SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Co-working Space ชั้น 6 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มฉก.
ธ.ค. 12th, 2020 by supaporn

บทบาทของห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นสำคัญ รวมทั้งการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่ทำให้ไลฟ์สไตล์การอ่านหนังสือ และการใช้ห้องสมุดเปลี่ยนไป

การใช้หนังสือในห้องสมุดลดลง เนื่องจากมีรูปแบบที่เป็นดิจิทัลเข้ามาแทนที่ ทำให้เข้าถึงได้ทางออนไลน์ บทบาทในการเน้นการยืมหนังสือเล่มจึงลดน้อยลง ลักษณะทางกายภาพเริ่มไม่ตอบสนองกับการใช้บริการในปัจจุบัน  ห้องสมุดต้องปรับบทบาทเพื่อเสริมการเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นแหล่งเสริมทักษะการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้ห้องสมุดที่อยู่ในยุคที่เกิดมาพร้อมกับสื่อดิจิทัล

ห้องสมุดมีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ (Space Utilization) เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานกลุ่ม การศึกษาค้นคว้าร่วมกัน  เพื่อมุ่งส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)  ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การทำงานเป็นทีม (Collaboration ) รวมทั้งการสื่อสาร (Communication) และจากคำกล่าวของ จอห์น ซีลีย์ บราวน์, 2000 อ้างถึงใน วัฒนชัย วินิจจะกูล, 2560 น.61 ที่ว่า  “การเรียนรู้ทุกประการเริ่มต้นที่การสนทนา”  ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ปรับพื้นที่เพื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

Read the rest of this entry »

การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21
ม.ค. 13th, 2020 by supaporn

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 อาศรมสยาม-จีนวิทยา จัดบรรยายหัวข้อ การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 โดย ดร. พิมพร วัฒนากมลกุล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ณ ห้อง 4-0806 ชั้น 8 อาคาร CP All Academy สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมีหัวข้อในการบรรยาย 4 หัวข้อ ได้แก่

  1. แหล่งสืบค้นข้อมูล และการใช้ Application ยอดฮิตในจีน
  2. แหล่งการสืบค้นทางงานวิจัยและวิชาการของจีน
  3. แหล่งข้อมูลสำหรับสื่อการเรียนการสอนภาษาจีน
  4. สรุปประโยชน์การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีน

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การเรียนรู้และนวัตกรรม ผ่านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อชีวิตและการทำงาน ดังนั้นในการสืบค้นสารสนเทศ จะต้องทราบว่า ต้องการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา และต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา

การสืบค้นสารสนเทศ

เราจึงควรต้องเรียนรู้แหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ และวิธีการค้นหาแหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่้ต้องการค้นหา วิทยากรได้แนะนำ Read the rest of this entry »

พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design)
ธ.ค. 3rd, 2017 by supaporn

จากการเข้าร่วมการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design) ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ขอนำเสนอข้อสรุปบางประเด็น ดังนี้

เนื่องจากการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ในการสรรค์สร้างอนาคตของห้องสมุด หัวข้อในครั้งนี้ จึงเน้นในเรื่องเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดพื้นที่เพื่อรองรับหรือสนับสนุนการเรียนรู้ จากความรู้ ประสบการณ์ มุมมองของวิทยากร ทั้งจากวงการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา วงการห้องสมุด ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้

นวัตกรรมการเรียนรู้…สู่การศึกษาตลอดชีวิต   โดย รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอคำว่า Learning Innovation for Life Long Education หรือ LiLLE ในบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากปรัชญาการศึกษาเปลี่ยนไป กระบวนการเรียนรู้จึงเปลี่ยนไป ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น host ที่ engage ให้ผู้เรียนเข้ามาแลกเปลี่ยน กล้าถาม กระตุ้นให้คิดเรื่องอื่นๆ นอกจากตัวเอง มหาวิทยาลัยจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก
Read the rest of this entry »

คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ก.ค. 5th, 2016 by sirinun

คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในโลกยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีการนำเอาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้สืบค้นเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเหมือนคลังความรู้สำคัญและมีบทบาทในการบริหารงานพื้นที่ห้องสมุดให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้บริการที่หลากหลาย ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีวิสัยทัศน์ในการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุด รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานต้องปรับตัวเองให้ทันกับความคิดในโลกยุคดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้ในอนาคต หมวดหมู่ Z665 ค431 2558

รายการอ้างอิง

วัฒนชัย วินิจจะกูล. (บรรณาธิการ). (2558). คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (องค์การมหาชน).

นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Library Innovation and Learning in the 21st Century)
เม.ย. 6th, 2016 by supaporn

จากการเข้าร่วมฟังบรรยายในงาน TK Forum 2016 ซึ่งในปีนี้จัดในหัวข้อเรื่อง นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  (Library Innovation and Learning in the 21st Century)  เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ณ ห้องประชุม 3,4 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นั้นประกอบด้วยการบรรยาย 3 เรื่อง ได้แก่

  1. Managing Innovative Personalities for Successful Library Innovation โดย คิมเบอร์ลี่ แมทธิวส์ (Kimberly Matthews) ผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องสมุดประชาชนไมอามี่-เด๊ด สหรัฐอเมริกา
  2. Future City, Future Library: Experiences and Lessons Learned from the Library of Birmingham โดย ไบรอัน แกมเบิลส์ (Brian Gambles) อดีตผู้อำนวยการห้องสมุดเมืองเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร
  3. How to Develop and Promote Innovation in the Public Service: Case of Public Libraries in Singapore โดย เหงียน เลก ชอ (Ngian Lek Choh) ที่ปรึกษาคณะกรรมการห้องสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ (NLB)

สำหรับหัวข้อแรก Managing Innovative Personalities for Successful Library Innovation หรือ การบริหารบุคลิกภาพแห่งนวัตกรรมเพื่อการสร้างนวัตกรรมห้องสมุดที่ประสบความสำเร็จ  นั้น วิทยากรได้เริ่มกล่าวถึงการบริหารนวัตกรรม ขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กร เพราะต้องเป็นผู้กุมบังเหียนคนเก่ง คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คนที่ชอบอยู่เอกเทศ เป็นต้น เข้ามาร่วมสร้างผลงาน เพราะหากบริหารจัดการไม่ดี จะส่งผลในทางตรงข้ามคือ เกิดการหยุดคิด และเปลี่ยนเป็นทำลายล้างมากกว่าสร้างสรรค์ ดังนั้น ผู้นำที่แท้จริงควรมีคุณสมบัติ 10 ประการ ดังนี้ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa