SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Circulation Dashboard ง่าย ๆ ใช้ให้เป็น ทำเป็น ใช้ข้อมูลเป็น
มี.ค. 27th, 2020 by ปัญญา วงศ์จันทร์

การแสดงข้อมูล สถิติในรูปแบบของตัวเลข กราฟ เพื่อสรุปข้อมูลต่าง ๆ ในภาพรวม (Dash Board) เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่ผู้เขียนกำลังศึกษาฟังก์ชั่นงานในระบบ  WMS (WorldShare Management Services) โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Analytics Reports เพื่อจะได้ทำสถิติการยืม-คืน  และพบว่า มีฟังก์ชั่น Circulation Reports  ที่สามารถทำ Circulation Dashboard ได้

รูปที่ 1 แสดงสถิติการยืมในรูปของ Dash Board

จากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ายอดการจองหนังสือน้อย เนื่องจากขณะที่เขียนเป็นช่วงมหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอน ช่วง COVID-19  ห้องสมุดก็จะสามารถเห็นข้อมูลเหล่านี้และวางแผนกันต่อไปได้
Read the rest of this entry »

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม ( UX Design Using Library Analytics)
มี.ค. 1st, 2019 by matupode

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิลได้บรรยายถึงที่มาของ “การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม
ในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 
สรุปความได้ดังนี้

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม เกิดจากความต้องการใช้บริการของนักศึกษาที่เปลี่ยนไป  ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และงบประมาณที่หอสมุดมีอย่างจำกัด ทำให้ต้องเริ่มศึกษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้บริการในด้านการใช้ชีวิต การใช้เครื่องมือต่างๆ และพบคำว่า “UBIQUITOUS” ซึ่งหมายถึง การให้บริการทุกที่ ทุกเวลา ทุกเครื่องมือ ทุกช่องทาง จึงได้นำคำดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการให้บริการของสำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของหอสมุดที่ว่า  “To be one of the best provider in ubiquitous learning and researching in Asia”

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดแนวทางในการพัฒนางานบริการออกเป็น 5 ระดับ โดยอ้างอิงทฤษฎีกรอบแนวความคิดจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ประกอบด้วย

1. EMPATHIZE

2. DEFINE

3. IDEATE

4. PROTOTYPE

5. TEST

 

จากกรอบแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาจัดทำแบบสัมภาษณ์  กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับสัมภาษณ์ สรุปผล และระดมความคิดเพื่อจัดทำรูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้บริการ ดังรายละเอียด ดังนี้

Read the rest of this entry »

แนะนำศูนย์บรรณสารสนเทศจากกิจกรรม Be My Guest
เม.ย. 15th, 2017 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรม Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ขึ้นเมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม 2560 เป็นเวลา 3 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานบริการต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศมีให้บริการ
  2. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรเข้าใช้บริการศูนย์บรรณสารสนเทศตรงตามความต้องการ
  3. เพื่อสร้างความสัมพันธฺ์ที่ดีระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการของศูนยฺ์บรรณสารสนเทศ

คำว่า Be My Guest หมายถึง คุณ คือ แขกของเรา แต่ในความหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ คุณ คือ คนพิเศษของศูนย์บรรณสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร คือ ผู้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศต้องให้บริการด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยบริการ พร้อมที่จะให้ข้อมูล ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้สารสนเทศที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดการอ่านและการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า Read the rest of this entry »

หลังบ้าน หน้าบ้านของการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน แต่ต้องพิจารณาก่อนว่าจะเก็บอะไรให้เป็นดิจิทัล จัดเก็บอย่างไร เข้าถึงและเผยแพร่ได้ทางไหน อย่างไร

3 ขั้นตอน ได้แก่ การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) การบริหารจัดการข้อมูล (Information Management) และ การจัดแสดงการเผยแพร่การให้บริการ (Information Access)

กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/files/2016/seminar-2016Sep15-16/20160916-DigitalPreservation-Rachabadin.pdf

รายการอ้างอิง

ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ. (2559). การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล : ตัวช่วยในการอนุรักษ์. เอกสารประกอบการบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน วันที่ 16 กันยายน 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa