SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ทำความรู้จัก “จุลสาร” กันเถอะ
ก.ค. 11th, 2017 by อุไรรัตน์ ผาสิน

                  

20170622_095407_resized

จุลสาร หรือ Pamphlet   

เป็นสิ่งพิมพ์อีกประเภทหนึ่ง ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รวบรวมและจัดหมวดหมู่ พร้อมทั้งลงรายการทางบรรณานุกรมเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาที่บรรจุในจุลสารเล่มนั้นๆ หรือเรื่องนั้นๆ ได้

คำว่า จุลสาร สื่อให้ทราบถึงสาระที่เป็นสื่อชิ้นเล็กๆ หรือเล่มเล็กๆ คำว่า จุลสาร บางหน่วยงาน จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่กิจกรรม ใช้ขึ้นต้น เช่น จุลสาร (ชื่อหน่วยงาน) ออกเป็นวาระ ลักษณะเหมือนวารสาร แต่ในบริบทของห้องสมุด จะเก็บสิ่งพิมพ์ประเภท จุลสาร ซึ่งมิได้หมายความถึง การออกเป็นวาระ เหมือนวารสาร แต่เนื่องจากจุลสารมีลักษณะที่เป็นเล่มเล็ก มีจำนวนหน้าไม่มากนัก หรืออาจจะเท่ากับหนังสือเล่มทั่วไป แต่เนื่องจากขนาดของหนังสือเล็กหรือมีความบางเกินไป เมื่อนำมาจัดวางไว้ที่ชั้นหนังสือรวมกับหนังสือที่มีขนาดทั่วๆ ไป จะทำให้ หนังสือเล่มเล็กเหล่านี้ หลุดหรือตกออกจากชั้นหนังสือ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถจัดเรียงได้ตามปรกติ

ดังนั้น ห้องสมุด มักจะจัดเก็บจุลสาร แยกออกมาจากชั้นหนังสือทั่วไป โดยแยกเก็บเป็นคอลเลคชั่นพิเศษ หรือจัดเก็บพิเศษ มีการกำหนดหมวด ซึ่งกำหนดโดยห้องสมุดเอง โดยส่วนมากจะเป็นคำว่า จุลสาร และตามด้วยหมายเลขของจุลสาร หรืออาจจะใช้คำย่อว่า จล เป็นต้น

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับจุลสาร ในลักษณะที่เป็นการได้รับบริจาค หรือเป็นจะเป็นการแจกจ่าย หรือได้รับเป็นอภินันทนาการ มีการพิจารณาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือเนื้อหา หรือกลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ คัดแยกและจัดหมวด โดยกำหนดว่า จุลสาร และ ตามด้วยหมายเลข ซึ่งเป็นลำดับที่ของจุลสารที่เข้ามา ลงรายการทางบรรณานุกรมเหมือนกับสิ่งพิมพ์ทั่วๆ ไป และให้บริการที่ชั้น 6 Read the rest of this entry »

National Library of Medicine Classification การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน
ก.ค. 11th, 2017 by kalyaraksa

National Library of Medicine Classification  หรือ NLM  คือ ระบบการจัดหมวดหมูแบบระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน จัดทำโดยหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่มีความสัมพันธ์กับการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หรือ LC (Library of Congress Classification) ระบบหนึ่ง

ระบบ NLM เริ่มมีการจัดทำ เมื่อประมาณปี ค.ศ 1940 โดยหอสมุดการแพทย์ทหารบกของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Army Medical Library) โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1951 ใช้ชื่อหนังสือว่า Army Medical Library Classification จัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1958 ใช้ชื่อหนังสือว่า National Library of Medicine Classification จัดพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ.1964 จัดพิมพ์ครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ.1978 จัดพิมพ์ครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 1994 และ ฉบับพิมพ์ซ้ำ ครั้งที่ 5 ปี ค.ศ. 1999

ระบบ NLM ได้ใช้อักษร W เป็นสัญลักษณ์ของหมวดใหญ่ (Class) เป็นหมวดสำหรับแพทยศาสตร์ (Medicine) และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง  มีสัญลักษณ์แทนหมวดย่อย (Subclasses) ตั้งแต่ WA-WZ ส่วนหมวดย่อย QS-QZ เป็นหมวดสำหรับสาขาวิชาเตรียมแพทยศาสตร์ (Preclinical Sciences)

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการจัดหมวดหมู่ของทรัพยากรสารสนเทศ 2 ระบบ คือ การจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)  สำหรับหนังสือทั่วไป  และจะใช้การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine)  สำหรับหนังสือทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ    ผู้เขียนได้รวบรวมขอบเขตการจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine) เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาหนังสือดังกล่าว ซึ่งจะจัดไว้ที่แผนกบริการสารสนเทศ ชั้น 4 หนังสือที่เป็นภาษาจีน และคณะการแพทย์แผนจีน จัดไว้ที่แผนกบริการสารสนเทศ ชั้น 5 Read the rest of this entry »

CLASSIFICATION WEB
มิ.ย. 29th, 2017 by jittiwan

Classification and Library of Congress Subject Headings  คือ  เว็บไซต์สำหรับการจัดหมวดหมู่และหัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันแบบออนไลน์  ซึ่งสามารถเข้าใช้งานโดยต้องบอกรับเป็นสมาชิกของแต่ละห้องสมุดหรือหน่วยงานนั้น  โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์  https://classificationweb.net/  ซึ่งปรากฏดังภาพประกอบที่  1

ภาพประกอบที่ 1 Classification Web

ภาพประกอบที่ 1 Classification Web

รายละเอียดเบื้องต้นในการสั่งซื้อและราคา

  1. หากสั่งซื้อเพียง 1 User ราคา : $ 325
  2. ผู้ใช้งานจะต้อง Log on เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ Classification Web โดยใช้ Username & Password ที่แต่ละหน่วยงานกำหนดไว้  ซึ่งในการเข้าถึงนั้นไม่จำกัดเว็บไซต์
  3. สามารถใช้งานหรือเข้าถึงได้ 20 ชั่วโมง/เดือน
  4. ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ 1 User/ 1 Site
  5. หากห้องสมุดหรือหน่วยงานที่มีประสงค์จะสมัครสมาชิกมากกว่า 1 User มีรายละเอียดดังนี้
    5.1  ผู้ใช้ตั้งแต่  2-4 คน  ราคา =  $ 525
    5.2  ผู้ใช้ตั้งแต่  5-9 คน  ราคา =  $ 640
    5.3  ผู้ใช้ตั้งแต่  10-14 คน  ราคา =  $ 775
    5.4  ผู้ใช้ตั้งแต่  15-19 คน  ราคา =  $ 910
    5.5  ผู้ใช้ตั้งแต่   20-24 คน  ราคา =  $1,320
    5.6  ผู้ใช้ตั้งแต่   25-29 คน  ราคา =  $1,825
    5.7  ผู้ใช้ตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป  ราคา =  $1,960  หากเพิ่มผู้ใช้ 5 คน จะต้องบวกราคาเพิ่มอีก $135

โดยมีรายละเอียดดังปรากฏดังภาพประกอบที่  2 Read the rest of this entry »

บริการโสตทัศนวัสดุ
มิ.ย. 28th, 2017 by prapaporn

แผนกโสตฯ

แผนกทรัพยากรการเรียนรู้

แผนกทรัพยากรการเรียนรู้  มีหน้าที่ในการให้บริการด้านโสตทัศนวัสดุ หลายรูปแบบที่มีคุณค่าต่อการศึกษาและการเรียนการสอน ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ ซีดีรอม ซีดีประกอบหนังสือ วีซีดี  ดีวีดี แผนที่ แผ่นภาพ หุ่นจำลอง  เป็นต้น ผู้ใช้บริการสามารถเลือกค้นคว้าเรียนรู้ได้ตามความสนใจ

โสตทัศนวัสดุที่ให้บริการ สามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

  • สื่อโสตฯที่มาพร้อมกับหนังสือ หมายถึง แผ่นซีดีรอม แผ่นวีซีดี หรือแผ่นดีวีดี ที่มีข้อมูลประกอบกับหนังสือเล่มนั้น โดยส่วนใหญ่จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดดูข้อมูลในแผ่น
  • สื่อการเรียนการสอน หมายถึง แผ่นซีดีรอม หรือ แผ่นดีวีดี ที่มี multimedia / interactive เพื่อช่วยสอน โดยส่วนใหญ่จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดดูข้อมูลในแผ่น
  • สื่อโสตฯ ประกอบการเรียนการสอน เช่น แผ่นซีดีรอม แผ่นวีซีดี  แผ่นดีวีดี แผนที่ หรือ ลูกโลก ฯลฯ ที่อาจารย์ผู้สอนใช้ประกอบกับการเรียนการสอนวิชานั้นๆ
  • สื่อโสตฯ ประเภทภาพยนตร์ หมายถึง แผ่นวีซีดี หรือ ดีวีดี ที่เป็นภาพยนตร์สารคดี ภาพยนตร์บันเทิง ภาพยนตร์ประกอบการเรียน เป็นต้น

 

Read the rest of this entry »

การปรับกระบวนการและขั้นตอนการกำหนดเลขหมวดหมู่ Call number สำหรับสิ่งพิมพ์ มฉก.
มิ.ย. 28th, 2017 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ตระหนักและเห็นความสำคัญของสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่ห้องสมุดได้รับไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อหรือจัดหา (ทรัพยากรที่ได้เปล่า) ตลอดจนทรัพยากรที่ผลิตจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

ปัจจุบันมีสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัย  จากหลายแหล่ง เช่น ศูนย์สหกิจศึกษา และรายงานระดับปริญญาตรีจากคณะต่าง ๆ  มีเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการสารสนเทศ เนื่องจากทรัพยากรออกให้บริการล่าช้าไม่ทันกับความต้องการของผู้ใช้  เนื่องจากต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่เนื้อหาดังกล่าว  แผนกจัดหาฯ จึงมีมติจากที่ประชุมของแผนกให้มีการปรับปรุงวิธีการและขั้นตอนการกำหนดหมวดหมู่ Call number ใหม่เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและทำให้บรรณารักษ์ปฏิบัติงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นแผนกจัดหาฯ จึงมีการทบทวนและปรับปรุงวิธีการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทของทรัพยากรที่เป็นรายงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ การวิจัย และการฝึกงานของนักศึกษา รวมทั้งงานวิจัยสถาบัน วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ สาระนิพนธ์ และการศึกษาอิสระ จะมีการปรับปรุงเลขหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ดังกล่าวโดยกำหนดขึ้นใช้เองเพื่อให้มีการทำงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้นโดย มีเป้าหมายดังนี้ Read the rest of this entry »

กระเป๋า “Healthy Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี”
มิ.ย. 27th, 2017 by sirinun

กระเป๋า " Health Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี"

กระเป๋า ” Health Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี”

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดบริการมุมหนังสือน่าอ่านของห้องสมุด (ชั้น4)  เป็นเสมือนมุมสุขภาพ ผ่าน กระเป๋า” Healthy books : อ่านเพื่อสุขภาพดี” ของ สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) จากโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ “เครือข่ายสร้างปัญญา”

สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้ผลิตสื่อองค์ความรู้สุขภาวะหลากรูปแบบ อาทิ หนังสือ นิตยสาร วีซีดี มุ่งให้นำความรู้จากสื่อมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีสุขภาวะ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ จึงจัดกิจกรรม “เครือข่ายสร้างปัญญา” ผลิตสื่อบรรจุหนังสือดีในกระเป๋าเดินทาง ทำหน้าที่เสมือนห้องสมุดเคลื่อนที่ เรียกว่า Healthy Book มอบให้กับห้องเครือข่ายห้องสมุด จำนวน 30 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดสถานศึกษา โรงพยาบาล และแหล่งเรียนรู้สุขภาวะ  สุขภาพดีหาซื้อไม่ได้ การป้องกันดีกว่าการรักษา เชิญมาหาความรู้ได้จาก หนังสือดีๆ เพื่อสุขภาพและหนังสืออื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีหนังสือการสร้างสุขภาพ เพิ่มเข้ามาให้บริการเป็นอย่างมากมายทำให้ผู้อ่านมาใช้บริการและยืมหนังสือเหล่านี้กลับไปอ่านกัน หรือไม่ก็จะนั่งอ่านในห้องสมุด ได้ทั้งความเพลิดเพลิน และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันระหว่างผู้ใช้บริการกันเอง Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการแยกเอกสารวางบิลส่งให้กับทางกองคลัง
มิ.ย. 25th, 2017 by chanunchida

การวางบิล เป็นเอกสารที่ทางมหาวิทยาลัยออกเพื่อให้กับทางร้านค้าในการจัดซื้อหนังสือ และทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ร้านค้าทราบถึงจำนวนเงินที่จะได้รับ และใช้เป็นเอกสารสำหรับการชำระเงิน

ปัญหาที่มักพบบ่อยในการแยกเอกสารวางบิล คือ ความผิดพลาดของการออกเอกสารของทางร้านค้า เช่น การกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามใบเสนอราคา ไม่มีสำเนาของใบเสนอราคาและใบส่งของเพียงพอสำหรับใช้เก็บเป็นหลักฐาน ทำให้ทางศูนย์บรรณสารสนเทศต้องสูญเสียเงินในการถ่ายเอกสาร รวมไปถึงปัญหาการลืมส่งเอกสาร ส่งผลให้ร้านค้าได้รับเงินล่าช้า Read the rest of this entry »

การแสดงสรุปค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 25th, 2017 by chanunchida

การแสดงผลด้วยกราฟ มักได้รับความนิยมมากกว่าการแสดงผลด้วยตาราง เพราะว่าการแสดงผลด้วยกราฟนั้น สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย  ดังนั้นกราฟจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการนำเสนองานเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยประหยัดเวลาในการอธิบาย และทำให้การนำเสนอน่าสนใจ และเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น

ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดทำสรุปค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ แยกตามคณะ แผนก โดยรวบรวมค่าใช้จ่ายทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ และนำมาบันทึกในตาราง เพื่อทำรายงานสรุปให้กับผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในภายหลังได้ปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นแบบกราฟ เมื่อให้ผู้บริหารเห็นภาพได้ง่ายมากขึ้นกว่าการนำเสนอแบบตาราง

ขั้นตอนของการทำกราฟ มีดังนี้

1.คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ เช่น ผู้เขียนจัดทำกราฟประเภทนี้เพื่อบอกสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศของแต่ละคณะ  แผนก

2.เลือกประเภทของกราฟที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น กราฟแทง กราฟเส้น และกราฟวงกลม ซึ่งกราฟแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอต่างกัน กล่าวคือ Read the rest of this entry »

ความรู้สู่ชุมชน อีกหนึ่งบริการเชิงรุก (Proactive Service) ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 24th, 2017 by kityaphat

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความตระหนักและคำนึงถึงผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก พยายามจัดบริการเชิงรุกเพื่อให้ผู้ใช้บริการรู้จักศูนย์บรรณสารสนเทศ รู้จักบริการต่างๆ และใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ที่จัดหาเข้ามาเพื่อตอบสนองการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย อย่างคุ้มค่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดบริการเชิงรุกหลายบริการ เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักและมาใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เริ่มจัดทำในปีการศึกษา 2559

บริการเชิงรุกอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ คือ การบริการความรู้สู่ชุมชน (เล่มที่ใช่ หนังสือที่ชอบ) เพื่อต้องการนำข้อมูลบริการต่างๆ และหนังสือที่เกินความต้องการ/หนังสือที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ออกสู่สายตาชุมชนของมหาวิทยาลัย เนื่องจาก ผู้ใช้บริการอาจจะยังไม่ทราบบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ และผู้ใช้อาจจะไม่มีกำลังในการซื้อหนังสือเหล่านี้ได้ และอาจจะมีความต้องการเป็นเจ้าของ

ทีมงานบริการสารสนเทศ เมื่อได้รับนโยบายจากผู้บริหารศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการวางแผนกิจกรรม ดังนี้ Read the rest of this entry »

การแนะนำหนังสือ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 23rd, 2017 by navapat

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นมา ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ  ได้มีนโยบายการให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นการให้บริการเชิงรุก เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยให้แนวคิดเรื่องการแนะนำหนังสือ ให้เกิดการหมุนเวียนการใช้หนังสือให้มากที่สุด และเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ใช้บริการ  ซึ่งผลจากการจัดแนะนำหนังสือ พบว่าผู้ใช้มีความสนใจ พึงพอใจ และหนังสือมีการยืมมากขึ้น  ผู้เขียนในฐานะผู้รับผิดชอบการแนะนำหนังสือคนหนึ่ง  จึงขอสรุปขั้นตอนการจัดทำหนังสือแนะนำ ของแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังนี้

  1. ผู้รับผิดชอบจัดทำหนังสือแนะนำ ตรวจรับ และตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือที่ส่งจากแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
  2. ผู้รับผิดชอบจัดทำหนังสือแนะนำ คัดเลือกหนังสือ จัดทำบรรณนิทัศน์ และแสกนปกหนังสือ โดยแบ่งไปจัดแสดงที่ชั้น 1 จำนวน 2 รอบ รอบละ 15 วัน และหมุนเวียนนำขึ้นมาจัดแสดงที่ชั้น 3 และ ชั้น 4 ต่อไป
  3. ผู้รับผิดชอบ นำรายชื่อหนังสือขึ้นเฟสบุ๊คส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าแผนกบริการสารสนเทศ
  4. หัวหน้าแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ นำรายชื่อหนังสือแนะนำขึ้นเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เดือนละ 1 ครั้ง
  5. ผู้รับผิดชอบแนะนำหนังสือเฉพาะกิจเป็นกรณีๆ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มอบหมายตามความเหมาะสม

รูป1                                                                                                     หนังสือแนะนำ

รูป 2                                                                                                   หนังสือแนะนำ

รูป3                                                                                        หนังสือแนะนำ

การทำกิจกรรมแนะนำหนังสือนี้ ทำให้บุคลากรในงานบริการสารสนเทศ ได้ประโยชน์ ดังนี้

  1. รู้จักพิจารณาคัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจ
  2. รู้จักวิธีการสรุปประเด็นสำคัญและรู้จักวิธีการเขียนบรรณนิทัศน์
  3. มีความคิดริเริ่มในการจัดแสดงนิทรรศการหนังสือแนะนำ
  4. ทำให้ทราบว่าควรเขียนแนะนำอย่างไรเพื่อให้น่าสนใจ
»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa