SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Factors Affecting Emotional Quotient of Students in Health Science Curriculums at Huachiew Chalermprakiet University

 

นิลาวรรณ งามขำ ปทุมมาศ กั้นหยั่นทอง อติญญา สุสิวงศ กนกวรรณ จิตระบูรณ พิมพณัฐชยา นุชสิริ นิตยา ชัยชนะ พรอารดา อยูรักษ อาภรณ บุญฉิม และศุภักษณา สรรพลุน. (2559).
ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20(39), 45-56.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การรับรู้ความเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

การรับรู้ความเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย

บทคัดย่อ:

ความเครียดเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ดังนั้น การแสวงหาความรู้ในเรื่องของความเครียดเป็นสิ่งสำคัญ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเครียดในครั้งนี้เป็นการศึกษาการวิจัยชนิดพรรณนาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวนทั้งสิ้น 9 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหาข้อมูล (content analysis) ผลการวิจัยสรุปออกมาได้ 4 ประเด็น คือ ความหมายของความเครียด ผลของความเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการกับความเครียดในเรื่องของความหมายของความเครียด ผู้ให้ข้อมูลอธิบายว่าความเครียด คือ ความไม่สบายใจ และการไม่มีความสุข ซึ่งกดดันทำให้ขาดสติในการทำงาน และก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล ท้อแท้ สิ้นหวัง และเบื่อที่จะทำงานส่วนผลของความเครียดนั้น ผู้ให้ข้อมูลอธิบายผลของความเครียดออกเป็น 4 ด้าน ด้วยกัน คือ บุคคลกิจกรรม และงานที่ได้รับมอบหมาย การเรียนการสอน และความพร้อม ส่วนประเด็นสุดท้ายนั้นนักศึกษาพยาบาลผู้ให้ข้อมูลมีการจัดการความเครียด 2 ลักษณะ คือ การจัดการกับความเครียดโดยพึ่งตนเอง และการจัดการความเครียดโดยพึ่งพาผู้อื่น การวิจัยในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอนและการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพแก่นักศึกษาพยาบาลต่อไป Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa