SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
แนวทางการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทหนังสือ มสธ.
มิถุนายน 4th, 2018 by dussa

การลงรายการหนังสือ มสธ. (เอกสารประกอบการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อเข้าห้องสมุดเพื่อให้บริการผู้ใช้ ดังนั้นในการลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวอาจเป็นปัญหาอยู่บ้าง ดังนั้น เพื่อให้การทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกันจึงต้องมีการลงรายการที่เป็นแบบแผนเดียวกัน ซึ่งแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ มีการหารือประเด็นการทำงานเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 และสรุปประเด็นในการทำงานไว้ ดังนี้

picblog1.1

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงรายการเอกสารการสอน ของ มสธ. ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. พิจารณาจากตัวเล่ม ลักษณะทรัพยากรจะแบ่งเป็นหน่วย ๆ อย่างน้อย 2-3 หน่วย แบ่งได้ดังนี้  หน่วยที่ 1-7 และ หน่วยที่ 8-15 เป็นต้น
  2. พิจารณาจาก ปี พ.ศ ที่จัดพิมพ์เป็นหลักในการลงรายการ (ถ้าปีพิมพ์เดียวกันสร้างเพียง 1 ระเบียน หรือ 1 bib เท่านั้น)
  3. ลงรายการตาม MARC 21 ดังนี้

ลงรายการ Tag 245 00 การบริหารงานสาธารณสุข =$b Public health management

ลงรายการ Tag 246 30  เอกสารการสอนชุดวิชา 53407 การบริหารงานสาธารณสุข

ลงรายการ Tag 246 30  เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานสาธารณสุข

ลงรายการ Tag 246  31  Public health management

ดังตัวอย่างในระบบ WMS ดังต่อไปนี้

picblog2-1

ลงรายการ Tag 500 รายการ Note

ตัวอย่างการพิมพ์รายละเอียดรายการ Note ให้พิมพ์ดังนี้

ล.1 :หน่วยที่ 1 แนวคิดระบบสุขภาพ ; หน่วยที่ 2 แนวคิดการบริหารงานสาธารณสุข ; หน่วยที่ 3 หลักการวางแผนงานสาธารณสุข ; หน่วยที่ 4 หลักการบริหารองค์การสาธารณสุข ; หน่วยที่ 5 การบริหารกำลังคนด้านสุขภาพ ; หน่วยที่ 6 หลักการอำนวยการในงานสาธารณสุข ; หน่วยที่ 7 หลักเศรษฐศาสตร์เพื่อการบริหารงานสาธารณสุข ; หน่วยที่ 8 การบริหารการเงินและการพัสดุในงานสาธารณสุข — ล.2 :หน่วยที่ 9 การบริหารระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ ; หน่วยที่ 10 การนิเทศ ติดตามกำกับ และประเมินผลงานสาธารณสุข ; หน่วยที่ 11 การบริหารงานสาธารณสุขในชุมชนและท้องถิ่น ; หน่วยที่ 12 การสร้างเครือข่ายในงานสาธารณสุข ; หน่วยที่ 13 การบริหารคุณภาพงานสาธารณสุข ; หน่วยที่ 14 การพัฒนาองค์การสาธารณสุข ; หน่วยที่ 15 การบริหารงานสาธารณสุขแนวใหม่

ดังตัวอย่างในระบบ WMS ดังต่อไปนี้

picblog2-2

ลงรายการหัวเรื่อง ในเขตข้อมูล Tag 6xx

ลงรายการเพิ่มเติม ชื่อผู้แต่ง ในเขตข้อมูล Tag 7xx

ดังตัวอย่างในระบบ WMS ดังต่อไปนี้

picblog2-4
การลงรายการ Call number ในส่วนของ LBD Local Bibliographic ดังนี้

Tag 590  การลงรายการเป็น ระบบ LC

Tag 591   การลงรายการเป็น ระบบ NLM

Tag 598  ลงรายการที่มาของทรัพยากรที่จัดซื้อ

Tag 599  ลงรายการที่มาของทรัพยากรที่ได้รับบริจาค

ดังตัวอย่างในระบบ WMS ดังต่อไปนี้

picblog2-3

 

การลงรายการ Item ในส่วนของ LHR (Local Holdings Records) ดังนี้

ดังตัวอย่างในระบบ WMS ดังต่อไปนี้

 

picblog2-6

 

 

ดังนั้น เมื่อมีแนวทางดังกล่าว ข้างต้น จะทำให้มีวิธีการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นแบบแผนเดียวกัน สืบค้นข้อมูลได้มากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานเองและผู้ใช้บริการ


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa