จากการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services-WMS ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนที่ห้องสมุดนำข้อมูลเข้าในระบบ WMS เขตข้อมูลชื่อผู้แต่ง (tag 100) และเขตข้อมูลชื่อเรื่อง (tag 245) จะต้องสะกดออกเสียงตามระบบ pinyin ชื่อผู้แต่ง (tag 100) จะต้องลงรายการเป็นอักษรจีน และ ต้องเพิ่ม tag 100 อีกเพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตามระบบ pinyin โดยอิงหลักเกณฑ์ตาม ALA-LC และ ชื่อเรื่อง (tag 245) จะเขียนเป็นอักษรจีน และเพิ่ม tag 245 อีกเช่นกัน เพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตาม ระบบ pinyin โดยเขียนสะกดแยกคำออกจากกัน แต่เนื่องจากโดยทั่วไปการสะกดคำตามระบบ pinyin จะสะกดตามที่นิยมเขียนเป็นคำศัพท์ที่ติดกัน เช่น 外国 เขียนสะกดตามระบบ pinyin เป็น waiguo หรือ 文化 จะเขียนเป็น wenhua จะไม่เขียนแยกเป็น wai guo หรือ wen hua
ข้อสังเกตจากการปฏิบัติงาน คือ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนบางเล่มจะพิมพ์ชื่อเรื่องตามหลักทั่วไป คือเขียนติดกันในหน้า colophon (หมายถึง หน้าที่มีข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และ ที่อยู่ของสำนักพิมพ์ เป็นต้น) ดังนั้น การลงรายการชื่อเรื่อง (tag 245 ) นอกจากเพิ่ม tag 245 เพื่อพิมพ์สะกดชื่อเรื่องเป็น pinyin ที่สะกดคำแยกกันแล้ว จะต้องลงรายการเพิ่มชื่อเรื่องในเขตข้อมูล 246 (tag 246) เพื่อสะกดชื่อเรื่อง pinyin ที่เขียนติดกันตามที่ปรากฏในหน้า colophon เพื่อให้สามารถสืบค้นชื่อเรื่องตามที่ใช้กันโดยทั่วไป
Read the rest of this entry »
วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms
2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้
2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่ All WorldCat
2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number
2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ISBN
Search: ISBN = 9787301260456
รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search
วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้
2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น Title
Search: Title = 中华实用起名全解
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี อาจารย์ ฉลอง แขวงอินทร์ และผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ รับมอบหนังสือภาษาจีน จาก คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ และ นสพ. กิจ สุนทร เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำหนังสือไปใช้ประโยชน์แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยทำพิธีรับมอบ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ เวลา 09.00-12.00 น. โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหารือในเรื่องต่างๆ ก่อนทำพิธีรับมอบ
บริจาคหนังสือ
คนแรก คือ คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ และ ถัดมาคือ นสพ.กิจ สุนทร
ทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ มอบหนังสือ
นสพ. กิจ สุนทร มอบหนังสือ
ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรภาษาจีน ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์ ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และ ก่อนหน้านั้นได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาหลายแห่งของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ ของ สำนักหอสมุด แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่ง ในระยะแรก ๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน โดย ใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และ เขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนเช่น คำว่า ภาษาจีน (汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ สำนักหอสมุด และ รับผิดชอบงานการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดย รวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่า การลงรายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yu โดยเขียนแยกกัน และ ใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักของการเชียนภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และ ชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และ เขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน (中国)จะสะกดและเขียนเป็น Zhongguo ปักกิ่ง (北京)สะกดและเขียนเป็น Beijing เป็นต้น หลังจากผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC Romanization แล้ว จึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ดังนี้ การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC
ซื่อคู่ฉวนซู
หนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นหนังสือสำคัญยิ่งของจีนชุดหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหนังสือที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวถึงหนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” ไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง “ไอรัก คืออะไร” [1] หน้า 14 ในหัวข้อ “ดูพิพิธภัณฑ์ของห้องสมุด” ดังนี้
หนังสือ ซื่อคู่ฉวนซู เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้สี่ประเภทของจีน ได้แก่
และหน้า 18 ในหัวข้อ “ดูหนังสือโบราณ”
หนังสือนี้รวมทั้งหมดเป็นพันๆ เล่ม จักรพรรดิ์เฉียนหลงมีพระราชโองการให้รวบรวมเขียนด้วยลายมือทั้งหมด (ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นมีการพิมพ์แล้ว) สร้างไว้ 7 ชุด ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 ชุด เก็บรักษาไว้ที่ปักกิ่ง ไต้หวัน และหลานโจว ตอนกบฏไท้เผ็ง ถูกทำลายไป 3 ชุด เมื่อตอนที่กองทัพผสม 8 ชาติเข้าเผาวังหยวนหมิงหยวน ถูกทำลายไปอีกชุดหนึ่ง เขาบอกว่าธรรมดาไม่ให้คนอื่นดูคัมภีร์นี้ตัวจริง ผู้ที่ต้องการศึกษาต้องอ่านจากไมโครฟิล์ม คนที่จับหนังสือต้องใส่ถุงมือ Read the rest of this entry »