SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ศูนย์บรรณสารสนเทศ กับรางวัล 7 ส ยอดเยี่ยมประเภทหน่วยงาน
ก.ค. 7th, 2016 by supaporn

วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เข้ารับรางวัลชนะเลิศ 7 ส ในงาน Big Cleaning Day ของมหาวิทยาลัย โดย อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เป็นประธานในการมอบรางวัล

ภาพหมู่กับหน่วยงานและบุคลากรที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ

ภาพหมู่กับหน่วยงานและบุคลากรที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ

 

อธิการบดี มฉก. มอบโล่รางวัลให้กับ ผอ. ศูนย์บรรณสารสนเทศ

อธิการบดี มฉก. มอบโล่รางวัลให้กับ ผอ. ศูนย์บรรณสารสนเทศ

ภาพชาวบรรณสาร

ภาพชาวบรรณสาร

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการกิจกรรม 7 ส ซึ่งประกอบด้วย สะสาง สะดวก สุขลักษณะ สร้างนิสัย สวยงาม และ สิ่งแวดล้อม มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้งานเกิดคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้ความสำคัญในเรื่องของความสวยงามและสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากกิจกรรม 5 ส ที่ผ่านมา

ความหมายของ 7 ส.

ส 1  หมายถึง สะสาง แยกของที่ต้องการกับของที่ไม่ต้องการใช้งาน หรือ ของที่มีปริมาณมากเกินจำเป็นให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นไว้เท่านั้น

ส 2 หมายถึง สะดวก จัดเก็บของ แยกประเภทของที่จำเป็น ให้สะดวกเก็บ สะดวกใช้ โดยใช้หลัก “หยิบง่าย หายรู้ ดูก็งามตา”

ส 3 หมายถึง สะอาด มีวิธีการทำความสะอาด แบ่งหน้าที่กันทำความสะอาด โดยการ ปัด กวาด เช็ด ถู ดูแลให้สะอาด พร้อมใช้ สม่ำเสมอ

ส 4 หมายถึง สุขลักษณะ รักษามาตรฐานที่ดี ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และพัฒนาให้ดีเสมอ เพื่อสุขลักษณะที่ดีในสถานที่ทำงาน โดย ค้นหาสาเหตุที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น มลภาวะ อุบัติเหตุ แสงสว่าง เสียงดัง ฝุ่น เศษขยะ กลิ่นอับ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

ส 5 หมายถึง สร้างนิสัย รักษาระเบียบวินัยและมาตรฐานข้อตกลง โดย ช่วยกันปฏิบัติตามหลัก 7 ส ให้เป็นกิจวัตรประจำวันจนติดเป็นนิสัย

ส 6 หมายถึง สวยงาม รักษาสภาพแวดล้อม บรรยากาศในที่ทำงาน ดูดี สบายตา สบายใจ สดชื่น น่าทำงาน แต่ไม่ฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น

ส 7 หมายถึง สิ่งแวดล้อม ประหยัดทรัพยากรในการทำงาน โดยการ ประหยัด น้ำ ไฟฟ้า กระดาษ ที่ยึดหลัก 1A3R คือ

A  หมายถึง  Avoid หลีกเลี่ยงการใช้
R  หมายถึง  Reduce ลดการใช้
R  หมายถึง  Reuse นำกลับมาใช้
R  หมายถึง  Recycle นำไปผลิตใหม่

ขอขอบคุณ ชาวบรรณสารทุกท่านค่ะ “ชาวบรรณสาร ร่วมมือ ร่วมใจ ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

การประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรม จนเป็นอาคารประหยัดพลังงานชนะเลิศ
มิ.ย. 3rd, 2016 by supaporn

MEA Energy Saving Building 2015

MEA Energy Saving Building 2015

จากหนังสือ MEA Energy Saving Building 2015 โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ป่ี 3 ของการไฟฟ้านครหลวง ได้แนะนำอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ  โดยมีการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติซึ่งชนะเลิศอาคารประหยัดพลังงาน ปี 2015 ประเภทมหาวิทยาลัย ไว้ดังนี้

ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดี

ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดี

Read the rest of this entry »

ความร่วมมือกับสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ค. 17th, 2016 by supaporn

วันที่ 17 พฤษภาคม 2559 รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี ให้การต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร และคณะในโอกาสหารือและเจรจาความร่วมมือ การใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ และการใช้ฐานข้อมูลงานวิจัยร่วมกัน  ในการนี้ ผู้อำนวยการและผู้ช่วยศูนย์บรรณสารสนเทศ เข้าร่วมการหารือในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ มฉก. บางพลี

HUC-CU-1                                                                                      HCU-CU-3

HCU-CU-2

HCU-CU-4

ความสำเร็จของ “อาคารประหยัดพลังงานดีเลิศ” ของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เม.ย. 2nd, 2016 by supaporn

รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

หลังจากการประกาศผลการประกวดอาคารประหยัดพลังงานดีเลิศ ของ กฟน.(MEA Energy Saving Building Award) เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 27 มกราคม 2559 รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ได้ส่งสารถึงบุคลากร มฉก. ความว่า

27 มกราคม 2559
เรียน ชาว มฉก. ที่รักทุกท่าน

หลายท่านคงจะได้ทราบกันแล้วว่า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของเรา ได้รับรางวัลและตราสัญญลักษณ์ “อาคารประหยัดพลังงานดีเลิศ ของ กฟน. (MEA Energy Saving Building Award)” พร้อมกับได้รับเงินรางวัล จำนวน 2,000,000.00บาท(สองล้านบาท) จากการไฟฟ้านครหลวงในวันนี้ (27 มกราคม 2559) นับเป็นสิ่งที่น่ายินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งของพวกเรา  เนื่องจากรางวัลนี้เป็นรางวัลที่ไม่ใช่จะได้กันมาง่ายๆ ต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการชุดต่างๆ มาหลายขั้นตอนหลายรอบ จนกระทั่งผ่านเข้ารอบสุดท้ายที่เราต้องแข่งขันเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยต่างๆอีกถึง 8 มหาวิทยาลัย และ มฉก.เราก็ได้รับรางวัลนี้ในที่สุด

Read the rest of this entry »

หลวงปู่ไต้ฮงกง
ก.พ. 24th, 2016 by matupode

หลวงปู่6

ในวันศุกร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ ที่จะถึงนี้ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  (มฉก.) จะจัดพิธีรำลึกและบำเพ็ญกุศลแก่หลวงปู่ไต้ฮงกง พระภิกษุสงฆ์ที่มีจริยวัตรแห่งเมตตาธรรมช่วยเหลือทั้งผู้มีชีวิตที่ยากไร้และผู้ตายที่ไร้ญาติ คุณธรรมความดีของท่านควรค่าแก่การถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่พวกเราชาว มฉก.

ขอเชิญร่วมรำลึกถึงหลวงปู่ไต้ฮงกง และศึกษาชีวประวัติของท่านเพิ่มเติมได้ที่ หลวงปู่ของเรา

รายการอ้างอิง

กรรณิการ์ ตันประเสริฐ. (๒๕๔๓). ๙๐ปีมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

 

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)
ม.ค. 13th, 2016 by supaporn

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)

จากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของ รศ. ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ซึ่งเขียนสื่อสารเรื่อง ปฏิมากรรมนกหงัง แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) และ จากการกล่าวของคุณสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ในพิธีส่งมอบปฏิมากรรมนกหงัง ให้แก่มหาวิทยาลัยในวันที่ 25 มีนาคม 2556 ได้กล่าวถึง ปฏิมากรรมนกหงัง สรุปความได้ว่า

“ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง) ที่เพิ่งจะยกลงจากรถขนย้าย เมื่อเวลา 02:52 น. ของวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556 ณ. บริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารบรรณสาร ใกล้เสาธงตรงสวนลวดลาย ด้านขวามือของรูปเหมือนของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์นั้น เดิมปฏิมากรรมนกหงัง ตั้งอยู่ด้านหน้าธนาคารธนชาต สาขาสวนมะลิ นับว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพนักงานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ครั้งยังเป็นธนาคารศรีนคร ซึ่งประติมากรรมนี้ได้สะท้อนปรัชญา “การเป็นผู้นำที่ดี ความมีระเบียบวินัย ความรักใคร่สามัคคี และการให้ไม่รู้จบ” ที่ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนครยึดมั่น และใช้เป็นแนวคิดในการบริหารงานพร้อมปลูกฝังให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตสืบมาจนกระทั่งเป็นธนาคารธนชาตในวันนี้ แนวคิดนี้ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาก้าวหน้าต่อไป Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa