SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ห้องสมุด สำนักงานวิทยทรัพยากร สาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)
พ.ค. 17th, 2017 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ภูมิทัศน์อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี10)

เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 ผู้เขียนได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ภายนอกสถานที่ ได้พบเห็นผู้บริหารของห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ และได้เข้าเยี่ยมชมห้องสมุด สำนักงานวิทยทรัพยากร สาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา หรืออาคารจามจุรี 10 นั่นเอง ตัวอาคารจะตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของ ถนนพญาไท กลุ่มศึกษาดูงานได้พากันเดินชมความร่มรื่นสองข้างทางจากอาคารสำนักงานวิทยทรัพยากร เพื่อไปยังจุดหมายคืออาคารจามจุรี10

   FB_IMG_1493274690408        นำทีมโดยท่านรองศาสตราจารย์ ดร.  อมร   เพชรสม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ท่านได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และเป็นกันเองเป็นอย่างมาก ท่านได้พาคณะศึกษาดูงานเดินขึ้นบันไดเพื่อลดแคลลอรี่และสร้างความแข็งแกร่งของร่างกาย ไปยังชั้น 2 ของตัวอาคารซึ่งเป็นพื้นที่ในส่วนของห้องสมุด มีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 1,500 ตารางเมตร เป็นอาคารที่ได้รวบรวมวิทยานิพนธ์ทั้งหมด งานวิจัย และหนังสืออ้างอิง ที่กระจัดกระจายตามคณะต่างๆ ซึ่งมีประมาณ 50,000 เล่ม นำมารวบรวมไว้ให้บริการในจุดเดียวกัน เพื่อสร้างความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ทุกๆ แขนงแก่บุคลากร นิสิต และประชาชนทั่วไป ซึ่งวิทยานิพนธ์เหล่านี้เดิมเคยให้บริการอยู่ที่ชั้น 2 ของหอสมุดกลางอาคารมหาธีรราชานุสรณ์  นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดในกลุ่มต่างๆ นำมารวบรวมไว้ให้บริการ เช่น

  • วิทยาศาสตร์สูขภาพ
  • หนังสือของบัณฑิตวิทยาลัย
  • หนังสือของคณะพยาบาลศาสตร์
  • หนังสือของคณะจิตวิทยา
  • หนังสือของคณะสหเวชศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

  

Read the rest of this entry »

มาสัมผัส New TCDC Resource Center
พ.ค. 13th, 2017 by supaporn

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2560 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ได้เปิด New TCDC Resource Center ณ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง หลังจากที่ย้ายจากสถานที่เดิม ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับบัตรเชิญเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดนี้ รีบตอบรับ เพราะอยากจะเห็นโฉมหน้าใหม่ การจัดพื้นที่การให้บริการ เคยประทับใจจากที่เดิม คิดว่าแห่งใหม่ก็ไม่แพ้กัน

บัตรเชิญ

บัตรเชิญ

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้พาสถาปนิกจากกองอาคารและสถานที่ ของมหาวิทยาลัยไปด้วย เพราะมีโครงการจัดขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดทำเป็น Learning Space ให้กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา เพื่อฟังแนวความคิดในการจัดพื้นที่การใช้งาน

ตั้งแต่หน้าประตูทางเข้าตกแต่งด้วยดอกไม้ เก๋ๆ อย่างมีสไตล์ เมื่อลงทะเบียนและรับของที่ระลึกซึ่งเป็นหนังสือหลายเล่มน่าสนใจทีเดียวค่ะ แล้วก็ขึ้นไปชั้น 5 บริเวณครีเอทีฟ สเปซ ก่อนเข้าพิธีมีการรับประทานอาหารว่างกันไปพลางๆ แต่ส่วนใหญ่ ตื่นตาตื่นใจไปกับบรรยากาศ โดยรอบ และพูดคุยกับแขกท่านอื่นๆ มากกว่า ล้วนเป็นคนในวงการ กันเองทั้งนั้นค่ะ

ดอกไม้หน้าทางเข้า

ดอกไม้หน้าทางเข้า

Read the rest of this entry »

Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ
เม.ย. 22nd, 2017 by navapat

จบลงไปอย่างสวยงามสำหรับโครงการ Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ซึ่งแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 – 23 มีนาคม 2560  ณ โถงชั้น 1  อาคารบรรณสาร  เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้ ความเข้าใจในทรัพยากรสารสนเทศ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ สามารถใช้บริการต่างๆ และก่อให้เกิดแนวความคิดในการเรียนการศึกษา ค้นคว้า ที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21  และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ สรุปง่ายๆ ก็เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง

กิจกรรมที่จัดขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที มีการเสวนาเรื่อง “อ่าน/เขียน อย่างไร …เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ” โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรชื่อดัง จากสำนักพิมพ์สถาพร บุ๊คส์   การออกร้านจำหน่ายหนังสือจากสำนักพิมพ์ชื่อดังจำนวน 5  ร้าน  บูธกิจกรรมบริการต่างๆ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ   ได้แก่  บูธบริการต่างๆของศูนย์บรรณสารสนเทศ  บูธบริการสารสนเทศออนไลน์  บูธรักษ์โลก และบูธ DIY สุดชิค Read the rest of this entry »

ความทรงจำบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระน้ำ”
เม.ย. 22nd, 2017 by namfon

คิดถึงบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระน้ำ” มักถูกเรียกขานกันว่า “สระมรกต” ณ บริเวณภายในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

18009954_1600761653275069_425858312_n

สระน้ำ หรือ “สระมรกต” ถ่ายปี พ.ศ. 2552

หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับบรรยากาศเหล่านี้มาก่อน หรือหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นมาก่อนด้วยซ้ำไป มาทำความรู้จักกันเลยดีกว่า ว่าอยู่ตรงส่วนไหนกัน จากความทรงจำบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระมรกต”  ก่อนได้มีการปรับพื้นที่เป็นอาคารโภชนาการ 2 บริเวณด้านข้างสนามกีฬากลาง  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ในปัจจุบันนี้

บริเวณโดยรอบ “สระมรกต” มักเป็นจุดรวมการนัดพบ รวมตัวกันของคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา  เนื่องจาก “สระมรกต” อยู่ติดกับสนามกีฬา ดังนั้น บริเวณนี้เป็นศูนย์รวมของการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เช่น เป็นจุดพบปะสังสรรค์ระหว่างกลุ่มนักศึกษา เพื่อนๆ รุ่นพี่ รุ่นน้อง และกิจกรรมที่มักจะจัดอยู่บ่อยครั้ง แต่ที่จัดเป็นประจำทุกปี คือ ประเพณีลอยกระทง จัดประกวดกระทง ประเภทต่างๆ  ประกวดสาวงาม นางนพมาศ ฯลฯ  โดยมีการจัดทำสะพานไม้เล็กๆ ยื่นลงไปบริเวณสระน้ำ “สระมรกต” ลงไปลอยกระทงได้  เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานตามประเพณี  เป็นสระน้ำขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีบัวสีสันสวยงาม น้ำใส บรรยากาศร่มรื่น  ลมพัดโชยอ่อน อากาศเย็นสบาย  และต่อมาภายหลังได้ทำสะพานสีแดง ข้ามผ่าน  และเดินไปมาได้  นักศึกษามักจะมาถ่ายภาพ  ทำกิจกรรมกันเป็นจำนวนมาก ภายหลังเมื่อ “สระมรกต” ได้มีการปรับพื้นที่เป็นอาคารโภชนาการ 2 จึงย้ายไปจัดประเพณีลอยกระทง ที่สระน้ำ  บริเวณภายในสวนสุขภาพ หน้าอาคารชิน โสภณพนิช แทน “สระมรกต”

ภาพถ่ายปี พ.ศ. 2554

นักศึกษาถ่ายภาพบนสะพาน ภาพปี พ.ศ. 2554

บริเวณรอบ “สระมรกต” ยังมีสวนไผ่ประดับ โต๊ะม้าหินสำหรับพักผ่อน ด้านทิศใต้ ติดกับทางเดิน Cover Way  ส่วนด้านทิศเหนือ ตรงหัวมุมทางเดินมีห้องน้ำ ชาย-หญิง   และถัดไปมีซุ้มอ่านหนังสือ  มักจะมีนักศึกษาแวะเวียนมานั่งเป็นกลุ่มๆ อย่างต่อเนื่อง กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่บ้างแล้วแต่จำนวนสมาชิก เพื่อทำกิจกรรม อ่านหนังสือ ติวหนังสือ และพักผ่อนกันตามอัธยาศัย

ซุ้มอ่านหนังสือ

ซุ้มอ่านหนังสือ

วันเวลาที่ผ่านไป สถานที่เหล่านั้นไม่อาจหวนคืนกลับมาดังเดิมได้  แต่ละแห่งมักมีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ความเหมาะสม  และความคุ้มค่าประโยชน์การใช้สอย  แต่ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านอาจยังระลึก นึกถึงและอยู่ในความทรงจำสถานที่เหล่านี้เช่นเดียวกัน  ที่ยังพอจำได้  ยังไม่ได้ลืมเลือนหายไป

