การกำหนดสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในห้องสมุด จะเป็นความรับผิดชอบของงาน Cataloging เพื่อเป็นการจัดระเบียบของสิ่งพิมพ์ให้มีความชัดเจนและเพื่อเป็นการให้บริการผู้ใช้สามารถหยิบใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น
หนังสืออ้างอิง (Reference Book) เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่งที่มีในห้องสมุด หมายถึง หนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น จะไม่ใช้อ่านทั้งเล่ม ดังนั้นหนังสืออ้างอิงจึงถูกจัดแยกออกจากหนังสือทั่วไป เป็นหนังสือที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด โดยจะมีการกำหนดสถานะ (Code) หรือสัญญลักษณ์ในระบบห้องสมุด เพื่อแสดงให้รู้ว่าไม่สามารถยืมออกจากห้องสมุดได้ แต่สามารถใช้อ่านศึกษาค้นคว้าภายในห้องสมุดเท่านั้น ในการกำหนดสถานะ (Code) ของหนังสืออ้างอิงของระบบ WorldShare Management Services (WMS) บรรณารักษ์งาน Cataloging จะต้องเข้าไปกำหนดในเขตข้อมูล Tag 008 ดังนี้ Read the rest of this entry »
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ หัวข้อเรื่อง บทบาทงานจดหมายเหตุในกระแส Big Data และสังคมแห่งการเรียนรู้ ณ ห้องประชุม ชั้น 5 ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8-9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.30-16.30 น. รวมระยะเวลา 2 วัน จัดโดยสมาคมจดหมายเหตุไทยร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ สามารถสรุปผลที่ได้รับจากการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ดังนี้
1.ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง สารสนเทศ : รากฐานของความรู้และการพัฒนา (โดย ดร. เตช บุนนาค)
พ.ศ. 2509-2510 การจดหมายเหตุไทยยังไม่เจริญเหมือนในปัจจุบัน เริ่มไปค้นหาเอกสารจดหมายเหตุที่ตึกถาวรวัตถุ กระทรวงมหาดไทย เอกสารเกี่ยวกับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ การเก็บเอกสารยังไม่เป็นระบบ ยังไม่มีห้องบริการค้นคว้า เอกสารกระจัดกระจายและมีฝุ่นหนามาก แต่เจ้าหน้าที่ก็ทำงานกันอย่างเต็มที่
พ.ศ. 2512 รับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเวลา 35 ปี ได้เสนอให้กระทรวงการต่างประเทศ นำเอกสารไปเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น แผนที่แม่น้ำโขง การแบ่งดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หรือจดหมายขอความร่วมมือเวียดนาม-ไทย หลังเกษียณจากกระทรวงการต่างประเทศ ในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้ไปทำเอกสารจดหมายเหตุสำนักราชเลขาธิการ เกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ศาลายา เป็นงานจดหมายเหตุที่ภาคภูมิใจมาก
หอจดหมายเหตุเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ได้มีโอกาสไปทำงานที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงปัจจุบัน เก็บเอกสารไว้เป็นอย่างดี สมัยก่อนเขียนบนแผ่นศิลาจารึก ทำให้รู้ประวัติศาสตร์จากศิลาจารึก ปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก การดิจิทัลเป็นการอนุรักษ์เอกสาร ในขณะเดียวกัน ยังใช้เอกสารแบบเก่าๆ อยู่บ้าง เช่น ไมโครฟิล์ม เพื่อจะได้รักษาเอกสารให้คงอยู่ได้นานๆ ปัจจุบันมีจัดตั้ง หอจดหมายเหตุ เช่น หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า และหอจดหมายท่านพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นต้น Read the rest of this entry »
จากที่ เคยแนะนำการสร้าง LINE Official Account ไปแล้วนั้น บทความนี้ จะขอแนะนำวิธีการดูแลและการใช้ LINE Official Account ผ่านคอมพิวเตอร์ กันค่ะ
เริ่มจากการเข้าที่เว็บเบาว์เซอร์ เข้าที่ https://www.linebiz.com/th/service/line-account-connect/
คลิกใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์
เข้าสู่ระบบด้วย บัญชี line ส่วนตัว ที่เป็น Admin ของ line Business
login โดยใช้ Email หรือ คิวอาร์โค้ด ก็ได้
Read the rest of this entry »
เมทาดาทา (Metadata)คือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของข้อมูลต่างๆ เช่นถ้าเป็นหนังสือ เมทาดาทาของหนังสือก็คือ ข้อมูลที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อเจ้าของผลงาน ผู้รับผิดชอบ สิทธิของหน่วยงาน ปีที่เขียน เป็นต้น ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย ซึ่งมีการลงเมทาดาทาในไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย มีขั้นตอนการลงในเมทาดาทา ดังนี้
1.เปิดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ขึ้นมา (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1
2.ให้คลิกที่เมนู File (ภาพที่ 2) จะเห็นเมนูต่างๆ ปรากฏขึ้นมา Read the rest of this entry »
ผู้เขียน รับผิดชอบการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยจัดเตรียมไฟล์และตรวจสอบความถูกต้องและใส่รายละเอียดของข้อมูลใน properties
ในการจัดการไฟล์นั้น ได้มีการทำ Bookmark ซึ่งเสมือนเป็นสารบัญ และเป็นตัวช่วยในการคลิกดูเนื้อหา ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
ตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมโครงการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายมีความสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ การวิจัย หนังสือหายาก และบทความ ทั้งที่เป็นของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ จึงขอแนะนำวิธีการค้นข้อมูล เบื้องต้น (Basic search) ตามขั้นตอนดังนี้
เริ่มต้นจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ (https://lib-km.hcu.ac.th) Read the rest of this entry »
เกี๊ยว เมนูยอดฮิตของชาวจีนที่อยู่คู่แดนมังกรมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 – พ.ศ. 763) มีที่มาและบทบาทที่น่าสนใจในวิถีชีวิตของชาวจีนมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มแรกนั้น เกี๊ยวนี้เกิดมาจากคุณหมอจางจงจิง (张仲景) ซึ่งเป็นหมอที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น คุณหมออยากให้คนป่วยได้กินอะไรร้อนๆ ที่มีสารอาหารครบถ้วน ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก (ที่เป็นยาสมุนไพร) และแป้งในคำเดียว จึงคิดประดิษฐ์แป้งห่อไส้เนื้อและผักขึ้นมา โดยใช้วิธีต้มเพื่อให้ย่อยง่าย ก่อนจะมีคนนำไปพัฒนารูปร่างของมันให้ดูดีขึ้น เหมือนใบหูของผู้หญิงทำให้มีชื่อเรียกว่า 娇耳 เจียวเอ๋อร์ แปลว่าใบหูของสาวงาม ก่อนจะเพี้ยนเสียงมาเป็น เจียวจื่อ หรือเกี๊ยว (คนไทยเรียก) ในปัจจุบัน
ปัจจุบัน เกี๊ยวมีทั้งแบบต้ม นึ่งและทอด และเป็นเมนูสำคัญที่ขาดไม่ได้ในเทศกาลปีใหม่และงานแต่งงาน เนื่องจากในเทศกาลปีใหม่ คนจีนจะเปลี่ยนวิธีห่อเกี๊ยวให้เป็นรูปถุงเงิน เพื่อขอพรหรืออวยพรให้มีเงินทองไหลมาเทมา ซึ่งในงานแต่งนั้น เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องรับประทานเกี๊ยวดิบ 生饺子 เซิงเจียวจื่อ ที่พ้องเสียงกับ 生骄子 เซิงเจียวจื่อ ที่แปลว่าให้กำเนิดอภิชาตบุตร
การจัดทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุ
การจัดทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้ใช้บริการ ในการสืบค้นรายชื่อสื่อโสตฯ เพิ่มอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากการสืบค้นจากระบบห้องสมุด แผนกทรัพยากรการเรียนรู้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดทำรายชื่อสื่อโสตฯ จำนวน 2 เล่ม ไว้ให้บริการที่เคาน์เตอร์ยืม-คืนโสตทัศนวัสดุ ภายในเล่มจัดแบ่งออกเป็น
– หมวด ภาพยนตร์ทั่วไป – หมวด ภาพยนตร์สารคดี – หมวด ภาพยนตร์ประกอบการเรียนภาษาอังกฤษ – หมวด ภาพยนตร์ซีรียส์
ขั้นตอนการทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุ
1. ลงรายการสื่อโสตฯ ด้วยโปรแกรม Excel
2. ใส่ข้อมูลรายการ รหัสโสตฯ ชื่อเรื่อง ภาษา (จากภาพเลข1-3)
3. ใส่ข้อมูลแยกตามหมวดของสื่อโสตฯ (จากภาพเลข4-7) โดยคลิกที่ Insert Worksheet จากภาพเลข 8 หรือ กดshift+F11
ปัจจุบันการถ่ายภาพด้วยมือถือเป็นที่นิยมมาก มีจำนวนพิกเซลที่มากขึ้นทำให้ภาพที่ถ่ายได้สามารถนำมาขยายได้โดยที่ภาพไม่แตก แต่ปัญหาที่มักจะพบนั่นก็คือ ภาพที่ได้นั้นมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ ทำให้หน่วยความจำเต็มเร็ว การอัพโหลดขึ้นโซเชียลหรือการแชร์ต้องพบกับปัญหาการรับส่งที่นาน ถ้าอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วต่ำ ยิ่งทำให้การรับส่งภาพนานขึ้นไปอีก
วิธีที่จะช่วยให้ลดขนาดไฟล์ได้ง่ายๆ และคุณภาพของภาพไม่ได้เสียไปมาก โดยการใช้เว็บแอพที่ชื่อว่า Squoosh มีหน้าที่หลักๆ คือ การลดขนาดของไฟล์รูปภาพ ทำงานได้เกือบทุกดีไวซ์ที่มีโปรแกรมเล่นเว็บหรือเบราเซอร์ เพียงแค่พิมพ์ URL https://squoosh.app ของเว็บ Squoosh ก็สามารถใช้งานได้ทันที และหากไม่ได้ต่ออินเทอร์เน็ต ก็ยังสามารถใช้โปรแกรมได้ เพียงแค่บุ๊กมาร์คหน้าเว็บไว้ ที่สำคัญโปรแกรมนี้สามารถใช้ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย Read the rest of this entry »
Oral history ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า เป็นงานอย่างหนึ่งของนักจดหมายเหตุ ถามว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะโดยปกตินักจดหมายเหตุจะให้ความสำคัญกับเอกสารลายลักษณ์ หรือเอกสารต้นฉบับเป็นอันดับแรก นั่นเพราะบางครั้งองค์ ความรู้ ประสบการณ์ที่คนๆ หนึ่งมี ความเชี่ยวชาญก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นักจดหมายเหตุจึงต้องหาวิธีการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้สูญหาย ประกอบกับเอกสารต้นฉบับบางครั้งเนื้อหาของเอกสารก็ไม่ได้สมบูรณ์เสมอไป การได้มาซึ่งความครบถ้วนของข้อมูลจึงเป็นงานส่วนหนึ่งของนักจดหมายเหตุ
Oral history หรือ “ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า” หมายถึง การบันทึก อนุรักษ์ และตีความหมายของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวและความเห็นของผู้เล่าเหตุการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นการสร้างข้อมูลที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ใช่หลักฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นการสัมภาษณ์เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นเรื่องราวชีวิตของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง การหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการสัมภาษณ์เป็นหลักฐานประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากหลักฐานโบราณคดีตัวเขียน หลักฐานประเภทสิ่งของ และภาพบันทึกต่างๆ Read the rest of this entry »