SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
“Keep Your Heart Strong … in Digital Era” จงมีหัวใจที่เข้มแข็ง….ในยุคดิจิทัล
ธ.ค. 25th, 2020 by supachok

กิจกรรม เรื่อง “Keep Your Heart Strong … in Digital Era” จงมีหัวใจที่เข้มแข็ง….ในยุคดิจิทัล เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล ซึ่งจัดโดยศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องสื่อประสม ชั้น 2 อาคารบรรณสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมีวิทยากรที่ให้ความกรุณามาบรรยายในหัวข้อนี้ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์  ศิริเจริญ อาจารย์ จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

วิทยากรถ่ายภาพร่วมกับผู้เข้ากิจกรรม

ซึ่งเป็นหนึ่งในที่กิจกรรมที่ส่งเสริมการให้ความรู้ทางวิชาการเพื่อการปรับตัวของผู้คนยุคใหม่ให้ทันโลกในยุคดิจิทัล และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้และนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเพื่อห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ

วิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำไปฝึกปฎิบัติได้จริง  มีการทำ workshop ซึ่งเป็นไปอย่างสนุกสนาน มีกิจกรรม และเกมส์ พร้อมรางวัลมาแจกให้ได้ลุ้นตลอดเวลา เช่น การวาดรูปบุคคลในดวงใจที่ไม่สามารถลืมได้ การร้องเพลงประกวดบนเวทีหรือ Best talent singing contest ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้กล้าแสดงออกต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก และจดจำบทเพลงที่ตัวเองชื่นชอบได้ในเวลาจำกัด และการตอบปัญหาชิงรางวัลกับความรู้รอบตัว Read the rest of this entry »

โรคภัย+ไม่เจ็บ
ก.ค. 13th, 2016 by sirinun

โรคภัย + ไม่เจ็บ

โรคภัย + ไม่เจ็บ

หนังสือ “โรคภัย+ไม่เจ็บ” จะช่วยทำให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทัน 7 โรคฮิต ด้วยหนังสือการ์ตูนแพทย์ที่เข้าใจง่ายๆ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคอ้วน โรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน โรคออฟฟิศซินโดรม โรคไมเกรน และโรคไข้เลือดออก โดยหมอหมึกดุ๋ย ผู้เขียนการ์ตูนเรื่องนี้ ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพที่ดีจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร ภาษาที่เขียนเข้าใจง่ายๆ มีการ์ตูนประกอบในเรื่องด้วยน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง  หมวดหมู่ WB100 ห177ร 2559

รายการอ้างอิง

หมอหมึกดุ๋ย. (2559). โรคภัย+ไม่เจ็บ. กรุงเทพฯ : Her Publishing.

เรื่องสุขภาพสนุกๆ สไตล์หมอแมว
ก.ค. 13th, 2016 by sirinun

เรื่องสุขภาพสนุกๆ สไตล์หมอแมว

เรื่องสุขภาพสนุกๆ สไตล์หมอแมว

สุขภาพเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก หมอแมว มีหมี เป็นหมอคนแรกๆ ใน Social Network ที่คนท่องโลก Internet จะรู้จักเป็นอย่างดี หมอแมวมีเรื่องเล่าสนุกๆ มาเล่าให้ผู้อ่านได้รับรู้เรื่องโรคที่เกิดขึ้นมากมาย โดยใช้สำนวนที่ง่ายทันเหตุการณ์ ว่ามีโรคอะไรที่กำลังฮิตและเป็นกันมากมีข้อสงสัยข้องใจต้องถามหมอแมว ได้โดยติดตามที่จาก facebook , Instagram, Twitter หนังสือเล่มนี้มีสาระสนุกสนาน มีรูปการ์ตูนสนุกประกอบให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินและสนุกสนาน หมวดหมู่ WA100 ห177ร 2559

รายการอ้างอิง

หมอแมว มีหมี. (2559). เรื่องสุขภาพสนุกๆ สไตล์หมอแมว. กรุงเทพฯ : ต้นมะนาว พับลิชชิ่ง.

หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา
ก.ค. 8th, 2016 by sirinun

หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา

หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา

“หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา” เป็นหนังสือที่เขียนโดยนักเทคนิคการแพทย์ที่มีประสบการณ์และความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับสารอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ยาลดความอ้วน อาหารเสริม การฉีดสารสร้างความขาว ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  “หมอแล็บ”ได้เปิดโปงถึงภัยของสารอันตรายเหล่านั้น และยังช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายในการรักษาดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น  หมวดหมู่  WA100 ภ414ห 2559

รายการอ้างอิง

ภาคภูมิ เดชหัสดิน. (2559). หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา.  กรุงเทพฯ : เพชรประกาย.

แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว
พ.ค. 10th, 2016 by sirinun

แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว

แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว

“แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว” เป็นหนังสือที่เขียนโดยนายแพทย์โยะชิโนะริ นะงุโมะ นายแพทย์ชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น บอกเคล็ดลับความอ่อนเยาว์และสุขภาพดี โดยการดูแลรักษาสุขภาพของครอบครัวให้มีร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรค ด้วยการหมั่นออกกำลังกาย และทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนา ทำจิตใจให้ปราศจากความกังวลแล้วยังปล่อยวางความเครียดต่างๆ ให้น้อยลงทำให้มีวัยอ่อนเยาว์คืนสู่วัยหนุ่มสาวลงด้วย  หมวดหมู่ QU145 น366ก 2558

รายการอ้างอิง

นะงุโมะ, โยะชิโนะริ. (2558). แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว (Karada no naka kara kirei ni naru)  (โยซูเกะ, ผู้แปล). พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ, (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : วีเลิร์น.

