SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การนำไฟล์งานวิจัยขึ้นระบบ WMS
ธ.ค. 6th, 2021 by supaporn

ด้วยหน่วยงานที่ส่งงานวิจัยมาเพื่อเก็บและให้บริการในศูนย์บรรณสารสนเทศ มีนโยบายในการส่งแต่ไฟล์งานวิจัย และไม่ส่งตัวเล่มอีกต่อไป ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงต้องวางแนวปฏิบัติในการนำไฟล์งานวิจัยขึ้นระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS เพื่อให้สามารถสืบค้นและให้บริการได้ผ่านการเข้าถึงงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มจากระบบ ThaiLIS ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศนำไฟล์ขึ้นไว้ระบบดังกล่าว ผู้ใช้บริการสามารถอ่านงานวิจัยได้ แม้ว่าไม่มีตัวเล่มให้บริการในศูนย์บรรณสารสนเทศแล้ว

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดทำคู่มือ การนำไฟล์งานวิจัยขึ้นระบบ WMS นี้ขึ้น เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานให้กับบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ต่อไป

Collection งานวิจัย มฉก.
ก.ย. 24th, 2021 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการจัดเก็บงานวิจัยไว้เป็น Collection โดยเฉพาะ ซึ่งรวมงานวิจัยของหน่วยงานทั่วไป และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากมีการปะปนงานวิจัยของหน่วยงานทั่วไป จัดเก็บที่ชั้นหนังสือทั่วไป จึงได้มีการพิจารณาทบทวนการจัดเก็บงานวิจัยใหม่ โดยรวมถึงการลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ เนื่องจากไม่สามารถทราบจำนวนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งหมด รวมทั้งการลงข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ และการจัดทำงานวิจัยเป็นดิจิทัลเพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย

Pain Point: ไม่สามารถรวบรวมงานวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ตามจำนวนงานวิจัยที่มี การจัดเก็บตัวเล่มปะปนกับงานวิจัยทั่วไป

การวิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนวทางการแก้ปัญหา:

 

สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา 
1. การจัดเก็บตัวเล่มงานวิจัยปะปนกัน มีงานวิจัยของหน่วยงานทั่วไปปะปนกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ 1. สำรวจงานวิจัยของหน่วยงานอื่นที่ปะปนกัน แยกออกไว้ที่ชั้นหนังสือทั่วไป และมีการกำหนดสีเป็นสัญลักษณ์เพื่อให้แยกกันระหว่างงานวิจัยของหน่วยงานทั่วไป (มี Location เป็นชั้น 3) และงานของวิจัยของมหาวิทยาลัย (มี Location เป็น งานวิจัย ชั้น 3)  โดยไม่มีการกำหนดหมวดหมู่หรือรหัสใหม่ ยังคงกำหนดเป็นหมวดหมู่ตามเดิม เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เวลาในการ Re-catatloging แต่ใช้แรกซีน สี เป็นตัวแยกให้เห็นความแตกต่าง เพื่อสะดวกในการเก็บตัวเล่มขึ้นชั้น
2. การไม่สามารถค้นจำนวนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ทั้งหมด 2. พิจารณาทบทวนการลงรายการทางบรรณานุกรม และกำหนดให้เพิ่ม เขตข้อมูล 610 เป็น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตามด้วยหัวเรื่องย่อย วิจัย
3. การไม่สามารถค้นจำนวนงานวิจัยของแต่ละคณะ 3. พิจารณาทบทวนการลงรายการทางบรรณานุกรมและกำหนดให้เพิ่ม เขตข้อมูล 710 เป็น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตามด้วยคณะวิชา
4. การไม่มีแนวทางการลงรายการทางบรรณานุกรมเป็นแนวทางเดียวกัน 4. พิจารณาทบทวนการลงรายการทางบรรณานุกรมแต่ละเขตข้อมูล และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต้องลง จัดทำคู่มือการลงรายการทางบรรณานุกรมของงานวิจัยของมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ ได้มีการพิจารณาทบทวนการจัดทำคู่มือการลงรายการทางบรรณานุกรมงานวิจัยของมหาวิทยาลัย และสามารถใช้กับงานวิจัยของหน่วยงานอื่นๆ ดังนี้  Read the rest of this entry »

กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร (นำเสนอกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) เกิดจากหน่วยงานไม่สามารถเก็บข้อมูลงานวิจัยของหน่วยงานได้ บุคลากรไม่ให้ความสำคัญของการวิจัย ขาดการมีส่วนร่วมขององค์กร งานวิจัยไม่สอดคล้องกับพันธกิจ เมื่อผ่านกระบวน PDCA โดยมีการพัฒนา ระบบ ฐานข้อมูล และบุคลากรแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้เห็นแผนที่การวิจัย (Research Road Map) ของหน่วยงานเกิดขึ้น

ปัญหา กระบวนการและผลลัพธ์ของงานวิจัย

Read the rest of this entry »

การใช้ Mendeley ช่วยทำงานวิจัย
มี.ค. 23rd, 2018 by pailin

Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือออนไลน์จาก ELSEVIER ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยในการทำวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัย โดยเปิดให้ทุกท่านใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

1. การสมัครสมาชิก 2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย 3. การสืบค้นเอกสาร

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa