การพยาบาลพื้นฐาน : หลักการและแนวคิด
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหลักการและแนวคิดในการพยาบาลที่เน้นการดูแลผู้ป่วยขั้นพื้นฐาน อย่างครอบคลุมมิติร่างกาย และจิตวิญญาณ โดยใช้กระบวนการพยาบาลมาเป็นกรอบแนวคิด เพื่อเชื่อมต่อความรู้โดยยึดหลักวิทยาศาสตร์ในการดูแล ยังสามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าและอ้างอิงในการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลพื้นฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต และบุคลากรทีมสาธารณสุข หมวดหมู่ WY100 ก492 2558
รายการอ้างอิง
นิตยา สมบัติแก้ว และเดือนทิพย์ เขษมโอภาส. (2558). การพยาบาลพื้นฐาน : หลักการและแนวคิด. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย.
การรับรู้ความเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย
บทคัดย่อ:
ความเครียดเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ดังนั้น การแสวงหาความรู้ในเรื่องของความเครียดเป็นสิ่งสำคัญ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเครียดในครั้งนี้เป็นการศึกษาการวิจัยชนิดพรรณนาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวนทั้งสิ้น 9 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหาข้อมูล (content analysis) ผลการวิจัยสรุปออกมาได้ 4 ประเด็น คือ ความหมายของความเครียด ผลของความเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการกับความเครียดในเรื่องของความหมายของความเครียด ผู้ให้ข้อมูลอธิบายว่าความเครียด คือ ความไม่สบายใจ และการไม่มีความสุข ซึ่งกดดันทำให้ขาดสติในการทำงาน และก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล ท้อแท้ สิ้นหวัง และเบื่อที่จะทำงานส่วนผลของความเครียดนั้น ผู้ให้ข้อมูลอธิบายผลของความเครียดออกเป็น 4 ด้าน ด้วยกัน คือ บุคคลกิจกรรม และงานที่ได้รับมอบหมาย การเรียนการสอน และความพร้อม ส่วนประเด็นสุดท้ายนั้นนักศึกษาพยาบาลผู้ให้ข้อมูลมีการจัดการความเครียด 2 ลักษณะ คือ การจัดการกับความเครียดโดยพึ่งตนเอง และการจัดการความเครียดโดยพึ่งพาผู้อื่น การวิจัยในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอนและการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพแก่นักศึกษาพยาบาลต่อไป Read the rest of this entry »
การศึกษารูปแบบการสอนกระบวนการพยาบาลที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
A Study of the Methods of Nursing Process Teaching Through Critical Thinking Procedures and Assessment of Decision – Making Ability of HCU Nursing Students
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบวนการพยาบาลระหว่างนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนแบบปกติและการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่กำลังศึกษาวิชากระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 66 คน ซึ่งได้จากการแบ่งนักศึกษาในชั้นเรียนตามผลการเรียน แล้วสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากแต่ละกลุ่มผลการเรียน เป็นกลุ่มควบคุม 33 คน กลุ่มทดลอง 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการสอนกระบวนการพยาบาลที่เป็นการสอนแบบปกติและแผนการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แบบประเมินความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบประเมินความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกระบวนการพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-tes) ผลการศึกษาพบว่า Read the rest of this entry »
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Student and Teaching Factors in Correlation with Happy Learning in Fundamentals of Nursing, Practicum of Nursing Students, Faculty of Nursing, Hauchiew Chalermprakiet University)
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษา และปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน 2) ศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนต่อความสุขของนักศึกษาในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 127 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน การรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ และความสุขในการเรียนรู้ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.91, 0.93 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way ANOVA) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน และความสุขในการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ส่วนการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง (–X ± SD = 4.24±±0.40, 4.12±±0.45 และ 3.57±±0.43 ตามลำดับ) นักศึกษาที่สอนโดยอาจารย์ประจำ มีคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนมากกว่านักศึกษาที่สอนโดยพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.00, p=.024) การรับรู้ความสามารถของนักศึกษาในการเรียนรู้ และคะแนนความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน เมื่อจำแนกตามผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำและพยาบาลพี่เลี้ยง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนและการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.62, p<.001 เท่ากัน) รวมทั้งการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ซึ่งเป็นปัจจัยด้านนักศึกษาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานซึ่งเป็นปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนสามารถร่วมกันทำนายความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานได้ร้อยละ 48.60 (R2 = 0.486 p<.001) The purposes of this descriptive research were to study the correlation between students and teaching factors and happy learning in the Fundamentals of Nursing a practicum of nursing students in the Faculty of Nursing, Hauchiew Chalermprakiet University as well as to study the prediction power of these factors on happy learning. The samples consisted of 127 second year students of academic year in 2011. The satisfaction of teaching, learning ability perception and happy learning were assessed by self-report questionnaire which statistically has good content validity and reliability (Conbrach’s alpha = 0.91, 0.93 and 0.94, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, independent t-test, one way ANOVA, Pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression. The results showed that the student’s satisfaction with teaching and the joy of learning were at a high level while student’s learning ability perception was at moderate level (–X ± SD = 4.24±±0.40, 4.12±±0.45 and 3.57±±0.43 respectively). The level of satisfaction in teaching of students who were taught by instructors had higher rating than students taught by Nursing Clinical Instructors (statistically significant at t=2.00, p=.024). As well as, the students’ learning ability perception and happy learning do not have statistically significant difference. In addition, the students’ satisfaction in teaching and the learning ability perception positively correlated with happy learning (statistically significant at r=0.62, p<.001 both). The happy learning was predicted by students’ satisfaction in teaching and learning ability perception was 48.60 (R2 = 0.486, p<.001)
นพนัฐ จำปาเทศ วิญญ์ทัญญู บุญทัน และ พรศิริ พันธสี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 1-14.
อ่านบทความฉบับเต็ม