ครบเครื่องเรื่องสุขภาพ
เม.ย. 27th, 2016 by sirinun

ครบเครื่องเรื่องสุขภาพ

ครบเครื่องเรื่องสุขภาพ

ผิวพรรณที่สวยใส สุขภาพพดี ย่อมเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคุณผู้หญิง รวมทั้งคุณผู้ชายในยุคนี้ก็สนใจดูแลผิวพรรณเช่นกัน  ส่วนหนึ่งมาจากผิวของเรา และวิธีการดูแลผิวที่ถูกวิธี  “ครบเครื่องเรื่องสุขภาพผิว” เล่มนี้ ได้รวบรวมวิธีการดูแลผิวให้มีสุขภาพดีไว้ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ทำให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีอารมณ์ดี และมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิต  หมวดหมู่ หน้า WR100 ค152 2558

รายการอ้างอิง

โกมุท ภัทรเมธี. (บรรณาธิการ). (2558). ครบเครื่องเรื่องสุขภาพผิว. กรุงเทพฯ : อินทรีย์.

 

 

การพยาบาลที่มีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง : แนวโน้มและบทบาทที่ท้าทายของพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัว
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

การพยาบาลที่มีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง : แนวโน้มและบทบาทที่ท้าทายของพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัว

บทคัดย่อ:

ครอบครัวเป็นแหล่งรวมสุขภาพและความเจ็บป่วยของสมาชิกทุกคน เป็นศูนย์กลางของการดูแลช่วยเหลือ บรรเทาให้สมาชิกแต่ละคนสามารถคงบทบาทหน้าที่ของตนเองไว้ได้อย่างต่อเนื่องภายใต้วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม การปฏิบัติตนและสถานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แวดล้อมครอบครัวนั้นไว้ ซึ่งปัญหาและความต้องการทางสุขภาพของแต่ละครอบครัว จะมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาตามพลวัตของครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป ในสภาวการณ์ปัจจุบันสุขภาพของครอบครัวนับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพที่มีผลให้ครอบครัวต้องสนใจดูแลสุขภาพของสมาชิกมากขึ้น รวมทั้งพยาบาลเองต้องปรับบทบาทให้สอดคล้องกับความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของครอบครัวในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพด้วยเช่นกัน กระบวนการพยาบาลเป็นแนวปฏิบัติที่พยาบาลใช้ในการดูแลสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และถือว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นเอกภาพของวิชาชีพ การดูแลสุขภาพที่มีครอบครัวเป็นศูนย์กลางโดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ให้บรรลุเป้าหมายใหม่ที่ต้องการ ซึ่งจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถในการแสดงบทบาทของพยาบาลที่จะทำให้เห็นว่าการปฏิบัตินั้นสอดคล้องและถูกต้องต่อการพัฒนาสุขภาพที่มีครอบครัวเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้บรรลุได้นั้น พยาบาลจะต้องดูแลสุขภาพร่วมกันกับครอบครัวในทุกขั้นตอนตั้งแต่การประเมินภาวะสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล การกำหนดเป้าหมายของการดูแลสุขภาพ การดำเนินวิธีการปฏิบัติพยาบาลที่เป็นไปได้ การกำหนดลำดับความสำคัญในความต้องการของครอบครัว การวางแผนดูแลสุขภาพ การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้และการประเมินผล โดยจะต้องขยายมุมมองต่อครอบครัวให้กว้างและลึกมากขึ้นกว่าเดิมในทุกขั้นตอนของการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ตามปกติ กล่าวคือ จะต้องมองครอบครัวในฐานะที่เป็นบริบทของการดูแลสุขภาพสมาชิกร่วมกันมองครอบครัวว่าเป็นหน่วยรวมในฐานะที่เป็นผู้รับบริการ ทักษะที่สำคัญและจำเป็นที่จะช่วยให้การดูแลสุขภาพครอบครัวประสบความสำเร็จ คือ การใช้ทักษะของการทำความเข้าใจ ทักษะการใช้ความคิดเพื่อจับประเด็นและทักษะการจัดการสุขภาพภายใต้บรรยากาศของการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพยาบาลกับครอบครัวอย่างเป็นระบบ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะช่วยให้กระบวนการพยาบาลเพื่อการดูแลสุขภาพครอบครัวสำเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2549). การพยาบาลที่มีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง : แนวโน้มและบทบาทที่ท้าทายของพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัว
. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (18), 90-106.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหวางผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ…สูการมีสวนรวมด้านการดูแลสุขภาพ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหวางผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ…สูการมีสวนรวมด้านการดูแลสุขภาพ

Authority Relationship between Health Care Provider and Client to Participation in Self-Care for Health

บทคัดย่อ:

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการทางด้านสุขภาพในแนวคิดเชิงอุดมคติควรมีความเสมอภาคซึ่งกันและกัน หรือมีความเป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา วางแผน และปฏิบัติตามแผนจนถึงการประเมินผลร่วมกัน แต่กระบวนการหรือกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน แม้กระทั่งในปัจจุบัน ฐานะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการยังคงมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ไม่เป็นไปตามแนวคิดเชิงอุดมคติที่ควรจะเป็น สิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการเป็นเช่นนั้น เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการดูแลสุขภาพ ประกอบด้วย วิวัฒนาการนโยบายการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าเชิงมิติสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ และวาทกรรมกับการสร้างความเป็นผู้ให้และผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ ซึ่งพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการเป็นไปในลักษณะของการใช้อำนาจของผู้ที่มีฐานะทางสังคมดีกว่า จึงทำให้เป็นผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจในการดำเนินการทางด้านสุขภาพโดยใช้ความคิดของตนเป็นหลักแต่เพียงผู้เดียวมากกว่าการฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บริการ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa