SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เทคนิคและวิธีประพันธ์บทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อการเผยแพร่ความรู้
ก.ค. 24th, 2016 by prapaporn

หัวข้อ “เทคนิคและวิธีประพันธ์บทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อการเผยแพร่ความรู้” เป็นหัวข้อในการสัมมนาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ณ ห้องจัดแสดงดนตรี ชั้น 2 หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

ผอ.สำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน

ผอ.สำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน

วิทยากร คือ ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) บรรยายในหัวข้อเรื่อง “เทคนิคและวิธีประพันธ์บทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อการเผยแพร่ความรู้” ซึ่งสามารถสรุปประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง วิทยากร

ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง วิทยากร

บทความวิชาการ (Journal article/Scholarly) คือ งานเขียนเชิงวิชาการที่นำเสนอความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่ได้จากการทบทวนเอกสารในเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย

Read the rest of this entry »

โครงการพัฒนาบุคลากรงานบริการห้องสมุดและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหัองสมุด
ก.ค. 21st, 2016 by sirinun

โครงการพัฒนาบุคลากรงานบริการห้องสมุดและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหัองสมุด จัดขึ้น วันที่ 14 กรกฎคม 2559 เวลา 8.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

1469087913494-1

 

1469087909778

 

1469088555849

 

1469088543122

 

หัวข้อการสัมมนา

  1. ความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อห้องสมุดในยุคดิจิทัล  โดย ปณิธาน สืบนุการณ์
  2. ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ โดย จตุพล ชมพูนิช
  3.  ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ โดย อรพิมพ์ รักษาผล

จากการสัมมนาในครั้งนี้สิ่งที่ได้รับคือความคาดหวังในการให้บริการของห้องสมุดยุคใหม่ต่อผู้ใช้บริการ ต้องมีการบริการใหม่ๆ บรรยากาศใหม่ๆ หรือรูปลักษณ์ใหม่ๆ มีการนำคอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัลมาใช้งานมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเด่นชัด ดังนั้นการให้บริการต้องเน้นเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ห้องสมุดดิจิทัล มีการจัดการทรัพยากรต่างๆ ให้อยู่ในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ดังนั้นบุคลากรห้องสมุดต้องใส่ใจการให้บริการแก้ผู้ใช้บริการที่มีความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและความต่างวัยกันในยุคดิจิทัลนี้ด้วย

ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ ทุกอาชีพ “มีศักดิ์ศรี” ไม่ต่างกัน เพราะ “ไม่มีอาชีพไหนอยู่ได้” โดยไม่ต้อง “พึ่งพา” อาชีพอื่นๆ “จงภูมิใจในอาชีพ”ที่คุณเลือกสรรและทำมันทุกวัน ด้วยหัวใจ จากคำพูดของอาจารย์ จตุพล ชมพูนิช วิทยากรนักพูดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงการนักพูด  ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานในอาชีพของตนเองให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความรักในองค์การของตนเองมากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความพากเพียรและนำเอาปัญญาความรู้ที่ได้จากการสัมมนามาประยุกต์ใช้ต่อไป

ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ คนเราทุกคนย่อมมีความรักความผูกพันต่อองค์การ และต่อหน้าที่การงาน นอกจากนี้ยังต้องมี “ความกตัญญูที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์” ที่ปกครองบ้านมือให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้า เพื่อให้บ้านเมืองของเรามีการพัฒนาไปในทางที่ถูกต้องดีงาม

รายการอ้างอิง

เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการพัฒนาบุคลากรงานบริการห้องสมุดและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหัองสมุด. (2559).  ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วันที่ 14 กรกฎคม 2559 เวลา 8.00 – 16.30 น.

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 9.00-16.00 น. บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 2 ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพื่อจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของการจัดทำคุณภาพวารสารวิชาการของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) เพื่อจะได้มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพวารสารของไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดทำวารสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยต่อไป

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐาน TCI ขึ้น 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2555, 2556 และ 2558 ดังนั้น วารสารวิชาการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ประเมินของ TCI นั้น ประกอบด้วย Read the rest of this entry »

Knowledge Sharing “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.”
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย

1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน

2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS

3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A

4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS

ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง

ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง

เข้าศึกษาดูงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา และ Eco-Library สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เม.ย. 4th, 2016 by supaporn

วันที่ 4 เมษายน 2559 บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) 2 กลุ่ม ได้แก่ คณะทำงานประกันคุณภาพ และ คณะทำงานการประหยัดพลังงาน ศูนย์บรรณสารสนเทศ มฉก.  ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ และดูงานการบริหารจัดการ Eco-Library เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการจัดสำนักงานสีเขียวต่อไป

ศึกษาดูงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศึกษาดูงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บุตลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

บุตลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

การลักลอกทางวิชาการในบริบทของการวิจัย
ก.พ. 9th, 2016 by supaporn

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การลักลอกทางวิชาการในบริบทของการวิจัย (Plagirism in Academic Research) ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผอ. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน

ผอ. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน

โดย อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ขณะบรรยาย

อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ขณะบรรยาย

สรุปประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้ Read the rest of this entry »

การอบรมการเขียน Blog
ม.ค. 7th, 2016 by supaporn

วันที่ 7 มกราคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดอบรมการเขียนบล็อกด้วยโปรแกรม WordPress เพื่อจัดทำเป็นคลังความรู้ในการจัดการความรู้ของศูนย์บรรณสารฯ ต่อไป โดยมีบุคลากรของศูนย์บรรณสารฯ เข้าร่วมการอบรมอย่างพร้อมเพรียง และพร้อมที่่จะแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาหรือปรับปรุงศูนย์บรรณสารฯ ต่อไป

ในการอบรมครั้งนี้ ได้เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรม WordPress วิธีการนำบทความที่เขียนขึ้นเผยแพร่ การมีรูปภาพประกอบบทความ โดยการหาภาพประกอบอย่างไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ การจัดการขนาดของภาพ (Resize) รวมทั้งการใช้วิดีโอเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา เพื่อให้บทความหรือเนื้อหามีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการสรุปแนวทางการเขียนบทความเพื่อจัดทำเป็นคลังความรู้ ประเภทของความรู้ที่จะเขียน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดคลังความรู้ของ
ศูนย์บรรณสารฯ ต่อไป

เอกสารประกอบการอบรมเอกสารประกอบการอบรม

การค้นหารูปภาพอย่างไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

20160107-Blog-Training320160107-Blog-Training4

Read the rest of this entry »

พลังของการคิดเชิงนวัตกรรม (Power of Innovation Thinking)
พ.ย. 12th, 2015 by supaporn

จากการเข้าร่วมฟังบรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง พลังของการคิดเชิงนวัตกรรม (Power of Innovation Thinking) โดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุม 1 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬางกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น เป็นการเน้นการฝึกทักษะของการคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวของ The Innovator’s DNA : Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators โดย Hal B. Gregersen ซึ่งประกอบด้วย

  • การเชื่อมโยง
  • การตั้งคำถาม
  • การสังเกต
  • การสร้างเครือข่าย
  • การทดลอง

ทักษะในการตั้งคำถามและการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรม คนที่เป็นนวัตกร จะถามเก่ง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จะต้องรู้จักการตั้งคำถาม โดยมีเทคนิคในการตั้งคำถาม คือ

  • อะไรจะเกิดขึ้นถ้า …. (What if) ตัวอย่างการตั้งคำถาม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นถ้ามีแว่นตา X-Ray ราคาถูก เป็นต้น
  • มองหาปัญหา Read the rest of this entry »
»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa