SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Squoosh เว็บแอพช่วยลดขนาดไฟล์รูปภาพที่ดีและใช้งานง่าย
ก.ค. 7th, 2019 by prapaporn

ปัจจุบันการถ่ายภาพด้วยมือถือเป็นที่นิยมมาก มีจำนวนพิกเซลที่มากขึ้นทำให้ภาพที่ถ่ายได้สามารถนำมาขยายได้โดยที่ภาพไม่แตก แต่ปัญหาที่มักจะพบนั่นก็คือ ภาพที่ได้นั้นมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ ทำให้หน่วยความจำเต็มเร็ว การอัพโหลดขึ้นโซเชียลหรือการแชร์ต้องพบกับปัญหาการรับส่งที่นาน ถ้าอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วต่ำ ยิ่งทำให้การรับส่งภาพนานขึ้นไปอีก

วิธีที่จะช่วยให้ลดขนาดไฟล์ได้ง่ายๆ และคุณภาพของภาพไม่ได้เสียไปมาก โดยการใช้เว็บแอพที่ชื่อว่า Squoosh มีหน้าที่หลักๆ คือ การลดขนาดของไฟล์รูปภาพ ทำงานได้เกือบทุกดีไวซ์ที่มีโปรแกรมเล่นเว็บหรือเบราเซอร์  เพียงแค่พิมพ์ URL https://squoosh.app ของเว็บ Squoosh ก็สามารถใช้งานได้ทันที และหากไม่ได้ต่ออินเทอร์เน็ต ก็ยังสามารถใช้โปรแกรมได้ เพียงแค่บุ๊กมาร์คหน้าเว็บไว้ ที่สำคัญโปรแกรมนี้สามารถใช้ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย Read the rest of this entry »

บันทึกความทรงจำกับการทำ Oral history : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
มิ.ย. 30th, 2019 by matupode

 


Oral history  ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า เป็นงานอย่างหนึ่งของนักจดหมายเหตุ ถามว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะโดยปกตินักจดหมายเหตุจะให้ความสำคัญกับเอกสารลายลักษณ์ หรือเอกสารต้นฉบับเป็นอันดับแรก นั่นเพราะบางครั้งองค์ ความรู้ ประสบการณ์ที่คนๆ หนึ่งมี ความเชี่ยวชาญก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นักจดหมายเหตุจึงต้องหาวิธีการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้สูญหาย ประกอบกับเอกสารต้นฉบับบางครั้งเนื้อหาของเอกสารก็ไม่ได้สมบูรณ์เสมอไป การได้มาซึ่งความครบถ้วนของข้อมูลจึงเป็นงานส่วนหนึ่งของนักจดหมายเหตุ

Oral history หรือ “ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า” หมายถึง การบันทึก อนุรักษ์ และตีความหมายของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวและความเห็นของผู้เล่าเหตุการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นการสร้างข้อมูลที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ใช่หลักฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นการสัมภาษณ์เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นเรื่องราวชีวิตของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง การหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการสัมภาษณ์เป็นหลักฐานประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากหลักฐานโบราณคดีตัวเขียน หลักฐานประเภทสิ่งของ และภาพบันทึกต่างๆ Read the rest of this entry »

TOEIC , TOEFL and HSK เพื่อน้องๆ
มิ.ย. 30th, 2019 by chonticha

TOEIC , TOEFL and HSK เพื่อน้องๆ

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือที่เป็นคู่มือการสอบภาษาต่างประเทศ ของภาษาอังกฤษ ภาษาจีน คือ  TOEIC , TOEFL  และ HSK  ไว้ให้บริการเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาคู่มือเพื่ออ่านเตรียมสอบภาษาต่างประเทศ โดยได้จัดหนังสือพร้อมมีที่นั่งอ่านแบบสบายๆ แถมชมวิวทิวทัศน์ที่เป็นธรรมชาติและเน้นความเป็นส่วนตัว ไว้ให้บริการที่ชั้น 3 อาคารบรรณสาร บริเวณชั้น 3


หลายคนคงมีคำถามในใจว่า TOEIC , TOEFL  และ HSK  คืออะไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน เพราะในการประกาศรับสมัครงานบางแห่งมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีผลสอบ TOEIC , TOEFL ประกอบการสมัครงานด้วย เรามาทำความรู้จักคำย่อนี้กันค่ะ Read the rest of this entry »

ความสำคัญของการพิมพ์สารบัญของหนังสือในฐานข้อมูล
มิ.ย. 28th, 2019 by jittiwan

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลแบบ word search ซึ่งผิดกว่าแต่ก่อนที่ต้องพิมพ์รายการบรรณานุกรมของหนังสือลงบัตรรายการ ดังนั้น บรรณารักษ์ควรพยายามบันทึกข้อมูลที่สำคัญเพื่อให้ระบบสืบค้นได้ โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นรวมบทความ  รวมเรื่อง เอกสารการประชุม เอกสารการสัมมนา (ซึ่งมีบทความทางวิชาการที่น่าสนใจ) ถ้าบรรณารักษ์ไม่บันทึกสารบัญของหนังสือประเภทดังกล่าว ลงในเขตข้อมูล 505 (สารบัญ) จะทำให้ผู้ใช้บริการสืบค้นหรือหาเนื้อหาดังกล่าวที่อยู่ในหนังสือเล่มนั้นไม่พบ

ตัวอย่าง หนังสือที่เป็นรวมบทความ (ยังไม่ได้พิมพ์สารบัญ tag 505)

  1. พิมพ์ชื่อบทความที่ต้องการสืบค้น
  2. คลิกที่ Search จะปรากฎ ดังรูป (ไม่พบบทความที่ต้องการ)
  3. ทั้งนี้ เรื่อง ดอกไม้ในห้องเผด็จการ เป็นบทความหรือเรื่องหนึ่งในหนังสือ น้ำใส่กะโหลก นั่นเอง เมื่อไม่มีการบันทึกเข้าไป ระบบจึงไม่สามารถสืบค้นได้ ดังนั้น บรรณารักษ์จึงควรบันทึกบทความดังกล่าว เข้าไป โดยการสืบค้น หนังสือ เรื่องดังกล่าว เพื่อมาพิมพ์สารบัญเข้าไป

Read the rest of this entry »

กิจกรรมยืมก่อนกลับบ้าน
มิ.ย. 28th, 2019 by somsri

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีบริการใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้ นักศึกษา สามารถยืมหนังสือกลับไปอ่านในช่วงปิดภาคการศึกษาได้ เนื่องจากโดยปรกติแล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศจะไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือ จนกว่านักศึกษาจะมีการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อเป็นการสนับสนุนการยืมหนังสือและเป็นการส่งเสริมการอ่าน ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้พิจารณาเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ ไม่มีความเสี่ยงในการยืมหนังสือแล้วไม่นำมาคืน เป็นนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป นักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก Read the rest of this entry »

รู้จักวารสารวิชาการคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ
มิ.ย. 27th, 2019 by อุไรรัตน์ ผาสิน

คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ตีพิมพ์หรือผลิตวารสารทางวิชาการ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ บทความวิจัย และบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้นๆ โดยเป็นผลงานของคณาจารย์ของแต่ละคณะ หรือคณาจารย์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ส่งบทความมาลงและผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประเมินบทความ (Peer review)

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีรวบรวมข้อมูลของวารสารคณะต่างๆ ไว้ที่ www.lib.hcu.ac.th  เพื่อสะดวกในการเข้าถึงวารสารชื่อต่างๆ ของแต่ละคณะ จึงขอแนะนำวารสารของคณะต่างๆ ดังนี้

วารสารวิชาการ มฉก. คณะต่างๆ

 

วารสาร มฉก. วิชาการ   HCU.Journal

  • เผยแพร่บทความวิจัย และบทความทางวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ การแพทย์แผนจีนและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเริ่มพิมพ์เผยแพร่ ตั้งแต่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม 2540 ถึงปัจจุบัน
  • ปัจจุบัน วารสารนี้ได้ผ่านการรับรองคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) จัดอยู่ในวารสารกลุ่มที่ 1
  • กำหนดออก ปีละ 2 ฉบับ
  • ดูได้ที่   http://journal.hcu.ac.th/sand.htm

Read the rest of this entry »

Next Station สถานีความรู้
มิ.ย. 27th, 2019 by kityaphat

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ตระหนักถึงการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ให้กับนักศึกษา เพื่อเป็นการสอนการใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง รู้จักการค้นหาหนังสือ รู้จักแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่ห้องสมุดมีให้บริการ รู้จักการสืบค้นฐานข้อมูล เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการเรียน การศึกษาของนักศึกษา จึงได้จัดกิจกรรม “สถานีความรู้” ขึ้นประกอบด้วย 10 สถานี ตั้งแต่ชั้น 1-ชั้น 6 แต่ละสถานี ประกอบด้วยข้อมูล ความรู้ หรือเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด พร้อมมีคำถาม เพื่อให้นักศึกษาทดสอบตนเองว่ามีความเข้าใจในเนื้อหาแต่ละสถานีหรือไม่ และสามารถนำกระดาษคำตอบมาส่งที่เจ้าหน้าที่เพื่อตรวจคำตอบและรับของที่ระลึกถ้าตอบได้ถูกทุกข้อ

กติกาการร่วมสนุก

  1. หยิบแผ่นกระดาษสถานีความรู้ เที่ยว ทัวร์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ 1 คน : 1 ใบ เดินแต่ละสถานีความรู้ เพื่ออ่านข้อมูลตามหาคำตอบแต่ละข้อ
  2. เลือกคำตอบที่ท่านคิดว่าถูกต้องที่สุดลงในกระดาษคำตอบและประทับตราแต่ละสถานี
  3. เมื่อทำครบทุกข้อแล้ว ให้นำแผ่นสถานีความรู้มาส่งให้เจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 1 เพื่อตรวจคำตอบ ตอบถูกทุกข้อรับของที่ระลึก จำนวน 1 ชิ้น

Read the rest of this entry »

การซ่อมบำรุงและรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 27th, 2019 by pisit

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีบริการทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ด้วยจำนวนการยืม สภาพการหยิบจับหนังสือ หรือสภาพแวดล้อมของห้องสมุด หนังสือมีการชำรุด เช่น ปกขาด สันหนังสือชำรุด เป็นต้น  การซ่อมแซมหนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการรักษาและบำรุงทรัพยาการสารสนเทศให้มีสภาพที่สมบูรณ์ สามารถบริการให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าได้ต่อไปอีกนาน

บทความนี้จึงขอแนะนำการซ่อมหนังสือ ประกอบด้วย

เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมหนังสือ

  1. กาว
  2. แปรงทากาว
  3. กระดาษแข็งสำหรับทำปกเบอร์ 12
  4. กระดาษปอนด์รองสันปก
  5. ผ้าดิบหรือผ้ามุ้ง
  6. ผ้าแล็คซีน
  7. กระดาษแล็คซีน
  8. ผ้าคิ้ว
  9. มีดคัตเตอร์
  10. สว่านไฟฟ้าสำหรับเจาะรูหนังสือ
  11. เครื่องอัดหนังสือ
  12. เข็มขนาดใหญ่สำหรับเย็บหนังสือ
  13. ด้าย cotton สำหรับเย็บหนังสือ

ขั้นตอนการซ่อมหนังสือ Read the rest of this entry »

การจัดการบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม Mendeley
มิ.ย. 27th, 2019 by Natchaya

Mendeley เป็นโปรแกรม Freeware ที่ผลิตขึ้นโดย Elsevier เป็นเครื่องมือจัดการบรรณานุกรมที่สามารถจัดเก็บและจัดการรายการบรรณานุกรม ทำรายการอ้างอิงในเนื้อหาและทำรายการบรรณานุกรมในรูปแบบที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย

ข้อดีของ Mendeley

  1. ใช้งานได้ทั้งบน Desktop และผ่าน Web
  2. รองรับการทำงานบน Windows, Mac และ Linux
  3. ใช้งานบน Smartphone ได้ ทั้งระบบ IOS และ Android
  4. ให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลฟรี ได้ถึง 2 GB
  5. รองรับไฟล์เอกสารมากถึง 20 รูปแบบ
  6. รูปแบบอ้างอิงในระบบพร้อมติดตั้ง 16 รูปแบบ และสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้มากกว่า 8,000 รูปแบบ
  7. Import ข้อมูลได้หลายรูปแบบ จากฐานข้อมูลที่สำคัญทั้งหมด
  8. Export ข้อมูลเป็นไฟล์ BibTeX, RIS, EndNote, XML
  9. ใช้งานได้ฟรี

Read the rest of this entry »

การจัดแสดงหนังสือตามวันสำคัญและหนังสือตามเทศกาลต่างๆ
มิ.ย. 26th, 2019 by somsri

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม การจัดแสดงหนังสือตามวันสำคัญ และจัดแสดงหนังสือร่วมกับคณะวิชาในเทศกาลต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือที่มีอยู่ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้โดยง่าย เช่น วันแม่ เทศกาลกินเจ วันขงจื่อ หนังสือมุมคุณธรรม มุมหนังสือพุทธทาสภิกขุ มุมหนังสือ สสส. จากการจัดจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผู้สนใจยืมหนังสือ จำนวน 200 คน/ 241 เล่ม ซึ่งถือว่าเป็นการบริการเชิงรุกที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนหนังสือสู่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้น

แนะนำหนังสือสาขาวิชาต่างๆ

 

เทศกาลตรุษจีน

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa