SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ผลผลิตชีวมวลและประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินา TISTR 8222
ก.พ. 10th, 2016 by supaporn

ผลผลิตชีวมวลและประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินา TISTR 8222 (Biomass Production and Wastewater Treatment Efficiency of Spirulina TISTR 8222)

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการเพาะเลี้ยง ปริมาณผลผลิตชีวมวลที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย และวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินา สายพันธุ์ TISTR 8222 โดยการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) การเพาะเลี้ยงด้วยอาหารที่มีสารอินทรีย์ (ซีโอดี) เป็นส่วนประกอบในปริมาณ 120, 220 และ 320 มิลลิกรัมต่อลิตร 2) การทดลองบำบัดน้ำเสียโดยใช้แบบจำลองการบำบัดน้ำเสียแบบเปิดและแบบเปิดเติมอากาศ 4 ชุดทดลอง คือ ชุดทดลองแบบเปิดเติมอากาศที่มีการเพิ่มแสงประดิษฐ์ ชุดทดลองแบบเปิดที่มีการเพิ่มแสงประดิษฐ์ ชุดทดลองแบบเปิดเติมอากาศที่ใช้แสงธรรมชาติ และชุดทดลองแบบเปิดที่ใช้แสงธรรมชาติ 3) การศึกษาวิธีเก็บเกี่ยวผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินาด้วยวิธีจาร์เทส จากผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยหลักในการเพาะเลี้ยง ได้แก่ ปริมาณแสงสว่างในช่วง 3,620-3,980 ลักซ์ โดยไม่จำเป็นต้องมีแหล่งคาร์บอน และสามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ที่อุณหภูมิห้อง (26-30˚ องศาเซลเซียส) ซึ่งจากผลการทดลองเพิ่มแหล่งคาร์บอนในรูปของซีโอดี พบว่า ไม่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินาได้ โดยปริมาณผลผลิตชีวมวลเมื่อทำการเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 27 วัน มีค่าเท่ากับ 1,731, 1,996 และ 1,637 มิลลิกรัมต่อลิตร อัตราการเพิ่มผลผลิตชีวมวลเท่ากับ 52.0, 61.5 และ 47.7 มิลลิกรัมต่อลิตรต่อวัน สำหรับชุดการทดลองที่มีสารอินทรีย์เป็นส่วนประกอบในอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง 120, 220 และ 320 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ และสามารถประมาณการปริมาณผลผลิตชีวมวลได้โดยใช้สมการเส้นตรงหลังจากทำการเพาะเลี้ยงได้ 5 วัน นอกจากนี้ ผลการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินาโดยใช้ระบบบำบัดแบบเปิดและแบบเปิดเติมอากาศ เมื่อทำการบำบัดเป็นระยะเวลา 19 วัน โดยใช้น้ำเสียที่ผ่านการฆ่าเชื้อ พบว่า สามารถบำบัดซีโอดีได้ ร้อยละ 80, 82, 87 และ 83 บำบัดทีเคเอ็นได้ ร้อยละ 84, 91, 89 และ 40 และบำบัดฟอสฟอรัสทั้งหมดได้ ร้อยละ 32, 38, 25, และ 43 สำหรับชุดการทดลองที่ใช้น้ำเสียที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อมีประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดี ร้อยละ 79, 78, 83 และ 86 บำบัดทีเคเอ็น ร้อยละ 85, 89, 80 และ 51 และบำบัดฟอสฟอรัส ร้อยละ 31, 0, 0 และ 22 สำหรับชุดการทดลองที่ 1-4 ตามลำดับ ทั้งนี้ จากการใช้การตกตะกอนด้วยเฟอริคคลอไรด์และสารส้ม ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินาพบว่า ปริมาณที่เหมาะสม คือ 150 และ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร

This research is an experimental research. The purpose of the research was to study the cultivation factors, the obtained biomass production, the wastewater treatment efficiency, and the harvest biomass of Spirulina TISTR 8222. The study consisted of three parts ; 1) the cultivation by using of medium contains organics (COD) in 120, 220, and 320 mg/L. 2) the testing of wastewater treatment by using of wastewater treatment model in open system and open-aerated system including four sub model types such as the model of open-aerated with the additional of artificial light, the model of open system with the additional of artificial light, the model of open-aerated with the natural light, and the model of open system with the natural light. The third part is the study of Spirulina biomass harvesting using Jar-test technique. From the results, it was found that the main factor for cultivation consisted of the light intensity in the range of 3,620-3,980 lux without any requirement for carbon source, and it could be cultivated under room temperature (26-30˚ºC). The result of carbon source addition in term of COD revealed that it did not help to increase Spirulina biomass production. After 27 days of cultivation, the biomass production was achieved at 1,731, 1,996, and 1,637 mg/L with the growth rate of 52.0, 61.5, and 47.7 mg/L/d for the treatment of organics containing in cultivated medium of 120, 220, and 320 mg/L,
respectively. The amount of biomass production could be predicted after 5 days of cultivation by using linear equation. Moreover, the study of wastewater treatment efficiency of Spirulina with the open and aerated-open treatment system showed that after 19 days of treatment using autoclaved wastewater, the COD removal of 80, 82, 87, and 83 percent, the TKN removal of 84, 91, 89, and 40 percent and the total phosphorus removal of 32, 38, 25, and 43 percent were achieved. For the treatment using non autoclaved wastewater, the COD removal of 79, 78, 83, and 86 percent, the TKN removal of 85, 89, 80, and 51 percent and the total phosphorus removal of 31, 0, 0, and 22 percent were observed for the treatment 1-4, respectively. Nevertheless, the testing of precipitation by ferric chloride and alum for harvesting of biomass production of Spirulina indicated that the appropriated dose was 150 and 200 mg/L.

 

ธีระพงษ์ บ้างบุญเรือง, ประวิทย์ คงจันทร์, นุชนาถ แช่มช้อย. (2558). ผลผลิตชีวมวลและประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินา TISTR 8222. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 55-70.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ความแตกต่างของผลกระทบต่อการอยู่รอดของมะเร็งท่อน้ำดี จากการกระตุ้นด้วยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา
ก.พ. 10th, 2016 by supaporn

Differential Effects of TNF-alpha on the Viability of Cholangiocarcinoma Cell Lines (ความแตกต่างของผลกระทบต่อการอยู่รอดของมะเร็งท่อน้ำดี จากการกระตุ้นด้วยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา)

บทคัดย่อ:

The objective of this study is to investigate the sensitivity of cholangiocarcinoma (CCA) cells to TNF-alpha-induced apoptosis. Two cell lines established from Thai patients with cholangiocarcinoma, KKU-100 and KKU-M213, expressed TNF-alpha receptors I (TNFRI) and II (TNFRII) as shown by RT-PCR. These cells were subsequently subjected to a high dose of TNF-alpha (160 ng/ml) for 24 hours before the cytotoxicity was assessed by MTT assay. Neither KKU-100 nor KKU-M213 showed any sign of cytotoxicity by TNF-alpha, despite the presence of TNF-alpha receptors. Lack of effects on cell survival by TNF-alpha was further confirmed by DAPI staining which showed absence of condensed and fragmented nuclei, characteristics of apoptotic cells. These data indicated that the cholangiocarcinoma cell lines were resistant to apoptosis induced by TNF-alpha.

งานวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการทดสอบผลของทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา (tumor necrosis factor-alpha) ต่อความไวต่อการเกิดอะโพโทซิส (apoptosis) ในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี โดยทำการทดสอบในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีเพาะเลี้ยงของคนไทยสองชนิด คือ KKU-100 และ KKU-M213 เมื่อทดสอบโดยวิธี RT-PCR พบว่ามีแสดงออกของตัวรับ (receptor) ทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟาทั้ง TNFRI และ TNFRII เซลล์มะเร็งท่อน้ำดีทั้งสองชนิดนี้ถูกนำไปบ่มกับทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์ อัลฟาที่ความเข้มข้น 160 ng/mL เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์โดยใช้วิธี MTT พบว่าทูเมอร์เนโครซิ-สแฟคเตอร์อัลฟาไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงทั้งสองชนิด แม้ว่าจะพบตัวรับต่อทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา นอกจากนี้ การทดสอบยืนยันผลของทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟาต่อการอยู่รอดโดยวิธีการย้อมนิวเคลียสด้วย DAPI ในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี พบว่า ทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟาไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดลักษณะเซลล์หดตัว และการแตกของนิวเคลียส ซึ่งเป็นลักษณะของอะโพโทซิสในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีเพาะเลี้ยงทั้งสองชนิดเช่นกัน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เซลล์มะเร็งท่อน้ำดีทั้งสองชนิดมีความต้านทานต่อการเกิดอะโพโทซิสในภาวะที่กระตุ้นด้วยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา

Panthip Rattanasinganchan and  Rutaiwan Tohtong. (2558). Differential Effects of TNF-alpha on the Viability of Cholangiocarcinoma Cell Lines. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 25-38.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 10th, 2016 by supaporn

การศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Hematological Studies in the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2) หาอัตราการตรวจพบความผิดปกติของค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของผลความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3) ให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพและความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปี ผู้วิจัยได้ศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2554 และ 2555 จำนวน 3,849 ราย เป็นเพศชาย 733 ราย และเพศหญิง 3,116 ราย ด้วยเครื่องวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดอัตโนมัติเพื่อเก็บข้อมูลทางโลหิตวิทยา ผลการศึกษา พบว่า 2,182 ราย (ร้อยละ 56.7) มีผลตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อนำข้อมูลทางโลหิตวิทยามาแยกตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีค่า hemoglobin ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 791 ราย (ร้อยละ 20.5) โดยแยกเป็นผู้ที่มีค่าต่ำกว่าช่วงอ้างอิงจำนวน 787 ราย (ร้อยละ 20.4) และพบผู้ที่มีค่าสูงกว่าช่วงอ้างอิงจำนวน 4 ราย (ร้อยละ 0.1) พบค่า hematocrit ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 710 ราย (ร้อยละ 18.4) โดยผู้ที่มีค่าต่ำกว่าช่วงอ้างอิง มีจำนวน 702 ราย (ร้อยละ 18.2) และผู้ที่มีค่าสูงกว่าช่วงอ้างอิงจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 0.2) มีค่า PLT count ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 44 ราย (ร้อยละ 1.1) ผลการตรวจ white blood cell count พบค่า ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 195 ราย (ร้อยละ 5.1) จากผลการตรวจการนับแยกชนิดเม็ดเลือดขาว พบว่ามีค่า neutrophil ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 737 ราย (ร้อยละ 19.1) มีค่า lymphocyte ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 399 ราย (ร้อยละ 10.4) และมีค่า eosinophil ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 120 ราย (ร้อยละ 3.1) โดยไม่พบค่า monocyte และค่า basophil ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิง โดยสรุป จากการพบนักศึกษาซึ่งมีผลการตรวจ CBC บางพารามิเตอร์อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงโดยรวมสูงถึงร้อยละ 43.3 ดังนั้น การตรวจสุขภาพเบื้องต้นก่อนเข้าการศึกษาจึงมีประโยชน์ ช่วยให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าการศึกษาอีกด้วย

The purposes of this research were 1) to study hematological parameters in complete blood count results among the first year students at Huachiew Chalermprakiet University 2) to study the prevalence of abnormalities in hematological parameters among the first year students at Huachiew Chalermprakiet University 3) to raise health awareness among students and emphasize the necessity of yearly check up. The researchers studied hematological values among first year students in Huachiew Chalermprakiet University during academic year 2011 and 2012 using an automated analyzer. Samples were three thousand eight hundred and forty-nine subjects who attended the orientation week. It was found that 2,182 (56.7%) subjects had normal CBC. There were 791 (20.5%) subjects having hemoglobin outside normal range; 787 subjects (20.4%) had results lower than reference range and 4 subjects (0.1%) had results higher than reference range. Sevenhundred and ten (20.5%) subjects were found to have hematocrit outside normal range; 702 subjects (18.2%) had results lower than reference range and 8 subjects (0.2%) had results higher than reference range. Moreover, it was also found that 44 subjects (1.1%) had abnormal platelet values while 195 subjects (5.1%) had abnormal white blood cell values. Evaluation of blood smear showed that 737 subjects (19.1%) showed abnormal neutrophil values, 399 subjects (10.4%) had lymphocyte value out of reference range, 120 subjects (3.1%) had abnormal eosinophil value, but no monocyte or basophil were found abnormal. Interestingly, 1,667 subjects (43.3%) had one or more parameters outside normal ranges. In sum, this study showed that a basic check up is essential and it emphasized the importance of student health awareness.

นนทยา ทางเรือ และสุชา จุลสำลี. (2558). การศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 15-24.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 9th, 2016 by supaporn

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  (Student and Teaching Factors in Correlation with Happy Learning in Fundamentals of Nursing, Practicum of Nursing Students, Faculty of Nursing, Hauchiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษา และปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน 2) ศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนต่อความสุขของนักศึกษาในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 127 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน การรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ และความสุขในการเรียนรู้ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.91, 0.93 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way ANOVA) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน และความสุขในการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ส่วนการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง (–X ± SD = 4.24±±0.40, 4.12±±0.45 และ 3.57±±0.43 ตามลำดับ) นักศึกษาที่สอนโดยอาจารย์ประจำ มีคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนมากกว่านักศึกษาที่สอนโดยพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.00, p=.024) การรับรู้ความสามารถของนักศึกษาในการเรียนรู้ และคะแนนความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน เมื่อจำแนกตามผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำและพยาบาลพี่เลี้ยง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนและการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.62, p<.001 เท่ากัน) รวมทั้งการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ซึ่งเป็นปัจจัยด้านนักศึกษาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานซึ่งเป็นปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนสามารถร่วมกันทำนายความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานได้ร้อยละ 48.60 (R2 = 0.486 p<.001)
The purposes of this descriptive research were to study the correlation between students and teaching factors and happy learning in the Fundamentals of Nursing a practicum of nursing students in the Faculty of Nursing, Hauchiew Chalermprakiet University as well as to study the prediction power of these factors on happy learning. The samples consisted of 127 second year students of academic year in 2011. The satisfaction of teaching, learning ability perception and happy learning were assessed by self-report questionnaire which statistically has good content validity and reliability (Conbrach’s alpha = 0.91, 0.93 and 0.94, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, independent t-test, one way ANOVA, Pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression. The results showed that the student’s satisfaction with
teaching and the joy of learning were at a high level while student’s learning ability perception was at moderate level (–X ± SD = 4.24±±0.40, 4.12±±0.45 and 3.57±±0.43 respectively). The level of satisfaction in teaching of students who were taught by instructors had higher rating than students taught by Nursing Clinical Instructors (statistically significant at t=2.00, p=.024). As well as, the students’ learning ability perception and happy learning do not have statistically significant difference. In addition, the students’ satisfaction in teaching and the learning ability perception positively correlated with happy learning (statistically significant at r=0.62, p<.001 both). The happy learning was predicted by students’ satisfaction in teaching and learning ability perception was 48.60 (R2 = 0.486, p<.001)

นพนัฐ จำปาเทศ  วิญญ์ทัญญู บุญทัน และ พรศิริ พันธสี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37),  1-14.

อ่านบทความฉบับเต็ม

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว เยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ศูนย์บรรณสารฯ
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.30 น. อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว จำนวน 5 คน เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ห้องสมุดการแพทย์แผนจีน ห้องทรงอักษร หอเอกสาร ดร. อุเทน  เตชะไพบูลย์ ในการนี้ บรรณารักษ์ภาษาจีนให้การต้อนรับร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ระหว่างฟังการบรรยาย

ระหว่างฟังการบรรยาย

20160202-Visit4

ลงนามในสมุดเยี่ยม

พิธีประสาทปริญญา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ม.ค. 30th, 2016 by supaporn

ปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ในปี พ.ศ. 2535 เป็นปีแรกมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของการเปิดการสอนในระดับอุดมศึกษา จวบจนปัจจุบันมีการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก แต่ก่อนหน้านั้น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีพัฒนาการที่สามารถแบ่งออกเป็นช่วงสำคัญได้ 3 ยุค ได้แก่

  • โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย โรงพยาบาลหัวเฉียว (พ.ศ. 2485-2534)
    เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลหัวเฉียว ผลิตนักเรียนผดุงครรภ์ทั้งสิ้น 34 รุ่น
  • วิทยาลัยหัวเฉียว (พ.ศ. 2524-2534)
    โรงเรียนผดุงครรภ์ ได้รับการยกวิทยฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยหัวเฉียว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 เปิดหลักสูตรการศึกษาการพยาบาล ในระดับปริญญาตรี นับได้ว่าคณะพยาบาลศาสตร์เป็นคณะวิชาคณะแรกของวิทยาลัย และเป็นคณะพยาบาลของวิทยาลัยเอกชน แห่งแรกในกรุงเทพฯ ต่อมาได้เพิ่มคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ในปีการศึกษา 2533
  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน)
    ในปีการศึกษา 2535 เป็นปีแรกของการเปิดการสอนในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยได้เปิดสอน 5 คณะวิชา และในปัจจุบันได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี 13 คณะ และระดับบัณฑิตวิทยาลัยจำนวน 9 หลักสูตร 13 สาขาวิชา

Read the rest of this entry »

บัณฑิตรางวัลกาญจนาภิเษก ประจำปีการศึกษา 2557
ม.ค. 30th, 2016 by supaporn

รางวัลกาญจนาภิเษกเป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดตั้งกองทุนเพื่อมอบเป็นรางวัลให้กับนักศึกษาที่ศึกษาครบทุกรายวิชาในระยะเวลา ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยไม่มีการลาพักการศึกษา มีผลการเรียนเป็นผู้ที่สอบได้แต้มเฉลี่ย สะสมตั้งแต่ 3.75 ขึ้นไป มีความประพฤติดีจนเป็นที่ประจักษ์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยด้วยความตั้งใจ จริงใจ และเสียสละอย่างแท้จริง Read the rest of this entry »

华侨崇圣大学图书馆 (ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

华侨崇圣大学的创办人是泰国著名侨领,有意创办这所有着中国文化方面特征的大学,并致力于让学校成为领导泰国汉语言文学、商务汉语、中医学以及中国文化等方面的大学和中国学数据库集聚之地。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีเอกลักษณ์ด้านจีนแห่งนี้ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำด้านภาษาจีน ธุรกิจจีน การแพทย์แผนจีน ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านจีนศึกษาทุกมิติ

华侨崇圣大学华文图书馆位于学校图书馆5楼。于1994年(佛历2537)建立,馆藏有众多媒体资源、期刊、当代华文报纸(共5家报社:京华日报、世界日报、新中源报、星暹日报、中华日报)和关于汉语教材、人文社会、中国文化、历史等等书籍,在教学方面,不仅为本校师生师提供借阅,还可以为各国的学生、研究者提供服务。多年以来,各种社会组织、社团集团、政府单位以及私人珍藏的珍贵书籍源源不断的捐赠至本校成为本馆藏书,使得华侨崇圣大学华文图书馆成为了泰国最大的华文图书馆。

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการที่ชั้น 5 อาคารบรรณสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ประกอบด้วยทรัพยากรสารสนเทศในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ (จำนวน 5 ชื่อเรื่อง ได้แก่ เกียฮั้ว จีนสากล ซิงจงเอี๋ยน ซินเสียนเยอะเป้า และตงฮั้ว) และตำราที่เกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านภาษาจีน ตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมจีน ให้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน ไม่เฉพาะแต่นักศึกษา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ห้องสมุดภาษาจีนแห่งนี้ ยังได้ให้บริการนักศึกษา นักวิจัย จากต่างประเทศอีกด้วย เพียงการสืบค้นจากระบบฐานข้อมูลที่สืบค้นด้านหนังสือจีนในประเทศไทย ด้วยการพยายามจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และการได้รับบริจาคหนังสืออันทรงคุณค่าจากบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทำให้ห้องสมุดจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นห้องสมุดภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

华侨崇圣大学华文图书馆的镇馆之宝是一套由台湾商务印书馆出版发行的影印版《文渊阁四库全书》,全泰国仅此一套。《四库全书》是在乾隆皇帝的主持下,由纪昀等360多位高官、学者编撰,2800多人抄写,耗时十三年编成的丛书,分经、史、子、集四部,故名四库,被称为19世纪最伟大的文学作品。

นอกจากนี้ที่ห้องสมุดภาษาจีนมีหนังสือที่มีคุณค่าชุด “ซื่อคู่ฉวนซู” ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย (Si Ku Quan Shu) ซึ่งเรียบเรียงโดยบัณฑิตแห่งสำนักหันหลินกว่า 2800 คน ในสมัยจักรพรรดิเฉียงหลง โดยใช้เวลาเรียบเรียง 10 ปี (ค.ศ. 1793) “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นตำราที่ประมวลวิชาความรู้อันล้ำลึกไว้ทุกประเภท หนังสือชุดนี้ได้มีผู้กล่าวไว้ว่าเป็นตำราที่ยิ่งใหญ่ในด้านวรรณคดี ในศตวรรษที่ 18

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)
ม.ค. 13th, 2016 by supaporn

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)

จากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของ รศ. ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ซึ่งเขียนสื่อสารเรื่อง ปฏิมากรรมนกหงัง แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) และ จากการกล่าวของคุณสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ในพิธีส่งมอบปฏิมากรรมนกหงัง ให้แก่มหาวิทยาลัยในวันที่ 25 มีนาคม 2556 ได้กล่าวถึง ปฏิมากรรมนกหงัง สรุปความได้ว่า

“ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง) ที่เพิ่งจะยกลงจากรถขนย้าย เมื่อเวลา 02:52 น. ของวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556 ณ. บริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารบรรณสาร ใกล้เสาธงตรงสวนลวดลาย ด้านขวามือของรูปเหมือนของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์นั้น เดิมปฏิมากรรมนกหงัง ตั้งอยู่ด้านหน้าธนาคารธนชาต สาขาสวนมะลิ นับว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพนักงานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ครั้งยังเป็นธนาคารศรีนคร ซึ่งประติมากรรมนี้ได้สะท้อนปรัชญา “การเป็นผู้นำที่ดี ความมีระเบียบวินัย ความรักใคร่สามัคคี และการให้ไม่รู้จบ” ที่ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนครยึดมั่น และใช้เป็นแนวคิดในการบริหารงานพร้อมปลูกฝังให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตสืบมาจนกระทั่งเป็นธนาคารธนชาตในวันนี้ แนวคิดนี้ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาก้าวหน้าต่อไป Read the rest of this entry »

ชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ม.ค. 11th, 2016 by supaporn

ถ้าเอ่ยชื่อ บางพลี บางบ่อ หนองงูเห่า คนส่วนใหญ่ก็จะคุ้นหูและรู้ว่า แต่ละชื่อ มีความเด่นหรือดังในด้านใด เช่น ปลาสลิดอร่อยๆ ก็ต้องเป็นปลาสลิดบางบ่อ หนองงูเห่า ก็เป็นชื่อเรียกแต่เดิมก่อนจะมาเป็นสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้ง 3 ชื่อนี้ล้วนอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งสิ้น

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ ใน การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

อำเภอบางพลี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ชุมชนบางพลีในอดีต ใช้คลองสำโรงซึ่งขุดขึ้นในรัชสมัยของอารยธรรมขอมโบราณ ระหว่าง พ.ศ. 978 ถึง 1700 เป็นเส้นทางหลักในการสัญจรและการค้าขายที่สำคัญ และยังมีคลองซอยต่างๆ อีกประมาณ 100 คลอง ด้วยความเจริญทางวัตถุที่แผ่ขยายเข้ามา ทำให้คลองที่เคยทำหน้าที่ระบายน้ำถูกปรับเปลี่ยนสภาพเป็นถนน หรือเป็นเพียงคูน้ำเล็กๆ ที่เหลือเพียงชื่อที่สะท้อนเรื่องราวความสำคัญของตัวตนคนบางพลี พิธีกรรม ประเพณี วัฒนธรรม ของชุมชนบางพลี

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore : A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bangplee District, Samutprakarn Province) โดย พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษา รวบรวม และเรียบเรียง ชื่อของหมู่บ้านและลำคลองของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะสัมพันธ์กับแง่มุมของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วรรณกรรม ภูมิศาสตร์ และชาติพันธุ์ ตามความเชื่อ ความรู้ ประสบการณ์ ตามคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่นซึ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีตและถ่ายทอดได้อย่างตรงไปตรงมา ประสานกับข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ ที่บันทึกโดยหน่วยงานราชการ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa