SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
วิธีติดตั้ง Zotero Connector ส่วนขยายเพิ่มเติมบน Browser
พ.ย. 22nd, 2020 by pailin

Zotero Connector คือ extension ที่ติดตั้งบน browser ไว้ใช้ทำงานร่วมกับโปรแกรม Zotero เพื่ออำนวยความสะดวกในการดาวน์โหลดและจัดเก็บไฟล์บทความพร้อมข้อมูลรายการอ้างอิง ในขณะที่ผู้ใช้กำลังสืบค้นข้อมูลและบันทึกไฟล์บทความจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้ ก่อนจะติดตั้งส่วนขยาย Zotero Connector นี้ ท่านควรมีโปรแกรม Zotero ในเครื่องก่อน สามารถย้อนดูวิธีการติดตั้งโปรแกรม Zotero และ Add-In Zotero ใน Microsoft Word ได้ คลิกที่นี่

 

1. ไปที่ URL www.zotero.org/download คลิก Install Chrome Connector

 

แต่ถ้าจะติดตั้งบน browser รุ่นอื่น ให้คลิกที่ Zotero Connectors for other browsers

แล้วกดเลือก browser ที่ต้องการใช้งาน

 

Read the rest of this entry »

ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ
พ.ย. 20th, 2020 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความร่วมมือในหลาย ๆ ด้านกับหอสมุดแห่งชาติ เริ่มจากความร่วมมือเพื่อการดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย มีการจัดเก็บในระยะยาวและเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีพัฒนาการความร่วมมือในด้านต่างๆ กับหอสมุดแห่งชาติ ดังนี้

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ในโครงการจัดทำสำเนาหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย

การลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ณ ห้องรับรอง ชั้น 4 อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

การลงนามความร่วมมือการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย ระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

สาระสำคัญของบันทึดข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย ระหว่าง กรมศิลปากร กับ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Read the rest of this entry »

สารบัญมีประโยชน์ : Tag 505 (Formatted Contents Note)
พ.ย. 16th, 2020 by suwanna

การลงรายการทางบรรณานุกรมในระบบฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัตินั้น การลงรายละเอียดของสารบัญหนังสือก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้ได้ทราบข้อมูลเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น ๆ และสามารถใช้เป็นคำค้นในการสืบค้นได้อีกด้วย โดยกำหนดการลงข้อมูลในเขตข้อมูลที่เรียกว่า Tag 505 (Formatted Contents Note) : ข้อมูลจากหน้าสารบัญ

ลักษณะการลงข้อมูล สามารถลงข้อมูลที่เป็นแบบสมบูรณ์ หรือแบบย่อ หรือลงเป็นบางส่วนก็ได้ ซึ่งบรรณารักษ์จะเป็นผู้พิจารณาในการลงข้อมูล เช่น หนังสือมีเนื้อหาสารบัญที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างมาก ก็จะลงข้อมูลที่เป็นแบบสมบูรณ์ หรือ หนังสือบางเล่มเนื้อหาสารบัญมีข้อมูลที่แยกย่อยมากจนเกินไป และสามารถตัดข้อความออกได้ บรรณารักษ์ก็สามารถพิจารณาลงข้อมูลแบบลงบางส่วนได้ เป็นต้น

การลงข้อมูลในเขตนี้  ตามหลักเกณฑ์การลงรายการ MARC21  กำหนดตัวบ่งชี้เพื่อเป็นการบอกลักษณะของสารบัญที่นำมาลง ดังนี้

Fist  indicator

0             สารบัญสมบูรณ์ (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)

1             สารบัญไม่สมบูรณ์

2             สารบัญบางส่วน (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)

 

Second indicator

–             (เว้นว่าง) Basic (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)

0            Enhance

Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการนำเงินส่งค่าปรับกับกองคลัง
พ.ย. 15th, 2020 by somsri

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการเก็บค่าปรับแก่ผู้ใช้บริการที่ค้างส่งหนังสือเกินกำหนดต่างๆ เพื่อนำส่งกองคลัง และกองคลังได้จัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไป

ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ (ซึ่งเป็นกระบวนการที่กระชับมากขึ้น เนื่องจากมีการปรับวิธีการเก็บค่าปรับส่งกองคลัง ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้จาก ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail)
ทำให้กระบวนการส่งค่าปรับถึงกองคลัง เหลือเพียง 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. พิมพ์รายงานค่าปรับจากระบบห้องสมุดในแต่ละวัน

    รายงานค่าปรับ

    2. เขียนใบเสร็จค่าปรับยอดรวมทั้งหมดของแต่ละวันที่จะส่งค่าปรับ

    ใบเสร็จรับเงินค่าปรับ ยอดรวม

    3. นำเสนอผู้อำนวยการเพื่อลงนามอนุมัตินำส่งค่าปรับ

    เสนอค่าปรับเพื่อส่งต่อกองคลัง

    4. นำเงินพร้อมเอกสารที่มีการอนุมัติลงนามพร้อมเงินค่าปรับส่งกองคลัง  กองคลังคืนสำเนาเพื่อเก็บเป็นหลักฐานของการส่งเงินค่าปรับในแต่ละครั้ง

ตู้ใส่ของ Lost and Found สิ่งของที่พบในศูนย์บรรณสาร
พ.ย. 12th, 2020 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ปัจจุบันมีคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และบุคคลภายนอก เข้ามาใช้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งบางครั้งผู้ใช้บริการ ที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์บรรณสารสนเทศ  บางครั้งลืมสิ่งของไว้ภายในศูนย์บรรณสารสนเทศ  เมื่อมีผู้พบเห็นสิ่งของเหล่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นผู้ใช้บริการ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จะนำมาให้เจ้าหน้าที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ติดตามหาเจ้าของ เพื่อมารับสิ่งของที่ลืมทิ้งไว้ต่อไป

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการจัดตั้งตู้  LOST & FOUND  เพื่อรวบรวมสิ่งของที่ลืมไว้  หากผู้ใช้บริการท่านใดตามหาสิ่งของที่ลืมไว้ สามารถมาดูได้ที่ตู้นี้ และขอรับคืนได้ โดยกรอกเอกสารของที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดเตรียมไว้ตามแบบฟอร์มในรูป

แบบฟอร์มการรับแจ้งทรัพย์สินหายภายในศูนย์บรรณสารสนเทศ

 

หากสิ่งของใดไม่มีผู้มาขอรับภายใน 1 เดือน  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะจัดส่งให้กับสำนักพัฒนานักศึกษาต่อไป  โดยมีแนวทางปฎิบัติดังนี้ Read the rest of this entry »

จากกิจกรรมจัดซื้อหนังสือสัญจรสู่การตรวจฐานข้อมูลหนังสือ (ผ่านมือถือ)
พ.ย. 10th, 2020 by uthairath

จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรมจัดซื้อหนังสือสัญจร ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ  ณ ชานเลนเจอร์ 2 อิมแพ็คเมืองทองธานี ได้มีคณาอาจารย์หลายท่านให้ความสนใจร่วมกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมเลือกซื้อหนังสือให้ตรงกับสาขาที่เปิดสอน ทางศูนย์บรรรณสารสนเทศ ได้จัดบุคลากรเพื่อไปช่วยดูแลและค้นหาหนังสือที่ อาจารย์ได้คัดเลือกเพื่อเป็นการไม่ให้เกิดการซ้ำของหนังสือนั้นๆ

ภาพกิจกรรมโครงการจัดซื้อหนังสือสัญจร

ในกิจกรรมนี้ทางฝ่ายจัดซื้อก็จะ Search หรือค้นหาหนังสือจากฐานข้อมูลของห้องสมุด (ผ่านมือถือ) ว่าหนังสือเล่มนั้นมีแล้วหรือไม่  ซึ่งทำได้ง่ายและสะดวกมากๆ โดย เริ่มจากการเข้าไปที่ เว็บไซต์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ตามขั้นตอนดังนี้ https://lib-km.hcu.ac.th/ Read the rest of this entry »

Love to Read สุดยอดนักอ่าน
พ.ย. 8th, 2020 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานหนึ่งของสายสนับสนุนการเรียนการสอน ได้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการเรียนการสอน ซึ่งในแต่ละปีจะมีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ เข้ามาให้บริการ  และเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดซื้อเข้ามาอย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ทางศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดกิจกรรมเชิงรุก Love to Read สุดยอดนักอ่าน ขึ้นเพื่อกระตุ้นยอดการใช้ทรัพยากรฯ ให้มากยิ่งขึ้น โดยมีกติกาง่าย ๆ ดังนี้ Read the rest of this entry »

การสั่งซื้อหนังสือออนไลน์
ต.ค. 28th, 2020 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ มีการปรับนโยบายในการจัดซื้อหนังสือผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ตั้งแต่ช่วงการระบาดของโควิด-19 เดือน เมษายน-พฤษภาคม 2563 ซึ่งศูนย์บรรณสารสนเทศ ปิดทำการ และช่วงเวลาดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมจัดซื้อหนังสือสัญจรของแผนกจัดหาฯ ในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ที่เมืองทองธานี ซึ่งต้องงดการจัดงานอย่างกะทันหัน บรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องปรับตัว และปรับเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อมาเป็นแบบออนไลน์ วิธีการสั่งซื้อ ไม่ยุ่งยากค่ะ เหมือนกับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ทั่วไป

ขั้นตอนการจัดซื้อหนังสือออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (website) ร้านค้า ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. สมัครสมาชิกก่อนการสั่งซื้อออนไลน์

 

เมื่อสมัครสมาชิกแล้วสามารถสั่งซื้อรายการหนังสือตามที่ต้องการได้ทุกเล่มผ่าน เว็บไซต์ของร้านหนังสือ

2. เลือกรายการหนังสือที่ต้องการสั่งซื้อใส่ตะกร้า

 

Read the rest of this entry »

ความในใจในการวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหนังสือชุด “รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》
ต.ค. 22nd, 2020 by wanna

ความในใจในการวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหนังสือชุด รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน《星云大师全集

หนังสือชุด “รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》ทั้งชุดมีทั้งหมด 365 เล่ม มีมากกว่า 30,000,000 ตัวอักษร มีสารบัญ 50,000 เรื่อง แบ่งเป็น 12 หมวด ใหญ่ ๆ ได้แก่

  • พระคัมภีร์ (經义) (24 เล่ม)
  • ข้อคิดต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาในโลกมนุษย์ (人间佛教论丛) (17 เล่ม)
  • ตำราเรียน(教科书) (62 เล่ม)
  • รวมคำปาฐกถา (讲演集) (31 เล่ม)
  • รวมวรรณกรรม (文丛) (71 เล่ม)
  • บันทึกชีวประวัติ (传记) (34 เล่ม)
  • จดหมาย(书信) (12 เล่ม)
  • บันทึกประจำวัน(日记) (32 เล่ม)
  • หนังสือชุดฝอกวงซาน (佛光山系列) (13 เล่ม)
  • ภาพบันทึกกิจกรรมของฝอกวงซาน (佛光山行事图影) (10 เล่ม)
  • การประดิษฐ์อักษร (书法) (30 เล่ม)
  • ภาคผนวก (附录) (29 เล่ม 2 เล่มสุดท้าย คือ รวมสารบัญ และ รวมดรรชนี)

Read the rest of this entry »

การจัดการชั้นหนังสือ (Shelf Management)
ต.ค. 17th, 2020 by supaporn

ห้องสมุดทำหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (ซึ่งก็เป็นหนังสือที่มีสัดส่วนมากกว่าสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ) จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ ระเบียบ และมีเครื่องมือสืบค้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดให้บริการ เริ่มเปลี่ยนเป็นดิจิทัลมากขึ้น ความสนใจในการอ่านตัวเล่มหนังสือเริ่มลดน้อยลง บทบาทของห้องสมุดในแง่ของการเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อการอ่านหนังสือลดลง ห้องสมุดต้องปรับการจัดหาหนังสือเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ปรับบทบาทการให้บริการผ่านออนไลน์มากกว่าเดิม ปรับบทบาทจากการใช้พื้นที่เพื่อการนั่งอ่านหนังสือ  และในยุคการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 ห้องสมุดต้องปรับพื้นที่นั่งอ่าน ให้เป็นพื้นที่ที่รองรับการใช้งานของผู้เรียนในยุคนี้มากขึ้น  เพราะการเรียนการสอนต้องพัฒนาทักษะของนักศึกษา คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) คือ 4 ทักษะที่จำเป็น หรือ 4Csได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น มีวิจารณญาณ (Critical Thinking and Problem Solving) คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้ การสื่อสาร (Communication) สื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสม และ การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)

การปรับพื้นที่ในห้องสมุด ในขณะที่ยังมีหนังสืออยู่เต็มชั้นหนังสือ ห้องสมุดแต่ละแห่งคงจะมีนโยบายในการจัดการตามบริบทของตนเอง เช่น บางแห่งมีพื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือแยกต่างหากจากชั้นหนังสือที่ให้บริการทั่วไป เป็นอาคารหรือสถานที่ ที่สามารถใช้เป็นคลังเก็บหนังสือ บางแห่งอาจจะไม่มีพื้นที่จัดเก็บเลย เพราะไม่มีอาคารที่นอกเหนือจากอาคารที่ให้บริการ แต่ไม่ว่าจะเข้าข่ายลักษณะใดก็ตาม การจะดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือที่ให้บริการ ห้องสมุดแต่ละแห่งต้องวางนโยบายในการดึงหนังสือออก

ปัจจัยใดบ้างที่ต้องนำมาพิจารณาในการดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa