SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย
ก.พ. 27th, 2019 by dussa

ผู้เขียนได้เข้าฟังการบรรยาย เรื่อง บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤตย์  นิ่มสมบุญ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตสรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ การศึกษา และค้นคว้าสารสนเทศอย่างเป็นระบบแล้วนำมาสังเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง โดยต้องเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือได้ มีมาตรฐาน โดยการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ที่มีการตกลงกันไว้ก่อน มีการกำหนดวิธีการสืบค้นที่แม่นยำ เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ ดังนั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จึงมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. กำหนดปัญหา
  2. รวบรวมข้อมูล
  3. ประเมินคุณภาพ
  4. การสังเคราะห์
  5. การแปลผล

บรรณารักษ์มีส่วนในการช่วยนักวิจัยในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ บรรณารักษ์มีหลายบทบาท ตั้งแต่การเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย ในฐานะเป็นที่ปรึกษา ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา

Database Selection การพิจารณาคัดเลือกฐานข้อมูลในการสืบค้น เช่น

  1. EBSCOhost
  2. Proquest
  3. CiteSeerx
  4. ฐานข้อมูลงานวิจัยไทย (https://www.researchgateway.in.th/)
  5. Google scholar
  6. Books
  7. Journal articles
  8. Google สืบค้นฐานข้อมูลหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

Librarian as co-researcher (บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย)

มีงานวิจัยรองรับว่า การทำงานกับบรรณารักษ์สามารถเพิ่มคุณภาพในการสืบค้น โดยเฉพาะเมื่อบรรณารักษ์มีความรู้เกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพราะบรรณารักษ์เชี่ยวชาญด้านกระบวนการกำหนดคำสำคัญและกำหนดหัวเรื่อง Read the rest of this entry »

หนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย
มิ.ย. 21st, 2017 by ladda

ผู้เขียนได้รับผิดชอบงานหนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย ซึ่งเป็นงานของนักศึกษาปริญญาตรี ไม่ใช่ของอาจารย์ หรือ ปริญญาโท ดังนั้น จึงขออธิบายความเป็นมาให้ทราบที่มาที่ไปของงานชิ้นนี้ ว่าทำไมถึงต้องวิเคราะห์แยกออกมาจากงานวิทยานิพนธ์และภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท และความแตกต่างกับปริญญาตรีของหนังสือสหกิจ โครงงานพิเศษและการวิจัยนี้ มีเนื้อหารายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร มีชื่อว่าอะไรบ้าง การใช้ตัวย่อของการทำหนังสือประเภทนี้ ย่อมาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร  และเพื่อสะดวกในการสืบค้นเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดังนั้นจึงของชี้แจงความหมายของงานแต่ละประเภทดังนี้

1.งานสหกิจศึกษา สหกิจศึกษา (Co-operative Education: Co-op) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการผสมผสาน ระหว่างการเรียนของนักศึกษาในห้องเรียนเข้ากับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรงโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการในฐานะเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว เต็มเวลาเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาซึ่งนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานและการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะของงานอาชีพและทักษะด้านการพัฒนาตนเองเป็นการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการให้นักศึกษาออกไปปฏิบัติงานจริงเต็มเวลา ณ สถานประกอบการ

หลักการและเหตุผล

สหกิจศึกษา เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตอย่างมีระบบโดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือเพื่อนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพที่เป็นความต้องการของสถานประกอบการอันจะส่งผลให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างสถานศึกษากับองค์กรผู้ใช้บัณฑิตทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ตลอดเวลา และสถานประกอบการก็จะได้แรงงานนักศึกษาร่วมงานตลอดปี ดังนั้น นักศึกษาสหกิจศึกษาจึงเปรียบเสมือนผู้แทนที่เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย ที่จะสะท้อนให้เห็นคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัย สู่สาธารณชนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ฉะนั้นเพื่อความสะดวก ในการวิเคราะห์และให้หมวดหมู่ของวิชาสหกิจศึกษา จึงกำหนดให้ใช้อักษรย่อ (สห) แทนการให้หมวดหมู่ และตามด้วยชื่อหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆ เช่น หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต กลุ่มวิชาชีพด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ วิชา CA4056 ตามด้วยชื่อผู้แต่ง และปี พ.ศ.  ส่วนสถานะของหนังสือสหกิจจัดวางอยู่ชั้นหนังสือทั่วไปชั้น 4 ดังนี้ Read the rest of this entry »

เทคนิคและวิธีประพันธ์บทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อการเผยแพร่ความรู้
ก.ค. 24th, 2016 by prapaporn

หัวข้อ “เทคนิคและวิธีประพันธ์บทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อการเผยแพร่ความรู้” เป็นหัวข้อในการสัมมนาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ณ ห้องจัดแสดงดนตรี ชั้น 2 หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

ผอ.สำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน

ผอ.สำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน

วิทยากร คือ ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) บรรยายในหัวข้อเรื่อง “เทคนิคและวิธีประพันธ์บทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อการเผยแพร่ความรู้” ซึ่งสามารถสรุปประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง วิทยากร

ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง วิทยากร

บทความวิชาการ (Journal article/Scholarly) คือ งานเขียนเชิงวิชาการที่นำเสนอความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่ได้จากการทบทวนเอกสารในเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa