SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ของเกษตรกร เล่ม 1
มิ.ย. 20th, 2016 by sirinun

ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยใน การทำงานของเกษตรกร เล่ม 1

ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกร เล่ม 1

มนุษย์ทุกคนย่อมมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาตนเอง ทั้งที่เป็นการพัฒนาในระบบการศึกษา และการพัฒนาแบบไม่เป็นทางการ ผ่านการเรียนรู้นอกระบบ เช่น ผ่านทางฝึกปฏิบัติ ผ่านอาชีพ ผ่านครอบครัว เป็นต้น การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาตนเองนั้น ที่สำคัญคือการสร้างหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านทางบทความ หรือหนังสือทางวิชาการที่เป็นทฤษฎี งานวิจัยและประการตรงของผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้เรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกรในชุมชน หมวดหมู่ WA400 ช583 2558

รายการอ้างอิง

ประมุข โอศิริ. (บรรณาธิการ). (2558). ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกร เล่ม 1. กรุงเทพฯ : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สูตรความสำเร็จการบริหารมาตรฐานอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย ฉบับบูรณาการ
มี.ค. 27th, 2016 by sirinun

สูตรความสำเร็จการบริหารมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยฉบับบูรณาการ

สูตรความสำเร็จการบริหารมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยฉบับบูรณาการ

ความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญต้น ๆ ที่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมต้องตระหนักและระลึกถึงเป็นอันดับแรก เนื่องจากหากเกิดอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตามย่อมส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินซึ่งในบางครั้งอาจเกี่ยวเนื่องไปถึงชีวิตของผู้ปฏิบัติงานได้ รวมทั้งครอบครัวของผู้ประสบอุบัติเหตุด้วยต้องได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุในโรงงาน  หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาประกอบด้วยการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทฤษฎีของการเกิดอุบัติเหตุทั้งที่นิยมใช้ในประเทศไทยและทฤษฎีใหม่ๆ ที่นิยมใช้ในการอธิบายการเกิดอุบัติเหตุในต่างประเทศ ผู้อ่านจะได้นำไปใช้ประกอบการทำงานได้เป็นอย่างดี เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน หมวดหมู่ WT100 ก451 2558

รายการอ้างอิง

นัทธพงศ์ นันทสำเริง. (2558). สูตรความสำเร็จการบริหารมาตรฐานอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย ฉบับบูรณาการ. กรุงเทพฯ : บริษัทโรแบร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ (ประเทศไทย).

ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง

บทคัดย่อ:

แรงงานเป็นทรัพยากรการผลิตที่สำคัญและมีคุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีทักษะฝีมือ เช่น แรงงานไทย ตลาดการค้าโลกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ผู้ประกอบการจึงแสวงหาแหล่งผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพและราคาถูก จึงทำให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่มาลงทุนตั้งสถานประกอบการในประเทศไทย ผลตอบแทนที่ได้คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สินค้าส่งออกจำนวนมาก ภายใต้การผลิต ในสถานประกอบการยังมีระบบการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม คือ การจ้างเหมาค่าแรง ซึ่งเป็นการจ้างงานที่มีสภาพการทำงานเหมือนพนักงานประจำ แต่ได้รับค่าแรงและสวัสดิการที่ไม่เท่าเทียมกับพนักงานประจำ ไม่ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ลูกจ้างจะถูกผู้ทำธุรกิจนายหน้าค้าแรงงาน ความไม่เท่าเทียมของการจ้างงาน ปัญหาที่คนงานรับเหมาช่วงค่าแรงได้รับข้อสังเกตของการจ้างเหมาช่วงค่าแรง ตัวอย่างการจ้างเหมาช่วงค่าแรงในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นเสียงสะท้อนไปยังผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะได้หาแนวทางการแก้ไขต่อไป

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2549). ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง. วารสาร มฉก.วิชาการ 10 (19), 80-89.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

Biomarkers กับบทบาทที่สำคัญในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

Biomarkers กับบทบาทที่สำคัญในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

The role of Biomarkers in Occupational Health

บทคัดย่อ:

ตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ หรือตัวชี้วัด หรือเป็นสัญญาณของเหตุที่จะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และยังหมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสัมผัสสารกับสุขภาพที่ผิดปกติโดยทั่วไปตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ตัวชี้วัดการสัมผัสทางชีวภาพ (Biomarkers of exposure) ตัวชี้วัดผลกระทบทางชีวภาพ (Biomarkers of effect) และ ตัวชี้วัดความไวรับ หรือพันธุกรรมทาง ชีวภาพ (Biomarkers of susceptibility) Read the rest of this entry »

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย : เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย: เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน

Job Safety Analysis (JSA): Hazard Identification Technique for Work Accident Prevention

บทคัดย่อ

การที่แนวโน้มของจำนวนผู้ประสบอันตรายจากการทำงานในช่วง พ.ศ. 2550-2552 ลดลง ไม่เกินร้อยละ 50 และสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ การหกล้ม / ลื่นล้ม และการยก/เคลื่อนย้ายของหนัก / ท่าทางการทำงาน สะท้อนให้เห็นว่าขั้นตอนแรกของ การบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการมีการดำเนินการที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในส่วน การวิเคราะห์หาอันตราย ซึ่งเทคนิค job safety analysis (JSA) เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์หา อันตรายที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน และกรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ การจัดทำ JSA ประกอบ ด้วย 5 ขั้นตอน คือ การคัดเลือกงาน การแตกงานให้เป็นขั้นตอนย่อยๆ การวิเคราะห์หาอันตรายจาก งานที่เลือกนั้น การพิจารณาวิธีขจัดและลดอันตรายที่พบและการจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงาน อย่างปลอดภัย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำเทคนิค JSA ไปใช้มีอยู่ 4 ช่วง คือ ช่วงก่อสร้างหรือเริ่ม การผลิต ช่วงดำเนินการผลิตเป็นปกติช่วงขยายหรือเปลี่ยนแปลงการผลิต และช่วงซ่อมแซมบำรุงหรือ ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุ ข้อควรระวังในการจัดทำได้แก่ การเลือกงานมาวิเคราะห์ซึ่งจำเป็นต้องเป็น งานที่เกิดอุบัติเหตุสูงและควรศึกษารายละเอียดการสืบสวนอุบัติเหตุประกอบด้วยทุกครั้ง การแตกงาน เป็นขั้นตอนย่อยไม่ควรแตกงานแคบเกินไปหรือกว้างเกินไปเพราะจะส่งผลต่อการวิเคราะห์หาอันตราย การจัดทำ JSA และ Safety Standard Operation Procedure (SSOP) จำเป็นต้องผ่านการทบทวน โดยหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานนั้นเสมอ อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้มีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถวิเคราะห์ หาอันตรายได้ถึงสาเหตุพื้นฐาน (basic cause) และผู้จัดทำต้องมีความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างดี ในงานที่นำมาวิเคราะห์และ ไม่สามารถทำล่วงหน้าได้ถ้าไม่มีการเดินการผลิตก่อน Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa