SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
แนะนำมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ม.ค. 8th, 2016 by supaporn

วิดีโอ แนะนำมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

17 นายกรัฐมนตรีไทยเชื้อสายจีน
ธ.ค. 19th, 2015 by supaporn

17 นายกรัฐมนตรีไทยเชื้อสายจีน

17 นายกรัฐมนตรีไทยเชื้อสายจีน

ชาวไทยเชื้อสายจีนในสังคมไทย ได้ผสมผสานกลมกลืนกันอย่างแนบแน่นกับสังคมส่วนรวม บุคคลเหล่านี้ได้มีส่วนในการแสดงบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจลและสังคมรวมทั้งการเมืองในระดับชาติ ดังปรากฏในหนังสือ “17 นายกรัฐมนตรีไทยเชื้อสายจีน” จากผลงานการวิจัยของ วิววัฒนา ไทยสม จากการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้พบว่า นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีรวมทั้งสิ้น 28 ท่าน ในจำนวนนี้มีนายกรัฐมนตรีที่มีเชื้อสายจีนถึง 17 ท่าน (หน้าคำนำ) Read the rest of this entry »

泰国通史 (The History of Thailand)
ธ.ค. 5th, 2015 by supaporn

泰国通史 (The History of Thailand)

泰国通史 (The History of Thailand)

ศูนย์บรรณสารสนเทศฯ ขอแนะนำหนังสือจีน เรื่อง 泰国通史  โดย 段立生 หรือมีชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษว่า The History of Thailand เป็นหนังสือในชุด World History and Culture series กล่าวถึงอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย ก่อนที่จะมีการตั้งอาณาจักรไทย คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์  ติดต่อหาอ่านได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 ห้องสมุดภาษาจีนค่ะ เลขหมู่ DS571 D667T 2014

หนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู”
พ.ย. 6th, 2015 by supaporn

ซื่อคู่ฉวนซู

ซื่อคู่ฉวนซู

หนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นหนังสือสำคัญยิ่งของจีนชุดหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหนังสือที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวถึงหนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” ไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง  “ไอรัก คืออะไร” [1] หน้า 14 ในหัวข้อ “ดูพิพิธภัณฑ์ของห้องสมุด” ดังนี้

หนังสือ ซื่อคู่ฉวนซู เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้สี่ประเภทของจีน ได้แก่

  1. คัมภีร์ศาสนา หน้าปกสีเขียว เปรียบกับฤดูชุนเทียน (ฤดูใบไม้ผลิ)
  2. คัมภีร์ปรัชญา หน้าปกสีเหลือง เปรียบกับฤดูชิวเทียน (ฤดูใบไม้ร่วง)
  3. คัมภีร์เบ็ดเตล็ด หน้าปกสีเทา เปรียบกับฤดูตงเทียน (ฤดูหนาว)
  4. คัมภีร์ประวัติศาสตร์ หน้าปกสีแดง เปรียบกับฤดูเซี่ยเทียน (ฤดูร้อน)

และหน้า 18 ในหัวข้อ “ดูหนังสือโบราณ”

หนังสือนี้รวมทั้งหมดเป็นพันๆ เล่ม จักรพรรดิ์เฉียนหลงมีพระราชโองการให้รวบรวมเขียนด้วยลายมือทั้งหมด (ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นมีการพิมพ์แล้ว) สร้างไว้ 7 ชุด ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 ชุด เก็บรักษาไว้ที่ปักกิ่ง ไต้หวัน และหลานโจว ตอนกบฏไท้เผ็ง ถูกทำลายไป 3 ชุด เมื่อตอนที่กองทัพผสม 8 ชาติเข้าเผาวังหยวนหมิงหยวน ถูกทำลายไปอีกชุดหนึ่ง เขาบอกว่าธรรมดาไม่ให้คนอื่นดูคัมภีร์นี้ตัวจริง ผู้ที่ต้องการศึกษาต้องอ่านจากไมโครฟิล์ม คนที่จับหนังสือต้องใส่ถุงมือ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa