SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
ก.ค. 9th, 2018 by chonticha

บุคลากรจากแผนบริการสารสนเทศในแต่ละชั้น มีหน้าที่ในการรับหนังสือใหม่ที่ผ่านการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศแล้ว เพื่อนำให้บริการต่อไป แต่ก่อนที่จะนำขึ้นให้บริการนั้น แผนกบริการสารสนเทศ จะมีการถูกสอบความถูกต้องของหนังสือ เช่น เลขเรียกหนังสือที่อาจจะผิดพลาดได้ กล่าวคือ สันหนังสืออาจจะมีเลขเรียกหนังสือต่างจากที่บันทึกในระบบห้องสมุด

แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีขั้นตอนในการตรวจสอบ ดังนี้

1.หนังสือที่ผ่านการ Catalog จากแผนกวิเคราะห์ฯ เรียบร้อยแล้ว หนังสือจะถูกส่งมายังแผนกบริการสารสนเทศ เพื่อขึ้นชั้นให้บริการ พร้อมแบบฟอร์มการส่งหนังสือ ดังภาพ

ตรวจหนังสือ1

2.เมื่อตรวจเช็คจำนวนหนังสือแล้ว จึงนำตัวเล่มหนังสือนั้นๆ มาตรวจสอบความถูกต้องในระบบห้องสมุด WMS  หรือ WorldShare Management Services ก่อนนำขึ้นชั้นหนังสือต่อไป

วิธีการตรวจสอบความถูกต้องในระบบ WMS Read the rest of this entry »

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
ก.ค. 9th, 2018 by chonticha

การซ่อมหนังสือ เป็นการบำรุงรักษาหนังสือของห้องสมุด หนังสือที่ผ่านการหยิบใช้งานบ่อยๆ อาจมีชำรุด เช่น สันหนังสือ ปกหนังสือ หรือ หน้าหนังสือ หลุดออกจากตัวเล่ม ตัวอย่างหนังสือที่ชำรุด ดังภาพ

การเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อมเมื่อผู้ดูแลความเรียบร้อยประจำพื้นที่ พบหนังสือชำรุด จะเก็บหนังสือเล่มนั้นๆ มาเพื่อซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อพร้อมที่จะนำออกให้บริการต่อไปจึงต้องมีการ เปลี่ยน Status ของหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ยังไม่พร้อมให้บริการ โดยจะปรากฏ ที่หน้าจอ การสืบค้น ดังนี้  “Repair Room”

การเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

เมื่อหนังสือได้รับการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องเปลี่ยน Status เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นๆ พร้อมให้บริการแล้ว โดยจะปรากฏ ที่หน้าจอ การสืบค้น ดังนี้  “Available”

การเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

Read the rest of this entry »

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ก.ค. 5th, 2018 by yuphin

ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS มีฟังก์ชั่น ในการพิมพ์สันหนังสือได้ โดยใช้คำสั่ง Label and Export List สำหรับการพิมพ์สันหนังสือ หรือเลขเรียกหนังสือที่บรรณารักษ์กำหนดไว้สำหรับหนังสือเล่มนั้นๆ ตามขั้นตอนดังนี้

  1. นำหนังสือที่ต้องการพิมพ์สันมาสืบค้นจากระบบ WMS โดยเลือกค้นจากเลข OCLC Number ดังตัวอย่างจะพบหนังสือชื่อเรื่อง “เรื่องไม่เคยเล่าในวังต้องห้าม”

10.

Read the rest of this entry »

วิธีการทำสมุดโน๊ตจากส.ค.ส เก่า
ก.ค. 5th, 2018 by pisit

ขอนำความรู้และประสบการณ์จากการทำสมุดโน้ต โดยนำวัสดุจากของเหลือใช้ มาแบ่งปันกันครับ

อุปกรณ์

1. ส.ค.ส เก่าที่ใช้แล้ว

2. กระดาษ A4 หรือ กระดาษสี

3. แม๊กเย็บกระดาษ

4. คัตเตอร์ตัดกระดาษ

วิธีทำ

1.นำส.ค.ส และกระดาษA4 มาพับครึ่ง Read the rest of this entry »

กิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้งานกิจกรรมคุณภาพ 7 สของหน่วยงานปีการศึกษา 2560
ก.ค. 5th, 2018 by pisit

เนื่องจากผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ครั้งที่2 เรื่องปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานกิจกรรมคุณภาพ 7 สของหน่วยงานปีการศึกษา 2560 จึงขอสรุปผลการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ ดังนี้

วัตถุประสงค์

  • ติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมคุณภาพ 7สของคณะ/หน่วยงาน
  • เพื่อทราบถึงวีธีการนำแนวปฎิบัติทีดีไปประยุกต์
  • เพื่อทราบปัญหา/อุปสรรค
  • เพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร
  • เพื่อแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมคุณภาะ 7ส ปีการศึกษา 2561

มีการจัดแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มหารือโดยมีประเด็นในการหารือ

  • หน่วยงานท่านนำแนวปฎิบัติที่ดีไปปฎิบัติ/ประยุกต์ใช้อย่างไร
  • เมื่อนำไปปฎิบัติแล้วพบปัญหา / อุปสรรคหรือไม่อย่างไรและมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
  • ท่านคิดว่าปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยควรมีวีธีการแนวทาง หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมกิจกรรม 7สอย่างไร

จากนั้นได้มีการแยกกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มโดยการจับสลากเลือกกลุ่มที่จะอยู่โดยศูนย์บรรณสารฯอยู่กลุ่มที่3 มีคณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ กองคลัง และกองกลางได้มีการสรุปหัวข้อที่ได้รับของแต่ละกลุ่มดังนี้ Read the rest of this entry »

图书目录柜
ก.ค. 2nd, 2018 by Kwan Swee Huat

新任务

Catalog-Cabin-1

我念旧。

进入图书馆大堂,眼前一亮见到一列排开多抽斗的木柜子,一些抽斗半拖出安放着简单盆栽。久违了的图书目录卡柜子。见了它,倍觉亲切。也勾起回忆青少年时代中学生活。现今图书馆采用电脑资料库,讯息储藏量大,只要在键盘上输入基本资料,即可出现大量书名,从中挑选所需书籍,方便极了。

那抽斗柜子,都已经被淘汰多时了。现代青年学生不但用不着也不认得它是何物。

图书馆新进书籍刊物(不论新书或旧书),除了登录“大簿”(Accession Book)外,更须制作三种不同目录卡:书名卡(Title)、作者(Author)、分类卡(Subject)。制作卡过程费时耗神,之后须再分别装入上述不同的目录抽屉内供读者使用。

Catalog-Cabin-2.jpg

(图片)

我的中学时代的学校图书馆藏书,可说是数一数二的丰富,当时却采用闭架制度——书不公开让学生自由浏览借阅,必须通过上述书卡柜里的卡片,寻得所要的书名与编号,将它写在小纸片上,交予学生图书管理员到藏书室里照单取书、登录、盖上借书期限日期,借阅手续方算完毕。

找书就必须通过靠立墙边的一排木制多小抽屉书卡柜,按照笔画寻找。书卡柜分书名、作者及出版社三大类,只要有馆藏即能在这三大类书卡中寻获所要书籍。

我因此对藏书室里有那么大藏量的书籍刊物产生极大的好奇,加入学生图书馆管理员计划,一任至毕业为止。读书习惯、藏书嗜好都在这时培养起来的,对图书馆的工作的兴趣也在这时开始萌生。

睹物思情,过去几份文事工作都与藏书有关,当时还没有电脑这工具,都采用人工操作书写书卡。回忆起抄写目录卡与在书架群中搜寻同学们索取的书,乐趣无穷。

这些目录卡柜子,曾经为这大学的师生们作出贡献,见证了学生青涩入校成熟成长投身社会。时代更替,任务终结,功成身退成了图书馆的文物。它们并没有被无情的抛弃,反而赋予新生命——默默伫立怀抱盆栽绿化美化大堂。不离不弃,创新再利用,何尝不是美事呢?

 

我与泰华文化文艺的渊源
ก.ค. 2nd, 2018 by Kwan Swee Huat

二十多年前为了解早期南来东南亚后的华人社会,常到新加坡国家图书馆索阅缩微胶卷,从中获取有关华人的讯息。书城的书店寻找自个需要的书籍,其中今古书店的旧文史书刊,满足了我部分的好奇心。

旧报章提供着大量近百年的华人社会的各种活动报道,多注重于政治军事灾难.旧籍常见“暹罗”“泰国”的描述,其历史、民俗、传说都叫人向往。常耳闻议论泰国的华文已衰弱消亡,我怀疑这种说法。因此泰国华人的社会状况,尤其是华文的传承更有莫名的兴趣。。

1995年中偶然的来到泰国。在华人商业区即俗称唐人街处溜达,见路边的繁荣拥挤不堪的杂货档口,摆卖着中原报,星暹日报、亚洲日报、京华中原及中华日报及其他多种中文刊物,即迷惑也惊喜­——华文并没消失在泰国!“泰国已无华文”的传言,不攻自破。

石龙军路旁的南美书局为此地首屈华文书店,售卖种类繁多的中国书籍及文具,楼上有几十种泰国当地华文著作在书架上;比邻的巷口有着旧书地摊,摆卖泰文与华文旧书。当时还有3家旧书摊贩卖华文旧书,多属 港台言情软性读物。那时的泰华旧书价格低廉,吸引我的大量购买泰华文史文艺出版物,二十年来兴趣至今未曾减弱。

在南美书局因大量购买搁放已久的泰华文艺书籍,惊动了老板陈式金老先生,由他介绍认识了泰华社会与经济研究专长的张仲木先生,后引见认识了林长茂先生等人,常被邀请出席他们的聚会,聆听有关泰华社会百年来各种沧桑经历,获益不浅。 Read the rest of this entry »

การบันทึกข้อมูลทางบรรณานุกรมสำหรับหนังสือบริจาคที่จะนำเข้าห้องสมุดภาษาจีน
มิ.ย. 29th, 2018 by buaatchara

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีกระบวนการจัดการหนังสือที่ได้รับบริจาค ดังนี้

1. การคัดแยกหนังสือ  ถ้าหนังสือไม่สอดคล้องกับนโยบายทางการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยก็จะทำการคัดออกเพื่อนำไปบริจาคแก่บุคคล และหน่วยงานอื่นๆ
2. การนำหนังสือเข้าห้องสมุดภาษาจีน เนื่องจากหนังสือบริจาคมีเป็นจำนวนมาก บรรณารักษ์วิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรมเข้าระบบไม่ทัน จึงมีการพิจารณาลงรายการทางบรรณานุกรมโดยบันทึกเฉพาะข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้สามารถผู้ใช้บริการสืบค้นได้ และบรรณารักษ์ สามารถค้นหาตัวเล่มได้ว่าเก็บหนังสือเล่มดังกล่าวไว้ที่ใด  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.บันทึกข้อมูลสำคัญทางบรรณานุกรม (Basic tags) ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์

image1

 

2. กำหนดรหัส (เหมือนเลขหมู่) เพื่อเป็นการกำหนดว่า หนังสือนั้นๆ จัดเก็บอยู่ที่ใด โดยมีการกำหนดเป็น ตู้ ใช้ รหัส เป็น ต และ เรียงลำดับของหนังสือที่จัดเก็บในตู้ เช่น  จากภาพ ต1/1 หมายถึง หนังสืออยู่ที่ตู้ที่ 1 เล่มที่ 1

image2

3. ใส่รหัสในข้อ 2 ตรง Call number และกำหนด shelving location ของหนังสือ

 

image3

 

4. เขียนหมายเลขตู้และลำดับ ใน slip และเสียบไว้ที่ตัวเล่มหนังสือ และนำไปจัดเรียงเข้าตู้ โดยให้ตรงตามหมายเลขของตู้และตามลำดับของตัวเล่ม

image11

งานปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าอาคารบรรณสาร
มิ.ย. 24th, 2018 by supaporn

ตามที่ อาคารบรรณสาร โดยศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว และห้องสมุดสีเขียว และได้ผ่านการตรวจประเมินในระดับทอง และผ่านเกณฑ์ ของทั้งสองมาตรฐานไปแล้วนั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของความตระหนักถึงการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภารกิจหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้พยายามสานต่อ ก็คือ การสร้างพื้นที่สีเขียว โดยรอบอาคารบรรณสาร ในปีการศึกษา 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดสร้างห้องสมุดในสวน ส่วนที่ติดกับศูนย์วัฒนธรรม และได้มีพิธีเปิดห้องสมุดในสวนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2559 (https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/16-news/156-160811-open-garden-library)

ในปีการศึกษา 2560 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับความอนุเคราะห์จากกองอาคารและสถานที่ในการร่วมกันจัดทำพื้นที่สีเขียว เพิ่มเติมในฝั่งรูปปั้น ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ เนื่องจากเป็นส่วนที่จะมีแดดจ้าในตอนเช้า ทำให้ผู้ใช้บริการไม่นิยมมาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว กองอาคารและสถานที่ ได้ออกแบบสำหรับการจัดทำพื้นที่สีเขียว ไว้ดังนี้ (โดยกิจกรรมบางส่วน ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดทำเอง และกองอาคารฯ ได้มาต้นไม้มาเพิ่มเติมตามที่ออกแบบไว้)

พื้นที่ก่อนจัดทำเป็นพื้นที่สีเขียว

พื้นที่ก่อนจัดทำเป็นพื้นที่สีเขียว

 

การออกแบบในการปลูกต้นไม้โดยใช้ต้นปาล์ม

การออกแบบในการปลูกต้นไม้โดยใช้ต้นปาล์ม

Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการให้บริการการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan)
มิ.ย. 16th, 2018 by navapat

การยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan) หรือ ILL แบ่งการยืมเป็น 2 ประเภทคือ
1. Borrowing Requests หมายถึง ห้องสมุดเป็นผู้ยืม
2. Lending Requests หมายถึง ห้องสมุดเป็นผู้ให้ยืม

1. Borrowing Requests

เมื่อนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความประสงค์จะขอยืมทรัพยากรสารสนเทศ ที่ไม่มีให้บริการอยู่ในศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้รับผิดชอบงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด จะดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. ค้นหารายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ต้องการว่ามีให้บริการอยู่ที่ห้องสมุด/สถาบันการศึกษาใด และห้องสมุด/สถาบันการศึกษานั้นๆ มีนโยบายในการให้ยืมอย่างไร เช่น จำนวนรายการที่ให้ยืม ระยะเวลาการให้ยืม จำนวนครั้งในการยืมต่อ ค่าบริการในการยืม หรือทำสำเนาเอกสาร และค่าบริการในการจัดส่ง โดยพิจารณาเลือกห้องสมุดในประเทศไทย และมีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ กับศูนย์บรรณสารสนเทศก่อน เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ ถ้าเป็นห้องสมุด/สถาบันการศึกษาต่างประเทศ ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายเป็นดอลล่าสหรัฐ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa