SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
พ.ค. 26th, 2018 by rungtiwa

งานที่สำคัญอีกงานหนึ่งของการยืม คืน ทรัพยากรสารสนเทศ คือ การตรวจสอบพันธะ เนื่องจากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบสมาชิกประเภทต่างๆ ของห้องสมุดที่จะมีสถานะ พ้นสภาพ ซึ่งรวมถึง การลาออก  การจบการศึกษา ว่ามีหนังสือคงค้าง หรือค่าปรับคงค้างกับห้องสมุดหรือไม่

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทรัพยากรบุคคล (กรณีที่เป็นบุคลากร) กองคลัง และ สำนักทะเบียนและประมวลผล (กรณีที่เป็นนักศึกษา) จะส่งรายชื่อมายังศูนย์บรรณสารสนเทศ โดยแผนกบริการสารสนเทศ ตรวจสอบพันธะต่อไป

การตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิกจะกระทำเมื่อ ผู้ใช้บริการไม่ได้เป็นสมาชิกของศูนย์บรรณสารสนเทศแล้ว ผู้ให้บริการจึงต้องทำการตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิกออกจากระบบ  ดูเพิ่มเติม  งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

รายการอ้างอิงง่ายๆ ด้วยระบบ WMS

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมา

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

การจัดซื้อวารสารไม่ยากอย่างที่คิดสำหรับมือใหม่
พ.ค. 25th, 2018 by อุไรรัตน์ ผาสิน

เคยตั้งคำถาม? หรือไม่ว่าทำไมห้องสมุดถึงยังต้องมีการจัดหาตัวเล่มของวารสารมาไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ทั้งๆ ที่ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวารสาร หรือหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัย ทั้งในรูปแบบของวารสารที่เป็นอิเลคทรอนิคส์  มี QR Code อยู่ตามหน้าปกตัวเล่ม เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการค้นคว้า ในยุคของโลกโซเชี่ยล หรือแม้แต่การอ่านข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ ก็จะมี application ของหนังสือพิมพ์ต่างๆ ให้ download เพื่อติดตามข่าวสารทางหน้าจอโทรศัพท์ รวมทั้งสะดวกรวดเร็วในการค้นคว้าหาข้อมูล

แต่กระนั้นแม้จะมีความสะดวก ทันสมัยมากเท่าไร ความต้องการแบบเดิมๆ ก็ยังมีผลต่อการค้นคว้า การอ่านบทความ รวมทั้งภาพถ่ายที่หลากหลาย และการอ่านจากตัวเล่มก็ยังได้อรรถรส มากกว่าการอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์ที่ตัวหนังสือมีขนาดเล็ก ทำให้ต้องใช้สายตาในการอ่านมากกว่าปกติ

166754

ดังนั้น ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงยังมีพิจารณาการบอกรับวารสารที่เป็นตัวเล่มอยู่ โดยจะมีการพิจารณาการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ก่อน หรือจัดทำ QR code เพื่อให้ผู้ใช้บริการสแกนในการเข้าถึงวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการเข้าถึงได้มากกว่าตัวเล่ม สะดวกในการใช้ตามอุปกรณ์ที่เกิดขึ้น และลดงบประมาณในการรวมวารสารเพื่อการเย็บเล่ม  โดยมีกระบวนการสั่งซื้อวารสาร ดังนี้ Read the rest of this entry »

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
พ.ค. 24th, 2018 by somsri

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและจีนศึกษา ศูนย์บรรณสารสนเศ ซึ่งเป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย จึงมีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีการให้บริการหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ ชั้น 4

ดังนั้น เพื่อให้หนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงาน จึงได้จัดมุมหนังสือใหม่ (New Books) ขึ้น ที่บริเวณประตูทางเข้าชั้น 4 ดังปรากฏดังภาพ

24.1

โดยการจัดมุมหนังสือแนะนำนั้น จะเลือกหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีการจัดทำบรรณนิทัศน์ประกอบหนังสือแต่ละเล่มไว้ด้วย เพื่อเป็นการนำเสนอให้ผู้ใช้บริการอ่านเนื้อหาโดยสรุปและพิจารณาที่จะอ่านต่อหรือยืมกลับไปอ่านต่อไป

 

24.4

 

24.2

 

24.3
หนังสือแนะนำดังกล่าว จะมีการประชาสัมพันธ์ขึ้น เฟซบุ๊ค ของศูนย์บรรณสารสนเทศและทางเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศในแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน

หากผู้ใช้สนใจต้องการยืม สามารถหยิบไปยืมได้ที่ชั้น 1 ค่ะ

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
พ.ค. 22nd, 2018 by uthairath

Acquisition module เป็นหนึ่งในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module โดยมีขั้นตอนการทำงานประกอบด้วยส่วนของ Budgets โดยสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ เป็น 3 ส่วนหลัก  ได้แก่ Books 2017 (การจัดซื้อหนังสือ), Database (ฐานข้อมูล), Journal (วารสาร)  ดังรูป

รูปภาพที่ 1. แสดงส่วนของงบประมาณ

บทความนี้จะขออธิบายในส่วนของ Books 2017 ที่จัดสรรงบประมาณให้กับคณะต่างๆ ที่มีอยู่ 14 คณะแยกเป็นหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ ดังรูป

Read the rest of this entry »

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS จุดเด่น/ความแตกต่าง (ตอนที่ 2)
พ.ค. 20th, 2018 by supaporn

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดในฐานะที่เคยทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศหรือ Cataloging ก็คือ โมดูลในการลงรายการบรรณานุกรมนั้น ในระบบ WorldShare Management Services – WMS นั้น ให้ความสำคัญกับการทำเมทาดาทา การบริหารจัดการเมทาดาทา ขั้นตอนการทำงานในโมดูลเทาดาทาจึงมีแตกต่างจากโมดูล Cataloging ของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป กล่าวคือ ในโมดูลเมทาดาทา (Metadata Module) ซึ่งเป็นโมดูลของการนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศ หรือเดิมมักจะรู้จักกันในชื่อว่า Cataloging Module จะมีการบริหารจัดการข้อมูลทางบรรณานุกรม หรือเมทาดาทาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม และเนื่องจากเป็นการรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่เป็นสมาชิก OCLC มากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก จึงทำให้สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างการสร้างระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมแตกต่างจากเดิมเพื่อให้สนับสนุนการทำงานที่เป็นระบบ World Cataloging ซึ่งก็คือ พัฒนาการของการเป็นระบบสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalogue นั่นเอง

สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างระเบียนทางบรรณานุกรมของระบบ WMS เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงกับ WorldCat นั้น จึงแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย คือ

1. Master Record
2. Local Bibliographic Data (LBD)
3. Local Holding Record (LHR)

โครงสร้างระเบียนบรรณานุกรม

 

Master Record หมายถึง ระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดนำเข้าระบบเป็นแห่งแรก จะถือว่าระเบียนนั้น เป็นระเบียนหลัก ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศที่นำเข้าตามหลักเกณฑ์การลงรายการทางบรรณานุกรมแบบ AACR2 และ MARC21 หรืออาจจะเป็น RDA ห้องสมุดอื่นที่จะนำเข้าในระบบ WorldCat และตรวจสอบความซ้ำซ้อนและพบว่ามีระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าอยู่แล้ว (Master record) สามารถใช้ Master record เพื่อเป็นระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดตนเองได้ โดยไม่ต้องลงข้อมูลทางบรรณานุกรมใหม่ แต่สามารถเพิ่มข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นข้อมูลเฉพาะของห้องสมุดได้ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Bibliographic Data (LBD) และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับ item information ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Holding Record (LHR)

Local Bibliographic Record (LBD) หมายถึง ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดแห่งอื่นๆ ที่ใช้ Master record ร่วมกัน มีข้อมูลที่เป็นส่วนของห้องสมุดต้องการใส่ เช่น หัวเรื่อง (ที่กำหนดใช้ขึ้นเอง) หมายเหตุ (Note) ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นเอง ชื่อชุด ที่กำหนดเอง

Local Holding Record (LHR) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับ item ของระเบียนนั้นๆ ได้แก่ เลขหมู่ หมายเหตุ (ที่เกี่ยวกับหนังสือ) บาร์โคด ราคา การกำหนดการยืม การกำหนดการให้ทำสำเนา เป็นต้น

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS จุดเด่น/ความแตกต่าง (ตอนที่ 1)
พ.ค. 18th, 2018 by supaporn

ถ้าจะกล่าวถึง ความแตกต่างของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติอื่นๆ อย่างไรบ้าง นั้น ข้อแรก คงต้องพูดถึง การเป็น Library Services Platform (LSP) ที่มีการพัฒนาไปจาก Library Integrated System (LIS)

ลักษณะขอ LIS เราน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่การเป็น LSP นั้นมีลักษณะ

 

ลักษณะของ LSP

ลักษณะของ LSP

กล่าวคือ LSP ทำให้ห้องสมุดสามารถบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สามารถขยายเนื้อหาที่มีรูปแบบหลากหลายทั้งฉบับพิมพ์ และฉบับอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนกระบวนการจัดซื้อที่หลากหลาย การจัดซื้อสำหรับการเป็นเจ้าของอย่างถาวร ผ่านการจ่ายค่าอนุญาตหรือการเป็นสมาชิก เอื้อต่อการจัดการเมทาดาทาที่มีหลายเกณฑ์และเหมาะสมกับสื่อที่มีความแตกต่างกัน อย่างน้อย ตระกูล MARC หรือ Dublin Core รวมถึงการสนับสนุนการให้บริการที่บูรณาการกันโดยมีการใช้ API และโปรโตคอลอื่นๆ ที่สามารถใช้งานข้ามกันได้ (Interoperability) นอกจากนี้ LSP สนับสนุนการทำงานแบบ Multi-tenant กล่าวคือ ระบบซอฟต์แวร์ชุดเดียวแต่ให้บริการคนหลาย ๆ คนในขณะเดียวกันได้ โดยผู้ใช้ต่างห้องสมุดและมีข้อกำหนดของคุณสมบัติของระบบซอฟต์แวร์บางอย่างแตกต่างกันได้

หาอ่านโดยละเอียด ลึกๆ ได้จากหลายแหล่งค่ะ เช่น

https://journals.ala.org/index.php/ltr/article/view/5686/7063

https://www.niso.org/sites/default/files/stories/2017-09/FE_Grant_Future_Library_Systems_%20isqv24no4.pdf

http://helibtech.com/file/view/Rethinking_the_LSP_Jan2016a.pdf

 

 

แนะนำมุมหนังสือพลังงาน
พ.ค. 16th, 2018 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการมุมหนังสือพลังงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวพลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยจะนำหนังสือและสื่อความรู้ต่าง ๆ ซึ่ง ประกอบด้วย หนังสือ จุลสาร เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา และพลังงาน นำมาจัดเป็น “มุมหนังสือพลังงาน” ที่บริเวณ ชั้น 4 อาคารบรรณสาร ผู้ใช้บริการสามารถยืมทรัพยากรได้ โดยตัวเล่มจะมีสัญลักษณ์ ติดแถบสติกเกอร์สีเขียวเข้มไว้มุมบนซ้ายมือ มุมหนังสือพลังงานดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561

 

มุมหนังสือพลังงาน ชั้น 4 Read the rest of this entry »

งานบริจาคหนังสือ…การให้การแบ่งปันความรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
มี.ค. 28th, 2018 by supachok

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  มีภาระกิจหลักในการเสาะแสวงหาทรัพยกรสารสนเทศ หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศทั้งด้วยการจัดซื้อด้วยงบประมาณของมหาวิทยาลัย และการขอรับบริจาคจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อนำทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยฯ ให้ครอบคลุมหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยทำการเรียน การสอน การวิจัย รวมทั้งทรัพยากรสารสนเทศทั่วๆ ไป โดยสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศผ่านการสืบค้นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “WMS” หรือ WorldShare Management Services

สำหรับงานบริจาคของแผนกจัดหาฯ นั้นจะช่วยประหยัดงบประมาณด้านจัดซื้อได้มากทีเดียว หนังสือดีๆ มักจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาศูนย์บรรณสารสนเทศา ถ้ามีซ้ำและพิจารณาแล้วว่า มีจำนวนพอเพียง หรือทดแทนเล่มเก่าที่ชำรุดแล้ว จะบริจาคให้แก่หน่วยงานต่างๆ ต่อไป แต่คาดว่ายังมีหนังสือดีๆ ที่ยังไม่มีจึงต้องเสาะแสวงหาต่อไป

รูปแบบการรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ Read the rest of this entry »

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS
มี.ค. 26th, 2018 by Tossapol Silasart

เมื่อศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้นั้น จะมีบางช่วงที่ต้องยังต้องใช้ระบบ Offline คู่ขนาน หรือสำรอง เนื่องจาก

  • ระบบ Offline Circulation WMS จะใช้งานก็ต่อเมื่อ ระบบ WorldShare Circulation ปิดระบบชั่วคราว หรือระบบไม่พร้อมใช้งาน

โดยระบบ Offline Circulation WMS ได้ทำการติดตั้งโปรแกรมอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม – คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ Read the rest of this entry »

Kahoot!it
มี.ค. 23rd, 2018 by kamolchanok

kahootbb1

Kahoot เป็นเครื่องมือสร้างคำถามออนไลน์แบบฟรี สามารถใช้งานได้ผ่าน Smartphone หรือ Notebook, Desktop,  Tablet ที่เชื่อมต่อกับ Internet  ผู้ถามกับผู้ตอบต้องอยู่ในที่เดียวกัน เมื่อเข้าสู่ชุดคำถามใน  Kahoot  จะมีการแสดงจำนวนผู้เข้าร่วมเล่น  ผลการตอบคำถามในแต่ละครั้ง จะแสดงลำดับของผู้เข้าร่วมตอบคำถาม แบบทันที หลังตอบคำถามเสร็จ สามารถนำ Kahoot มาใช้ในชั้นเรียนหรือบรรณารักษ์ สามารถใช้เพื่อประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ หรือกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุดที่ต้องการให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการตอบคำถามได้

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa