SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Behavior in Prevention of Complications of Diabetic Patients in a Health Promoting Hospital, Bang Phli District, Samutprakan Province

 

ตวงพร กตัญุตานนท จินตนา เทพพันธ สุพรรณี ฉ่ำเย็นอุรา เบญจมาภรณ จันทหงษ สุภาพร บุญอินทร เพ็ญพิสุทธิ์ แหนมเชย รัชฎาพร ทองประดับ และอรณิชา วังคีรี. (2559). พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 15-29.

อ่านบทความฉบับจริง

 

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ (Care for elderly, disabled, terminal-illness in primary care)
มี.ค. 27th, 2016 by sirinun

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ

ผู้สูงอายุในประเทศไทย มีเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายเน้นการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มหลักของประเทศไทยได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึงพิง และกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น จำเป็นที่ต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ด้วยการรักษาป้องกันโรค และทำกายภาพบำบัดและกายอุปกรณ์มาช่วยเสริมสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่องถูกวิธี หมวดหมู่ WT100 ก451 2558

รายการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน. (2558). การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ (Care for elderly, disabled, terminal-illness in primary care). สงขลา : ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประสบการณ์การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางในมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ประสบการณ์การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางในมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว

บทคัดย่อ:

การดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง (Family-centered care) เป็นแนวคิดหนึ่งของการบริการสุขภาพที่ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทครอบครัวต่อสุขภาพของสมาชิก และเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดูแลสุขภาพของผู้บริการอย่างต่อเนื่อง การศึกษาและการนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการบริการสุขภาพในประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตามมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว โดยศึกษาว่าครอบครัวมีบทบาทและมีปัญหาในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยอย่างไร ผู้ป่วยและครอบครัวต้องการและคาดหวังการช่วยเหลือสนับสนุนหรือการบริการจากบุคลากรทางด้านสุขภาพอย่างไร วิธีการวิจัยที่ใช้ในการศึกษา คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน และต้องมาโรงพยาบาลตามแพทย์นับเป็นระยะๆ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 7 ราย และสมาชิกของครอบครัวที่มีบทบาทหลักในการดูแลผู้ป่วย ตลอดระยะของการเจ็บป่วย จำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าครอบครัวเป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพของบุคคล บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ การช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลผู้ป่วย การประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การตัดสินใจจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย การดูแลให้ผู้ป่วยปลอดภัย การจัดการให้ผูป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย ปัญหาของครอบครัวในการให้การดูแลผู้ป่วย ได้แก่ การได้รับข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา และการดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ ขาดการมีส่วนร่วมในการักษาพยาบาล มีภาวะตึงเครียดจากการให้การดูแลผู้ป่วย และประสบปัญหาหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม สิ่งที่ครอบครัวคาดหวังจากบุคลากรสุขภาพ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาล การมีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาพยาบาล การสอนคำแนะนำ คำปรึกษาและการช่วยเหลือสนับสนุนในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ผลการวิจัยได้สนับสนุนแนวคิดการดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ได้สะท้อนกระบวนทัศน์ในการให้บริการสุขภาพของบุคลากรทางด้านสุขภาพ และได้ให้ข้อเสนอแนะบางประการต่อการบริกาสุขภาพ การพัฒนาการบริการสุขภาพโดยใช้แนวคิดการดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศุนย์กลาง ควรมีการประเมินทัศนะของบุคลากรสุขภาพและผู้บริการต่อองค์ประกอบต่างๆ ของแนวคิดนี้ ตลอดจนควรมีการทดสอบประสิทธิภาพของการบริการสุขภาพที่พัฒนาขึ้นต่อไป

รัชนี นามจันทรา นภาพร แก้วนิมิตชัย อรพินท์ สีขาว พรศิริ พันธสี ลลิตา ตรีวิทยาภูมิ สิรินดา ศรีจงใจ และ ศิริพจน์ มะโนดี.  (2548). ประสบการณ์การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางในมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 14-28.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa