SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเข้าร่วมงาน Libraries at the Crossroads “Tracking Digital Footprints: Recognizing and Predicting User Behavior”
ก.พ. 13th, 2017 by supaporn

ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุม Asia Pacific Regional Council Meeting 2016 หรือ APRC Meeting 2016 ภายใต้หัวข้อ เรื่อง Libraries at the Crossroads  “Tracking Digital Footprints: Recognizing and Predicting User Behavior”  และศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน และ 1-2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 รวมระยะเวลา 3 วัน ณ Habour Grand Hotel เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดโดย  Asia Pacific Regional Council (APRC)  ร่วมกับ The University of Hong Kong Libraries โดยในการประชุมดังกล่าว มีตัวแทนจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจากประเทศไทย ได่แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ทีมจากประเทศไทยถ่ายภาพกับผู้บริหาร OCLC

ทีมจากประเทศไทยถ่ายภาพกับผู้บริหาร OCLC

การประชุมและศึกษาดูงาน สามารถสรุปประเด็นที่น่าสนใจได้ดังนี้ Read the rest of this entry »

การศึกษาดูงาน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ม.ค. 30th, 2017 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทัศนศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2559 นำโดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และทีมงานจำนวน 17 คน โดยมีการกำหนดหัวข้อในการขอเข้าฟัง ดังนี้

  1. การบริหารจัดการในภาพรวมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. การพัฒนาฐานข้อมูลการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ตรวจสอบเอง และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การนำระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ WorldCat
  3. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
  4. การพัฒนานวัตกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. การบริการเชิงรุก
  6. การให้บริการ WorldShareILL
  7. การจัดการความรู้
  8. การประกันคุณภาพ
  9. การอนุรักษ์พลังงาน
บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผอ. วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์) และบุคลากรที่มาต้อนรับ ทุกท่าน (ประกอบด้วย คุณคัทลียา  ปรีชานิ คุณปราชญ์ สงวนศักดิ์  คุณหวานใจ อรุณ คุณศุภวรรณ อาจกล้า  คุณสุรินทรา  หล้าสกูล คุณสดศรี  กันทะอินทร์  คุณศิริมนัส  อินต๊ะแก้ว และคุณจิราภรณ์  หาบุญ) ที่เร่งทำเวลาในการบรรรยายให้ความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความเห็น และตอบคำถาม จึงขอสรุปข้อความรู้ในประเด็นหลักๆ ดังนี้ Read the rest of this entry »

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกในประเทศไทย
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

 

wichien

ดร. วิเชียร เตชะไพบูลย์ กดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย

สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน สถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านการแพทย์แผนจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดตั้งสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย และนับว่าเป็นสถาบันขงจื่อแห่งที่ 15 ของประเทศ

泰国华侨崇圣大学中医孔子学院,由泰国华侨崇圣大学与中国天津中医药大学合作成立,是泰国第十五家孔子学院,同时也是泰国首家中医孔子学院。

ท่านเจ้าคุณธงชัย เจิมป้าย

ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหารเจิมป้ายสถาบันขงจื่อการแพย์แผนจีน

ท่านเจ้าคุณธงชัย พรมน้ำมนต์

ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

สถาบันของจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจะทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมภูมิปัญญาตะวันออก และศาสตร์การแพทย์แผนจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการเรียนการสอนแพทย์แผนจีน ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์แผนจีน อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อผู้ประกอบวิชาชีพ และองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีนของประชาชนชาวไทย และประชาชนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้านภาษาจีน และศิลปวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีน อีกทั้งยังมีบทบาทหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์แผนจีน การจัดนิทรรศการและโครงการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนให้กับประชาชนทั่วไป

泰国华侨崇圣大学中医孔子学院是以在东南亚地区传播东方智慧和传统文化、促进中医学术交流、为泰国和东南亚地区人民普及中国传统医药的专业知识以及促进中国语言文化的学习,从而为学习中医建立基础为目标。中医孔子学院在泰国的主要任务是组织各种汉语及中医学的相关活动,如举办中医研讨会,有利于提高泰国中医界人士的学术水平,并有利于向泰国民众推广和普及汉语及中医学知识。

ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด

ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด

พิธีเปิดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และพิธีเปิดผ้าแพรคลุมป้ายจัดขึ้น ณ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ชั้น 5 อาคารบรรณสาร โดย ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ให้เกียรติเป็นประธาน และดร.โจว เกาหยู่ เลขานุการเอก ฝ่ายการศึกษา สถานเอคอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์และเจิมป้ายสถาบัน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจ และประชาชนทั่วไป ตั้งอยู่ที่ อาคารบรรณสาร ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โทร 0-2312-6300 ต่อ 1420

2016年10月20日,华侨崇圣大学中医孔子学院于学校图书馆5楼正式揭牌成立,并在学校大礼堂举行了盛大的开幕典礼,特邀请华侨报德善堂董事长郑伟昌博士为典礼主席,并邀请中华人民共和国驻泰王国大使馆教育组一等秘书周高宇阁下出席典礼并致贺词,岱密金佛寺主持助理昭坤通猜大师莅临典礼并为中医孔子学院洒圣水、点粉赐福。
         华侨崇圣大学校长叶尧生携全体师生诚挚欢迎泰国各界人士前来位于学校图书馆5楼的中医孔子学院参观指导。
         联系电话:0-2312-6300 转 1420

สัญลักษณ์ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ติดตามกิจกรรม ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ได้ที่

เว็บของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ http://cihcu.hcu.ac.th/

และที่ FB

FB สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ https://www.facebook.com/tcihcu/

หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยถึง 6 เล่ม ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ประกอบด้วย

1. ที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537
2. Huachiew Chalermprakiet University Commemorative Edition on the occasion of the University’s Inauguration graciously presided over by Their Majesties the King and Queen of Thailand on March 24, 1994
3. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ฉบับภาษาจีน)
4. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วันทำพิธีเปิด (มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยและภาษาจีน)
5. สูจิบัตรพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
6. พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากหนังสือเหล่านี้ได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ และหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทั้งข้อมูลและภาพพระองค์ท่านที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย

ยุคใหม่ของห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต.ค. 16th, 2016 by supaporn

เป็นที่ตื่นตา ตื่นใจ และตื่นเต้น เมื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้บริการที่มีการปรับโฉมใหม่ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 และในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2558 เวลา 13.00 น.

ลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนไป

eng1

eng2

eng3

Read the rest of this entry »

Open Science Taxonomy
ต.ค. 9th, 2016 by supaporn

ลองดูภาพนี้ ชัดเจนทีเดียวสำหรับ Open Science

Open Science Taxonomy

Open Science Taxonomy

รายการอ้างอิง

FOSTER. Open Science Taxonomy. Retrieved from https://www.fosteropenscience.eu/foster-taxonomy/open-science

รัฐบาล ตั้งสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ต.ค. 7th, 2016 by supaporn

ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 62/2559 เรื่อง การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ กำหนดให้มีสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดทิศทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมทั้งปรับปรุงระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศตลอดจนกํากับและติดตามการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ และประเมินผลการดําเนินการให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีเอกภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาการวิจัยของประเทศและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน อ่านเพิ่มเติม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/225/8.PDF

ปลาสลิดบางบ่อ
ต.ค. 3rd, 2016 by supaporn

disk10.9.tif

ภาพจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ

จากการลงพื้นที่ของ อ. อัญชลี สุภาวุฒิ นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อหาข้อมูลการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ ทำให้พวกเราทราบว่า

“หากจะกล่าวถึงปลาสลิดรสชาติดี จะต้องนึกถึงปลาสลิดบางบ่อ โดยแหล่งผลิตปลาสลิดใหญ่ที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ คือ ตำบลคลองด่าน อำเภอคลองด่าน ลุงผัน หรือ ผัน ตู้เจริญ เริ่มเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อเป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2500 และประสบผลสำเร็จ ทำรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดีและยั่งยืน จนถึงปัจจุบัน แต่ก่อนลุงผันมีอาชีพทำนาข้าว หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วน้ำแห้งมาก จึงเริ่มคิดหาวิธีกักน้ำไว้เลี้ยงปลา โดยในบ่อของลุงผัน มีปลาดุกสีทอง ปลาช่อนสีทอง และปลาสลิด ซึ่งปลาสลิดเยอะที่สุด จึงเป็นเหตุให้เลิกทำนาข้าวและหันมาเลี้ยงปลาสลิดแทน เลี้ยงได้ประมาณ 3-4 ปี จึงได้นำปลาสลิดทูลเกล้าถวายฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในปี 2506 ถึงสองครั้ง จนได้รับพระราชทานปลาสลิดทอง

ปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ มีพื้นที่ประมาณ 5,000 กว่าไร่ บริเวณ หมู่ 1, 2 ,3, 4 และ หมู่ 11, 12 เป็นการเลี้ยงจากบ่อธรรมชาติ คือ บ่อดิน โดยจะขุดดินล้อมพื้นที่ทำคันให้สูงใช้ที่นาเดิมที่มีอยู่ ฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอน เพื่อเป็นอาหารปลา กักน้ำเก็บไว้ เริ่มปล่อยปลาลงบ่อ มีการคัดเลือกสายพันธุ์ตัวปลาที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีแผล ครีบและหางไม่แตก เพศผู้ เพศเมีย ลักษณะตัวมีขนาดใหญ่ สีดำ เน้นการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ ตัวปลาที่สมบูรณ์ สามารถวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขึ้นไป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อปลาสมบูรณ์เต็มที่ ก็จับปลามาจำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป”

รายการอ้างอิง

อัญชุลี สุภาวุฒิ. (2557). ภูมิปัญญา สร้างอาชีพ ปลาสลิดจากบ่อธรรมชาติ. สารศิลป์, 4 (2), 3-4.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ. ของฝากจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นจาก http://samutprakan.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=1

พื้นที่สีเขียวและมุมบริการหนังสือด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ก.ย. 29th, 2016 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดทำพื้นที่สีเขียวขึ้น บริเวณชั้น 1 ใกล้กับเคานเตอร์ยืม-คืน หนังสือ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศ และภูมิทัศน์ที่ดีในการพื้นที่ให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นในศูนย์บรรณสารสนเทศอีกด้วย นอกเหนือจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ยังได้จัดให้มีเก้าอี้เพื่อสำหรับให้ผู้ใช้บริการได้นั่งในบริเวณดังกล่าว ในระยะแรกเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมทั้งเน้นในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ในระยะต่อมา ได้มีการจัดเป็นมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่พื้นที่สีเขียวดังกล่าว

หนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่นำจัดให้บริการที่มุมดังกล่าว นั้น เป็นหนังสือส่วนหนึ่ง ที่มีการหมุนเวียนจากชั้นหนังสือทั่วไป มาจัดไว้ให้บริการ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและเป็นการสร้างเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ในด้านการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้ใช้บริการอีกช่องทางหนึ่ง

บริเวณพื้นที่สีเขียวและมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม

บริเวณพื้นที่สีเขียวและมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม

อีกมุมนึ่งของพื้นที่สีเขียวและมุมหน้งสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม

อีกมุมนึ่งของพื้นที่สีเขียวและมุมหน้งสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์ เป็นหัวข้อหนึ่งในหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน บรรยายโดย อาจารย์ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยอาจารย์ได้นำความรู้มาบรรยาย ในประเด็นต่อไปนี้

  1. ทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  2. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  3. กระบวนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  4. ตัวอย่างหอจดหมายเหตุดิจิทัลและพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล
  5. การพัฒนา “คลังสารสนเทศดิจิทัล” เริ่มต้นอย่างไร?

เริ่มต้น วิทยากรให้ความหมาย คำว่า “ทรัพยากรสารสนเทศ” ใน 2 มุมมอง คือ ความหมายในแง่ขององค์กร และของบุคคล กล่าวคือ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ในมุมมองขององค์กร หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ที่ได้มีการรวบรวม กลั่นกรอง เรียบเรียง หรือประมวลผลไว้ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส แล้วนำมาบันทึกด้วยวิธีการต่างๆ ลงวัสดุชนิดต่างๆ เพื่อจัดเก็บ หรือเผยแพร่ให้ผู้รับได้ทราบ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ หรือความบันเทิง ขณะที่ ทรัพยากรสารสนเทศในมุมมองของบุคคล เน้นในเรื่องของความทรงจำของบุคคลนั้น เป็นความทรงจำที่มีความหมาย มีความสำคัญ หรือถูกด้วยปัจจัยต่างๆ โดยผู้เป็นเจ้าของของความทรงจำ เช่น ภาพถ่ายที่ถูกบันทึกลงในกระดาษ ภาพถ่ายในรูปแบบฟิล์ม ม้วนเทปวิดีโอ เทปบันทึกเสียง ภาพวาด สมุดบันทึก Sketchbook ฯลฯ ดังนั้น ทรัพยากรสารสนเทศ จึงแบ่งได้เป็น Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa