SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
พ.ค. 22nd, 2018 by uthairath

Acquisition module เป็นหนึ่งในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module โดยมีขั้นตอนการทำงานประกอบด้วยส่วนของ Budgets โดยสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ เป็น 3 ส่วนหลัก  ได้แก่ Books 2017 (การจัดซื้อหนังสือ), Database (ฐานข้อมูล), Journal (วารสาร)  ดังรูป

รูปภาพที่ 1. แสดงส่วนของงบประมาณ

บทความนี้จะขออธิบายในส่วนของ Books 2017 ที่จัดสรรงบประมาณให้กับคณะต่างๆ ที่มีอยู่ 14 คณะแยกเป็นหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ ดังรูป

Read the rest of this entry »

หนังสือดีเด่น ประจำปี 2560
เม.ย. 2nd, 2017 by supaporn

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศหนังสือดีเด่น ประจำปี 2560 ตามแต่ละกลุ่ม ได้แก่ สารคดี  นวนิยาย กวีนิพนธ์  รวมเรื่องสั้น หนังสือเด็กเล็ก หนังสือสวยงาม ซึ่งมีหนังสือที่น่าสนใจมากมายทีเดียว ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว กำลังมีอยู่แล้วหลายเรื่อง และกำลังจัดหาเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อผู้ใช้บริการของเราค่ะ

หนังสือดีเด่น

หนังสือดีเด่น

ติดตามรายชื่อได้ที่ รายชื่อหนังสือดีเด่นประจำปี 2560 และติดตามรายชื่อหนังสือดีเด่นในปีก่อนๆ ได้ที่ http://www.lib.obec.go.th/portal/node/5

รายการอ้างอิง
สพฐ. ประกาศผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2560.  สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/742052

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. รายชื่อหนังสือดีเด่น. สืบค้นจาก http://www.lib.obec.go.th/portal/node/5

ศึกษาดูงานห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มี.ค. 11th, 2017 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว  กับห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ 2560 รวมระยะเวลา 1 วัน เพื่อเป็นการเติมอาหารสมอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเป็นหน่วยงานที่ผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว และกำลังเข้าสู่การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว  Read the rest of this entry »

การจัดซื้อหนังสือ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 4th, 2016 by ratchanee

12674834_722882964513330_1543121936_o

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจอย่างหนึ่งในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า วิจัย ของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร  ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ นั้น จะหมายรวมถึง การจัดซื้อ และการได้รับหนังสือเป็นอภินันทนาการ หรือได้รับบริจาค หรือจากการขอรับหนังสือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างห้องสมุด หรือหน่วยงานอื่นๆ สำหรับในส่วนการจัดซื้อหนังสือนั้น มีวิธีการจัดซื้อ 3 วิธี คือ

  1. ร้านค้า/สำนักพิมพ์ โดยร้านค้า หรือสำนักพิมพ์จะนำหนังสือ หรือ Catalog หนังสือมาเสนอที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อคัดเลือก
  2. อาจารย์พิจารณาคัดเลือกหนังสือ ที่ร้านค้า/หรือสำนักพิมพ์ ด้วยตนเอง
  3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด โดยติดต่อกับทางร้านค้า/สำนักพิมพ์มาออกร้าน และเชิญอาจารย์ บุคลากรมาพิจารณาคัดเลือกเพื่อเสนอซื้อต่อไป

Read the rest of this entry »

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว เยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ศูนย์บรรณสารฯ
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.30 น. อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว จำนวน 5 คน เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ห้องสมุดการแพทย์แผนจีน ห้องทรงอักษร หอเอกสาร ดร. อุเทน  เตชะไพบูลย์ ในการนี้ บรรณารักษ์ภาษาจีนให้การต้อนรับร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ระหว่างฟังการบรรยาย

ระหว่างฟังการบรรยาย

20160202-Visit4

ลงนามในสมุดเยี่ยม

华侨崇圣大学图书馆 (ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

华侨崇圣大学的创办人是泰国著名侨领,有意创办这所有着中国文化方面特征的大学,并致力于让学校成为领导泰国汉语言文学、商务汉语、中医学以及中国文化等方面的大学和中国学数据库集聚之地。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีเอกลักษณ์ด้านจีนแห่งนี้ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำด้านภาษาจีน ธุรกิจจีน การแพทย์แผนจีน ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านจีนศึกษาทุกมิติ

华侨崇圣大学华文图书馆位于学校图书馆5楼。于1994年(佛历2537)建立,馆藏有众多媒体资源、期刊、当代华文报纸(共5家报社:京华日报、世界日报、新中源报、星暹日报、中华日报)和关于汉语教材、人文社会、中国文化、历史等等书籍,在教学方面,不仅为本校师生师提供借阅,还可以为各国的学生、研究者提供服务。多年以来,各种社会组织、社团集团、政府单位以及私人珍藏的珍贵书籍源源不断的捐赠至本校成为本馆藏书,使得华侨崇圣大学华文图书馆成为了泰国最大的华文图书馆。

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการที่ชั้น 5 อาคารบรรณสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ประกอบด้วยทรัพยากรสารสนเทศในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ (จำนวน 5 ชื่อเรื่อง ได้แก่ เกียฮั้ว จีนสากล ซิงจงเอี๋ยน ซินเสียนเยอะเป้า และตงฮั้ว) และตำราที่เกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านภาษาจีน ตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมจีน ให้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน ไม่เฉพาะแต่นักศึกษา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ห้องสมุดภาษาจีนแห่งนี้ ยังได้ให้บริการนักศึกษา นักวิจัย จากต่างประเทศอีกด้วย เพียงการสืบค้นจากระบบฐานข้อมูลที่สืบค้นด้านหนังสือจีนในประเทศไทย ด้วยการพยายามจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และการได้รับบริจาคหนังสืออันทรงคุณค่าจากบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทำให้ห้องสมุดจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นห้องสมุดภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

华侨崇圣大学华文图书馆的镇馆之宝是一套由台湾商务印书馆出版发行的影印版《文渊阁四库全书》,全泰国仅此一套。《四库全书》是在乾隆皇帝的主持下,由纪昀等360多位高官、学者编撰,2800多人抄写,耗时十三年编成的丛书,分经、史、子、集四部,故名四库,被称为19世纪最伟大的文学作品。

นอกจากนี้ที่ห้องสมุดภาษาจีนมีหนังสือที่มีคุณค่าชุด “ซื่อคู่ฉวนซู” ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย (Si Ku Quan Shu) ซึ่งเรียบเรียงโดยบัณฑิตแห่งสำนักหันหลินกว่า 2800 คน ในสมัยจักรพรรดิเฉียงหลง โดยใช้เวลาเรียบเรียง 10 ปี (ค.ศ. 1793) “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นตำราที่ประมวลวิชาความรู้อันล้ำลึกไว้ทุกประเภท หนังสือชุดนี้ได้มีผู้กล่าวไว้ว่าเป็นตำราที่ยิ่งใหญ่ในด้านวรรณคดี ในศตวรรษที่ 18

中文报纸数据库 (ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

自2008年9月29号始,华侨崇圣大学图书馆与泰国国家图书馆合作协办泰国百年中文报纸电子版制作项目。把自1917年起在泰国出版发行的所有中文日刊、两日刊、星期刊等中文报纸制作成为电子文档并上传至数据库,以维护和保存这些珍贵文献,并使得这些珍藏得以展现在世人面前, 供人们研究学习。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีความร่วมมือกับหอสมุดแห่งชาติ ในการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล Thailand Digital Chinese Newspaper (TDCN) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง

若有兴趣使用中文报纸数据库,请联系华侨崇圣大学图书馆。

ท่านที่สนใจใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน

中文报纸数据库

การอบรมการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect และ Search Talk
ม.ค. 29th, 2016 by supaporn

วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 9.00-11.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดการอบรมการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect ให้แก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 149 คน ณ ห้อง 4-207 อาคารโภชนาการ

ก่อนนำเข้าการอบรมฐานข้อมูล ScienceDirect วิทยากรจากศูนย์บรรณสารฯ ได้อธิบายสารสนเทศต่างๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์ใหม่ของศูนย์บรรณสารฯ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th เพื่อเป็นการแนะนำแหล่งสารสนเทศต่างๆ เครื่องมือ และช่องทางการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย รวมทั้งฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับเป็นสมาชิก เช่น ScienceDirect ซึ่งได้อธิบายการใช้งานอย่างละเอียด และการนำภาพ สมการ จากฐานข้อมูลไปใช้ประกอบในการทำรายงานต่อไป รวมทั้งการอ้างอิงอย่างถูกต้อง เนื่องจากนักศึกษาพยาบาล เป็นผู้ใช้ ScienceDirect ในการเรียนอยู่เสมอ การเข้าใช้ฐานข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่คุ้นเคย ทีมงานวิทยากร จึงได้เตรียมการฝึกปฏิบัติการ “Search Talk” เพื่อให้นัักศึกษาพยาบาล ได้ฝึกฝนการคิดคำค้น กลวิธีในการสืบค้น จากโจทย์ที่เตรียมไว้ให้จำนวน 8 ข้อ และเพื่อจะได้นำคำค้น กลวิธีในการสืบค้น มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์ในการสืบค้น ประกอบการทำรายงาน การค้นคว้าต่อไป Read the rest of this entry »

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ
ม.ค. 27th, 2016 by supaporn

วันที่ 27 มกราคม 2559 เวลา เวลา 9.30-11.30 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมสิ่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาโลจิสติกส์ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาดและสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ รวม 90 คน และเวลา 13.30-15.30 น. ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจจีน สาขาการเงิน และสาขาการตลาด รวม 54 คน โดยแนะนำการสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับจากต่างประเทศ การใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ การใช้ฐานข้อมูลวิชาการ รวมทั้งแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารฯ นำมาเผยแพร่ไว้ที่หน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารฯ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

ในการอบรมครั้งนี้ มีการเน้นในเรื่องการเขียนรายการอ้างอิงอย่างถูกต้อง เนื่องจากจะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ และถือว่าไม่จริยธรรมในทางวิชาการ และในปัจจุบันสามารถใช้โปรแกรม Plagiarism Check‎er ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน การเขียนรายการอ้างอิง ให้มีการสอบถามอาจารย์ที่มอบหมายว่าจะให้ใช้หลักเกณฑ์หรือรูปแบบใด ซึ่งที่หน้าเว็บของศูนย์บรรณสารฯ ได้นำข้อมูล การอ้างอิงตามหลักการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระของมหาวิทยาลัย ข้อมูลการเขียนการอ้างอิงรูปแบบต่างๆ เช่น Citation Styles (http://www.plagiarism.org/citing-sources/citation-styles) A Research Guide for Students (http://www.aresearchguide.com/) และ การอ้างอิงและการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ตามแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 (แปลและเรียบเรียง โดย นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์ สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 9.30-11.30 น.  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ จำนวน 28 คน และเวลา 13.30-15.30 น. นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชั้นปีที่3 จำนวน 52 คน และคณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาด จำนวน 87 คน ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร

วิทยากรบรรยาย การส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ

วิทยากรบรรยาย การส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ

กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดผ่านระบบฐานข้อมูลห้องสมุด ตามสาขาวิชาของนักศึกษาแล้ว ยังได้มีการเน้นเรื่องการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect โดยแนะนำวิธีการสืบค้น การจำกัดการสืบค้น การดูผลการสืบค้น การดาวน์โหลดข้อมูล รวมทั้งการดึงข้อมูลในบทความมาใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น รูปภาพ สูตรสมการ เป็นต้น และการแนะนำการใช้เครื่องมือในการดึงข้อมูลทางรายการบรรณานุกรมของการอ้างอิงออกมาจากฐานข้อมูลด้วย ทั้งนี้ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลวิชาการเป็นอีก 2 ฐานข้อมูลที่นักศึกษาให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้มีการสาธิตการสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS และฐานข้อมูลงานวิจัย TNRR และได้มีการเน้นในการค้นหาวิทยานิพนธ์ของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจากรายการวิทยานิพนธ์ทั้งหมดที่ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการที่หน้าเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th (1) โดยรวบรวมไว้ในรูปแบบของเอ็กเซล (2) และศูนย์บรรณสารฯ ได้อำนวยความสะดวกให้คลิกรายการวิทยานิพนธ์ที่้ต้องการและเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS ได้ทันที (3) ก็จะสามารถคลิกดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มมาดูได้ทันที

ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์ มฉก. อย่างง่ายๆ

ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์ มฉก. อย่างง่ายๆ

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa