หลังจากเข้ารับการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ในโครงการนำร่องห้องสมุด 10 แห่ง เมื่อปี พ.ศ. 2559 นั้น ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ตามกำลังของศูนย์บรรณสารสนเทศ นอกเหนือจากการเข้าร่วมประชุมประจำปี การส่งแผนและผล ให้ทุกปี แล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้เข้ากิจกรรมอื่นๆ เช่น การเข้าร่วมการชดเชยคาร์บอนรายบุคคล การเข้าอบรมเป็นผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ด้วยมีความคิดเห็นว่า หลังจากการผ่านการตรวจประเมินแล้ว น่าจะขยับมาเป็นผู้ตรวจและน่าจะเป็นแรงหนึ่งในการเป็นผู้ตรวจประเมินให้กับเครือข่ายฯ จึงได้สมัครเข้ารับการอบรม ระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2561 ได้รับความรู้และแนวทางในการจะต้องเป็นผู้ตรวจอย่างเต็มที่ และจะเป็นผู้ตรวจทั้งที จึงต้องผ่านการสอบด้วย
ก่อนการอบรม มีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 5 ด้วย นับว่าตอนนี้ เครือข่ายเพิ่มจำนวนร่วม 50 แห่ง หลังจากนั้น จึงเริ่มการอบรม ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อ ต่อไปนี้
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หัวข้อ “เขยิบมาแยกขยะ” เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของขยะ การจัดการขยะ และการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์วนิดา สุวรรณพ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.30-12.00 น. นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม
วัตถุประสงค์โครงการ
1.เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่ นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.เพื่อให้ความรู้ และสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วิทยากรได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และขยะก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถจัดเก็บให้ทันกับปริมาณ ทั้งนี้จึงมีการเชิญชวนให้คัดแยกขยะ โดยร่วมกับโครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้ เพื่อช่วยลดการตัดต้นไม้เพื่อผลิตกระดาษได้ถึง 17 ตัน แถมยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ และลดพื้นที่หลุมฝังกลบขยะอีกด้วย
โครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้
จากภาพข้างต้น เป็นการนำกล่องนมยูเอชที กลับมาใช้ใหม่ โดยสอนวิธีการพับเก็บกล่องอย่างถูกวิธี ก่อนนำไปรีไซเคิล Read the rest of this entry »
จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ได้เสนอข้อมูลห้องสมุดสีเขียว หรือ Green Library ที่ผ่านจาก สัมภาษณ์ ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ให้กำเนิดห้องสมุดสีเขียวในประเทศไทย และมีความร่วมมือกับเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว มีเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินห้องสมุดที่ขอรับการตรวจประเมิน และมีการสัมภาษณ์ห้องสมุดที่เข้าโครงการนำร่องในการตรวจประเมิน 10 แห่ง โดย ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ติดตามอ่านรายละเอียด
รายการอ้างอิง
วรธาร. มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ก้าวสำคัญของห้องสมุดไทย. ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน 2560 ปีที่ 15 ฉบับที่ 5236 หน้า M1
Growroom จากไอเดียของสถาปนิก Mads-Ulrik Husum และ Sine Lindholm จาก Space10 ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นเหมือนสวน ปลูกพืช ผัก สมุนไพร ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่จำกัด หรือปลูกในเมืองได้ Growroom เปิดตัวเมื่อปลายปี ค.ศ. 2016 โครงสร้างเป็นกระบะปลูกพืชที่โค้งต่อจนกันเป็นวงกลม ออกแบบให้กระบะรับแสงแดดได้อย่างทั่วถึง แถมมีที่นั่งภายในอีกด้วย
The Growroom by Ikea’s Space10, Mads-Ulrik Husum, and Sine Lindholm.R Hjortshoj
น่าจะนำมาใช้เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับหน่วยงานได้ เป็นทั้งเฟอร์นิเจอร์ พื้นที่ปลูกพืช ผัก สมุนไพร หรือลองหาพืชที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมภายในอาคาร มีเว็บไซต์อธิบายวิธีการประกอบในแต่ละขั้นตอนด้วยค่ะ เช่นที่ http://www.designboom.com/design/ikea-space10-the-growroom-flat-pack-spherical-garden-02-20-2017/ และ https://medium.com/space10-the-farm/space10-open-sources-the-growroom-aa7ca6621715 ลองค้นดูค่ะ มีข้อมูลเยอะทีเดียว
อ้างอิง
Garfield, Leanna (2017). Ikea just launched a DIY flat-pack indoor garden that can feed a whole lot of people at once. Retrived from http://www.businessinsider.com/ikeas-growroom-photos-2017-2
อาคารบรรณสารได้เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 24 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ได้มีต้นไม้รอบอาคารหลากหลายมากมายซึ่งช่วยสร้างสมดุลระหว่างการดักจับจุลินทรีย์ในอากาศและการกรองฝุ่นผงที่ล่องลอยอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งมากด้วยมลพิษโดยมีต้นไม้ทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์พร้อมกับผลิตออกซิเจนรวมทั้งป้องกันแสงแดดจากภายนอกซึ่งอาคารบรรณสารมีต้นไม้ที่ปลูกโดยรอบอาคารมีอะไรบ้างแต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอะไร และจัดจำแนกอยู่ในหมวดหมู่ใด Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดทำพื้นที่สีเขียวขึ้น บริเวณชั้น 1 ใกล้กับเคานเตอร์ยืม-คืน หนังสือ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศ และภูมิทัศน์ที่ดีในการพื้นที่ให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นในศูนย์บรรณสารสนเทศอีกด้วย นอกเหนือจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ยังได้จัดให้มีเก้าอี้เพื่อสำหรับให้ผู้ใช้บริการได้นั่งในบริเวณดังกล่าว ในระยะแรกเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมทั้งเน้นในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ในระยะต่อมา ได้มีการจัดเป็นมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่พื้นที่สีเขียวดังกล่าว
หนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่นำจัดให้บริการที่มุมดังกล่าว นั้น เป็นหนังสือส่วนหนึ่ง ที่มีการหมุนเวียนจากชั้นหนังสือทั่วไป มาจัดไว้ให้บริการ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและเป็นการสร้างเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ในด้านการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้ใช้บริการอีกช่องทางหนึ่ง
บริเวณพื้นที่สีเขียวและมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ห
อีกมุมนึ่งของพื้นที่สีเขียวและมุมหน้งสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม
คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ถ่ายรูปหน้ารูปปั้น ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์
คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เข้าศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของ มฉก. โดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ (รองอธิการบดี) และคณะทำงานร่วมต้อนรับ ณ ห้องสื่อประสม ชั้น 2 อาคารบรรณสาร มฉก. ในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น.
ป้ายต้อนรับที่ใช้กระดานชอล์กเพื่อสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารทั้งสองผ่ายถ่ายภาพร่วมกันก่อนเข้าฟังการบรรยาย
ในการนี้ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบุคลากรของศูนย์บรรณสารฯ ได้ร่วมให้ข้อมูลโครงการสำนักงานสีเขียว ซึ่งเป็นโครงการที่มีรวมกิจกรรมการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ถ่ายภาพร่วมกันหลังการบรรยาย
รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ บรรยายในกิจกรรมการประหยัดพลังงานของ มฉก.
ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมฉก. ถ่ายภาพร่วมกัน
บรรยากาศขณะนำชม
วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 10 ท่าน ได้เข้าศึกษาดูงานการประหยัดพลังงานของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ในการนี้ รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ และทีมงานกองอาคาร พร้อมผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ให้การต้อนรับ ณ อาคารบรรณสาร ซึ่งเป็น 1 ใน 3 อาคารประหยัดพลังงาน โดยมีการบรรยาย ตอบข้อซักถาม และนำชมจุดต่างๆ
ตอนนี้ผู้ใช้ห้องสมุด (ศูนย์บรรณสารสนเทศ) อาจจะกำลังเห็นการเปลี่ยนแปลงในห้องสัมมนากลุ่ม ชั้น 4 ศูนย์บรรณสารสนเทศ พี่ๆ กำลัง ซ่อมเก้าอี้ด้วยลวดลายของผ้าขาวม้า ออกมาได้กิ๊บเก๋ ทีเดียว ประหยัดงบประมาณ และเป็นการนำสิ่งของที่เหลือใช้มาใช้ประโยชน์ให้สมกับการเข้าสู่ Green Office หรือห้องสมุดสีเขียว
สภาพเก้าอี้ที่ต้องส่งซ่อม
Read the rest of this entry »
อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในอาคารที่เข้าประกวดการประหยัดพลังงาน ดังนั้น ในการงดใช้ลิฟต์ก็จะช่วยให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า (กดลิฟต์ 1 ครั้ง เท่ากับ ใช้หลอดไฟนีออน 500 ดวง) ถ้าพวกเราชาว มฉก. ลองหันมาขึ้นบันไดดูซิว่าจะทำลาย calories เท่ากับเท่าใดกันในแต่ละชั้น Read the rest of this entry »