วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms
2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้
2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่ All WorldCat
2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number
2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น Title
Search: Title = 中华实用起名全解
รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search
Read the rest of this entry »
บอร์ดเกม (Board game) หรือ เกมกระดาน คือ เกมส์กระดานรูปแบบหนึ่งต้องใช้ชิ้นส่วนหรือตัวหมาก วางไว้บนพื้นที่เล่นเคลื่อนที่หรือหยิบออกจากพื้นที่เล่น พื้นที่เล่นเปรียบได้กับ “กระดาน” ซึ่งจะมีพื้นผิวหรือรูปภาพเฉพาะสำหรับเกมนั้น ๆ
แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ เริ่มมีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศประเภท บอร์ดเกม (Board game) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 (ช่วงปลายปีงบประมาณ 2561) มีให้บริการที่บริเวณ ชั้น 1 ส่วนพื้นที่ในการเล่น บอร์ดเกม (Board game) ทุกพื้นที่ของอาคารบรรณสาร สามารถยืมบอร์ดเกม (Board game) ผ่านระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)
ขั้นตอนการลงรายการบรรณานุกรมบอร์ดเกม (Board game)
วิธีและขั้นตอนการทำ Derive Bib หรือทำการคัดลอก Bib เดิม ให้ได้ Bib ใหม่
ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหาฯ ของแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับมอบหมายในการลงรายการเบื้องต้น และทำการ Derive ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) ในการสร้าง Order ของฐานข้อมูลห้องสมุด เพื่อเป็นการลงรายการทางบรรณนุกรมเบื้องต้น และเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีขั้นตอนดังนี้
Search: Title = ทำตลาดได้เงินล้านบนไลน์ด้วย Line@ (All WorldCat)
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้มีการจัดพิมพ์โครงการตำรามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตำราที่อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เขียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตำราประกอบการเรียนการสอนประจำวิชา หรือเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ที่สนใจ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับตำราที่จัดพิมพ์นี้ รวบรวมเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษาที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าซึ่งแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะดำเนินการลงรายการในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) เพื่อให้สามารถสืบค้นได้ต่อไป
หลักเกณฑ์ในการลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือประเภทตำรา นี้ งานวิเคราะห์ทรัพยากรฯ จะลงรายละเอียดขอบเขตของหนังสือไปตามขั้นตอนและกำหนดการลงรายการทางบรรณานุกรม แต่จะมีการกำหนดคำค้น เพื่อให้สืบค้นได้จากหลักเกณฑ์ทั่ว ๆไป เช่น จากชื่อผู้เขียน ชื่อเรื่อง หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา แล้วยังมีการกำหนดหัวเรื่อง ว่า ตำรา (มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) ไว้ใน Tag 690 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นได้ และเป็นการควบคุมข้อมูลที่เกี่ยวกับตำรา ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทั้งหมด Read the rest of this entry »
ในกุารลงรายการทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ ในบางกรณี จะพบว่ามีการกำหนดชื่อของทรัพยากรสารสนเทศไว้ในส้วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่แหล่งข้อมูลหลัก (Chief source of information) เช่น หน้าปก สันหนังสือ เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีชื่อเรื่องที่แตกต่างกันออกไป หรือแม้แต่ชื่อเรื่องที่มาจากแหล่งข้อมูลหลักเอง เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นได้ทุกชื่อเรื่องที่ปรากฏ หรือทุกชื่อที่น่าจะเป็นช่องทางในการเข้าถึง บรรณารักษ์มักจะกำหนดชื่อเรื่องที่แตกต่างกันนั้น ไว้ในเขตข้อมูล 246 (Varying form of title) ซึ่งมีรายละเอียดของหลักเกณฑ์ในการลงรายการของเขตข้อมูล 246 ดังรายละเอียด
การลงรายการหนังสือ มสธ. (เอกสารประกอบการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อเข้าห้องสมุดเพื่อให้บริการผู้ใช้ ดังนั้นในการลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวอาจเป็นปัญหาอยู่บ้าง ดังนั้น เพื่อให้การทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกันจึงต้องมีการลงรายการที่เป็นแบบแผนเดียวกัน ซึ่งแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ มีการหารือประเด็นการทำงานเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 และสรุปประเด็นในการทำงานไว้ ดังนี้
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงรายการเอกสารการสอน ของ มสธ. ดังรายละเอียดต่อไปนี้