องบรรยายพิเศษ 2) ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Read the rest of this entry »
ประธานคณะกรรมการดำเนินการด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม นำโดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม จากทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 60 คน ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2559-2561 มีโครงการที่มุ่งเน้นด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยฯ ประกอบด้วย กิจกรรมแบบมีส่วนร่วมที่มุ่งเน้นด้านการประหยัดพลังงานและดูแลสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการศึกษาดูงานอาคาร สำนักงานประหยัดพลังงาน เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการโครงการดังกล่าว ในปีการศึกษา 2561 ได้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 09.00-12.00 น.
อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง หรือ EGAT Learning Center เป็นโครงการที่กฟผ. มุ่งทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานของประเทศไทยและพลังงานของโลก ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 18 ไร่ มีพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร จำนวน 4 ชั้น เจ้าหน้าที่พาชมบริเวณด้านหน้าทางขึ้นเป็นสวนแนวตั้ง ประดับด้วยพรรณไม้ประเภทไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ที่มีความทนทานต่อแสงแดดเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ฟิโลเดนดรอนสีทอง สีเขียว (Philodendron) เฟิร์น เป็นต้น บริเวณด้านหน้าประตูทางขึ้นมีตราสัญลักษณ์ของ กฟผ. มองลงไปเบื้องหน้าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระราม 7 และภายในบ่อบำบัด จะเห็นว่าในบ่อมีน้ำสีเขียว เรียกว่าบ่อซึม สามารถใช้น้ำที่บำบัดแล้ว นำมาหมุนเวียนใช้ต่อได้
สวนแนวตั้งและตราสัญลักษณ์ กฟผ.
แสงเงาของผู้เยี่ยมชม
ถ้าหากจะพูดว่า “ทะเบียนรายชื่อเอกสารใช้งาน” หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่หากพูดว่า “รายชื่อแฟ้มเอกสาร” อย่างหลังน่าจะคุ้นเคยมากกว่า
ทุกๆ ปีการศึกษา สำนักงานเลขานุการ จะมีหน้าที่ในการสำรวจแฟ้มเอกสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่มีจัดเก็บอยู่ที่สำนักงานเลขานุการ และแผนกอื่นๆ ว่ามีชื่อแฟ้มเอกสารอะไรบ้าง ระยะเวลาของเอกสารภายในแฟ้ม เพื่อจัดทำเป็น “ทะเบียนรายชื่อเอกสารใช้งาน” ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ส่งไปให้กับกองกลาง เป็นประจำทุกปี
การจัดเก็บเอกสารของศูนย์บรรณสารฯ มีลักษณะเหมือนให้สำนักงานเลขานุการเป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บ ควบคุม ดูแล และให้รหัสแฟ้มเอกสารกับทุกแผนก และให้ทุกแผนกนำแฟ้มเอกสารมาจัดเก็บไว้ที่สำนักงานเลขานุการ ยกเว้นบางกรณีที่บางแผนกอาจมีความจำเป็นในการใช้งานแฟ้มเอกสารนั้นบ่อยๆ แฟ้มเอกสารนั้น อาจจะอยู่กับทั้งสำนักงานเลขานุการและอยู่ที่แผนกอื่น Read the rest of this entry »