รายการอ้างอิง

ภาพ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา

ภาพ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

บิดาของเว็บกับรางวัลทัวริง 2016
เม.ย. 21st, 2017 by supaporn

วันนี้ 21 เมษายนเป็นวันความคิดสร้างสรรค์โลก ขอแนะนำผู้ได้รับรางวัลทัวริงปีล่าสุด ซึ่งเป็นรางวัลที่มีเกียรติสูงสุด ของนักคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลของวงการคอมพิวเตอร์

ผู้ได้รับรางวัลทัวริงปีล่าสุด 2016 เป็นเงิน 1 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งประกาศไม่กี่วันก่อนคือ ผู้คิดค้นเว็บซึ่งเป็นนวัตกรรมสำคัญของโลกยุคนี้ ชื่อ เซอร์ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี

เซอร์ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี

เซอร์ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี

ทิมเป็นนักคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ เขาได้ไอเดียการสร้างเว็บระหว่างทำงานที่เซิร์น CERN องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป อยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อต้องการแก้ปัญหาเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลของนักฟิสิกส์
ทิมจึงคิดค้นเว็บ และสร้างเว็บบราวเซอร์ตัวแรกของโลก จากนั้นเผยแพร่เว็บ จนแพร่หลายทั่วอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้

ทิมได้รับรางวัลมากมายจากการคิดค้นเว็บ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวิน และได้รับรางวัลทัวริง 1 ล้านดอลล่าร์ในที่สุด

ติดตามผู้ที่เคยได้รับรางวัลทัวริง หรือ Turing Award ได้ที่

ตามลำดับอักษร http://amturing.acm.org/alphabetical.cfm

ตามลำดับปี http://amturing.acm.org/byyear.cfm

 

รายการอ้างอิง

ธงชัย โรจน์กังสดาล. บิดาของเว็บกับรางวัลทัวริง 2016. เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560 ฉบับที่ 24662 หน้า 23.

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย
เม.ย. 16th, 2017 by supaporn

จากการบรรยายของ ศาสตราจารย์ ดร. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์ หัวหน้าคณะผู้จัดทำจรรยาวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติให้กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 ณ ห้องบรรยาย 3 อาคารอำนวยการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอสรุปส่วนหนึ่งของการบรรยาย ที่เกี่ยวกับการจัดทำผลงาน การเผยแพร่ผลงานวิจัย ขอนำมาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้อยู่ในกรอบของการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย จากเอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการ ของสำนักพัฒนาวิชาการ ดังนี้

การเผยแพร่ผลงานวิจัย

  • หากไม่จำเป็นไม่ควรเสนอผลงานที่ยังไม่สมบูรณ์ (Premature) หรือยังไม่ได้รับการประเมินออกสู่สังคม
  • ต้องให้เกียรติและอ้างถึงนักวิชาการ/แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้
  • ระบุและลำดับชื่อผู้นิพนธ์อย่างถูกต้องเป็นธรรม
  • ขอบคุณบุคคล คณะบุคคล และองค์กรที่สนับสนุนงานวิจัยในกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
  • นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรม
  • แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณะ
  • ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อนหรือมากกว่า 1 แห่ง (Dual or duplicate publication)
  • ตีพิมพ์ผลงานมากกว่าหนึ่งภาษาได้ หากวารสารที่จะตีพิมพ์มีนโยบายรองรับ แต่ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบล่วงหน้าด้วย
  • ส่งเรื่องเต็มของบทคัดย่อ (Abstract) ที่ตีพิมพ์ใน Proceedings ไปให้วารสารวิชาการพิจารณาได้ แต่ควรให้บรรณาธิการวารสารนั้นทราบและยินยอมก่อน
  • ไม่แบ่งย่อยผลงานวิจัยเป็นหลายเรื่องเกินความเหมาะสม เพื่อเพิ่มจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ (Salami publication or Balogna) เพราะอาจลดคุณค่าของงานได้ (แต่อาจจกระทำได้ หากบทความเหล่านั้น มีเนื้อหาเหมือนกันไม่เกินร้อยละสิบ และต้องไม่ใช้ตารางหรือภาพประกอบเดียวกัน และให้บรรณาธิการวารสารที่ส่งเรื่องไปตีพิมพ์ทราบและยินยอมด้วย)
  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยแก่ผู้สนใจและร้องขอ ควรเป็นไปตามเงื่อนไขหรือได้รับความเห็นชอบตากต้นสังกัดว่าด้วยจริยธรรมที่ครอบคลุมข้อมูล วัสดุและทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

Read the rest of this entry »

แนะนำศูนย์บรรณสารสนเทศจากกิจกรรม Be My Guest
เม.ย. 15th, 2017 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรม Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ขึ้นเมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม 2560 เป็นเวลา 3 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานบริการต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศมีให้บริการ
  2. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรเข้าใช้บริการศูนย์บรรณสารสนเทศตรงตามความต้องการ
  3. เพื่อสร้างความสัมพันธฺ์ที่ดีระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการของศูนยฺ์บรรณสารสนเทศ

คำว่า Be My Guest หมายถึง คุณ คือ แขกของเรา แต่ในความหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ คุณ คือ คนพิเศษของศูนย์บรรณสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร คือ ผู้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศต้องให้บริการด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยบริการ พร้อมที่จะให้ข้อมูล ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้สารสนเทศที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดการอ่านและการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า Read the rest of this entry »

体验汉语基础教程 : 泰语版 (แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐาน ชุดสัมผัสภาษาจีน เล่ม 1
เม.ย. 15th, 2017 by rungtiwa

体验汉语基础教程 : 泰语版 (แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐาน ชุดสัมผัสภาษาจีน เล่ม 1)

3t

หลังจากที่เข้าอบรมการพูดภาษาจีน หลายเดือนที่ผ่านมา และผู้เขียนได้เคยแนะนำหนังสือฝึกการใช้ภาษาจีน ไปแล้ว 1 เรื่อง คือ พูดจีนเก๋งมาก! (Speaking Chinese Fluently) แต่ขอนำเสนอเพิ่มอีกเล่มค่ะ อ่านแล้วชอบน่าจะใช้ภาษาจีนได้ดีขึ้น จึงขอแนะนำต่อนะคะ

体验汉语基础教程 : 泰语版 (แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐาน ชุดสัมผัสภาษาจีน) เป็นหนังสือที่รวบรวมเน้นการเชื่อมโยงภาษาจีน การฝึกออกเสียง บทสนทนาภาษาจีน ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น การทักทาย ถามทุกข์สุข ถามชื่อและนามสกุล ถามสัญชาติ ถามที่อยู่ ถามเกี่ยวกับครอบครัว ถามวันที่ ถามเวลา ถามทาง และการซื้ออาหาร เป็นต้น

ท่านใดสนใจหนังสือเล่มนี้ อยู่ที่หมวดหมู่ PL1128 T369 2008 หนังสือทั่วไปชั้น 5

รายการอ้างอิง

姜丽萍 主编 and Supapit Chotithamwattana 译者 [泰]. (2008). “体验汉语基础教程 : 泰语版 (แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐาน ชุดสัมผัสภาษาจีน เล่ม 1)”. 北京 : 高等教育.

คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เม.ย. 14th, 2017 by supaporn

คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ค้นคว้าและเรียบเรียง คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้น เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเบื้องต้น เกี่่ยวกับโบราณราชประเพณีดังกล่าว และเพื่อนำความรู้ดังกล่าวไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

หนังสือคำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประกอบด้วยคำอธิบายของคำศัพท์ ดังต่อไปนี้ Read the rest of this entry »

Growroom ประหยัดพื้นที่ ช่วยเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก
เม.ย. 14th, 2017 by supaporn

Growroom จากไอเดียของสถาปนิก Mads-Ulrik Husum และ Sine Lindholm จาก Space10 ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นเหมือนสวน ปลูกพืช ผัก สมุนไพร ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่จำกัด หรือปลูกในเมืองได้ Growroom เปิดตัวเมื่อปลายปี ค.ศ. 2016 โครงสร้างเป็นกระบะปลูกพืชที่โค้งต่อจนกันเป็นวงกลม ออกแบบให้กระบะรับแสงแดดได้อย่างทั่วถึง แถมมีที่นั่งภายในอีกด้วย

Growroom

The Growroom by Ikea’s Space10, Mads-Ulrik Husum, and Sine Lindholm.R Hjortshoj

น่าจะนำมาใช้เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับหน่วยงานได้ เป็นทั้งเฟอร์นิเจอร์ พื้นที่ปลูกพืช ผัก สมุนไพร หรือลองหาพืชที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมภายในอาคาร  มีเว็บไซต์อธิบายวิธีการประกอบในแต่ละขั้นตอนด้วยค่ะ เช่นที่ http://www.designboom.com/design/ikea-space10-the-growroom-flat-pack-spherical-garden-02-20-2017/ และ https://medium.com/space10-the-farm/space10-open-sources-the-growroom-aa7ca6621715  ลองค้นดูค่ะ มีข้อมูลเยอะทีเดียว

อ้างอิง

Garfield, Leanna (2017). Ikea just launched a DIY flat-pack indoor garden that can feed a whole lot of people at once. Retrived from http://www.businessinsider.com/ikeas-growroom-photos-2017-2

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa